การต่อต้านการเลือกปฏิบัติและการต่อต้านการล่วงละเมิด

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มีนโยบายกำหนดจรรยาบรรณข้าราชการสังกัดมหาวิทยาลัย ราชภัฏพิบูลสงคราม โดยมติสภามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในคราวประชุมครั้งที่ 35(1/2551) เมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2551 และในคราวประชุมครั้งที่ 36(2/2551) เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 จึงกำหนดข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ว่าด้วย จรรยาบรรณข้าราชการสังกัดมหาวิทยาลัย  ราชภัฏพิบูลสงคราม พ.ศ. 2551  โดยในส่วนของการต่อต้านการเลือกปฏิบัติจะปรากฏอยู่ในหมวดที่ 1 วัตถุประสงค์และหลักการกำหนดจรรยาบรรณ ซึ่งกำหนด “หลักการกำหนดจรรยาบรรณในการทำงานและการประกอบอาชีพ ตามข้อ 7 (4) ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม” ย่อมแสดงให้เห็นว่ามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามให้ความสำคัญกับการไม่เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 และในปัจจุบันข้อบังคับดังกล่าวยังมีผลใช้บังคับอยู่           ส่วนการต่อต้านการล่วงละเมิด จะปรากฏอยู่ในหมวดที่ 1 วัตถุประสงค์และหลักการกำหนดจรรยาบรรณหมวดที่ 2 จรรยาบรรณและการรักษาจรรยาบรรณ ส่วนที่ 3 จรรยาบรรณต่อนักศึกษา ผู้รับบริการ ประชาชน และสังคม  ตามข้อ 28 วรรคหนึ่ง ซึ่งกำหนดให้ “ข้าราชการพึงรักษาความสัมพันธ์กับนักศึกษา ผู้รับบริการและประชาชน” ย่อมแสดงให้เห็นว่ามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามเน้นย้ำถึงการรักษาสัมพันธ์  ที่ดีระหว่างบุคลากรและนักศึกษา…

สนับสนุนเงินอุดหนุนทางการศึกษาสำหรับนักศึกษาพิการในระดับอนุปริญญาและระดับปริญญาตรี
|

สนับสนุนเงินอุดหนุนทางการศึกษาสำหรับนักศึกษาพิการในระดับอนุปริญญาและระดับปริญญาตรี

   พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ.2551 ที่กำหนดให้สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาและสถาบันอาชีวศึกษาในทุกสังกัด มีหน้าที่รับคนพิการเข้าศึกษาในสัดส่วนหรือจำนวนที่เหมาะสม ทั้งนี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนดนั้น ต่อมาได้มีระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ.2552 มีหน้าที่รับคนพิการเข้าศึกษาตามความสามารถ ความสนใจ ความถนัดและความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการตามประเภทความพิการ ทั้งนี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขที่สถาบันการศึกษากำหนดและสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้จัดทำโครงการสนับสนุนเงินอุดหนุนทางการศึกษาสำหรับนักศึกษาพิการในระดับอนุปริญญาและระดับปริญญาตรี เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายและนโยบายของรัฐบาล และเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการกระจายโอกาสทางการศึกษาและการสร้างความเท่าเทียมกันทางการศึกษาสำหรับคนพิการให้สามารถเข้าถึงการศึกษาในระดับอุดมศึกษา โดยจัดสรรเงินอุดหนุนทางการศึกษาดังกล่าวโดยตรงไปยังสถานศึกษาที่รับคนพิการเข้าศึกษาในสถาบัน           งานกิจกรรมและพัฒนานักศึกษาได้ทำการสำรวจนักศึกษาพิการระดับปริญญาตรี ที่เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามทั้งภาคปกติและภาคพิเศษ (เสาร์-อาทิตย์) เพื่อขอรับการสนับสนุนเงินอุดหนุนทางการศึกษาสำหรับนักศึกษาพิการในระดับอนุปริญญาและระดับปริญญาตรี ตั้งแต่ที่เข้าศึกษาถึงจบการศึกษา และเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายและนโยบายของรัฐบาล อีกทั้งได้ให้ความสำคัญกับนักศึกษาพิการในการคัดเลือกทุนต่างๆ ที่เหมาะสมแก่นักศึกษาพิการ นักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน นายปวริศ เหล็กสุวรรณ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้รับเข็มเชิดชูเกียรติและเกียรติบัตร เนื่องจากนักศึกษาผู้ได้รับการคัดเลือกและยกย่องว่าเป็นผู้มีความประพฤติดี พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปี 2564 นายปวริศ   เหล็กสุวรรณ นักศึกษาสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้รับคัดเลือกให้รับ “รางวัลชมเชย” ในการคัดเลือกนักศึกษาเพื่อรับรางวัลพระราชทาน ระดับอุดมศึกษา ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔  (ประเภทนักศึกษาพิการ ทางด้านการได้ยิน) 4. ที่มา   งานกิจกรรมและพัฒนานักศึกษา…

การส่งเสริมการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาสำหรับคนพิการที่มีความสามารถในการเรียนรู้ให้สามารถได้รับโอกาสในการศึกษาอย่างทั่วถึงและเหมาะสม
|

การส่งเสริมการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาสำหรับคนพิการที่มีความสามารถในการเรียนรู้ให้สามารถได้รับโอกาสในการศึกษาอย่างทั่วถึงและเหมาะสม

          พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ.2551 ที่กำหนดให้สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาและสถาบันอาชีวศึกษาในทุกสังกัด มีหน้าที่รับคนพิการเข้าศึกษาในสัดส่วนหรือจำนวนที่เหมาะสม ทั้งนี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนดนั้น ต่อมาได้มีระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ.2552 มีหน้าที่รับคนพิการเข้าศึกษาตามความสามารถ ความสนใจ ความถนัดและความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการตามประเภทความพิการ ทั้งนี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขที่สถาบันการศึกษากำหนด           งานกิจกรรมและพัฒนานักศึกษาได้มีการจัดทำประกาศสภามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามเรื่อง นโยบาย หลักเกณฑ์ และวิธีการรับนักศึกษาพิการเข้าศึกษา ในแต่ละปีการศึกษา เพื่อเป็นการส่งเสริมการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาสำหรับคนพิการที่มีความสามารถในการเรียนรู้ให้สามารถได้รับโอกาสในการศึกษาอย่างทั่วถึงและเหมาะสม อันเป็นการสร้างความเท่าเทียมกันในสังคม ซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 ที่มา งานกิจกรรมและพัฒนานักศึกษา กองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง      2. ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ   3. ประกาศสภามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เรื่อง นโยบาย หลักเกณฑ์ และวิธีการรับนักศึกษาพิการเข้าศึกษา ประจำปีการศึกษา 2564  

บริการสิ่งสนับสนุนทางการศึกษาที่ช่วยให้นักศึกษาพิการสามารถเข้าถึงระบบการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยได้อย่างเท่าเทียมกับนักศึกษาทั่วไป
|

บริการสิ่งสนับสนุนทางการศึกษาที่ช่วยให้นักศึกษาพิการสามารถเข้าถึงระบบการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยได้อย่างเท่าเทียมกับนักศึกษาทั่วไป

          งานกิจกรรมและพัฒนานักศึกษามีหน่วยบริการสนับสนุนนักศึกษาพิการ (Disability Support Services : DSS) งานบริการสนับสนุนทางการศึกษาที่ช่วยให้นักศึกษาพิการสามารถเข้าถึงระบบการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยได้อย่างเท่าเทียมกับนักศึกษาทั่วไป โดยลดอุปสรรคซึ่งกำจัดโอกาสของนักศึกษาพิการ จัดหาบริการสนับสนุน และสิ่งอำนวยความสะดวก ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของนักศึกษาพิการเพื่อให้นักศึกษาพิการสามารถบรรลุเป้าหมายทางการศึกษาและใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง ซึ่งบริการที่จัดให้นั้นจะต้องพิจารณาจากลักษณะเฉพาะของแต่ละความพิการและความต้องการจำเป็นของนักศึกษาพิการเป็นรายบุคคล เช่น ล่ามภาษามือ ปฏิบัติหน้าที่หลักในฐานะล่ามภาษามือสำหรับนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน โดยต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถในการใช้ภาษามือไทย ซึ่งต้องปฏิบัติหน้าที่สอน (แปลล่ามภาษามือ) ในแต่ละรายวิชาให้กับนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน สอนเสริมหลังเลิกเรียน และสรุปผลการจัดการเรียนการสอน และทบทวนคำศัพท์ภาษามือหลังเลิกเรียน อีกทั้งปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้บริการสนับสนุนนักศึกษาพิการอื่นๆ ในมหาวิทยาลัย ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย แปลภาษามือให้แก่นักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในห้องเรียน แปลภาษามือให้แกก่นักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน รูปแบบออนไลน์ เนื่องจากสถานการณ์เชื้อไวรัสโคโรนา แปลภาษามือให้แก่นักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ เช่น กิจกรรมปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ พิธีไหว้ครู นักศึกษาใหม่ ภาคปกติ เป็นต้น แปลภาษามือให้แก่นักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยินกิจกรรมต่าง ๆ รูปแบบการถ่ายทอดสดเนื่องจากสถานการณ์ เชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ตู้ TTRS สำหรับนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ตู้ TTRS คือการให้บริการถ่ายทอดการสื่อสารโดยผู้ที่บกพร่องทางการได้ยินใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ส่ง SMS…

บริการสนับสนุนนักศึกษาพิการ
|

บริการสนับสนุนนักศึกษาพิการ

          งานกิจกรรมและพัฒนานักศึกษามีหน่วยบริการสนับสนุนนักศึกษาพิการ (Disability Support Services : DSS) ให้บริการช่วยเหลือสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของนักศึกษาพิการ มีการตรวจสอบเอกสารเกี่ยวกับความพิการของนักศึกษา จัดทำและดูแลแฟ้มข้อมูลนักศึกษาพิการ ประสานงานการจัดบริการกับบุคคลต่างๆ เช่น อาจารย์ประจำรายวิชาที่มีนักศึกษาพิการเรียนร่วม อีกทั้งบริการให้คำปรึกษาในเรื่องต่างๆ แก่อาจารย์ ผู้ปกครองและนักศึกษาพิการทุกประเภททั้งแบบรายบุคคลและแบบกลุ่ม ให้คำปรึกษาในเรื่องต่างๆ แก่นักศึกษาพิการทุกประเภท    ได้มีการโครงการต่างๆ ให้แก่นักศึกษาพิการ เพื่อให้นักศึกษาพิการได้มีความรู้และความเข้าใจในการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย ได้แก่ 1. จัดโครงการประชุมผู้ปกครองและปฐมนิเทศนักศึกษาพิการระดับอุดมศึกษา – เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกิจกรรมและทุนสำหรับนักศึกษาพิการ – เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวนักศึกษาพิการกับบุคลากรที่เกี่ยวข้อง – เพื่อชี้แจงกฎระเบียบและรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนของบุตรหลานให้ผู้ปกครองรับทราบ – เพื่อสร้างความตะหนักและความเข้าใในการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยแก่ผู้ปกครองและนักศึกษาพิการ 2. จัดโครงการเตรียมความพร้อมก่อนจบการศึกษาของนักศึกษาพิการ เพื่อให้นักศึกษาได้สร้างความก้าวหน้าในอนาคตและได้รับทราบลักษณะการทำงานในสายงานของตนเองรวมถึงการพัฒนาบุคลิกภาพในการสัมภาษณ์งานของนักศึกษาพิการให้พร้อมสำหรับในการสมัครงาน 3. ลิงค์การเข้าถึงรูปภาพ  4. ที่มา   งานกิจกรรมและพัฒนานักศึกษา กองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

|

ความเสมอภาคกันตามกฎหมายและมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน

บุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มีความเสมอภาคกันตามกฎหมายและมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกันโดยปราศจากการเลือกปฏิบัติใดๆ โดยเฉพาะในเรื่องการบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามจะมีคณะกรรมการบริหารงานบุคคลประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (ก.บ.ม.) ที่กำกับดูแล ให้คำแนะนำ และดำเนินการตามนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เพื่อให้บุคลากรที่มีความหลากหลายได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน นอกจากนี้ ยังมีกองบริหารงานบุคคล สำนักงานอธิการบดี ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากฝ่ายบริหารของมหาวิทยาลัย และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานอธิการบดีให้เป็นหน่วยงานที่มีภารกิจในการสนับสนุนเกี่ยวกับงานบริหารงานบุคคลทั้งหมดของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม    

|

ส่งเสริมการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาสำหรับคนพิการ

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามส่งเสริมการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาสำหรับคนพิการที่มีความสามารถในการเรียนรู้ให้สามารถได้รับโอกาสในการศึกษาอย่างทั่วถึงและเหมาะสม อันเป็นการสร้างความเท่าเทียมกันในสังคม ซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และเป็นไปตามเจตนารมณ์ของมาตรา 5 มาตรา 7 และมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติ การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551 และระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาคนพิการว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2552 รวมทั้งประกาศสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง แนวทางการส่งเสริมการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2553 โดยมหาวิทยาลัยมีหน้าที่จัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวก เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาสำหรับคนพิการอย่างเหมาะสม เพียงพอและสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของนักศึกษาพิการแต่ละประเภทความพิการ โดยมอบหมายให้หน่วยบริการสนับสนุนนักศึกษาพิการ ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการให้บริการทางการศึกษาสำหรับนักศึกษาพิการพร้อมทั้งให้มหาวิทยาลัยจัดสรรบุคลากรของมหาวิทยาลัยปฏิบัติงานที่มีทักษะพื้นฐานในการให้บริการสนับสนุนคนพิการในสัดส่วนที่เหมาะสมกับจำนวนนักศึกษาพิการของมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ให้มหาวิทยาลัยขอรับการสนับสนุนงบประมาณ ในการดำเนินการดังกล่าวจากสำนักงบประมาณโดยตรง หรือจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือจากคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ หรือแหล่งงบประมาณอื่นตามความเหมาะสม โดยมีรายละเอียดตามประกาศสภามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เรื่อง นโยบาย หลักเกณฑ์ และวิธีการรับนักศึกษาพิการเข้าศึกษา ในแต่ละปีการศึกษา ดังรูปที่ 1 รูปที่ 1 ประกาศสภามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

การรับสมัครนักศึกษา กองบริการการศึกษา
|

การรับสมัครนักศึกษา กองบริการการศึกษา

กองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยให้มีประสิทธิภาพ รวมถึงการรับสมัครนักศึกษาทุกระดับการศึกษา เช่น ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และ ปริญญาเอก ซึ่งมหาวิทยาลัยได้เปิดกว้างในการเข้าศึกษาต่อในระดับต่างๆ โดยมีหลายช่องการสมัคร เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาให้นักเรียนหรือผู้สนใจสามารถสมัครเข้าศึกษา โดยสามารถสมัครผ่านช่องทาง ดังนี้ ผู้สมัครสามารถติดต่อสมัครเข้าศึกษาได้ที่ งานรับเข้าศึกษา กองบริการการศึกษา สำนักงานอธิการบดี ชั้น 1 อาคารพิบูลวิชญ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (ส่วนทะเลแก้ว) โดยมีการให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์ ปริ้นเตอร์ และกระดาษ ใช้ในการกรอกใบสมัคร ปริ้นเอกสารตามความสะดวกของผู้สมัคร ดังรูปที่ 1 รูปที่ 1 บริการเครื่องคอมพิวเตอร์ กรณีผู้สมัครไม่สะดวกเดินทางมาสมัครด้วยตนเอง กองบริการการศึกษามีระบบสมัครผ่านเว็บไซต์ โดยการกรอกข้อมูลการสมัครเรียน และปริ้นเอกสารใบสมัคร ชำระค่าธรรมการสมัครผ่านช่องทางธนาคาร จัดส่งเอกสารการสมัครพร้อมหลักฐานการสมัครทางไปรษณีย์ หรือขนส่งเอกชนได้ ดังรูปที่ 2 รูปที่ 2 เว็บไซต์สมัครเรียนผ่านระบบออนไลน์ กองบริการการศึกษาได้เล็งเห็นความสำคัญของสถานศึกษา เพื่อการเปิดโอกาสทางการศึกษาโดยให้ผู้สมัครสามารถสมัครผ่านสถานศึกษาของตนเองได้ โดยมอบหมายให้ครูแนะแนว หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายใยสถานศึกษา เป็นผู้ดำเนินการรับสมัครแทนมหาวิทยาลัย ดังรูปที่ 3 รูปที่ 3 เว็บไซต์รับสมัครสำหรับสถานศึกษา…

พัฒนาชุมชนต้นแบบบูรณาการนำร่อง บ้านลาดบัวขาว ตำบลสมอแข อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ระยะที่ 2
| | |

พัฒนาชุมชนต้นแบบบูรณาการนำร่อง บ้านลาดบัวขาว ตำบลสมอแข อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ระยะที่ 2

            คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมได้ลงพื้นที่ชุมชนหมู่ที่2บ้านลาดบัวขาวตำบลสมอแขอำเภอเมืองจังหวัดพิษณุโลกเพื่อดำเนินกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาผู้นำชุมชนซึ่งนำไปสู่การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องอย่างมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชนเบื้องต้นพบว่าประชาชนส่วนใหญ่เป็นคนดีแต่ยังขาดกระบวนการพัฒนาชุมชนที่เป็นรูปธรรมที่จะก่อให้เกิดผลการทบในระดับหมู่บ้านรวมทั้งผู้นำหมู่บ้านยังขาดความกล้าแสดงออกในเชิงต่อต้านทุจริตและภาวะผู้นำจากการดำเนินการพัฒนาผู้นำชุมชนในช่วงปี2561-2562เพื่อจะได้เป็นกำลังสำคัญในการดำเนินการสร้างแนวคิดที่ดีต่อการพัฒนาชุมชนต้นแบบสุจริตตามแผนพัฒนาหมู่บ้านระยะเวลา3ปีดังนั้นคณะพิจารณาเลือกเป็นชุมชนนำร่องในการพัฒนาตามแผนไปสู่ชุมชนต้นแบบในปีงบประมาณ2563และยังคงดำเนินการที่สอดคล้องกับความต้องการและปัญหาของพื้นที่เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างเป็นระบบโดยมีข้อสรุปสำคัญคือจะปรับรูปแบบการสนับสนุนเพื่อให้ชุมชนมีระยะเวลาการดำเนินการต่อเนื่องครบวงรอบการพัฒนามีเป้าหมายในการสร้างให้เกิดการบริหารจัดการชุมชนเพื่อนำสู่การเป็นชุมชนที่น่าอยู่ตามแผนชุมชนพึ่งตนเองได้ในที่สุด หลักการและเหตุผล :             การพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งจำเป็นต้องเริ่มต้นที่การพัฒนาคนให้รู้จักตัวเองรู้ปัญหาของตนเองและชุมชนรู้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนและเชื่อว่าตนจะพึ่งตัวเองได้จนนำไปสู่ชุมชนเข้มแข็งโดยเริ่มจากการค้นพบศักยภาพของตนเองค้นพบภูมิปัญญาของตนเองค้นพบแนวทางที่จะพัฒนาตนเองจากทุนเดิมที่มีอยู่ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการพัฒนาการเรียนรู้การร่วมคิดร่วมทำและมีความรับผิดชอบต่อสังคมตลอดจนมีการเชื่อมโยงและประสานงานกับหน่วยงานภายนอกเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่สอดคล้องและเหมาะสมกับพื้นที่จนเกิดชุมชนพึ่งตนเองได้พร้อมทั้งนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์เป็นแนวทางการดำเนินงานเน้นการพึ่งตนเองโดยสร้างสังคมแห่งการเอื้ออาทรพึ่งพาอาศัยกันนำไปสู่วิธีการคิดและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของชุมชนต่อไปดังนั้นการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งน่าอยู่จะส่งผลให้ชุมชนมีสุขภาวะที่ดีและหากมีการดำเนินงานอย่างกว้างขวางแล้วนั้นย่อมส่งผลให้เป็นประเทศน่าอยู่ต่อไปจุดกำเนิดโครงการชุมชนจึงมีแนวคิดหลักคือการพัฒนากลไกการจัดการในชุมชน/หมู่บ้านที่เรียกว่า“สภาผู้นำชุมชน”มีองค์ประกอบหลักคือคณะกรรมการหมู่บ้านตามโครงสร้างที่มีอยู่เดิมและตัวแทนจากกลุ่มต่างๆภายในชุมชนใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการทำประชาคมหมู่บ้านเพื่อค้นหาปัญหาของตนเองมีการเก็บข้อมูลในพื้นที่เพื่อสามารถระบุถึงขนาดและความรุนแรงของปัญหานั้นๆอย่างชัดเจนและร่วมกันคิดแนวทางการแก้ไขปัญหาด้วยการจัดทำเป็นแผนชุมชนพึ่งตนเองหนึ่งในต้นแบบของการแก้ปัญหาโดยการบริหารจัดการชุมชนด้วยกลไกสภาผู้นำชุมชนที่ประกอบด้วยกลุ่มต่างๆในหมู่บ้านที่แบ่งหน้าที่การดำเนินงานกันอย่างชัดเจนมีการประชุมกันอย่างสม่ำเสมอมีการเก็บข้อมูลต่อเนื่องอย่างเป็นระบบมีการร่วมคิดร่วมวิเคราะห์จนเกิดเป็นแผนชุมชนที่ปฏิบัติได้จริงมีการสื่อสารข้อมูลแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันนอกจากนี้สภาผู้นำชุมชนยังเป็นแบบอย่างให้แก่สมาชิกชุมชนในแต่ละเรื่องและสามารถรวมพลังทุกกลุ่มในชุมชนมุ่งมั่นทำงานให้บรรลุเป้าหมายและผลลัพธ์ตามแผนชุมชนส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการเรียนรู้ของคนในชุมชนสร้างการเปลี่ยนแปลงสุขภาวะที่ดีของชุมชนให้เป็นไปอย่างยั่งยืนจนกลายเป็นวิถีและเกิดวัฒนธรรมที่สร้างสุขภาวะใหม่ๆขึ้นในชุมชน ชื่อกิจกรรมที่ 1 กิจกรรมการประชุมบูรณาการแผนพัฒนาชุมชนนำร่องบ้านลาดบัวขาวโดยภาคีเครือข่ายการพัฒนาชุมชนต้นแบบ เป็นการวางแผน จัดประชุม กำกับ และติดตามความก้าวหน้าของโครงการย่อยต่างๆ ที่อยู่ภายใต้แผน นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ประสานงานกับผู้นำชุมชน ไม่ว่าจะเป็น นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสมอแข ผู้ใหญ่บ้าน และกลุ่มผู้นำชุมชนบ้านลาดบัวขาว ดำเนินการรวบรวมข้อมูลทั้งหมดเพื่อจัดประชุมชี้แจงความเป็นไปเป็นมาของโครงการ และปิดโครงการ ชื่อกิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการพัฒนาผู้นำต้นแบบหมู่บ้านสุจริตบ้านลาดบัวขาว และเครือข่ายชุมชนใกล้เคียง โดยดำเนินการสนับสนุนให้เกิดกลไกการบริหารจัดการชุมชนที่เรียกว่าสภาผู้นำชุมชน ที่สามารถขับเคลื่อนงาน เสริมสร้างสุขภาวะในชุมชนได้อย่างเข้มแข็ง และจัดกิจกรรมสนับสนุนเสริมศักยภาพให้สภาผู้นำชุมชนรวมถึงสมาชิกชุมชนร่วมกันพัฒนาและขับเคลื่อนแผน ชุมชนพึ่งตนเอง ที่ประกอบด้วยประเด็นสุขภาวะที่ต้องการดำเนินงานอันจะนำไปสู่ความเป็น “ชุมชน น่าอยู่” ชื่อกิจกรรมที่ 3 กิจกรรมฟังธรรมและปฏิบัติธรรมชำระจิต ดำเนินการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการเจริญสติตามแนวสติปัฏฐานในพุทธศาสนา โดยพระอาจารย์สายวิปัสสนา ชื่อกิจกรรมที่ 4 กิจกรรมการบำบัดคุณภาพน้ำดิบสำหรับการผลิตน้ำประปาด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมพัฒนาระบบสูบน้ำเพื่อการเกษตรสำหรับชุมชน โดยดำเนินการจัดทำระบบสูบน้ำเพื่อการเกษตรสำหรับชุมชนบ้านลาดบัวขาว กิจกรรมที่ 6 กิจกรรมส่งเสริมออกกำลังกายด้วยกีฬาฟุตซอลสำหรับเยาวชนชุมชนบ้านลาดบัวขาว โดยจัดฝึกอบรมกีฬาฟุตซอลสำหรับเยาวชนชุมชนบ้านลาดบัวขาว -จัดการแข่งขันกีฬาฟุตซอลสำหรับเยาวชนชุมชนบ้านลาดบัวขาว กิจกรรมที่ 7 กิจกรรมเวทีนิทรรศการแสดงผลงานการพัฒนาชุมชนต้นแบบบูรณาการนำร่อง หมู่2 บ้านลาดบัวขาว…

| | | | | | | | | | | | | | | |

รายวิชาที่ความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
(Sustainable Development Goals, SDGs) ทั้ง 17 ด้าน

          การพัฒนาอย่างยั่งยืน คือการตอบสนองความต้องการของคนรุ่นปัจจุบัน โดยไม่มีผลกระทบในทางลบต่อความต้องการของคนรุ่นต่อไปในอนาคต ซึ่งรายวิชาศึกษาทั่วไปในทักษะนี้แต่ละรายวิชามีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งมหาวิทยาลัยได้มีการจัดรายวิชาที่ความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals, SDGs) ทั้ง 17 ด้าน  เช่น รายวิชา GESO115 The King’ s Philosophy for Local Development ซึ่งเป็นรายวิชาที่ออกแบบเพื่อให้นักศึกษาทราบถึงพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและพระบรมวงศานุวงศ์ ความหมาย หลักการ แนวคิด ความสําคัญ และเป้าหมายของหลักการทรงงาน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และการพัฒนาตามศาสตร์พระราชาอย่างยั่งยืน ตลอดจนถึงการลงพื้นที่สำรวจ วิเคราะห์ปัญหา การน้อมนําศาสตร์พระราชาไปประยุกต์ใช้ในให้การแก้ปัญหาของพื้นที่ตั้งแต่ระดับบุคคล องค์กรธุรกิจหรือชุมชนในระดับท้องถิ่น และระดับประเทศอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงเทคนิคการสร้างภาคีเครือข่าย และการฝึกปฏิบัติงานโดยบูรณาการแบบองค์รวมกับทีมภาคีเครือข่าย และรายวิชา SOED332Community Study and Community Based Learning  for Life Long เป็นรายวิชาที่ออกแบบเพื่อให้นักศึกษาทราบถึงโครงสร้างระบบการศึกษาส่วนท้องถิ่น บทบาทของคนและองค์กรชุมชนศิลปวัฒนธรรมจารีต ประเพณีท้องถิ่น  กิจกรรมและการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาคนและองค์กรชุมชนและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน รายละเอียดดังตาราง ลำดับ รายวิชา…