สร้างบัณฑิตจิตอาสาฟื้นฟูป่าชุมชนโดยการสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น ณ ตำบลบ้านดง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ปีที่ 3
|

สร้างบัณฑิตจิตอาสาฟื้นฟูป่าชุมชนโดยการสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น ณ ตำบลบ้านดง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ปีที่ 3

           มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม โดยคณะครุศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป มีโครงการจิตอาสาฟื้นฟูป่าชุมชนโดยการสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น ณ ตำบลบ้านดง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ปีที่ 3” ภายใต้โครงการพัฒนากระบวนการคิดแบบวิทย์นอกห้องเรียน ให้กับนักศึกษาและชุมชนอำเภอชาติตระการ นับตั้งแต่พุทธศักราช 2502 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในภูมิภาคต่าง ๆ ทรงประจักษ์ในปัญหาของราษฎรในชนบทที่ดำรงชีวิตด้วยความยากจน ลำเค็ญ และด้อยโอกาสทรงช่วยเหลือและบรรเทาความทุกข์ยากเดือดร้อนให้แก่พสกนิกรชาวไทย ก่อเกิดเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ทั้งด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ การเกษตร สิ่งแวดล้อม ส่งเสริมอาชีพ สาธารณสุข สวัสดิการสังคม และอื่น ๆ กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศกว่า 4,810 โครงการ ที่สร้างประโยชน์และคุโณปการแก่ราษฎรอย่างหาที่สุดมิได้ ทางสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม คณะผู้นำชุมชน และชาวชุมชนผู้มีจิตอาสา เล็งเห็นถึงความสำคัญในการสืบสานแนวทางพระราชดำริเกี่ยวกับการอนุรักษ์และฟื้นฟู่ป่าต้นน้ำตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เกี่ยวกับการพัฒนาและฟื้นฟูป่าไม้ด้วยการใช้ทรัพยากรที่เอื้ออำนวย เกิดการสัมพันธ์ซึ่งกันและกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด และพระราชดำริเกี่ยวกับจิตอาสาในการพัฒนาชุมชนของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงลงพื้นที่สำรวจป่าชุมชนของหมู่ที่ 1 ตำบลบ้านดง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก พบว่าพื้นที่ป่าชุมชนดังกล่าวมีพื้นที่กว่า 3,000…

การพัฒนาระบบการจ่ายน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ สำหรับผักสวนครัว ชุมชนบ้านลาดบัวขาว
|

การพัฒนาระบบการจ่ายน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ สำหรับผักสวนครัว ชุมชนบ้านลาดบัวขาว

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม  โดยคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมได้พัฒนารูปแบบการทำการเกษตรในการรดน้ำในพื้นที่ที่ไม่มีไฟฟ้า เพื่อส่งเสริมการทำเกษตรกรรมให้ได้พื้นที่เพิ่มมากขึ้น และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับระบบสูบน้ำแบบอื่นๆได้ ในชุมชนบ้านลาดบัวขาว ต.สมอแข อ.เมืองพิษณุโลก จ.พิษณุโลก โดยใช้วัดลาดบัวขาว เป็นกรณีศึกษา เนื่องจากพื้นที่บริเวรวัดมีปัญหาเรื่องการรดน้ำแปลงผัก ซึ่งได้นำนวัตกรรมจ่ายน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ไปใช้ ทำให้สามารถแก้ปัญหาการรดน้ำในพื้นที่ที่ไม่มีไฟฟ้าในชุนชนได้เป็นอย่าดี                                                               

PSUR ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
| |

PSUR ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

Measures to reduce greenhouse gas emissions which are implemented by the university are as follows: 1. To reduce fuel consumption, public bicycle service is being utilized.2. To reduce electricity cost, renewable energy (electricity) is used.3. To reduce fuel burn and greenhouse gas emissions, bio-compost area is made.4. To reduce fuel consumption, public electric vehicle service…

ระบบการจัดการพลังงาน
|

ระบบการจัดการพลังงาน

มหาวิทยาลัย มีพื้นที่ทั้งหมด แบ่งเป็น  3 ส่วน คือ ส่วนวังจันทน์ ส่วนทะเลแก้ว และส่วนสนามบิน ประกอบด้วย 8 คณะ 11 หน่วยงาน  ซึ่งมหาวิทยาลัยเป็นสถาบันที่มีอาคารควบคุมตาม พระราชกฤษฏีกา กำหนดอาคารควบคุม พ.ศ. 2538 ซึ่งต้องปฏิบัติตามพระราชบัณญัติส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.2535 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2550) โดยการนำระบบการจัดการพลังงานมาใช้ในหน่วยงาน เพื่อลดค่าใช้ใจในด้านพลังานที่ช่วยส่งผลให้การลดภาระการนำเข้าพลังงานของประเทศ ซึ่งเป็นนโยบายหนึ่งของรัฐบาล นอกจากนั้นยังช่วยลดผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนที่ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก โดยในแต่ละปีมหาวิทยาลัยจะรายงานข้อมูลด้านพลังงานให้กับกระทรวงพลังงานเพื่อใช้เป็นข้อมูลระดับประเทศต่อไป Additional evidence link: http://1.179.213.144/esmpsru/index.php/

นโยบายในการขับเคลื่อนการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green Innovation University)
|

นโยบายในการขับเคลื่อนการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green Innovation University)

มหาวิทยาลัย มีนโยบายในการขับเคลื่อนการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green Innovation University) สนับสนุนการดำเนินการตามเป้าหมายเข้าสู่การจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวโลก ยูไอ กรีนเมตริก (UI Green Metric) เพื่อยกระดับคุณภาพของมหาวิทยาลัย ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สร้างจิตสำนึก รักษาสมดุลทางกายภาพอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยจึงกำหนดนโยบายเพื่อให้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการทรัพยากร และนำไปสู่แนวทางการปฏิบัติของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ภายใต้กรอบนโยบายตามหลักแนวคิดสากล 7 ด้าน ดังนี้           ด้านที่ 1 สถานที่และโครงสร้างพื้นฐาน (Setting and Infrastructure : SI) ด้านที่ 2 พลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Energy and Climate Change : EC) ด้านที่ 3 ของเสีย (Waste : WC) ด้านที่ 4 น้ำ (Water : WR) ด้านที่ 5 การขนส่ง (Transportation…

นโยบายในการขับเคลื่อนการเป็นมหาวิทยาลัยนวัตกรรมสีเขียว
|

นโยบายในการขับเคลื่อนการเป็นมหาวิทยาลัยนวัตกรรมสีเขียว

มหาวิทยาลัย มีกระบวนการในการจัดการคาร์บอนและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยมหาวิทยาลัยมีนโยบายในการขับเคลื่อนการเป็นมหาวิทยาลัยนวัตกรรมสีเขียว (Green Innovation University) เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพของมหาวิทยาลัย ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สร้างจิตสำนึก รักษาสมดุลทางกายภาพอย่างยั่งยืน โดยมีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ หรือการลดการใช้พลังงาน เช่น กิจกรรมคาร์บอนเครดิต ร่วมกับกระทรวงพลังงาน ได้เข้ามาให้ความรู้ตลอดจนร่วมกันจัดทำฐานข้อมูลต้นไม้รอบมหาวิทยาลัยว่ามีความสามารถในการดูดซับก๊าซได้ปริมาณเท่าไร กิจกรรมการทำสวนผักแบบ คีย์โฮล (Keyhole) เป็นการทำแปลงผักที่มีการผสมผสานที่ปลูกผักกับที่หมักปุ๋ยไว้ด้วยกัน ส่วนเหตุผลที่เรียกว่า คีย์โฮล เพราะหน้าตาเหมือนรูกุญแจที่มีทางเดินไปยังรูตรงกลาง สำหรับใส่เศษอาหารจากครัวเรือน เพื่อทำเป็นปุ๋ยหมักให้ผักในแปลง ผักจะดูดปุ๋ยหมักจากท่อในดินไปใช้ใน การเจริญเติบโต ประโยชน์ของการทำคีย์โฮล คือช่วยลดขยะอินทรีย์ในครัวเรือน และยังเป็นรูปแบบสวนผักที่ ช่วยประหยัดน้ำ โดยรดน้ำแค่ในส่วนของท่อปุ๋ยหมักแล้วน้ำจะกระจายไปยังแปลงดินที่มีชั้นหินด้านล่างช่วยเก็บความชื้นไว้ ระบบการขนส่งที่มีบทบาทสำคัญในการปล่อยก๊าซคาร์บอนและระดับมลพิษในมหาวิทยาลัยนโยบายการขนส่งเพื่อจำกัดจำนวนยานยนต์ในการใช้งานภายในมหาวิทยาลัย จำนวนของรถโดยสารและจักรยานจะช่วยส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพ นโยบายทางเดินเท้าจะส่งเสริมให้นักศึกษาและเจ้าหน้าที่เดินภายในพื้นที่มหาวิทยาลัยและหลีกเลี่ยงการใช้ยานพาหนะส่วนตัว การใช้ระบบขนส่งสาธารณะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ภายในและรอบพื้นที่มหาวิทยาลัย การส่งเสริมการใช้จักรยาน โดยจักยาน OFO จะจอดตามจุดเพื่อให้ นักศึกษา บุคลากร และอาจารย์ได้ใช้งาน มีการให้บริการรถไฟฟ้าสัญจรภายในมหาวิทยา วิทยาเขต     ทะเลแก้ว จำนวน 6 คัน ซึ่งผู้บริหารได้มีแนวคิดพื้นฐานของการใช้เทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้าคือ การใช้พลังงานสะอาด มาขับเคลื่อนรถยนต์ไฟฟ้า โดยพลังงานสะอาด หรือพลังงานสีเขียว…

ห้องเรียนอัจฉริยะ
|

ห้องเรียนอัจฉริยะ

มหาวิทยาลัย มีแผนที่จะปรับปรุงอาคารที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยมีแนวทางในการทำห้องเรียนห้องเรียนอัจฉริยะ (Smart Classroom) ซึ่งในขณะนี้มีห้องเรียนทดลองระบบนี้อยู่ จำนวน 5 ห้องเรียนที่อาคารทีปวิชญ์ เพื่อจำลอง และทดสอบการใช้งานจริงก่อนการสร้างห้องเรียนอัจฉริยะ (Smart Classroom) ในมหาวิทยาลัยต่อไป

ระบบเปิด-ปิด น้ำและเปิด-ปิดไฟอัตโนมัติ (Automatic)
|

ระบบเปิด-ปิด น้ำและเปิด-ปิดไฟอัตโนมัติ (Automatic)

มหาวิทยาลัยมีการปรับปรุงอาคารภายในมหาวิทยาลัย ให้มีมาตรฐานและประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน โดยเริ่มต้นจากการปรับปรุงอาคารภายในมหาวิทยาลัย เช่น อาคารสถาบันเทคโนโลยีดิจิทัล และอาคารห้องสมุด   E-Library PSRU ในส่วนของน้ำในห้องน้ำ และระบบแสงสว่าง ที่เป็นระบบ Manual ผู้ใช้ต้องทำการเปิด – ปิด บางครั้งมีการเปิดใช้งานทิ้งไว้ อีกทั้งจำนวนผู้ใช้งานทั้ง 2 อาคาร มีผู้ใช้งานจำนวนมากและตลอดทั้งวัน โดยเปิดทำการเวลา 8.30-19.30 น. ทำให้สิ้นเปลืองพลังงานเป็นอย่างมาก มหาวิทยาลัยจึงนำระบบการเปิด –ปิด น้ำในห้องน้ำ (Automatic switch on-off system of water) และระบบเปิด-ปิดไฟอัตโนมัติ(Automatic Light Control System ) เข้าไปติดตั้งแทนระบบเดิมทำให้หน่วยงานสามารถลดพลังงานและประหยัดมากยิ่งขึ้น   

| | | | | | | | | | | | | | | |

รายวิชาที่ความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
(Sustainable Development Goals, SDGs) ทั้ง 17 ด้าน

          การพัฒนาอย่างยั่งยืน คือการตอบสนองความต้องการของคนรุ่นปัจจุบัน โดยไม่มีผลกระทบในทางลบต่อความต้องการของคนรุ่นต่อไปในอนาคต ซึ่งรายวิชาศึกษาทั่วไปในทักษะนี้แต่ละรายวิชามีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งมหาวิทยาลัยได้มีการจัดรายวิชาที่ความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals, SDGs) ทั้ง 17 ด้าน  เช่น รายวิชา GESO115 The King’ s Philosophy for Local Development ซึ่งเป็นรายวิชาที่ออกแบบเพื่อให้นักศึกษาทราบถึงพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและพระบรมวงศานุวงศ์ ความหมาย หลักการ แนวคิด ความสําคัญ และเป้าหมายของหลักการทรงงาน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และการพัฒนาตามศาสตร์พระราชาอย่างยั่งยืน ตลอดจนถึงการลงพื้นที่สำรวจ วิเคราะห์ปัญหา การน้อมนําศาสตร์พระราชาไปประยุกต์ใช้ในให้การแก้ปัญหาของพื้นที่ตั้งแต่ระดับบุคคล องค์กรธุรกิจหรือชุมชนในระดับท้องถิ่น และระดับประเทศอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงเทคนิคการสร้างภาคีเครือข่าย และการฝึกปฏิบัติงานโดยบูรณาการแบบองค์รวมกับทีมภาคีเครือข่าย และรายวิชา SOED332Community Study and Community Based Learning  for Life Long เป็นรายวิชาที่ออกแบบเพื่อให้นักศึกษาทราบถึงโครงสร้างระบบการศึกษาส่วนท้องถิ่น บทบาทของคนและองค์กรชุมชนศิลปวัฒนธรรมจารีต ประเพณีท้องถิ่น  กิจกรรมและการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาคนและองค์กรชุมชนและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน รายละเอียดดังตาราง ลำดับ รายวิชา…