กระบวนในการจัดการของเสียจากห้องปฏิบัติการ
|

กระบวนในการจัดการของเสียจากห้องปฏิบัติการ

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามมีกระบวนในการจัดการของเสียจากห้องปฏิบัติการ ตามแนวทางการจัดการของเสียจากห้องปฏิบัติการของกรมควบคุมมลพิษ  เป็นแนวปฏิบัติที่ทำให้ผู้ที่ปฏิบัติงานสามารถปฏิบัติงานได้สะดวก  มีความถูกต้องและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน อีกทั้งห้องปฏิบัติการศูนย์วิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มีการเตรียมพร้อมการทำห้องปฏิบัติการเพื่อรองรับมาตรฐานห้องปฏิบัติการ ISO/IEC17025 จึงมีกระบวนการ แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการกำจัดของเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามมีนโยบายให้บุคลากรได้ปฏิบัติตามนโยบายคุณภาพในการกำจัดของเสียจากห้องปฏิบัติการ โดยให้เป็นความรับผิดชอบของบุคลากรทุกคน ต่อคุณภาพการกำจัดของเสีย ที่ต้องรับรู้ คุ้นเคย เข้าใจในนโยบาย คู่มือคุณภาพ วิธีดำเนินการคุณภาพ วิธีปฏิบัติงานและเอกสารคุณภาพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในแต่ละหน้าที่และสามารถนำไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธิผล ในการกำจัดของเสียและวัสดุอันตราย และพร้อมพัฒนากระบวนการกำจัดของเสียอย่างต่อเนื่อง และมหาวิทยาลัยได้ดำเนินการจัดโครงการจิตอาสาฟื้นฟูป่าชุมชนโดยการสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น ณ ตำบลบ้านดง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ปีที่ 3” ภายใต้โครงการพัฒนากระบวนการคิดแบบวิทย์นอกห้องเรียน ให้กับนักศึกษาและชุมชนอำเภอชาติตระการ ทางสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม คณะผู้นำชุมชน และชาวชุมชนผู้มีจิตอาสา เล็งเห็นถึงความสำคัญในการสืบสานแนวทางพระราชดำริเกี่ยวกับการอนุรักษ์และฟื้นฟู่ป่าต้นน้ำตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เกี่ยวกับการพัฒนาและฟื้นฟูป่าไม้ด้วยการใช้ทรัพยากรที่เอื้ออำนวย เกิดการสัมพันธ์ซึ่งกันและกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด และพระราชดำริเกี่ยวกับจิตอาสาในการพัฒนาชุมชนของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงลงพื้นที่สำรวจป่าชุมชนของหมู่ที่ 1 ตำบลบ้านดง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก พบว่าพื้นที่ป่าชุมชนดังกล่าวมีพื้นที่กว่า 3,000 ไร่ถูกบุกรุกทำลายส่งผลให้ไม่มีป่าต้นไม้ ไม่มีแหล่งต้นน้ำ และไม่มีพื้นที่กักเก็บน้ำ…

การอนุรักสัตว์น้ำภายในบริเวณมหาวิทยาลัย
| |

การอนุรักสัตว์น้ำภายในบริเวณมหาวิทยาลัย

           มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม  เป็นมหาวิทยาลัยที่มีพื้นขนาดใหญ่  จำนวน 1,000  ไร่  ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามได้ดำเนินการขุดคลองดินเป็นกำแพงรอบพื้นที่มหาวิทยาลัยทั้งหมด           และภายในมหาวิทยาลัย มีสวนราชมังคลาซึ่งบริเวณดังกล่าวมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ และมีสัตว์น้ำหลายชนิดเป็นจำนวนมาก ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามจึงได้มีการประชาสัมพันธ์ให้บุคคลที่เข้ามาภายในมหาวิทยาลัยได้ช่วยกันอนุรักสัตว์น้ำภายในบริเวณมหาวิทยาลัย

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม พ.ศ. 2564
|

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม พ.ศ. 2564

มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม ได้ได้รับทุนอุดหนุนการบริการวิชาการจากโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม พ.ศ. 2564 การท่องเที่ยวเชิงเกษตรพิบูลสงครามเพื่อสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากร ตามแนวโครงการ อพ.สธ. ศึกษาดูงานท่องเที่ยวเชิงเกษตรฯ แบบออนไซต์ กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรออนไลน์ การบริการวิชาการภายใต้โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจฐานรากสู่หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลดินทอง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก           สืบเนื่องจากการสำรวจข้อมูลของกรมพัฒนาชุมชน และข้อมูล กชช.2ค ของจังหวัดพิษณุโลก พบว่าประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพการเกษตร และมีอาชีพเสริมด้วยการรับจ้างรายวัน และเพาะกล้าไม้ขายและเป็นพื้นที่ที่มีความจำเป็นต้องพัฒนาอย่างเร่งด่วนเป็นอันดับที่ 1 ที่ต้องแก้ไขปัญหาความอยากจน โดยเฉพาะต้องให้ประชาชนมีรายได้เสริมภายในครัวเรือนลดรายจ่ายนอกเหนือจากรายได้หลักหรืออาจเป็นการสร้างอาชีพใหม่ให้กับประชาชนเพื่อให้มีความเพียงพอกับความต้องการภายในครัวเรือนและพ้นเกณฑ์ความยากจน ด้วยการส่งเสริมสร้างอาชีพเสริม เช่น การเลี้ยงไก่ไข่ การเลี้ยงปลาน้ำจืด การเพาะเลี้ยงกบนา เป็นต้น อย่างไรก็ตามคณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ซึ่งมีความพร้อมทั้งทางด้านบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในหลากหลายด้าน ทั้งด้านการเกษตร การเลี้ยงสัตว์ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางด้านการเกษตรการตลาดและบัญชี โดยเป็นการให้องค์ความรู้และถ่ายทอดความรู้ให้กับประชาชนเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายและพ้นความยากจน กิจกรรม การส่งเสริมการเพาะเลี้ยงกบนา หมู่ 11 ตำบลดินทอง อ.วังทอง จ.พิษณุโลก              การเลี้ยงและการคัดพ่อ แม่พันธุ์                               การเพาะพันธุ์กบนา และการอนุบาล กิจกรรม การแปรรูปน้ำพริกกบนา หมู่…

คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา ได้ถ่ายทอด องค์ความรู้การผลิตน้ำประปา
|

คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา ได้ถ่ายทอด องค์ความรู้การผลิตน้ำประปา

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม โดยคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา ได้ถ่ายทอด องค์ความรู้การผลิตน้ำประปา ร่วมกับการประปาส่วนภูมิภาคสาขาพิษณุโลก ส่งผลให้น้ำประปาใน หมู่ 2 บ้านลาดบัวขาว ตำบลสมอแข อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ไม่มีกลิ่น  น้ำใส ลดปริมาณการใช้สารเคมีในการผลิตน้ำประปา     ชุมชนลาดบัวขาวได้ร้องขอให้คณะเข้าไปช่วยระบบการผลิตน้ำประปาของหมู่บ้านลาดบัวขาวแต่เดิมนั้น  พบว่า น้ำประปาที่ได้ มีสีเหลืองและน้ำประปายังมีกลิ่นดิน  ซึ่งผู้ผลิตน้ำจึงใช้สารส้มในการผลิตน้ำจำนวนมากเกินความจำเป็นเพื่อให้น้ำนั้นใสไม่มีกลิ่น  ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนการผลิตน้ำประปาของหมู่บ้านลาดบัวขาวนั้น มีต้นทุนที่สูง   ผู้ดำเนินงานจึงมีความสนใจที่จะปรับปรุงระบบ หาสาเหตุ และปรับการใช้สารเคมีให้เหมาะสมเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการผลิตน้ำประปา  โครงการ : พัฒนาชุมชนแบบบูรณาการ ชุมชนต้นแบบ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา

โครงการจิตอาสาฟื้นฟูป่าชุมชนโดยการสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น ณ ตำบลบ้านดง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ปีที่ 3
| |

โครงการจิตอาสาฟื้นฟูป่าชุมชนโดยการสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น ณ ตำบลบ้านดง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ปีที่ 3

Water in the community น้ำในชุมชน           มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม โดยคณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร มีโครงการจิตอาสาฟื้นฟูป่าชุมชนโดยการสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น ณ ตำบลบ้านดง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ปีที่ 3” ภายใต้โครงการพัฒนากระบวนการคิดแบบวิทย์นอกห้องเรียน ให้กับนักศึกษาและชุมชนอำเภอชาติตระการ นับตั้งแต่พุทธศักราช 2502 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในภูมิภาคต่าง ๆ ทรงประจักษ์ในปัญหาของราษฎรในชนบทที่ดำรงชีวิตด้วยความยากจน ลำเค็ญ และด้อยโอกาสทรงช่วยเหลือและบรรเทาความทุกข์ยากเดือดร้อนให้แก่พสกนิกรชาวไทย ก่อเกิดเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ทั้งด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ การเกษตร สิ่งแวดล้อม ส่งเสริมอาชีพ สาธารณสุข สวัสดิการสังคม และอื่น ๆ กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศกว่า 4,810 โครงการ ที่สร้างประโยชน์และคุโณปการแก่ราษฎรอย่างหาที่สุดมิได้ ทางสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม คณะผู้นำชุมชน และชาวชุมชนผู้มีจิตอาสา เล็งเห็นถึงความสำคัญในการสืบสานแนวทางพระราชดำริเกี่ยวกับการอนุรักษ์และฟื้นฟู่ป่าต้นน้ำตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เกี่ยวกับการพัฒนาและฟื้นฟูป่าไม้ด้วยการใช้ทรัพยากรที่เอื้ออำนวย เกิดการสัมพันธ์ซึ่งกันและกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด และพระราชดำริเกี่ยวกับจิตอาสาในการพัฒนาชุมชนของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงลงพื้นที่สำรวจป่าชุมชนของหมู่ที่ 1 ตำบลบ้านดง…

การใช้น้ำและการดูแลรักษา
| |

การใช้น้ำและการดูแลรักษา

การใช้น้ำและการดูแลรักษา           มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามมีกระบวนการบำบัดน้ำเสีย คือ มีถังบำบัดน้ำเสียในแต่ละอาคาร (onsite treatment) ที่มีการออกแบบมาพร้อมกับการก่อสร้างอาคาร ซึ่งจะมีการคำนวณปริมาณน้ำเสียที่คลอบคุมทั้งอาคาร โดยเมื่อน้ำทิ้งที่ผ่านถังบำบัดน้ำเสียแล้วจะเข้าสู่คลองระบายน้ำโดยรอบและมีประตูน้ำปิด-เปิดของมหาวิทยาลัย โดยคลองระบายน้ำจะทำการบำบัดน้ำเสียไหลวนด้วยวิธีธรรมชาติผ่านสระเก็บน้ำขนาดใหญ่ 3 สระ (oxidation pond) ได้แก่ สระเก็บน้ำคณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร, สระเก็บน้ำหลังหอสมุดอิเล็กทรอนิกส์ และสระเก็บน้ำสวนรัชมังคลาภิเษก เป็นต้น ซึ่งสระเก็บน้ำดังกล่าว จะมีการพักน้ำเสียและปรับสมดุลโดยวิธีธรรมชาติ ก่อนที่น้ำทิ้งจะไหลวนมายังคลองรอบมหาวิทยาลัย ซึ่งคุณภาพน้ำดิบจะค่อนข้างดีที่สุด จากนั้นก็จะสูบมาพักยังสระน้ำดิบเพื่อรอผลิตน้ำประปาส่งจ่ายไปยังมหาวิทยาลัยดังเดิม พื้นที่รับน้ำโดยรอบมหาวิทยาลัย พื้นที่รับน้ำโดยรอบมหาวิทยาลัย           มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้มีการปฏิบัติตามกรมควบคุมมลพิษออกกฎกระทรวงเรื่อง “กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และแบบการเก็บสถิติและข้อมูล การจัดทำบันทึกรายละเอียด และรายงานสรุปผลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย พ.ศ. 2555” ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษ ซึ่งมีหน้าที่ต้องเก็บข้อมูล และรายงานสรุปการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย ตามมาตรา 80 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 2 สิงหาคม 2555 ตามกฎกระทรวงดังกล่าว มีผลให้เจ้าของแหล่งกำเนิดมลพิษที่ถูกประกาศให้เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษ จะต้องจดบันทึกสถิติและข้อมูลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียตามแบบ ทส.1 ทุกวัน และสรุปผลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียตามแบบ…

| | | | | | | | | | | | | | | |

รายวิชาที่ความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
(Sustainable Development Goals, SDGs) ทั้ง 17 ด้าน

          การพัฒนาอย่างยั่งยืน คือการตอบสนองความต้องการของคนรุ่นปัจจุบัน โดยไม่มีผลกระทบในทางลบต่อความต้องการของคนรุ่นต่อไปในอนาคต ซึ่งรายวิชาศึกษาทั่วไปในทักษะนี้แต่ละรายวิชามีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งมหาวิทยาลัยได้มีการจัดรายวิชาที่ความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals, SDGs) ทั้ง 17 ด้าน  เช่น รายวิชา GESO115 The King’ s Philosophy for Local Development ซึ่งเป็นรายวิชาที่ออกแบบเพื่อให้นักศึกษาทราบถึงพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและพระบรมวงศานุวงศ์ ความหมาย หลักการ แนวคิด ความสําคัญ และเป้าหมายของหลักการทรงงาน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และการพัฒนาตามศาสตร์พระราชาอย่างยั่งยืน ตลอดจนถึงการลงพื้นที่สำรวจ วิเคราะห์ปัญหา การน้อมนําศาสตร์พระราชาไปประยุกต์ใช้ในให้การแก้ปัญหาของพื้นที่ตั้งแต่ระดับบุคคล องค์กรธุรกิจหรือชุมชนในระดับท้องถิ่น และระดับประเทศอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงเทคนิคการสร้างภาคีเครือข่าย และการฝึกปฏิบัติงานโดยบูรณาการแบบองค์รวมกับทีมภาคีเครือข่าย และรายวิชา SOED332Community Study and Community Based Learning  for Life Long เป็นรายวิชาที่ออกแบบเพื่อให้นักศึกษาทราบถึงโครงสร้างระบบการศึกษาส่วนท้องถิ่น บทบาทของคนและองค์กรชุมชนศิลปวัฒนธรรมจารีต ประเพณีท้องถิ่น  กิจกรรมและการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาคนและองค์กรชุมชนและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน รายละเอียดดังตาราง ลำดับ รายวิชา…

PSUR ยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)
| | |

PSUR ยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้ดำเนินกิจกรรมโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 – 31 ธันวาคม 2564 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ โดยมหาวิทยาลัยเป็น System Integrator ให้เกิดการพัฒนาตามปัญหาและความต้องการของชุมชน การจ้างงานประชาชนทั่วไป บัณฑิตจบใหม่ และนักศึกษาให้มีงานทำและฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน และการจัดทำข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชน (Community Big Data) โดยร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 15 ตำบล จากจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 9 ตำบล และจังหวัดสุโขทัย จำนวน 6 ตำบล ได้แก่ 1. เทศบาลตำบลพลายชุมพล ตำบลพลายชุมพล อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก2. องค์การบริหารส่วนตำบลจอมทอง ตำบลจอมทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก3. องค์การบริหารส่วนตำบลดอนทอง ตำบลดอนทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก4. องค์การบริหารส่วนตำบลทองแท้…

สร้างโอกาสทางการศึกษา คืนครูสู่ท้องถิ่น “โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น”
| | |

สร้างโอกาสทางการศึกษา คืนครูสู่ท้องถิ่น “โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น”

ในปีการศึกษา 2564 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ร่วมกับ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ได้จัดโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่นเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนที่ขาดโอกาสทางด้านการเงินได้มีโอกาสได้พัฒนาตนเองเป็นครูในเขตพื้นที่ของตนเอง โดยมีการเข้าคัดเลือกนักเรียนที่ทางบ้านขาดทุนทรัพย์ทางการเรียนเพื่อนำมาพัฒนาเป็นนักศึกษาครู โดยทางโครงการได้มีแนวทางการคัดเลือกนักเรียน ด้วยการลงพื้นที่เพื่อสำรวจค้นหานักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อพัฒนานักศึกษาให้สามารถเป็นครูที่ดีและสนับสนุนทุนการศึกษาเพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสเป็นครูและกิจกรรมที่สนับสนุนให้นักศึกษาสามารถเป็นครูที่ดีได้ ในแต่ละปีจะมีการวางแผนในการดำเนินการโดยการรับนักเรียนเข้าโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น โดยมีช่วงเวลาต่าง โดยเริ่มวางแผนในช่วง พฤษภาคม 2564 – กุมภาพันธ์ 2565 เพื่อดำเนินการตั้งแต่ขั้นตอนการเปิดโครงการครูคืนถิ่นนักศึกษารหัส 2565 จนถึงขั้นตอนการประกาศรับทุนการศึกษา ทางคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้ปฏิบัติตาม TIMELINE ของผู้ให้ทุกและดำเนินการอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ทุนการศึกษาไปถึงนักเรียนที่ขาดโอกาสที่แท้จริง ในช่วงปีการศึกษา สาขาวิชาที่ได้รับทุน ครูรัก(ษ์)ถิ่น ประกอบไปด้วย สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย และ สาขาการประถมศึกษา การสนับสนุนทุนโครงการ ครูรัก(ษ์)ถื่น คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ร่วมกับ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ได้จัดโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนที่ขาดโอกาสทางด้านการเงินได้มีโอกาสได้พัฒนาตนเองเป็นครูในเขตพื้นที่ของตนเอง โดยมีการเข้าคัดเลือกนักเรียนที่ทางบ้านขาดทุนทรัพย์ทางการเรียนเพื่อนำมาพัฒนาเป็นนักศึกษาครู โดยทางโครงการได้มีแนวทางการคัดเลือกนักเรียน ด้วยการลงพื้นที่เพื่อสำรวจค้นหานักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ โดยรายละเอียดของทุนไม่เกินปีละ 150,000 บาท จะประกอบด้วย เกณฑ์การรับเข้าศึกษาต่อใน โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น นักเรียนต้องมีสัญชาติไทย สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่…