การยอมรับสหภาพแรงงานและสิทธิแรงงาน เปิดโอกาส และให้เสรีภาพในการสมาคม และการเจรจาต่อรองร่วมกัน ในรูปแบบต่างๆ
|

การยอมรับสหภาพแรงงานและสิทธิแรงงาน เปิดโอกาส และให้เสรีภาพในการสมาคม และการเจรจาต่อรองร่วมกัน ในรูปแบบต่างๆ

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามเป็นองค์กรที่ยอมรับสหภาพแรงงานและสิทธิแรงงาน เปิดโอกาส และให้เสรีภาพในการสมาคม และการเจรจาต่อรองร่วมกัน ในรูปแบบต่างๆ เช่น ในรูปแบบของ “สภาคณาจารย์และข้าราชการ” โดยเป็นสภาคณาจารย์และข้าราชการที่ได้รับการตราไว้ในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 มาตรา 23 ซึ่งกำหนดไว้ว่า “ให้มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งมีสภาคณาจารย์และข้าราชการ ประกอบด้วย ประธานสภาและกรรมการสภาซึ่งเลือกจากคณาจารย์ประจำและข้าราชการของมหาวิทยาลัย องค์ประกอบ จำนวน คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการได้มา วาระการดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่งของประธานสภาและกรรมการสภาตามวรรคหนึ่ง ตลอดจนการประชุมของสภาคณาจารย์และข้าราชการและการเรียกประชุมคณาจารย์และข้าราชการ ให้เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย” โดยตามมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 กำหนดให้สภาคณาจารย์และข้าราชการ มีหน้าที่ 4 ประการ ดังนี้ (1) ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะในกิจการของมหาวิทยาลัยและการพัฒนามหาวิทยาลัยต่ออธิการบดีหรือสภามหาวิทยาลัย(2) แสวงหาแนวทางร่วมกันเพื่อส่งเสริมพัฒนาศักยภาพของคณาจารย์และข้าราชการในการปฏิบัติหน้าที่ตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ(3) พิทักษ์ผลประโยชน์ของมหาวิทยาลัยและปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่อธิการบดีหรือสภามหาวิทยาลัยมอบหมาย(4) เรียกประชุมคณาจารย์และข้าราชการเพื่อพิจารณากิจกรรมของมหาวิทยาลัย และนำเสนอความคิดเห็นต่อสภามหาวิทยาลัยการปฏิบัติหน้าที่ของสภาคณาจารย์และข้าราชถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการ และการดำเนินการใดๆ ในการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบย่อมได้รับความคุ้มครองและไม่เป็นเหตุในการดำเนินการทางวินัย ซึ่งสภาคณาจารย์และข้าราชการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มีวิสัยทัศน์ พันธกิจ และประเด็นยุทธศาสตร์ดังนี้ วิสัยทัศน์ : สภาคณาจารย์และข้าราชการ เป็นองค์กรที่ดําเนินงานด้วยหลักธรรมาภิบาล พัฒนาและประสานความร่วมมือ ยึดถือผลประโยชน์ของมหาวิทยาลัย พันธกิจ :…

พร้อมรับฟัง “กำนันพิบูล”  และ  “สายตรงอธิการบดี
|

พร้อมรับฟัง “กำนันพิบูล” และ “สายตรงอธิการบดี

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม โดยกองบริหารงานบุคคล มีหน้าที่ในการรับเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบของบุคลากรในมหาวิทยาลัย หรือหากพบเหตุอันควรสงสัยว่าบุคลากรในมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามกระทำหรือเกี่ยวข้องกับการทุจริตหรือการประพฤติมิชอบ รวมทั้งการตรวจสอบเร่งรัด ติดตาม เรื่องร้องเรียน เพื่อรายงานต่อผู้บริหารและนำไปสู่การแก้ไขปัญหา โดยสามารถร้องเรียนผ่านทางเว็บไซต์ https://imis.psru.ac.th/appeal/appeal_add.php (กำนันพิบูล) หรือสายตรงอธิการ https://www.psru.ac.th/direct_dean/ เราพร้อมรับฟัง และนำไปสู่แนวทางการแก้ปัญหาเพื่อประโยชน์สูงสุดที่จะเกิดขึ้นกับผู้รับบริการ และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน      คำชี้แจง :         1. ข้อมูลที่ท่านร้องเรียนจะถูกเก็บไว้เป็นความลับ         2. หากท่านต้องการประสงค์ที่จะเปิดเผยข้อมูล ท่านสามารถกรอก ชื่อ – นามสกุล ชื่อหน่วยงาน เบอร์โทรติดต่อกลับ หรือ อีเมล์ ได้         3. หากท่านต้องการอยากรับทราบผลการดำเนินงานที่ร้องเรียน ท่านต้องทำการระบุอีเมล์ของท่าน เพื่อรับทราบผลผ่านทางอีเมล์ตามที่ท่านระบุไว้ รายงานผลการร้องเรียนที่ผ่านมา   คู่มือแนวทางการดำเนินงานเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบของบุคลากรในมหาวิทยาลัย : http://personnel.psru.ac.th/man_manage/O29.pdf  

การอุทธรณ์และพิจารณาอุทธรณ์ ประกอบกับการร้องทุกข์และการพิจารณาการร้องทุกข์
|

การอุทธรณ์และพิจารณาอุทธรณ์ ประกอบกับการร้องทุกข์และการพิจารณาการร้องทุกข์

          มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้มีกระบวนการให้บุคลากรทุกประเภทมีสิทธิในการอุทธรณ์และร้องทุกข์ต่อมหาวิทยาลัยในกรณีที่เห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมอันเกิดจากกฎ ระเบียบ หรือคำสั่งของมหาวิทยาลัย ของผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม การยื่นหนังสืออุทธรณ์หรือคำร้องทุกข์ให้ยื่นต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ฯ หรือเลขาสภามหามหาวิทยาลัย ข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ว่าด้วยเรื่องการอุทธรณ์และพิจารณาอุทธรณ์ ประกอบกับการร้องทุกข์และการพิจารณาการร้องทุกข์ ฉบับเพิ่มเติม

แนวปฏิบัติการประเมินผลการปฏิบัติราชการของบุคลากรในมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม 2564
|

แนวปฏิบัติการประเมินผลการปฏิบัติราชการของบุคลากรในมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม 2564

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติราชการของบุคลากรในมหาวิทยาลัยปีละ 2 ครั้ง โดยใช้แบบประเมินที่มหาวิทยาลัยกำหนดไว้ และมีหลักเกณฑ์การประเมินที่ชัดเจนโดยไม่คำนึงถึงเพศ จะยึดหลักการปฏิบัติราชการของแต่ละคนเป็นหลัก   ประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เรื่อง  แนวปฏิบัติการประเมินผลการปฏิบัติราชการของบุคลากรในมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม 2564

อัตราการจ่ายค่าจ้างแรกบรรจุ
| |

อัตราการจ่ายค่าจ้างแรกบรรจุ

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามมีบุคลากรหลายประเภทในแต่ละประเภทก็มีอัตราการจ่ายค่าจ้างแรกบรรจุที่ชัดเจนในแต่ละประเภทตามข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะไม่แตกแต่งกันถึงแม้จะมีตำแหน่งเดียวกัน เช่น อัตราค่าจ้างแรกบรรจุในตำแหน่ง ปริญญาเอก  เท่ากับ  35,700  บาท  อัตราค่าจ้างแรกบรรจุในตำแหน่ง ปริญญาโท  เท่ากับ  29,750  บาท  อัตราค่าจ้างแรกบรรจุในตำแหน่ง ปริญญาตรี  เท่ากับ  22,500  บาท            ในการจ่ายอัตราค่าจ้างนั้น มหาวิทยาลัยไม่ได้ระบุถึงเพศชายต้องรับค่าจ้างมากกว่าเพศหญิง เป็นต้น ข้อบังคับฯ ว่าด้วย การบริหารงานบุคคลของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2551 หมวด 2 ข้อ 10 และประกาศอัตราเงินเดือนแรกบรรจุของแต่ละประเภท

ข้อกฎหมายเกี่ยวกับการสรรหา ว่าจ้าง
|

ข้อกฎหมายเกี่ยวกับการสรรหา ว่าจ้าง

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามมีข้อกฎหมายเกี่ยวกับการสรรหาที่ชัดเจน จะระบุเกี่ยวกับวุฒิการศึกษา อายุที่รับสมัคร ตำแหน่งที่รับสมัคร เป็นต้น ในการรับสมัครงานต้องมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ถึงจะสมัครงานได้ไม่มีนโยบายรับสมัครงานที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี จึงขอยกตัวอย่างการประกาศฯ รับสมัครของมหาวิทยาลัยที่ระบุคุณสมบัติที่ชัดเจน และไม่มีข้อจำกัดทางด้านเพศ เชื้อชาติ ศาสนา ความบกพร่องทางร่ายกาย เพื่อสร้างโอกาสและความเท่าเทียมในการับสมัครบุคลากรเข้าทำงาน   ขั้นตอนการสมัครงาน : ข้อบังคับฯ ว่าด้วย การบริหารงานบุคคลของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2551 หมวด 2 ข้อ 10 และตัวอย่างประกาศรับสมัครงานฯ  

|

มหาวิทยาลัยเปิดการรับโดยไม่จำกัดเพศ  สถานภาพการสมรส 

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ขอยกตัวอย่างกรณีในการไม่เลือกปฏิบัติตามหัวข้อข้างต้น คือ การรับสมัครงานของมหาวิทยาลัยมีการระบุคุณสมบัติที่ชัดเจนตามตำแหน่งงาน และไม่มีข้อจำกัดทางด้านเพศ สถานภาพการสมรส  เชื้อชาติ ศาสนา ความบกพร่องทางร่ายกาย เพื่อสร้างโอกาสและความเท่าเทียมในการับสมัครบุคลากรเข้าทำงาน  (เอกสารแนบ ประกาศรับสมัครงานฯ)  

ความเป็นธรรมในการจ้างงานบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยฯ
|

ความเป็นธรรมในการจ้างงานบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยฯ

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามมีบุคลากรทั้งหมด 5 ประเภท ในแต่ละประเภทมีการจ้างงานในอัตราเงินเดือน/ค่าจ้าง ที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้           1. การจ้างด้วยเงินงบประมาณแผ่นดิน ประกอบด้วย ข้าราชการฯ ลูกจ้างประจำ พนักงานมหาวิทยาลัย และพนักงานราชการ มหาวิทยาลัยได้กำหนดอัตราค่าจ้างแรกบรรจุของแต่ละประเภท โดยยึดหลักจากส่วนกลาง (อว. หรือ กพ.) ซึ่งอัตราค่าจ้างที่ได้รับไม่ต่ำกว่าที่ส่วนกลางกำหนดไว้           2. การจ้างด้วยเงินงบประมาณรายได้ของมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย พนักงานมหาวิทยาลัยเงินรายได้ มหาวิทยาลัยได้กำหนดอัตราค่าจ้างของแต่ละประเภท โดยยึดหลักจากอัตราเงินเดือนของข้าราชการฯ เป็นหลัก ในการบรรจุเข้าทำงาน  ประกาศอัตราเงินเดือนแรกบรรจุของแต่ละประเภท

| | | | | | | | | | | | | | | |

รายวิชาที่ความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
(Sustainable Development Goals, SDGs) ทั้ง 17 ด้าน

          การพัฒนาอย่างยั่งยืน คือการตอบสนองความต้องการของคนรุ่นปัจจุบัน โดยไม่มีผลกระทบในทางลบต่อความต้องการของคนรุ่นต่อไปในอนาคต ซึ่งรายวิชาศึกษาทั่วไปในทักษะนี้แต่ละรายวิชามีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งมหาวิทยาลัยได้มีการจัดรายวิชาที่ความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals, SDGs) ทั้ง 17 ด้าน  เช่น รายวิชา GESO115 The King’ s Philosophy for Local Development ซึ่งเป็นรายวิชาที่ออกแบบเพื่อให้นักศึกษาทราบถึงพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและพระบรมวงศานุวงศ์ ความหมาย หลักการ แนวคิด ความสําคัญ และเป้าหมายของหลักการทรงงาน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และการพัฒนาตามศาสตร์พระราชาอย่างยั่งยืน ตลอดจนถึงการลงพื้นที่สำรวจ วิเคราะห์ปัญหา การน้อมนําศาสตร์พระราชาไปประยุกต์ใช้ในให้การแก้ปัญหาของพื้นที่ตั้งแต่ระดับบุคคล องค์กรธุรกิจหรือชุมชนในระดับท้องถิ่น และระดับประเทศอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงเทคนิคการสร้างภาคีเครือข่าย และการฝึกปฏิบัติงานโดยบูรณาการแบบองค์รวมกับทีมภาคีเครือข่าย และรายวิชา SOED332Community Study and Community Based Learning  for Life Long เป็นรายวิชาที่ออกแบบเพื่อให้นักศึกษาทราบถึงโครงสร้างระบบการศึกษาส่วนท้องถิ่น บทบาทของคนและองค์กรชุมชนศิลปวัฒนธรรมจารีต ประเพณีท้องถิ่น  กิจกรรมและการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาคนและองค์กรชุมชนและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน รายละเอียดดังตาราง ลำดับ รายวิชา…