มรภ.พิบูลสงคราม เดินหน้าพัฒนาหลักสูตรเพื่อความยั่งยืนทางด้านอาหาร

มรภ.พิบูลสงคราม เดินหน้าพัฒนาหลักสูตรเพื่อความยั่งยืนทางด้านอาหาร

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม  ได้ผลักดันและส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสัตวศาสตร์และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มุ่งผลิตบัณฑิต ที่มีความรู้คู่คุณธรรม พัฒนาทักษะวิชาชีพ ด้านการผลิตสัตว์ทั้งสัตว์บกและสัตว์น้ำ สร้างองค์ความรู้ใหม่ จากการวิจัยที่สามารถนําไปใช้ได้จริงอันจะนําไปสู่การพัฒนาชุมชนและท้องถิ่นได้อย่างยั่งยืน  โดยมุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ทางด้านการผลิตสัตว์ทั้งสัตว์บกและสัตว์น้ำ การขยายและปรับปรุงพันธุ์สัตว์การจัดการ อาหารและโภชนาการสัตว์การจัดการฟาร์มสัตว์ตลอดจนการจัดการผลผลิตสัตว์ทั้งสัตว์บกและสัตว์น้ำ โดยใช้องค์ความรู้ร่วมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ มีการพัฒนาบัณฑิตให้มีองค์ความรู้ จากการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาด้านการผลิตสัตว์และสามารถปรับตัวเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกได้  รวมถึงในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนร่วมกับชุมชนท้องถิ่น  โดยนำนักศึกษาลงพื้นที่เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจต่าง ๆ เพื่อก่อให้เกิดอาหารในชุมชนและสร้างอาชีพก่อเกิดรายได้ให้แก่ชุมชุม ที่มาข้อมูล  :  หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสัตวศาสตร์และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ  คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร

Zero Waste การจัดการขยะ ของเสีย และเศษอาหาร

Zero Waste การจัดการขยะ ของเสีย และเศษอาหาร

          มหาวิทยาลัยได้เข้าร่วมกิจกรรม Green University & Green Office และได้มีแนวทางการดำเนินการคัดแยก รวบรวม และกำจัดขยะ อย่างเหมาะสม มีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้           การคัดแยกขยะตามประเภท อาทิ ขยะทั่วไป ขยะเปียก ขยะรีไซเคิล ขยะอันตราย           มีการติดป้ายบ่งชี้ประเภทขยะอย่างถูกต้องและชัดเจน           การกำจัดขยะอย่างเหมาะสม  1ใ ขยะรีไซเคิล เจ้าหน้าที่จะดำเนินการคัดแยก รวบรวม และนำไปจำหน่ายให้กับผู้รับซื้อของเก่าที่มีใบอนุญาตในการประกอบกิจการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย  2. ขยะทั่วไป ส่งหน่วยงานท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องดำเนินการกำจัด 3. ขยะอินทรีย์ นำไปทำเป็นปุ๋ยหมักอินทรีย์           การบันทึกข้อมูลปริมาณขยะแต่ละประเภท พนักงานทำความสะอาดประจำตึกจะรวบรวมขยะจากทุกจุดภายใน สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาทำการชั่งและบันทึกปริมาณทุกวัน ในเวลา 16.00 น.  โดยคณะกรรมการจะไปตรวจเช็คการจดบันทึกปริมาณของพนักงาน และเมื่อสิ้นเดือนก็จะนำปริมาณที่จดบันทึกมาบันทึกลงในทะเบียนคุมก่อนจะรวบรวมข้อมูลทั้งหมดมาบันทึกในแบบฟอร์ม 4.1(1)           ซึ่งการวัดปริมาณเศษอาหารเป็นการเก็บรวบรวมและดำเนินการของหน่วยงานเป็นบางหน่วยงาน แต่การคัดแยกขยะนั้นดำเนินการโดยทุกหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย และมีหน่วยสนับสนุนของสำนักงานอธิการบดี ในการอำนวยความสะดวกเรื่องสถานที่รองรับขยะที่ส่งต่อหน่วยงานท้องถิ่นนำขยะไปกำจัด รวมทั้งการจัดหาถังขยะแยกประเภทเพื่อให้บริการตามจุดต่างๆ โดยรอบมหาวิทยาลัย ที่มาข้อมูล :…

สวัสดิการด้านอาหารในมหาวิทยาลัย เพื่อการเข้าถึงและโภชนาการที่ดีแก่นักศึกษา

สวัสดิการด้านอาหารในมหาวิทยาลัย เพื่อการเข้าถึงและโภชนาการที่ดีแก่นักศึกษา

สวัสดิการด้านอาหารในมหาวิทยาลัย เพื่อการเข้าถึงและโภชนาการที่ดีแก่นักศึกษา           มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้จัดให้มีการจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มที่หลากหลาย รวมถึงการจำหน่ายสินค้าต่างๆ ให้เพียงพอต่อการใช้บริการของนักศึกษา และบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย ซึ่งมีการให้บริการกระจายทั่วพื้นที่ของมหาวิทยาลัย จำนวน 46 ร้านค้า และตู้อัตโนมัติ 10 จุด รายละเอียดดังนี้           1. ศูนย์อาหาร อาทิ ศูนย์อาหารกลางอาคารพิบูลย์วิชญ์, ศูนย์อาหารเรือนแพ และศูนย์อาหารทะเลแก้วนิเวศ           2. ร้านสะดวกซื้อและตู้อัตโนมัติ อาทิ ร้าน 7-Eleven, Topmart และตู้บุญเติม           3. ร้านประเภทเครื่องดื่ม อาทิ ร้านกาแฟฝ้ายเงิน, ร้านกาแฟ Beyond Milk, ร้านกาแฟ OWL ร้านกาแฟโอทู, ร้านกาแฟฟาร์มเมอร์ และร้านกาแฟสนามกีฬาพระองค์ดำ)           4. ร้านค้าจรอื่นๆ ที่เข้ามาจำหน่ายตามวันปกติและช่วงที่มีการจัดกิจกรรมหรือเทศกาลต่างๆ           ซึ่งร้านค้าข้างต้นสำนักงานอธิการบดีจัดให้มีเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของนักศึกษา บุคลากรและบุคคลภายนอก ประกอบด้วยร้านอาหารและเครื่องดื่มที่หลากหลาย อาทิ อาหารตามสั่ง ก๋วยเตี๋ยว…

| | | | | | | | | | | | | | | |

รายวิชาที่ความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
(Sustainable Development Goals, SDGs) ทั้ง 17 ด้าน

          การพัฒนาอย่างยั่งยืน คือการตอบสนองความต้องการของคนรุ่นปัจจุบัน โดยไม่มีผลกระทบในทางลบต่อความต้องการของคนรุ่นต่อไปในอนาคต ซึ่งรายวิชาศึกษาทั่วไปในทักษะนี้แต่ละรายวิชามีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งมหาวิทยาลัยได้มีการจัดรายวิชาที่ความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals, SDGs) ทั้ง 17 ด้าน  เช่น รายวิชา GESO115 The King’ s Philosophy for Local Development ซึ่งเป็นรายวิชาที่ออกแบบเพื่อให้นักศึกษาทราบถึงพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและพระบรมวงศานุวงศ์ ความหมาย หลักการ แนวคิด ความสําคัญ และเป้าหมายของหลักการทรงงาน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และการพัฒนาตามศาสตร์พระราชาอย่างยั่งยืน ตลอดจนถึงการลงพื้นที่สำรวจ วิเคราะห์ปัญหา การน้อมนําศาสตร์พระราชาไปประยุกต์ใช้ในให้การแก้ปัญหาของพื้นที่ตั้งแต่ระดับบุคคล องค์กรธุรกิจหรือชุมชนในระดับท้องถิ่น และระดับประเทศอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงเทคนิคการสร้างภาคีเครือข่าย และการฝึกปฏิบัติงานโดยบูรณาการแบบองค์รวมกับทีมภาคีเครือข่าย และรายวิชา SOED332Community Study and Community Based Learning  for Life Long เป็นรายวิชาที่ออกแบบเพื่อให้นักศึกษาทราบถึงโครงสร้างระบบการศึกษาส่วนท้องถิ่น บทบาทของคนและองค์กรชุมชนศิลปวัฒนธรรมจารีต ประเพณีท้องถิ่น  กิจกรรมและการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาคนและองค์กรชุมชนและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน รายละเอียดดังตาราง ลำดับ รายวิชา…

PSRU ยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)

PSRU ยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้ดำเนินกิจกรรมโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 – 31 ธันวาคม 2564 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ โดยมหาวิทยาลัยเป็น System Integrator ให้เกิดการพัฒนาตามปัญหาและความต้องการของชุมชน การจ้างงานประชาชนทั่วไป บัณฑิตจบใหม่ และนักศึกษาให้มีงานทำและฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน และการจัดทำข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชน (Community Big Data) โดยร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 15 ตำบล จากจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 9 ตำบล และจังหวัดสุโขทัย จำนวน 6 ตำบล ได้แก่ 1. เทศบาลตำบลพลายชุมพล ตำบลพลายชุมพล อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก 2. องค์การบริหารส่วนตำบลจอมทอง ตำบลจอมทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 3. องค์การบริหารส่วนตำบลดอนทอง ตำบลดอนทอง อำเภอเมือง…

PSRUยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)
|

PSRUยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้ดำเนินกิจกรรมโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 – 31 ธันวาคม 2564 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ โดยมหาวิทยาลัยเป็น System Integrator ให้เกิดการพัฒนาตามปัญหาและความต้องการของชุมชน การจ้างงานประชาชนทั่วไป บัณฑิตจบใหม่ และนักศึกษาให้มีงานทำและฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน และการจัดทำข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชน (Community Big Data) โดยร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 15 ตำบล จากจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 9 ตำบล และจังหวัดสุโขทัย จำนวน 6 ตำบล ได้แก่1. เทศบาลตำบลพลายชุมพล ตำบลพลายชุมพล อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก2.องค์การบริหารส่วนตำบลจอมทอง ตำบลจอมทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก3.องค์การบริหารส่วนตำบลดอนทอง ตำบลดอนทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก4.องค์การบริหารส่วนตำบลทองแท้ ตำบลท้อแท้ อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก5.องค์การบริหารส่วนตำบลคันโช้ง ตำบลคันโช้ง…

องค์ความรู้เกษตรและอาหารสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต และยกระดับเศรษฐกิจฐานราก ที่ยั่งยืน
|

องค์ความรู้เกษตรและอาหารสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต และยกระดับเศรษฐกิจฐานราก ที่ยั่งยืน

          มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามในฐานะที่เป็นหน่วยงานให้ความช่วยเหลือในชุมชนและท้องถิ่นที่สนับสนุนการเริ่มต้นธุรกิจทางการเงินและความยั่งยืนทางสังคมผ่านองค์ความรู้ของบุคลากรมหาวิทยาลัยที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านเกษตรและอาหาร เพื่อให้เกิดความมั่นคงด้านอาหารและส่งต่อความรู้ด้านการเกษตรและอาหารเพื่อให้เกิดความยั่งยืนแก่ชุมชน ผนวกกับการเสริมทักษะและความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีเพื่อถ่ายทอดแก่เกษตรในชุมชนท้องถิ่นเพื่อใช้ในการประกอบอาชีพและเพิ่มรายได้ ขจัดความยากจน คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร ภายใต้การนำของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มีบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการเกษตร สัตวศาสตร์ และอาหารที่มีการประยุกต์เอาองค์ความรู้ที่เชี่ยวชาญไปถ่ายทอดให้เกษตรกรในชุมชนสามารถลดรายได้ เพิ่มรายได้และต่อยอดเพื่อประกอบธุรกิจในอนาคตได้ โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 คณะฯ ได้ดำเนินการโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต และยกระดับเศรษฐกิจฐานรากโดยมีพื้นที่ดูแลในสองจังหวัดคือ จังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดสุโขทัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นสถาบันการศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ได้จัดทำยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) ทั้ง 38 แห่ง โดยน้อมนำเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นการพัฒนาแบบยั่งยืน และใช้หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลเดชบรมนาถบิตร มาเป็นแนวทางในการดำเนิน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ของประชาชน แก้ปัญหาเชิงโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร เสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร และความปลอดภัยด้านอาหาร เพื่อนำไปสู่ความมั่นคง มั่นคั่ง และยั่งยืน ของประชาชนและประเทศชาติ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชการที่ 10 ทรงมีพระปณิธานแน่วแน่ที่จะสานต่อโครงการในพระราชดาริของพระบิดา เพื่อช่วยเหลือประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามรับผิดชอบ 2 จังหวัด คือ จังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดสุโขทัย มีความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ให้คนในชุมชนฐานรากตามแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ…

ศาสตร์เกษตรสู่การพัฒนาชุมยั่งยืน U2T kaset PSRU
|

ศาสตร์เกษตรสู่การพัฒนาชุมยั่งยืน U2T kaset PSRU

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามในฐานะที่เป็นหน่วยงานให้ความช่วยเหลือในชุมชนและท้องถิ่นที่สนับสนุนการเริ่มต้นธุรกิจทางการเงินและความยั่งยืนทางสังคมผ่านองค์ความรู้ของบุคลากรมหาวิทยาลัยที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านเกษตรและอาหาร เพื่อให้เกิดความมั่นคงด้านอาหารและส่งต่อความรู้ด้านการเกษตรและอาหารเพื่อให้เกิดความยั่งยืนแก่ชุมชน ผนวกกับการเสริมทักษะและความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีเพื่อถ่ายทอดแก่เกษตรในชุมชนท้องถิ่นเพื่อใช้ในการประกอบอาชีพและเพิ่มรายได้ ขจัดความยากจน คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร ภายใต้การนำของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มีบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการเกษตร สัตวศาสตร์ และอาหารที่มีการประยุกต์เอาองค์ความรู้ที่เชี่ยวชาญไปถ่ายทอดให้เกษตรกรในชุมชนสามารถลดรายได้ เพิ่มรายได้และต่อยอดเพื่อประกอบธุรกิจในอนาคตได้ โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 คณะฯ ได้ดำเนินการในโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งมหาวิทยาลัยในพื้นที่ 5 พื้นที่ด้วยกัน อันได้แก่ โดยได้ดำเนินการโครงการในรูปแบบการให้คำปรึกษาเพื่อให้เกิดการพัฒนาในพื้นที่ตามศักยภาพของชุมชน รวมทั้งมีการจัดซื้อวัตถุดิบในชุมชนเพื่อนำมาแปรรูปหรือสร้างนวัตกรรมขึ้นใหม่ เพื่อให้ต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้ได้เกิดการพัฒนาพื้นที่ทั้งในด้านการเกษตร อาหาร รวมไปถึงการคัดแยกขยะ การบริหารจัดการขยะในชุมชน และมีการถ่ายทอดความรู้เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพเพื่อสร้างสัมมาชีพในชุมชนอีกด้วย จากผลการดำเนินงาน เกิดผลลัพธ์เชิงเศรษฐกิจและสังคม ดังนี้ ผลลัพธ์เชิงเศรษฐกิจ พื้นที่มีรายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 20 รวมถึงเกิดการเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) เช่น อย่างตำบลโคกสลุดที่เกิดปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยนร้อยละ 17.50 ต่อตำบลโดยจำแนกเป็นด้านที่เกษตรกรได้รับการส่งเสริมการทำเกษตรเพาะปลูกผักแบบปลอดภัยให้ได้มาตรฐาน GAP จึงทำให้สามารถมีผลผลิตผักที่ได้มาตรฐานปริมาณ 150 กิโลกรัมต่อเดือน หรือกลุ่มวิสาหกิจแปรรูปน้ำพริกโคกสลุดสามารถผลิตน้ำพริกสมุนไพรได้ 100 กระปุกต่อเดือน หรือเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจำนวน 6 ราย สามารถเพาะเลี้ยงปลาน้ำจืดและจัดจำหน่ายได้ 1,500 ตัว นอกจากนี้ในแง่ของการบริหารจัดการขยะ ผู้เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า 10 ราย…

การพัฒนาชุมชนแบบบูรณาการ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
|

การพัฒนาชุมชนแบบบูรณาการ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

โครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพศูนย์การเรียนรู้ชุมชนต้นแบบตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงในตำบลดินทอง อำเภอวังทอง และตำบลท่างาม อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก จากการสำรวจข้อมูลของกรมพัฒนาชุมชน และข้อมูล กชช.2ค ของจังหวัดพิษณุโลกทั้ง 9 อำเภอ ดังที่กล่าวมาที่พบว่า อำเภอวังทอง โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ตำบลดินทองที่มีทั้งหมด 11 หมู่บ้าน และอำเภอวัดโบสถ์ ตำบลท่างามมีทั้งหมด 13 หมู่บ้าน ซึ่งประชาชนในพื้นที่ทั้ง 2 ตำบล ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และเป็นพื้นที่ที่มีความจำเป็นต้องพัฒนาอย่างเร่งด่วนของจังหวัดพิษณุโลกที่ต้องแก้ปัญหาความยากจน โดยเฉพาะต้องการให้เกษตรกรมีรายได้เสริมภายในครัวเรือนนอกเหนือจากรายได้หลัก หรือสร้างอาชีพใหม่ให้กับเกษตรกรเพื่อให้มีความเพียงพอกับต้องการภายในครัวเรือนและพ้นเกณฑ์ความยากจน อย่างไรก็ตามสภาพต้นทุนในพื้นที่ดังกล่าวนี้ส่วนใหญ่มีการเลี้ยงสัตว์และปลูกพืชเป็นอาชีพเสริม และควรทำให้เป็นพื้นที่ที่ควรเข้าไปสนับสนุน และพัฒนาให้เป็นอาชีพของชุมชน โดยมีศูนย์การเรียนรู้ชุมชนต้นแบบตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง           เนื่องจากในพื้นที่มีการเลี้ยงสัตว์และทำการเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลักเป็นจำนวนมาก ซึ่งปัจจุบันนี้การน้อมนำแนวเศรษฐกิจพอเพียงของพ่อหลวงแห่งปวงชนชาวไทยนั้น ถือว่าเป็นการยึดหลักในการดำเนินชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี ไม่ต้องเดือดร้อน และที่สำคัญในยุคนี้ เกษตรกรต้องรู้จักการเลี้ยงสัตว์หลากหลายชนิด เพื่อการประกอบอาชีพ ซึ่งเป็นไปตามพระราชปณิธานเดินตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รวมทั้งเป็นการสนองพระราชหฤทัยห่วงใยของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ รัชกาลที่ 10 ที่พระราชทานพระราชดำรัสให้เดินตามรอยพระยุคลบาทที่พระราชทานพระราชดำริในการดำเนินชีวิตไว้ คือ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุก ระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์…

กิจกรรมสนับสนุนการเรียนรู้การสร้างแหล่งอาหารในชุมชน

กิจกรรมสนับสนุนการเรียนรู้การสร้างแหล่งอาหารในชุมชน

วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2564สาขาการประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้นำโดยผศ.ดร.นงลักษณ์  ใจฉลาด ประธานหลักสูตรสาขาวิชาและทีมคณาจารย์ ได้นำนักศึกษาครูรัก(ษ์)ถิ่น จำนวน 22 คน เข้าร่วมเรียนรู้การทำกิจกรรมวางแผนลงสวนเศรษฐกิจพอเพียง และร่วมการเรียนรู้การปลูกต้นไม้ผลและการดูแลรักษา โดยวัตถุประสงค์เพื่อได้เรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและให้นักศึกษาสามารถนำกระบวนการดังกล่าวไปใช้ในพื้นที่ของตนเพื่อลดความเลื่อมล้ำความอดอยากได้ วันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2564 สาขาการประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้นำโดยผศ.ดร.นงลักษณ์  ใจฉลาด ประธานหลักสูตรสาขาวิชาและทีมคณาจารย์ ได้นำนักศึกษาครูรัก(ษ์)ถิ่น จำนวน 22 คน เข้าร่วมเรียนรู้การทำกิจกรรมวางแผนลงสวนเศรษฐกิจพอเพียง และร่วมปลูกไผ่เข้าร่วมกิจกรรม “ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ (ปลา) จำนวน 100,000 ตัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง  บริเวณด้านหน้าศูนย์เศรษฐกิจพอเพียง  มรพส. ส่วนทะเลแก้ว ร่วมกับผู้บริหารศูนย์เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสามารถใช้ในการเรียนรู้การทำสวนเศรษฐกิจพอเพียง