มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้ดำเนินกิจกรรมโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 – 31 ธันวาคม 2564 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ โดยมหาวิทยาลัยเป็น System Integrator ให้เกิดการพัฒนาตามปัญหาและความต้องการของชุมชน การจ้างงานประชาชนทั่วไป บัณฑิตจบใหม่ และนักศึกษาให้มีงานทำและฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน และการจัดทำข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชน (Community Big Data) โดยร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 15 ตำบล จากจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 9 ตำบล และจังหวัดสุโขทัย จำนวน 6 ตำบล ได้แก่
1. เทศบาลตำบลพลายชุมพล ตำบลพลายชุมพล อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
2.องค์การบริหารส่วนตำบลจอมทอง ตำบลจอมทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
3.องค์การบริหารส่วนตำบลดอนทอง ตำบลดอนทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
4.องค์การบริหารส่วนตำบลทองแท้ ตำบลท้อแท้ อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก
5.องค์การบริหารส่วนตำบลคันโช้ง ตำบลคันโช้ง อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก
6.องค์การบริหารส่วนตำบลท่างาม ตำบลท่างาม อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก
7.องค์การบริหารส่วนตำบลนครป่าหมาก ตำบลนครป่าหมาก อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก
8.องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสลุด ตำบลโคกสลุด อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก
9.องค์การบริหารส่วนตำบลท่าตาล ตำบลท่าตาล อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก
10.เทศบาลตำบลกลางดง ตำบลกลางดง อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย
11.องค์การบริหารส่วนตำบลวังไม้ขอน ตำบลวังไม้ขอน อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย
12.องค์การบริหารส่วนตำบลดงคู่ ตำบลดงดู่ อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
13.เทศบาลเมืองศรีสัชนาลัย ตำบลท่าชัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
14.องค์การบริหารส่วนตำบลคลองกระจง ตำบลคลองกระจง อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย
15.องค์การบริหารส่วนตำบลไทยชนะศึก ตำบลไทยชนะศึก อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย
ซึ่งได้จัดทำบันทึกข้อตกลงโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้ง 15 ตำบล โดยมีเนื้อหาให้มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามดำเนินการจ้างงานบัณฑิตจบใหม่(ไม่เกิน 3 ปี) 10 คน/ตำบล นักศึกษา 5 คน/ตำบล และประชาชนทั่วไป 5 คน/ตำบล รวมทั้งสิ้น 20 คน/ตำบล โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมให้การประชาสัมพันธ์โครงการ และคัดเลือกผู้รับจ้างงานภายในตำบล รวมถึงร่วมกันวางแผนการดำเนินโครงการ/กิจกรรมเพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลให้ตรงต่อความต้องการของแต่ละตำบล การสำรวจและจัดกิจกรรมตาม 16 เป้าหมายในการเอาชนะความยากจนของศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี และการดำเนินการตามตัวชี้วัดระดับตำบล 14 ตัวชี้วัด และตัวชี้วัดระดับมหาวิทยาลัย 14 ตัวชี้วัด ร่วมกันประเมินและวิเคราะห์ศักยภาพตำบลและสภาพปัญหาของตำบลจากข้อมูลต่างๆ เช่น TPMAP AGRIMAP และข้อมูลแผนที่ดาวเทียม (GRISTDA) เพื่อวางแผนกิจกรรมการพัฒนาตำบลในการแก้ไขปัญหาความยากจนร่วมกันกับกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ เช่น กลุ่มสังคม องค์กรชุมชน (กลุ่มเกษตรกร กลุ่มอาชีพ สถาบันการเงินชุมชน กลุ่มออมทรัพย์ วิสาหกิจชุมชน เป็นต้น) กลุ่มเปราะบาง และผู้สูงอายุ ร่วมทั้งหน่วยงานภาครัฐ กาคเอกชน (สมาคม สภาอุตสาหกรรม บริษัทเอกชน) เพื่อบูรณาการการพัฒนาร่วมกัน
โดยสามารถสรุปภาพรวมการพัฒนาตำบลแยกรายด้านได้ดังนี้
ที่มา : สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง : การถอดบทเรียนการดำเนินงาน โครงการ U2T พื้นที่จังหวัดสุโขทัย ,การถอดบทเรียนการดำเนินงานโครงการ U2T พื้นที่จังหวัดพิษณุโลก