| | | | | | | | | | | | | | | |

รายวิชาที่ความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
(Sustainable Development Goals, SDGs) ทั้ง 17 ด้าน

          การพัฒนาอย่างยั่งยืน คือการตอบสนองความต้องการของคนรุ่นปัจจุบัน โดยไม่มีผลกระทบในทางลบต่อความต้องการของคนรุ่นต่อไปในอนาคต ซึ่งรายวิชาศึกษาทั่วไปในทักษะนี้แต่ละรายวิชามีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งมหาวิทยาลัยได้มีการจัดรายวิชาที่ความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals, SDGs) ทั้ง 17 ด้าน  เช่น รายวิชา GESO115 The King’ s Philosophy for Local Development ซึ่งเป็นรายวิชาที่ออกแบบเพื่อให้นักศึกษาทราบถึงพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและพระบรมวงศานุวงศ์ ความหมาย หลักการ แนวคิด ความสําคัญ และเป้าหมายของหลักการทรงงาน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และการพัฒนาตามศาสตร์พระราชาอย่างยั่งยืน ตลอดจนถึงการลงพื้นที่สำรวจ วิเคราะห์ปัญหา การน้อมนําศาสตร์พระราชาไปประยุกต์ใช้ในให้การแก้ปัญหาของพื้นที่ตั้งแต่ระดับบุคคล องค์กรธุรกิจหรือชุมชนในระดับท้องถิ่น และระดับประเทศอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงเทคนิคการสร้างภาคีเครือข่าย และการฝึกปฏิบัติงานโดยบูรณาการแบบองค์รวมกับทีมภาคีเครือข่าย และรายวิชา SOED332Community Study and Community Based Learning  for Life Long เป็นรายวิชาที่ออกแบบเพื่อให้นักศึกษาทราบถึงโครงสร้างระบบการศึกษาส่วนท้องถิ่น บทบาทของคนและองค์กรชุมชนศิลปวัฒนธรรมจารีต ประเพณีท้องถิ่น  กิจกรรมและการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาคนและองค์กรชุมชนและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน รายละเอียดดังตาราง ลำดับ รายวิชา…

working with government การทำงานกับภาครัฐของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

working with government การทำงานกับภาครัฐของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

สาระสำคัญการดำเนินงาน 1.คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานบริหารจัดการสารสนเทศ เพื่อรองรับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสจังหวัดพิษณุโลก มหาวิทยาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามได้เข้าร่วมบริหารจัดการสารสนเทศเพื่อรองรับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสของจังหวัดพิษณุโลก  และเผยแพร่ข้อมูลสนเทศการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสของจังหวัดพิษณุโลก เสริมสร้างและพัฒนาความรู้ให้แก่บุคลากรภาครัฐในการยกระดับคะแนนการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ 2.คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานด้าน City Data Platform (CDP) มหาวิทยาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามได้เข้าร่วมประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บูรณาการข้อมูลและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม และขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะจังหวัดพิษณุโลก มีฐานข้อมูลระดับเมือง เพื่อใช้ในการวิเคราะห์การวางแผน บริหารจัดการ และแก้ไขปัญหาของเมืองพิษณุโลก  เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2564 – คุณวิชัย ตรีฐิตพัฒน์ หัวหน้างานฝ่ายส่งเสริมแพลตฟอร์มและบริการดิจิทัล พร้อมด้วย คุณอรรถพล ห้วยหงษ์ทอง รักษาการผู้จัดการดีป้า สาขาภาคเหนือตอนล่าง และทีมฝ่ายส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ ร่วมหารือกับคณะทำงานด้าน City Data Platform จังหวัดพิษณุโลก โดยมีคุณสมเกียรติ พูลสุขเสริม รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลกเป็นประธานในที่ประชุม และคณะผู้บริหารจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) เพื่อส่งเสริมให้จังหวัดพิษณุโลกเป็นต้นแบบในการจัดทำระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ (Government Data Catalog) ให้สอดคล้องกับกรอบการพัฒนาแพลตฟอร์มข้อมูลเมือง (City Data Platform Development Framework) ซึ่งมีข้อมูล Meetings,…

ประชุมหัวหน้าส่วนราชการ จังหวัดพิษณุโลกและสุโขทัย

ประชุมหัวหน้าส่วนราชการ จังหวัดพิษณุโลกและสุโขทัย

1.ชื่อ โครงการ / กิจกรรม    :  ประชุมหัวหน้าส่วนราชการ จังหวัดพิษณุโลกและสุโขทัย 2. สรุปสาระสำคัญการดำเนินงาน :          ผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เข้าประชุมคณะกรรมการส่วนราชการของจังหวัดและกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง 1 พิษณุโลก ในวาระการประชุมเรื่องเสนอขอรับงบประมาณโครงการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีจังหวัดและกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง 1 พิษณุโลก รวมทั้งการประชุมหารือในประเด็นการพัฒนาต่างๆ ของคณะกรรมการ                      การประชุมคณะกรรมการจังหวัดสุโขทัย เป็นการประชุมของหัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ นายอำเภอ นายกเหล่ากาชาดจังหวัด ผู้บังคับการ ผู้บริหารองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้บริหารสถานการศึกษาและผู้นำองค์กรเอกชน ซึ่งในการประชุมครั้งที่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุมพล เสมาขันธ์ ได้นำเสนอโครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ซึ่งทางจังหวัดสุโขทัยเป็นพื้นที่บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และพื้นที่ตำบลไทยชนะศึก ตำบลท่าชัย ตำบลดงคู่ ตำบลวังไม้ขอน ตำบลคลองกระจง ได้รับเลือกเป็นพื้นที่ดำเนินโครงการดังกล่าว อีกทั้งเป็นการประชุมหารือในประเด็นการพัฒนาต่างๆ ของคณะกรรมการ ที่มา:  งานเลขานุการผู้บริหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

โครงการสัมมนาวิชาการทางรัฐศาสตร์

โครงการสัมมนาวิชาการทางรัฐศาสตร์

สาระสำคัญการดำเนินงาน : สัมมนาวิชาการทางรัฐศาสตร์เป็นโครงการที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาสัมมนาทางรัฐศาสตร์ และเป็นกิจกรรมนักศึกษาที่ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพของนักศึกษาให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด มีทักษะวิชาการวิเคราะห์ประเด็นปัญหาทางการเมืองการปกครองไทย ปัญหาในระดับชุมชนและท้องถิ่น สภาพและเหตุการณ์ทางการเมืองของสังคมไทยและต่างประเทศ ตลอดจนการกำหนดนโยบายการกระจายอำนาจของหน่วยการปกครองท้องถิ่นและการเคลื่อนไหวของกลุ่มสังคมในภาคต่างๆ ซึ่งจะทำให้เข้าใจประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมไทยและยังเป็นการหาทางออกร่วมกัน อันนำประโยชน์มาปรับใช้ในการเรียนการสอนของนักศึกษาและคณาจารย์ รวมทั้งการพัฒนานักศึกษาให้เป็นไปตามอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย

การแสดงข้อมูลทางการเงินในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

การแสดงข้อมูลทางการเงินในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มีการแสดงข้อมูลทางการเงินในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564โดยแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำกรอบวงเงินและหลักเกณฑ์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายจากเงินรายได้เพื่อพิจารณการจัดสรรงบประมาณให้กับหน่วยงานต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัย การจัดทำคู่มือคำขอตั้งงบประมาณรายจ่าย เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ รับทราบวงเงินในการดำเนินงาน การใช้จ่ายงบประมาณ ได้นำผลการใช้จ่ายงบประมาณนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานประจำปี ทั้งนี้ยังมีรายงานประจำเดือนการใช้งบประมาณ เงินรายได้ เงินกองทุน ที่เผยแพร่ทางเว็บไซต์ของโครงการจัดตั้งกองคลัง ลิงค์ข้อมูลรายงานการใช้งบประมาณ : รายงานประจำเดือน รายงานประจำเดือน

ข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ว่าด้วย จรรยาบรรณข้าราชการสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม พ.ศ. 2551

สรุปสาระสำคัญการดำเนินงาน :           มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มีนโยบายกำหนดจรรยาบรรณข้าราชการสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม โดยมติสภามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในคราวประชุมครั้งที่ 35(1/2551)เมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2551 และในคราวประชุมครั้งที่ 36(2/2551) เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551  จึงกำหนดข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ว่าด้วย จรรยาบรรณข้าราชการสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม พ.ศ. 2551  โดยในส่วนของการสนับสนุนเสรีภาพทางวิชาการจะปรากฏอยู่ในหมวดที่ 3 จรรยาบรรณของอาจารย์ ข้อ 38 ซึ่งกำหนดว่า “อาจารย์พึงปฏิบัติงานโดยใช้เสรีภาพทางวิชาการในทางที่สุจริต ปราศจากการครอบงำด้วยอิทธิพลหรือผลประโยชน์อื่นใด” ย่อมแสดงให้เห็นว่ามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามมีการให้ความคุ้มครองและสนับสนุนเสรีภาพทางวิชาการในทางที่สุจริตมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 และในปัจจุบันข้อบังคับดังกล่าวยังมีผลใช้บังคับอยู่           นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ซึ่งมีฐานะเป็นสถาบันอุดมศึกษาภายใต้สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมย่อมต้องยึดถือประกาศแนวปฏิบัติตามหลักความรับผิดชอบต่อสังคม หลักเสรีภาพทางวิชาการ หลักความเป็นอิสระ และหลักความเสมอภาค ฉบับลงวันที่ 20 ธันวาคม 2564 โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามอยู่ระหว่างการดำเนินการยกร่างประมวลจริยธรรม และปรับแก้ข้อบังคับของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามที่เกี่ยวข้องต่อไป    ที่มา: งานวินัยและนิติการ กองบริหารงานบุคคล…

การดำเนินการเพื่อป้องกันการทุจริต

การดำเนินการเพื่อป้องกันการทุจริต

1.ชื่อ โครงการ / กิจกรรม   การดำเนินการเพื่อป้องกันการทุจริต 2. สรุปสาระสำคัญการดำเนินงาน :       การทุจริตในสังคมไทยระหว่างช่วงเวลากว่าทศวรรษ ส่งผลเสียต่อประเทศอย่างมหาศาลและเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ในทุกมิติ รูปแบบการทุจริตจากเดิมที่เป็นทุจริตทางตรงไม่ซับซ้อน อาทิ การรับสินบน การจัดซื้อจัดจ้าง ในปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนเป็นการทุจริตที่ซ้อนซ้อนมากขึ้น ตัวอย่างเช่น     การทุจริตเชิงนโยบาย การทุจริตข้ามแดนข้ามชาติ ซึ่งเชื่อมโยงไปสู่อาชญากรรมอื่น ๆ มากมายและส่งผลกระทบในวงกว้าง ประเทศไทยพยายามที่จะแก้ปัญหาการทุจริตในระดับประเทศมาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งบูรณาการความร่วมมือให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ด้วยการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตระยะที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔) จึงกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ในการสร้างวัฒนธรรมการต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบอย่างเข้มแข็งทั่วทั้งสังคมไทย เพื่อให้เป็นประเทศที่มีมาตรฐานความโปร่งใสเทียบเท่าระดับสากล       มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มีการดำเนินงานเพื่อป้องกันการทุจริตที่อาจเกิดขึ้น จึงได้จัดทำแนวทางการปฏิบัติงาน เพื่อป้องกันการทุจริต เสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ไม่ทนต่อการทุจริต สร้างมาตรการภายในเพื่อป้องกันการทุจริต ดังนี้  นำโดยผู้บริหารสูงสุดคนปัจจุบัน ได้ให้ความสำคัญกับการบริหารงานที่ต่อต่านการทุจริต โดยออกประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เรื่อง ประกาศนโยบายคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และ ประกาศ เรื่องการแสดงเจตจำนงการบริหารงานและการปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีคุณธรรมและความโปร่งใสของมหาวิทยาลัย และเผยแพร่ให้บุคลากรทุกระดับรับทราบและปฏิบัติร่วมกัน และเสริมสร้างให้บุคลากรทุกระดับต่อต้านการทุจริต…

 ขับเคลื่อนการดำเนินงานหน่วยปฏิบัติการส่วนหน้าของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในการสนับสนุนการพัฒนาจังหวัดเพื่อขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน (อว. ส่วนหน้า) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ประจำจังหวัดสุโขทัย

 ขับเคลื่อนการดำเนินงานหน่วยปฏิบัติการส่วนหน้าของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในการสนับสนุนการพัฒนาจังหวัดเพื่อขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน (อว. ส่วนหน้า) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ประจำจังหวัดสุโขทัย

1.ชื่อ โครงการ / กิจกรรม    :  ขับเคลื่อนการดำเนินงานหน่วยปฏิบัติการส่วนหน้าของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในการสนับสนุนการพัฒนาจังหวัดเพื่อขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน (อว. ส่วนหน้า) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ประจำจังหวัด   สุโขทัย 2. สรุปสาระสำคัญการดำเนินงาน : จากนโยบายในการนํางานด้าน อววน. ไปพัฒนาพื้นที่โดยบูรณาการงาน 3 ศาสตร์ (วิทยาศาสตร์ มนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์) สู่การแก้ปัญหาและพัฒนาจังหวัดในทุกมิติ อันจะนําไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนเป็นสําคัญ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จึงได้มีแนวคิดที่จะนํางานด้าน อววน. เพื่อการสนับสนุนในการพัฒนาจังหวัดพื้นที่ที่รับผิดชอบ และมีแนวคิดจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการ ส่วนหน้าของ อว. ในพื้นที่จังหวัดเพื่อการสนับสนุนการพัฒนาจังหวัดในการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันให้สอดรับนโยบาย “ขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน” มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มีพื้นที่รับผิดชอบหลัก คือ จังหวัดสุโขทัย (ตามคำสั่ง อว. ที่ 226/2563 เรื่อง การจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการส่วนหน้าและแต่งตั้งหัวหน้าหน่วยฯ ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2563) โดยเป็นพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาของจังหวัดให้สามารถใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นการทำงานในลักษณะการบูรณาการในการขับเคลื่อนของทุกภาคส่วน โดยได้ใช้องค์ความรู้…

โครงการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามพ.ศ. 2565 – 2569
|

โครงการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามพ.ศ. 2565 – 2569

1.ชื่อ โครงการ / กิจกรรม    :  โครงการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามพ.ศ. 2565 – 2569 2. สรุปสาระสำคัญการดำเนินงาน : โครงการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามพ.ศ. 2565 – 2569โดยมีกิจกรรมที่ดำเนินการหลักๆดังนี้                      กิจกรรมที่ 1 โครงการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม พ.ศ. 2565 – 2569 โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ ประกอบด้วย ผู้บริหารของมหาวิทยาลัย คณบดีรองคณบดี ผู้อำนวยการสำนัก/สถาบัน รองผู้อำนวยการสำนัก/สถาบัน ผู้อำนวยการกองหรือหน่วยงานที่เทียบเท่า ผู้อำนวยการ/รองผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม หัวหน้าสำนักงานคณะ/สถาบัน/สำนัก ประธานหลักสูตรสาขาวิชาต่างๆ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ อดีตรองอธิการบดีฝ่ายนโยบายและแผนฯ คณะกรรมการสภาคณาจารย์และข้าราชการ  ผู้นำนักศึกษา และตัวแทนศิษย์  การประชุมจัดทำแผนได้มีการดำเนินการร่วมวิพากษ์ : วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ กลยุทธ์และมิติการพัฒนาโดยระดมความคิดเห็นในประเด็นสำคัญที่และกำหนดมิติการพัฒนา ได้ 4 มิติ ได้แก่ 1) การยกระดับคุณภาพบัณฑิต 2) การผลิตและพัฒนาครูสู่ความเป็นเลิศในยุคดิจิทัล…

โครงการทบทวนรูปแบบการจัดกิจกรรมและแผนพัฒนานักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

1.ชื่อ โครงการ / กิจกรรม    : โครงการทบทวนรูปแบบการจัดกิจกรรมและแผนพัฒนานักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม 2. สรุปสาระสำคัญการดำเนินงาน :            มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามจัดทำแผนพัฒนานักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม พ.ศ.2559- 2564 โดยมีผู้เข้าร่วม โครงการทบทวนรูปแบบฯ ประกอบด้วย รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา เจ้าหน้ากิจการนักศึกษา ประธานสโมสรนักศึกษาทุกคณะ ผู้นำนักศึกษา บุคลากรกองพัฒนานักศึกษามีวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่า  โดยมีการดำเนินการร่วมกันในการ ทบทวน ปรับรูปแบบการจัดกิจกรรมและแผนพัฒนานักศึกษา ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษาและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่าน แลกเปลี่ยนความคิด/ประสบการณ์ในการทำงานของแต่ละท่าน ในการปรับรูปแบบกิจกรรมและการจัดทำแผนฯ โดยในการจัดโครงการนี้นักศึกษาจะได้รับความรู้ความเข้าใจในเรื่อง เครื่องมือในการพัฒนาฯ ทักษะในการประกันคุณภาพตามวงจร PDCA และใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าร่วมกับหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ซึ่งแผนพัฒนานักศึกษามีความสำคัญยิ่งต่อการดำเนินงานด้านกิจการนักศึกษา อีกทั้งเป็นการสนับสนุนภารกิจด้านการพัฒนานักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่มีความสมบูรณ์ ทั้งด้าน ร่างกาย อารมณ์ สติปัญญา และความรับผิดชอบทั้งต่อคนเองและสังคม  โดยเป็นการพัฒนานักศึกษาที่สอดคล้องกับกรอบมาตราฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาทั้ง 5 ด้าน (TQF)   จากการดำเนินโครงการทบทวนรูปแบบการจัดกิจกรรมและแผนพัฒนานักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ที่แล้วเสร็จเรียบร้อยได้ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ กลยุทธ์และมาตรการ ดังนี้ ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ และกลยุทธ์ ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ กลยุทธ์ พัฒนากระบวนการเรียนรู้สู่บัณฑิตนักปฏิบัติอย่างมืออาชีพเพื่อการพัฒนาชุมชน…