มหาวิทยาลัยเพื่อท้องถิ่นพิบูลสงครามพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ให้กับคนในชุมชนฐานราก
|

มหาวิทยาลัยเพื่อท้องถิ่นพิบูลสงครามพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ให้กับคนในชุมชนฐานราก

มหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นมหาวิทยาลัยที่พระราชาประสงค์ให้เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ดังนั้นมหาวิทยาลัยราชภัฏมีความสำนักในพระมหากรุณาธิคุณจึงได้จัดทำโครงการบูรณาการพันธกิจสัมพันธ์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ให้กับคนในชุมชน สนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคมแบบบูรณาการโดยมีเป้าหมายเพื่อให้คนในชุมชนสามารถบริหารจัดการชีวิตตนเองได้อย่างสมดุลและมีความเหมาะสมสามารถดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น เพิ่มคุณค่าและมูลค่า เสริมเศรษฐกิจฐานรากในชุมชนให้มีความเข้มแข็ง มั่นคง นำไปสู่การพึ่งพาตนเองและช่วยเหลือเกื้อกูลกันในชุมชนได้อย่างยั่งยืน ส่งผลให้ชุมชนหมู่บ้านมีคุณภาพชีวิตและรายได้ที่เพิ่มขึ้น  

สวัสดิการประกันอุบัติเหตุแก่นักศึกษาและบุคลากร
|

สวัสดิการประกันอุบัติเหตุแก่นักศึกษาและบุคลากร

กองพัฒนานักศึกษา เป็นผู้ประสานงานประกันอุบัติเหตุกลุ่มสำหรับนักศึกษา และบุคลากร ของมหาวิทยาลัย ราชภัฏพิบูลสงคราม โดยคุ้มครองตามระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนดเป็นรายปีการศึกษา ตั้งแต่กรณีบาดเจ็บเล็กน้อย การสูญเสียอวัยวะ กรณีสูญเสียชีวิต รวมถึงการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุพิเศษที่เกิดจากการ ร่วมกิจกรรมที่ทางมหาวิทยาลัยจัดขึ้นซึ่งจะต้องอยู่ในความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยตามกฎหมายอีกด้วย ความคุ้มครอง 1.  สูญเสียชีวิตจากอุบัติเหตุสาธารณะ(รถสาธารณะ อาคารสาธารณะและอื่นๆ) 200,000 บาท 2.  เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทั่วไป 100,000 บาท 3.  ค่าปลงศพ กรณีเสียชีวิตจากเจ็บป่วย รวมการเสียชีวิตจากโควิด 2019     10,000 บาท 4.  สูญเสียสายตา  มือ เท้า  (สองส่วน)       100,000 บาท 5.  สูญเสียสายตา  มือ เท้า  (หนึ่งส่วน)        60,000 บาท 6.  ค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุ (ต่อการเกิดอุบัติเหตุ 1 ครั้ง)  10,000 บาท 7.  เงินชดเชยการใช้สิทธิรักษาจากบัตรทอง (ผู้ป่วยนอก) 500 บาท 8.  เงินชดเชยการใช้สิทธิรักษาจากบัตรทอง…

พัฒนาชุมชนต้นแบบบูรณาการนำร่อง บ้านลาดบัวขาว ตำบลสมอแข อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ระยะที่ 2
| | |

พัฒนาชุมชนต้นแบบบูรณาการนำร่อง บ้านลาดบัวขาว ตำบลสมอแข อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ระยะที่ 2

            คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมได้ลงพื้นที่ชุมชนหมู่ที่2บ้านลาดบัวขาวตำบลสมอแขอำเภอเมืองจังหวัดพิษณุโลกเพื่อดำเนินกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาผู้นำชุมชนซึ่งนำไปสู่การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องอย่างมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชนเบื้องต้นพบว่าประชาชนส่วนใหญ่เป็นคนดีแต่ยังขาดกระบวนการพัฒนาชุมชนที่เป็นรูปธรรมที่จะก่อให้เกิดผลการทบในระดับหมู่บ้านรวมทั้งผู้นำหมู่บ้านยังขาดความกล้าแสดงออกในเชิงต่อต้านทุจริตและภาวะผู้นำจากการดำเนินการพัฒนาผู้นำชุมชนในช่วงปี2561-2562เพื่อจะได้เป็นกำลังสำคัญในการดำเนินการสร้างแนวคิดที่ดีต่อการพัฒนาชุมชนต้นแบบสุจริตตามแผนพัฒนาหมู่บ้านระยะเวลา3ปีดังนั้นคณะพิจารณาเลือกเป็นชุมชนนำร่องในการพัฒนาตามแผนไปสู่ชุมชนต้นแบบในปีงบประมาณ2563และยังคงดำเนินการที่สอดคล้องกับความต้องการและปัญหาของพื้นที่เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างเป็นระบบโดยมีข้อสรุปสำคัญคือจะปรับรูปแบบการสนับสนุนเพื่อให้ชุมชนมีระยะเวลาการดำเนินการต่อเนื่องครบวงรอบการพัฒนามีเป้าหมายในการสร้างให้เกิดการบริหารจัดการชุมชนเพื่อนำสู่การเป็นชุมชนที่น่าอยู่ตามแผนชุมชนพึ่งตนเองได้ในที่สุด หลักการและเหตุผล :             การพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งจำเป็นต้องเริ่มต้นที่การพัฒนาคนให้รู้จักตัวเองรู้ปัญหาของตนเองและชุมชนรู้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนและเชื่อว่าตนจะพึ่งตัวเองได้จนนำไปสู่ชุมชนเข้มแข็งโดยเริ่มจากการค้นพบศักยภาพของตนเองค้นพบภูมิปัญญาของตนเองค้นพบแนวทางที่จะพัฒนาตนเองจากทุนเดิมที่มีอยู่ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการพัฒนาการเรียนรู้การร่วมคิดร่วมทำและมีความรับผิดชอบต่อสังคมตลอดจนมีการเชื่อมโยงและประสานงานกับหน่วยงานภายนอกเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่สอดคล้องและเหมาะสมกับพื้นที่จนเกิดชุมชนพึ่งตนเองได้พร้อมทั้งนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์เป็นแนวทางการดำเนินงานเน้นการพึ่งตนเองโดยสร้างสังคมแห่งการเอื้ออาทรพึ่งพาอาศัยกันนำไปสู่วิธีการคิดและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของชุมชนต่อไปดังนั้นการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งน่าอยู่จะส่งผลให้ชุมชนมีสุขภาวะที่ดีและหากมีการดำเนินงานอย่างกว้างขวางแล้วนั้นย่อมส่งผลให้เป็นประเทศน่าอยู่ต่อไปจุดกำเนิดโครงการชุมชนจึงมีแนวคิดหลักคือการพัฒนากลไกการจัดการในชุมชน/หมู่บ้านที่เรียกว่า“สภาผู้นำชุมชน”มีองค์ประกอบหลักคือคณะกรรมการหมู่บ้านตามโครงสร้างที่มีอยู่เดิมและตัวแทนจากกลุ่มต่างๆภายในชุมชนใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการทำประชาคมหมู่บ้านเพื่อค้นหาปัญหาของตนเองมีการเก็บข้อมูลในพื้นที่เพื่อสามารถระบุถึงขนาดและความรุนแรงของปัญหานั้นๆอย่างชัดเจนและร่วมกันคิดแนวทางการแก้ไขปัญหาด้วยการจัดทำเป็นแผนชุมชนพึ่งตนเองหนึ่งในต้นแบบของการแก้ปัญหาโดยการบริหารจัดการชุมชนด้วยกลไกสภาผู้นำชุมชนที่ประกอบด้วยกลุ่มต่างๆในหมู่บ้านที่แบ่งหน้าที่การดำเนินงานกันอย่างชัดเจนมีการประชุมกันอย่างสม่ำเสมอมีการเก็บข้อมูลต่อเนื่องอย่างเป็นระบบมีการร่วมคิดร่วมวิเคราะห์จนเกิดเป็นแผนชุมชนที่ปฏิบัติได้จริงมีการสื่อสารข้อมูลแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันนอกจากนี้สภาผู้นำชุมชนยังเป็นแบบอย่างให้แก่สมาชิกชุมชนในแต่ละเรื่องและสามารถรวมพลังทุกกลุ่มในชุมชนมุ่งมั่นทำงานให้บรรลุเป้าหมายและผลลัพธ์ตามแผนชุมชนส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการเรียนรู้ของคนในชุมชนสร้างการเปลี่ยนแปลงสุขภาวะที่ดีของชุมชนให้เป็นไปอย่างยั่งยืนจนกลายเป็นวิถีและเกิดวัฒนธรรมที่สร้างสุขภาวะใหม่ๆขึ้นในชุมชน ชื่อกิจกรรมที่ 1 กิจกรรมการประชุมบูรณาการแผนพัฒนาชุมชนนำร่องบ้านลาดบัวขาวโดยภาคีเครือข่ายการพัฒนาชุมชนต้นแบบ เป็นการวางแผน จัดประชุม กำกับ และติดตามความก้าวหน้าของโครงการย่อยต่างๆ ที่อยู่ภายใต้แผน นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ประสานงานกับผู้นำชุมชน ไม่ว่าจะเป็น นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสมอแข ผู้ใหญ่บ้าน และกลุ่มผู้นำชุมชนบ้านลาดบัวขาว ดำเนินการรวบรวมข้อมูลทั้งหมดเพื่อจัดประชุมชี้แจงความเป็นไปเป็นมาของโครงการ และปิดโครงการ ชื่อกิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการพัฒนาผู้นำต้นแบบหมู่บ้านสุจริตบ้านลาดบัวขาว และเครือข่ายชุมชนใกล้เคียง โดยดำเนินการสนับสนุนให้เกิดกลไกการบริหารจัดการชุมชนที่เรียกว่าสภาผู้นำชุมชน ที่สามารถขับเคลื่อนงาน เสริมสร้างสุขภาวะในชุมชนได้อย่างเข้มแข็ง และจัดกิจกรรมสนับสนุนเสริมศักยภาพให้สภาผู้นำชุมชนรวมถึงสมาชิกชุมชนร่วมกันพัฒนาและขับเคลื่อนแผน ชุมชนพึ่งตนเอง ที่ประกอบด้วยประเด็นสุขภาวะที่ต้องการดำเนินงานอันจะนำไปสู่ความเป็น “ชุมชน น่าอยู่” ชื่อกิจกรรมที่ 3 กิจกรรมฟังธรรมและปฏิบัติธรรมชำระจิต ดำเนินการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการเจริญสติตามแนวสติปัฏฐานในพุทธศาสนา โดยพระอาจารย์สายวิปัสสนา ชื่อกิจกรรมที่ 4 กิจกรรมการบำบัดคุณภาพน้ำดิบสำหรับการผลิตน้ำประปาด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมพัฒนาระบบสูบน้ำเพื่อการเกษตรสำหรับชุมชน โดยดำเนินการจัดทำระบบสูบน้ำเพื่อการเกษตรสำหรับชุมชนบ้านลาดบัวขาว กิจกรรมที่ 6 กิจกรรมส่งเสริมออกกำลังกายด้วยกีฬาฟุตซอลสำหรับเยาวชนชุมชนบ้านลาดบัวขาว โดยจัดฝึกอบรมกีฬาฟุตซอลสำหรับเยาวชนชุมชนบ้านลาดบัวขาว -จัดการแข่งขันกีฬาฟุตซอลสำหรับเยาวชนชุมชนบ้านลาดบัวขาว กิจกรรมที่ 7 กิจกรรมเวทีนิทรรศการแสดงผลงานการพัฒนาชุมชนต้นแบบบูรณาการนำร่อง หมู่2 บ้านลาดบัวขาว…

| | | | | | | | | | | | | | | |

รายวิชาที่ความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
(Sustainable Development Goals, SDGs) ทั้ง 17 ด้าน

          การพัฒนาอย่างยั่งยืน คือการตอบสนองความต้องการของคนรุ่นปัจจุบัน โดยไม่มีผลกระทบในทางลบต่อความต้องการของคนรุ่นต่อไปในอนาคต ซึ่งรายวิชาศึกษาทั่วไปในทักษะนี้แต่ละรายวิชามีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งมหาวิทยาลัยได้มีการจัดรายวิชาที่ความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals, SDGs) ทั้ง 17 ด้าน  เช่น รายวิชา GESO115 The King’ s Philosophy for Local Development ซึ่งเป็นรายวิชาที่ออกแบบเพื่อให้นักศึกษาทราบถึงพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและพระบรมวงศานุวงศ์ ความหมาย หลักการ แนวคิด ความสําคัญ และเป้าหมายของหลักการทรงงาน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และการพัฒนาตามศาสตร์พระราชาอย่างยั่งยืน ตลอดจนถึงการลงพื้นที่สำรวจ วิเคราะห์ปัญหา การน้อมนําศาสตร์พระราชาไปประยุกต์ใช้ในให้การแก้ปัญหาของพื้นที่ตั้งแต่ระดับบุคคล องค์กรธุรกิจหรือชุมชนในระดับท้องถิ่น และระดับประเทศอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงเทคนิคการสร้างภาคีเครือข่าย และการฝึกปฏิบัติงานโดยบูรณาการแบบองค์รวมกับทีมภาคีเครือข่าย และรายวิชา SOED332Community Study and Community Based Learning  for Life Long เป็นรายวิชาที่ออกแบบเพื่อให้นักศึกษาทราบถึงโครงสร้างระบบการศึกษาส่วนท้องถิ่น บทบาทของคนและองค์กรชุมชนศิลปวัฒนธรรมจารีต ประเพณีท้องถิ่น  กิจกรรมและการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาคนและองค์กรชุมชนและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน รายละเอียดดังตาราง ลำดับ รายวิชา…

การดำเนินกิจกรรมความร่วมมือของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามกับสโมสรโรตารีพิษณุโลก
| |

การดำเนินกิจกรรมความร่วมมือของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามกับสโมสรโรตารีพิษณุโลก

การดำเนินกิจกรรมความร่วมมือของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามกับสโมสรโรตารีพิษณุโลกซึ่งได้มีการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ดังนี้           กิจกรรมที่ 1 ปล่อยพันธุ์ปลามหากุศล & โรตารีเกื้อกูล จัดขึ้นในวันที่ 12 สิงหาคม 2564 ณ บึงทะเลแก้ว โดยมีความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการดำเนินกิจกรรม ได้แก่ ภาคการศึกษา ภาคเอกชน สภาอุตสาหกรรมจังหวัดพิษณุโลก และ หอการค้าจังหวัดพิษณุโลก รวมถึงยังมีกิจกรรมารมอบถุงปันน้ำใจให้ส่งถึงมือประชาชน“โรตารีเกื้อกูลเพื่อนมนุษย์ สู้ภัยโควิด 19″ นำทีมมอบข้าวสารอาหารแห้ง 400 ชุด แก่ประชาชนในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก (4โซน) ได้แก่ โซน 1 โรงเรียนเทศบาล 4 ชุมชนวัดธรรมจักรโซน 2 มอบที่ วัดหนองบัว โซน 3 มอบที่ วัดจันทร์ตะวันออก และโซน 4 มอบที่ โรงเรียนเทศบาล 2 วัดคูหาสวรรค์           กิจกรรมที่ 2 บริจาคโลหิต สู้วิกฤต COVID –…

กิจกรรมชมรมสโมสรโรทาแรคท์วิศวกรสังคมมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
| | |

กิจกรรมชมรมสโมสรโรทาแรคท์วิศวกรสังคมมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

การก่อตั้งชมรมสโมสรโรทาแรคท์วิศวกรสังคมมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เกิดจากการรวมตัวของนักศึกษาที่มีจิตอาสาจะช่วยเหลือสังคมและพัฒนาชุมชนท้องถิ่นโดยแกนนำผู้นำนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามรับนโยบายจาก  พลเอกดาว์พงษ์  รัตนสุวรรณ  องคมนตรี เพื่อสร้างแกนนำวิศวกรสังคมฝึกให้นักศึกษาเป็น นักคิด นักสื่อสาร นักประสาน และนักสร้างนวัตกรรมโดยการนำชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้และฝึกฝนทักษะ จึงได้ก่อตั้งชมรมสโมสรโรทาแรคท์วิศวกรสังคมมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เพื่อพัฒนาชุมชน ด้วยกระบวนการและเครื่องมือของวิศวกรสังคม โดยมีกิจกรรมจิตอาสา ดังนี้  – กิจกรรมโครงการค่ายผู้นำวิศวกรสังคมอาสา พิบูลพัฒน์  สร้างสุขสู่ท้องถิ่น ปีที่ 1  กำหนดจัดกิจกรรม ในระหว่างวันที่ 4 – 6 กุมภาพันธ์ 2565   ณ โรงเรียนคลองห้วยนาพัฒนาการ  ตำบลชนแดน  อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ พิธีเปิดโครงการค่ายผู้นำวิศวกรสังคมอาสา พิบูลพัฒน์  สร้างสุขสู่ท้องถิ่น ปีที่ 1 ปรับปรุงสนามเปตอง ทำความสะอาดและทาสีสนามบาสเก็ตบอล ทำความสะอาดและทาสีรั้วโรงเรียน เข้าร่วมการอบรมเจ้าหน้าที่และคณะกรรมการบริหารสโมสร (District Training Assembly-DTA) และพิธีสถาปนาผู้ว่าการภาค 3360 โรตารีสากล ปี 2022 -2023  ณ โรงแรมแพร่นครา  อำเภอเมือง  จังหวัดแพร่…

พัฒนาบุคลากรเพื่อสร้างเครือข่ายวิศวกรสังคม
| | |

พัฒนาบุคลากรเพื่อสร้างเครือข่ายวิศวกรสังคม

กระแสความปั่นป่วนทางด้านเศรษฐกิจและการเมืองโลกในปัจจุบันก่อให้เกิดความท้าทายต่อความพยายามในการก้าวข้ามกับดักประเทศกำลังพัฒนาของประเทศไทยในอนาคตอันใกล้สงครามทางการระหว่างประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจได้เริ่มส่งผลกระทบอย่างชัดเจนต่อกระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรมหลักของประเทศซึ่งเชื่อมโยงไปถึงภาวการณ์มีงานทำของประชาชนในระยะยาวเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันจำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีคนไทยเป็นเจ้าของและสามารถสร้างคุณค่าใหม่ให้แก่ระบบเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนท่ามกลางบริบทความท้าทายดังกล่าวทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพโดยเฉพาะเยาวชนรุ่นใหม่ที่เป็นนักศึกษาและบัณฑิตใหม่คือกุญแจสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยหลุดพ้นวงจรแห่งความยากจนและกับดักประเทศกำลังพัฒนาแผนงานด้านการพัฒนาคนไทยยุคใหม่แห่งศตวรรษที่21จึงมีความมุ่งหวังเพื่อสร้างและพัฒนากำลังคน(Manpower)ที่เป็นยุวชนคนรุ่นใหม่ไม่จำกัดว่าเป็นนักศึกษาหรือบัณฑิตใหม่จะมีความถนัดด้านวิทยาศาสตร์หรือสังคมศาสตร์ซึ่งคนไทยรุ่นใหม่ทุกคนจะได้รับ“โอกาส”ในการเรียนรู้ตามความถนัดของตนเองจนได้“ความรู้ใหม่”หรือ“นวัตกรรม”ที่สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้อย่างยั่งยืนดังนั้นการพัฒนานักศึกษาซึ่งเป็นทรัพยากรสำคัญของเทศไทยให้เป็น“คนไทยแห่งศตวรรษที่21”ที่ถึงพร้อมด้วยสติปัญญาวุฒิภาวะทางอารมณ์และมีจิตสาธารณะและท่ามกลางความผันผวนทางด้านเศรษฐกิจและการค้าโลกทำให้นักศึกษาสามารถลดภาวการณ์ว่างงานของบัณฑิตใหม่ได้ด้วยการบ่มเพาะอาชีพใหม่แห่งอนาคตที่สามารถสร้างคุณค่าใหม่ให้แก่เศรษฐกิจของประเทศ โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม    ได้มอบหมายให้ กองพัฒนานักศึกษา โดยงานกิจกรรมและพัฒนานักศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบกิจกรรมอบรม เพื่อขยายผลโครงการ วิศวกรสังคม(Social Engineer) สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม  เพื่อการพัฒนาประเทศ (ครั้งที่ 1) มีกลุ่มเป้าหมาย องค์การบริหารกิจกรรมนักศึกษา   สภานักศึกษา  นักศึกษาจิตอาสา  สโมสรนักศึกษาคณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร  สโมสรนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  สโมสรนักศึกษาวิทยาลัยการพยาบาล  สโมสรนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  สโมสรนักศึกษาวิทยาลัยการจัดการและพัฒนาท้องถิ่น  บุคลากรกองพัฒนานักศึกษาที่จะเข้าร่วมในกิจกรรมครั้งนี้  ซึ่งมีกิจกรรมดังนี้ การบรรยายแนะนำหลักสูตร วิศวกรสังคม(Social Engineer)  โดย ดร.นงรัตน์   อิสโร เลขาองคมนตรี (พลเอกดาว์พงษ์  รัตนสุวรรณ)  การบรรยายหัวข้อ “แนวคิดวิศวกรสังคม  พัฒนาทักษะเพื่อสร้างกระบวนการ” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนสาร  เพ็งพุ่ม  รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา  อาจารย์ธีรพัฒน์  พูลทอง  รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและศิลปวัฒนธรรมคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  อาจารย์ศิลปชัย  ฟั่นพะยอม  ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา  วิทยาลัยการพยาบาล        และมีการละลายพฤติกรรมก่อนที่จะทำกิจกรรมกลุ่มต่อไป ช่วงบ่ายจะเป็นกิจกรรมฟ้าประทาน ,กิจกรรมนาฬิกาชีวิต : การเข้าใจตนเองผ่านการเข้าใจผู้อื่น และให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมนำเสนอไทม์ไลน์และนาฬิกาชีวิตของแต่ละกลุ่ม  กิจกรรมวันที่สอง จะเป็นการฝึกทักษะการเข้าใจปรากฏการณ์ …

PSRUยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)
|

PSRUยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้ดำเนินกิจกรรมโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 – 31 ธันวาคม 2564 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ โดยมหาวิทยาลัยเป็น System Integrator ให้เกิดการพัฒนาตามปัญหาและความต้องการของชุมชน การจ้างงานประชาชนทั่วไป บัณฑิตจบใหม่ และนักศึกษาให้มีงานทำและฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน และการจัดทำข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชน (Community Big Data) โดยร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 15 ตำบล จากจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 9 ตำบล และจังหวัดสุโขทัย จำนวน 6 ตำบล ได้แก่1. เทศบาลตำบลพลายชุมพล ตำบลพลายชุมพล อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก2.องค์การบริหารส่วนตำบลจอมทอง ตำบลจอมทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก3.องค์การบริหารส่วนตำบลดอนทอง ตำบลดอนทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก4.องค์การบริหารส่วนตำบลทองแท้ ตำบลท้อแท้ อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก5.องค์การบริหารส่วนตำบลคันโช้ง ตำบลคันโช้ง…

องค์ความรู้เกษตรและอาหารสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต และยกระดับเศรษฐกิจฐานราก ที่ยั่งยืน
|

องค์ความรู้เกษตรและอาหารสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต และยกระดับเศรษฐกิจฐานราก ที่ยั่งยืน

          มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามในฐานะที่เป็นหน่วยงานให้ความช่วยเหลือในชุมชนและท้องถิ่นที่สนับสนุนการเริ่มต้นธุรกิจทางการเงินและความยั่งยืนทางสังคมผ่านองค์ความรู้ของบุคลากรมหาวิทยาลัยที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านเกษตรและอาหาร เพื่อให้เกิดความมั่นคงด้านอาหารและส่งต่อความรู้ด้านการเกษตรและอาหารเพื่อให้เกิดความยั่งยืนแก่ชุมชน ผนวกกับการเสริมทักษะและความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีเพื่อถ่ายทอดแก่เกษตรในชุมชนท้องถิ่นเพื่อใช้ในการประกอบอาชีพและเพิ่มรายได้ ขจัดความยากจน คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร ภายใต้การนำของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มีบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการเกษตร สัตวศาสตร์ และอาหารที่มีการประยุกต์เอาองค์ความรู้ที่เชี่ยวชาญไปถ่ายทอดให้เกษตรกรในชุมชนสามารถลดรายได้ เพิ่มรายได้และต่อยอดเพื่อประกอบธุรกิจในอนาคตได้ โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 คณะฯ ได้ดำเนินการโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต และยกระดับเศรษฐกิจฐานรากโดยมีพื้นที่ดูแลในสองจังหวัดคือ จังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดสุโขทัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นสถาบันการศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ได้จัดทำยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) ทั้ง 38 แห่ง โดยน้อมนำเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นการพัฒนาแบบยั่งยืน และใช้หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลเดชบรมนาถบิตร มาเป็นแนวทางในการดำเนิน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ของประชาชน แก้ปัญหาเชิงโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร เสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร และความปลอดภัยด้านอาหาร เพื่อนำไปสู่ความมั่นคง มั่นคั่ง และยั่งยืน ของประชาชนและประเทศชาติ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชการที่ 10 ทรงมีพระปณิธานแน่วแน่ที่จะสานต่อโครงการในพระราชดาริของพระบิดา เพื่อช่วยเหลือประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามรับผิดชอบ 2 จังหวัด คือ จังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดสุโขทัย มีความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ให้คนในชุมชนฐานรากตามแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ…

ศาสตร์เกษตรสู่การพัฒนาชุมยั่งยืน U2T kaset PSRU
|

ศาสตร์เกษตรสู่การพัฒนาชุมยั่งยืน U2T kaset PSRU

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามในฐานะที่เป็นหน่วยงานให้ความช่วยเหลือในชุมชนและท้องถิ่นที่สนับสนุนการเริ่มต้นธุรกิจทางการเงินและความยั่งยืนทางสังคมผ่านองค์ความรู้ของบุคลากรมหาวิทยาลัยที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านเกษตรและอาหาร เพื่อให้เกิดความมั่นคงด้านอาหารและส่งต่อความรู้ด้านการเกษตรและอาหารเพื่อให้เกิดความยั่งยืนแก่ชุมชน ผนวกกับการเสริมทักษะและความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีเพื่อถ่ายทอดแก่เกษตรในชุมชนท้องถิ่นเพื่อใช้ในการประกอบอาชีพและเพิ่มรายได้ ขจัดความยากจน คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร ภายใต้การนำของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มีบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการเกษตร สัตวศาสตร์ และอาหารที่มีการประยุกต์เอาองค์ความรู้ที่เชี่ยวชาญไปถ่ายทอดให้เกษตรกรในชุมชนสามารถลดรายได้ เพิ่มรายได้และต่อยอดเพื่อประกอบธุรกิจในอนาคตได้ โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 คณะฯ ได้ดำเนินการในโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งมหาวิทยาลัยในพื้นที่ 5 พื้นที่ด้วยกัน อันได้แก่ โดยได้ดำเนินการโครงการในรูปแบบการให้คำปรึกษาเพื่อให้เกิดการพัฒนาในพื้นที่ตามศักยภาพของชุมชน รวมทั้งมีการจัดซื้อวัตถุดิบในชุมชนเพื่อนำมาแปรรูปหรือสร้างนวัตกรรมขึ้นใหม่ เพื่อให้ต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้ได้เกิดการพัฒนาพื้นที่ทั้งในด้านการเกษตร อาหาร รวมไปถึงการคัดแยกขยะ การบริหารจัดการขยะในชุมชน และมีการถ่ายทอดความรู้เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพเพื่อสร้างสัมมาชีพในชุมชนอีกด้วย จากผลการดำเนินงาน เกิดผลลัพธ์เชิงเศรษฐกิจและสังคม ดังนี้ ผลลัพธ์เชิงเศรษฐกิจ พื้นที่มีรายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 20 รวมถึงเกิดการเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) เช่น อย่างตำบลโคกสลุดที่เกิดปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยนร้อยละ 17.50 ต่อตำบลโดยจำแนกเป็นด้านที่เกษตรกรได้รับการส่งเสริมการทำเกษตรเพาะปลูกผักแบบปลอดภัยให้ได้มาตรฐาน GAP จึงทำให้สามารถมีผลผลิตผักที่ได้มาตรฐานปริมาณ 150 กิโลกรัมต่อเดือน หรือกลุ่มวิสาหกิจแปรรูปน้ำพริกโคกสลุดสามารถผลิตน้ำพริกสมุนไพรได้ 100 กระปุกต่อเดือน หรือเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจำนวน 6 ราย สามารถเพาะเลี้ยงปลาน้ำจืดและจัดจำหน่ายได้ 1,500 ตัว นอกจากนี้ในแง่ของการบริหารจัดการขยะ ผู้เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า 10 ราย…