ส่งเสริมการศึกษาเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านระบบนิเวศ เพื่อสังคมชมชนที่ยั่งยืน : หลักสูตรสาขาวิชาชีววทยา
|

ส่งเสริมการศึกษาเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านระบบนิเวศ เพื่อสังคมชมชนที่ยั่งยืน : หลักสูตรสาขาวิชาชีววทยา

เนื่องจากสังคมไทยในปัจจุบันมีขนาดใหญ่ขึ้นแนวคิดในการใช้ชีวิตของคนไทยจึง เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลกระทบถึงวัฒนธรรม ประเพณีของประชาชนในท้องถิ่น ทั้งในทางบวกและลบการ พัฒนาหลักสูตรต้องอยู่บนพื้นฐานของการพัฒนาคน นอกจากความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์แล้ว ยัง จําเป็นต้องมีการเสริมสร้างจิตสํานึกและอนุรักษ์ความรับผิดชอบต่อสังคมและต้องมีเจตคติที่ดีต่อการใช้ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวทางพระราชดําริที่ถูกต้องด้วย  มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม  โดยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงได้เปิดการสอนในหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต  สาขาวิชาชีววิทยา เป็นหลักสูตรที่ยึดหลักมาตรฐานวิชาการมุ่งผลิตกําลังคนที่เป็นนักวิชาการทางด้านชีววิทยาและเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น และสามารถ ปรับตัวตามสภาพความก้าวหน้าของวิชาการควบคู่กับคุณธรรม  โดยมีการจัดการเรียนการสอนจํานวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 122 หน่วยกิต  มีการออกแบบรายวิชาที่สามารถตอบโจทย์การศึกษาเกี่ยวกับระบบนิเวศ ทั้งพืชและสัตว์สำหรับชุมชนท้องถิ่นหรือระดับชาติ  อาทิเช่น รายวิชานิเวศวิทยาของพืช   :  ความสัมพันธ์ของพืชกับแหล่งที่อาศัย ระบบนิเวศ การถ่ายทอดพลังงาน การแพร่กระจายการเปลี่ยนแปลงแทนที่ของสังคมพืช การใช้ความรู้ทางนิเวศวิทยาวิเคราะห์ชนิดและชุมชนพืช รายวิชาสัตววิทยา :  วิวัฒนาการและการจัดจําแนกประเภท ความหลากหลาย โครงสร้างและหน้าที่เชิงเปรียบเทียบ นิเวศวิทยา และพฤติกรรมของสัตว์ รายวิชานิเวศวิทยาของสัตว์ : ปฏิสัมพันธ์ของสัตว์กับสิ่งแวดล้อมการกระจายพันธุ์ทางภูมิศาสตร์พฤติกรรมการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม การวิเคราะห์ทางนิเวศวิทยาและการเขียนโครงงานวิจัยทางนิเวศวิทยาของสัตว์ ปักษีวิทยา  :  วิวัฒนาการ สัณฐานวิทยา กายวิภาค อนุกรมวิธาน การกระจาย พฤติกรรมและการอนุรักษ์พันธุ์ของนก รายวิชาเทคโนโลยีสะอาด  :  หลักการด้านเทคโนโลยีสะอาด การเกิดของเสียในงานอุตสาหกรรม…

|

กระบวนในการจัดการของเสียจากห้องปฏิบัติการ ตามแนวทางการจัดการของเสียจากห้องปฏิบัติการของกรมควบคุมมลพิษ 

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามมีกระบวนในการจัดการของเสียจากห้องปฏิบัติการ ตามแนวทางการจัดการของเสียจากห้องปฏิบัติการของกรมควบคุมมลพิษ  เป็นแนวปฏิบัติที่ทำให้ผู้ที่ปฏิบัติงานสามารถปฏิบัติงานได้สะดวกมีความถูกต้องและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน อีกทั้งห้องปฏิบัติการศูนย์วิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มีการเตรียมพร้อมการทำห้องปฏิบัติการเพื่อรองรับมาตรฐานห้องปฏิบัติการ ISO/IEC17025 จึงมีกระบวนการ แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการกำจัดของเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามมีนโยบายให้บุคลากรได้ปฏิบัติตามนโยบายคุณภาพในการกำจัดของเสียจากห้องปฏิบัติการ โดยให้เป็นความรับผิดชอบของบุคลากรทุกคน ต่อคุณภาพการกำจัดของเสีย ที่ต้องรับรู้ คุ้นเคย เข้าใจในนโยบาย คู่มือคุณภาพ วิธีดำเนินการคุณภาพ วิธีปฏิบัติงานและเอกสารคุณภาพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในแต่ละหน้าที่และสามารถนำไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธิผล ในการกำจัดของเสียและวัสดุอันตราย และพร้อมพัฒนากระบวนการกำจัดของเสียอย่างต่อเนื่อง

รักษ์พิบูล รักษ์สิ่งแวดล้อม
|

รักษ์พิบูล รักษ์สิ่งแวดล้อม

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มีสาขาวิชาสิ่งแวดล้อมและได้จัดกิจกรรม รักษ์พิบูล รักษ์สิ่งแวดล้อม ขึ้น ดังต่อไปนี้ ชื่อโครงการ : รักษ์พิบูล รักษ์สิ่งแวดล้อมชื่อมหาวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามชื่อชมรม: ชมรมรักษ์สิ่งแวดล้อมระยะเวลาการดำเนินโครงการ: มกราคม 2564-กันยายน 2564ผู้รับผิดชอบโครงการ : นางสาวพลอยขวัญ เอี่ยมสะอาด (ประธานชมรม)ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา: ผศ.ดร.อรชร ฉิมจารย์ และ รศ.ดร.สุขสมาน สังโยคะ 1. ตัวชี้วัดด้านนโยบายการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อม     1.1 นโยบายการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมของมหาวิทยาลัย(หลักฐานดังภาคผนวก)        1. สร้างจิตสํานึกของคนในมหาวิทยาลัยทุกภาคส่วนในการร่วมคิดร่วมทําเพื่อขับเคลื่อนนโยบายอย่างต่อเนื่อง 2. ส่งเสริมวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในมหาวิทยาลัยอย่างมีคุณภาพ เพื่อพัฒนาให้เกิดการพึ่งพาตนเองและเป็นที่พึ่งของชุมชนท้องถิ่น 3. สร้างเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของคนในองค์กรให้มีความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งพัฒนาศักยภาพของคนในองค์กรให้มีแรงจูงใจในการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ     1.2 นโยบายการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมของชมรมฯ(หลักฐานดังภาคผนวก) 1. มุ่งมั่นในการอนุรักษ์พลังงาน การใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด 2. ส่งเสริมการปลูกฝังจิตสํานึกต่อการรักษ์สิ่งแวดล้อม 2. ตัวชี้วัดด้านแผนงาน/เป้าหมาย ชมรมได้มีการวางแผนงานที่จะต้องดําเนินการในปีงบประมาณ 2564 ดังตารางที่ 1 ตารางที่ 1 แผนการดําเนินงานโครงการ/กิจกรรมของชมรมฯ…

|

นโยบายในการขับเคลื่อนการเป็นมหาวิทยาลัยนวัตกรรมสีเขียว (Green Innovation University)

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มีนโยบายในการขับเคลื่อนการเป็นมหาวิทยาลัยนวัตกรรมสีเขียว (Green Innovation University) เพื่อยกระดับคุณภาพของมหาวิทยาลัย ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สร้างจิตสำนึก รักษาสมดุลทางกายภาพอย่างยั่งยืน โดยมีด้านที่ 1 สถานที่และโครงสร้างพื้นฐาน (Setting and Infrastructure : SI) มหาวิทยาลัยมีการผลักดันให้ทุกหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย กำหนดแนวทาง วางแผน จัดโครงการ/กิจกรรม วางแผนการใช้สอยพื้นที่ของอาคารและสถานที่ฯ การจัดภูมิทัศน์ การเพิ่มพื้นที่สีเขียว อาทิ พรรณไม้ป่า พืชปลูก และพื้นที่ดูดซึมน้ำ กำหนดพื้นที่รับผิดชอบให้แต่ละหน่วยงานขับเคลื่อนพัฒนา   แหล่งที่มา : https://green.psru.ac.th/greenu_policy/ โดยมีการจัดโครงการกิจกรรมทั้งภายในมหาวิทยาลัยเองและยังมีหน่วยงานภายนอกเข้ามาร่วมโครงการกิจกรรมกับมหาวิทยาลัย ในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และการใช้ระบบนิเวศบนบกที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอย่างยั่งยืน ดังนี้       1. โครงการวันรักษ์ต้นไม้ ประจำปี 2564 2. โครงการปลูกไผ่ซางหม่นและมะพร้าวน้ำหอม ประจำปี 2564 3. โครงการคลองสวยน้ำใสใจอาสา 4. โครงการจิตอาสาพัฒนาภูมิทิศน์ 5. โครงการดอกทานตะวันทุ่งทะเลแก้ว 6. โครงการผสานความร่วมมือ…

โครงการอนุรักษ์สวนสมุนไพรที่คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
|

โครงการอนุรักษ์สวนสมุนไพรที่คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามมีโครงการอนุรักษ์สวนสมุนไพรที่คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรับผิดชอบดูแล ดังนี้ 1. ชื่อโครงการ โครงการอนุรักษ์สวนสมุนไพร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม 2. สาระสำคัญ           โครงการอนุรักษ์พืชสมุนไพรได้ดำเนินการจัดตั้งสวนสมุนไพรเพื่อรวบรวมพรรณพืชขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2554 และดำเนินการต่อเนื่องจนถึงปี พ.ศ. 2564 เพื่อสืบสานโครงการอันเนื่องมาจากแนวพระราชดำริฯ  ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  โดยมีวัตถุประสงค์โครงการ คือ 1. เพื่อเรียนรู้ เผยแพร่ และสืบสานงานโครงการแนวพระราชดำริฯ 2. เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้คุณลักษณะพืชสมุนไพร ประโยชน์และสรรพคุณจากพืชสมุนไพร 3. เพื่อให้ความรู้แก่ชุมชนท้องถิ่นในเรื่องของพืชสมุนไพร และร่วมอนุรักษ์สมุนไพรอย่างยั่งยืน 4. เพื่อปลูกจิตสำนึกเยาวชน และคนในชุมชนให้รู้จักคุณค่าและหวงแหนพืชสมุนไพรของชุมชน           กิจกรรมของโครงการจึงมุ่งเน้นในการรวบรวมพันธุ์ไม้มีชีวิตของพืชสมุนไพร เพื่อเป็นพืชอ้างอิงที่ถูกต้องตามหลักทางพฤกษศาสตร์ เพื่ออนุรักษ์พันธุ์สมุนไพร ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ แก่นักศึกษา นักเรียน และผู้สนใจ อีกทั้งเพื่อบูรณาการเข้ากับการเรียนการสอนเพื่อปลูกฝั่งจิตสำนึกรักพืชสมุนไพรท้องถิ่นแก่นักศึกษาและคนในท้องถิ่น เป็นงานทางด้านการบำรุงรักษาสวนสมุนไพรและการเข้าสู่การเรียนการสอน และวิจัย โดยมีการจัดเข้าการเรียนการสอน           ในปีงบประมาณ 2564 โครงการได้มีแนวคิดในการพัฒนาสวนสมุนไพรเพิ่มเติม จากพื้นที่เดิมที่จำกัดอยู่เพียงคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งมีพืชสมุนไพรบางชนิดเท่านั้นที่สามารถเติบโตได้ในพื้นที่ดังกล่าว ทั้งที่มีพืชทุกชนิดที่พบในพื้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม…

นโยบายในการสนับสนุนในการอนุรักการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างยังยืน
|

นโยบายในการสนับสนุนในการอนุรักการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างยังยืน

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม  มีนโยบายในการสนับสนุนในการอนุรักการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างยังยืน โดยมอบหมายหน่วยงานหลักในการดำเนินงานโครงการฯ คือ กองกลางสำนักงานอธิการบดีเป็นผู้รับผิดชอบ ในการดำเนินงานจัดโครงการ ในการอนุรักการใช้ดินให้เกิดประโยชน์ เพื่อไม่ให้พื้นที่ในมหาวิทยาลัยรกร้างว่างป่าว ซึ่งในปี 2564 ได้ดำเนินการจัดโครงการใช้ประโยชน์ที่ดิน ดังนี้ 1. โครงการวันรักษ์ต้นไม้ ประจำปี 25642. โครงการปลูกไผ่ซางหม่นและมะพร้าวน้ำหอม ประจำปี 2564 3. โครงการคลองสวยน้ำใสใจอาสา4. โครงการจิตอาสาพัฒนาภูมิทิศน์5. โครงการดอกทานตะวันทุ่งทะเลแก้ว6. โครงการผสานความร่วมมือ จ.พิษณุโลก ขับเคลื่อนโคกหนองนาโมเดล ที่มา กองกลางสำนักงานอธิการบดี

การอนุรักสัตว์น้ำภายในบริเวณมหาวิทยาลัย
| |

การอนุรักสัตว์น้ำภายในบริเวณมหาวิทยาลัย

           มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม  เป็นมหาวิทยาลัยที่มีพื้นขนาดใหญ่  จำนวน 1,000  ไร่  ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามได้ดำเนินการขุดคลองดินเป็นกำแพงรอบพื้นที่มหาวิทยาลัยทั้งหมด           และภายในมหาวิทยาลัย มีสวนราชมังคลาซึ่งบริเวณดังกล่าวมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ และมีสัตว์น้ำหลายชนิดเป็นจำนวนมาก ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามจึงได้มีการประชาสัมพันธ์ให้บุคคลที่เข้ามาภายในมหาวิทยาลัยได้ช่วยกันอนุรักสัตว์น้ำภายในบริเวณมหาวิทยาลัย

| | | | | | | | | | | | | | | |

รายวิชาที่ความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
(Sustainable Development Goals, SDGs) ทั้ง 17 ด้าน

          การพัฒนาอย่างยั่งยืน คือการตอบสนองความต้องการของคนรุ่นปัจจุบัน โดยไม่มีผลกระทบในทางลบต่อความต้องการของคนรุ่นต่อไปในอนาคต ซึ่งรายวิชาศึกษาทั่วไปในทักษะนี้แต่ละรายวิชามีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งมหาวิทยาลัยได้มีการจัดรายวิชาที่ความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals, SDGs) ทั้ง 17 ด้าน  เช่น รายวิชา GESO115 The King’ s Philosophy for Local Development ซึ่งเป็นรายวิชาที่ออกแบบเพื่อให้นักศึกษาทราบถึงพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและพระบรมวงศานุวงศ์ ความหมาย หลักการ แนวคิด ความสําคัญ และเป้าหมายของหลักการทรงงาน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และการพัฒนาตามศาสตร์พระราชาอย่างยั่งยืน ตลอดจนถึงการลงพื้นที่สำรวจ วิเคราะห์ปัญหา การน้อมนําศาสตร์พระราชาไปประยุกต์ใช้ในให้การแก้ปัญหาของพื้นที่ตั้งแต่ระดับบุคคล องค์กรธุรกิจหรือชุมชนในระดับท้องถิ่น และระดับประเทศอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงเทคนิคการสร้างภาคีเครือข่าย และการฝึกปฏิบัติงานโดยบูรณาการแบบองค์รวมกับทีมภาคีเครือข่าย และรายวิชา SOED332Community Study and Community Based Learning  for Life Long เป็นรายวิชาที่ออกแบบเพื่อให้นักศึกษาทราบถึงโครงสร้างระบบการศึกษาส่วนท้องถิ่น บทบาทของคนและองค์กรชุมชนศิลปวัฒนธรรมจารีต ประเพณีท้องถิ่น  กิจกรรมและการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาคนและองค์กรชุมชนและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน รายละเอียดดังตาราง ลำดับ รายวิชา…