โครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพศูนย์การเรียนรู้ชุมชนต้นแบบตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงในตำบลดินทอง อำเภอวังทอง และตำบลท่างาม อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก จากการสำรวจข้อมูลของกรมพัฒนาชุมชน และข้อมูล กชช.2ค ของจังหวัดพิษณุโลกทั้ง 9 อำเภอ ดังที่กล่าวมาที่พบว่า อำเภอวังทอง โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ตำบลดินทองที่มีทั้งหมด 11 หมู่บ้าน และอำเภอวัดโบสถ์ ตำบลท่างามมีทั้งหมด 13 หมู่บ้าน ซึ่งประชาชนในพื้นที่ทั้ง 2 ตำบล ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และเป็นพื้นที่ที่มีความจำเป็นต้องพัฒนาอย่างเร่งด่วนของจังหวัดพิษณุโลกที่ต้องแก้ปัญหาความยากจน โดยเฉพาะต้องการให้เกษตรกรมีรายได้เสริมภายในครัวเรือนนอกเหนือจากรายได้หลัก หรือสร้างอาชีพใหม่ให้กับเกษตรกรเพื่อให้มีความเพียงพอกับต้องการภายในครัวเรือนและพ้นเกณฑ์ความยากจน อย่างไรก็ตามสภาพต้นทุนในพื้นที่ดังกล่าวนี้ส่วนใหญ่มีการเลี้ยงสัตว์และปลูกพืชเป็นอาชีพเสริม และควรทำให้เป็นพื้นที่ที่ควรเข้าไปสนับสนุน และพัฒนาให้เป็นอาชีพของชุมชน โดยมีศูนย์การเรียนรู้ชุมชนต้นแบบตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
เนื่องจากในพื้นที่มีการเลี้ยงสัตว์และทำการเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลักเป็นจำนวนมาก ซึ่งปัจจุบันนี้การน้อมนำแนวเศรษฐกิจพอเพียงของพ่อหลวงแห่งปวงชนชาวไทยนั้น ถือว่าเป็นการยึดหลักในการดำเนินชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี ไม่ต้องเดือดร้อน และที่สำคัญในยุคนี้ เกษตรกรต้องรู้จักการเลี้ยงสัตว์หลากหลายชนิด เพื่อการประกอบอาชีพ ซึ่งเป็นไปตามพระราชปณิธานเดินตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รวมทั้งเป็นการสนองพระราชหฤทัยห่วงใยของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ รัชกาลที่ 10 ที่พระราชทานพระราชดำรัสให้เดินตามรอยพระยุคลบาทที่พระราชทานพระราชดำริในการดำเนินชีวิตไว้ คือ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุก ระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความ พอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในภายนอก ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความ ระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการ ทุกขั้นตอน และขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ ประชาชนให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี ดังนั้นคณะผู้วิจัยจากคณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ซึ่งมีความพร้อมทั้งทางด้านบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในด้านการเกษตร โดยสามารถส่งเสริมและพัฒนาอาชีพศูนย์การเรียนรู้ชุมชนต้นแบบตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง จึงได้จัดโครงการการสืบสานพระราชดำริการให้กับเกษตรกรตำบลดินทอง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งเป็นโครงการที่มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามจัดทำขึ้นเพื่อให้คณะเทคโนโลยีการเกษตรได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ เกษตรกรผู้มีความสนใจในด้านการเกษตร และการแปรรูปผลผลิตทางด้านการเกษตร เพื่อสามารถพัฒนาเป็นอาชีพและเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวของเกษตรกรในตำบลดินทอง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลกได้ต่อไปอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ซึ่งเกษตรกรสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสร้างอาชีพ และพัฒนาคุณภาพชีวิต มีความสุขมวลรวมครบทุกด้าน และสร้างเสริมอาชีพให้ชุมชนได้อย่างยั่งยืน และเศรษฐกิจของท้องถิ่นที่เป็นไปตามบริบทและความต้องการในการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อเป็นชุมชนต้นแบบตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และเพื่อส่งเสริมและปลูกฝังให้ประชาชนนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นำมาใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้และสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมให้แก่ประชาชนสามารถใช้ชีวิตได้อย่างสมดุล ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงต่างๆ โดยเป็นการให้ความรู้ ส่งเสริม สนับสนุนทางด้านการเกษตร และการแปรรูปผลผลิตทางด้านการเกษตร เพื่อเป็นแหล่งอาหารในท้องถิ่น และเพิ่มรายได้ในครัวเรือนและในชุมชนเป็นชุมชนต้นแบบตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงต่อไปอนาคต
ที่มา: คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง: SPMS PSRU , กองนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม