มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม ได้ได้รับทุนอุดหนุนการบริการวิชาการจากโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม พ.ศ. 2564 การท่องเที่ยวเชิงเกษตรพิบูลสงครามเพื่อสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากร ตามแนวโครงการ อพ.สธ.
- กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรพิบูลสงครามเพื่อสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากรตามแนวทางโครงการ อพ.สธ. โดยมีเป้าหมายให้เยาชนและประชาชนได้เข้าศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติด้วยความเพลิดเพลินและแฝงไว้ซึ่งความรู้ โดยให้คำแนะนำและแนวทางการศึกษาตลอดจนถ่ายทอดความรู้และสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากร การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในรูปแบบต่าง ๆ ครอบคลุมทั้งสามฐานทรัพยากร โดยนำเสนอในรูปแบบการนำเที่ยวทั้งในส่วนฟาร์มพืช ฟาร์มสัตว์ การแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรและต่อยอดภูมิปัญญาเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ นอกจากให้ประชาชนทั่วไปได้ศึกษาดูงานแบบออนไซต์ ณ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามแล้ว ยังมีโครงการท่องเที่ยวเชิงเกษตรพิบูลสงครามฯ ในรูปแบบออนไลน์และผู้เข้าร่วมการท่องเที่ยวรูปแบบออนไลน์สามารถได้รับวุฒิบัตรเมือร่วมกิจกรรทำแบบทดสอบและประเมินความพึงพอใจเรียบร้อยแล้ว สำหรับการดำเนินงานโครงการท่องเที่ยวเชิงเกษตรพิบูลสงคราม ฯ มีผู้เข้าเยี่ยมชมทั้งในแบบขอเข้าศึกษาดูงาน ณ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร (ออนไซต์) และแบบออนไลน์ จำนวนทั้งหมด 770 คน ประกอบด้วยครูและนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่ขอเข้าศึกษาดูงาน จากโรงเรียนผดุงราษฏร์จังหวัดพิษณุโลก 138 คน ครูและนักเรียนจากโรงเรียนต่าง ๆ ในเขตจังหวัดพิษณุโลก สุโขทัย พิจิตร และกำแพงเพชร ที่เข้าร่วมโครงการฯ แบบออนไลน์จำนวน 632 คน ซึ่งแบ่งเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงเกษตรพิบูลสงครามเพื่อสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากรตามแนวโครงการ อพ.สธ. ทั้งแบบออนไซต์และออนไลน์ ดังนี้ 1) แปลงพืชประจำถิ่น อพ.สธ. 2) การแสดงผลิตภัณฑ์จากการแปรรูปประจำถิ่นเป็นนวัตกรรมอาหารเครื่องสำอาง 3) องค์ความรู้หรือเครื่องจักรต้นแบบที่เกี่ยวข้องกับการแปรรูปพืชประจำถิ่น และ 4) ฟาร์มสัตว์ต้นแบบที่มีการนำพืชประจำถิ่นมาใช้ประโยชน์
- กิจกรรมการศึกษาดูงาน ณ โครงการท่องเที่ยงเชิงเกษตรพิบูลสงครามจากคณะครูและนักเรียนโรงเรียนผดุงราษฏร์
ศึกษาดูงานท่องเที่ยวเชิงเกษตรฯ แบบออนไซต์
- กิจกรรมการดำเนินงานโครงการท่องเที่ยงเชิงเกษตรพิบูลสงครามแบบออนไลน์
กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรออนไลน์
การบริการวิชาการภายใต้โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจฐานรากสู่หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลดินทอง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก
สืบเนื่องจากการสำรวจข้อมูลของกรมพัฒนาชุมชน และข้อมูล กชช.2ค ของจังหวัดพิษณุโลก พบว่าประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพการเกษตร และมีอาชีพเสริมด้วยการรับจ้างรายวัน และเพาะกล้าไม้ขายและเป็นพื้นที่ที่มีความจำเป็นต้องพัฒนาอย่างเร่งด่วนเป็นอันดับที่ 1 ที่ต้องแก้ไขปัญหาความอยากจน โดยเฉพาะต้องให้ประชาชนมีรายได้เสริมภายในครัวเรือนลดรายจ่ายนอกเหนือจากรายได้หลักหรืออาจเป็นการสร้างอาชีพใหม่ให้กับประชาชนเพื่อให้มีความเพียงพอกับความต้องการภายในครัวเรือนและพ้นเกณฑ์ความยากจน ด้วยการส่งเสริมสร้างอาชีพเสริม เช่น การเลี้ยงไก่ไข่ การเลี้ยงปลาน้ำจืด การเพาะเลี้ยงกบนา เป็นต้น อย่างไรก็ตามคณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ซึ่งมีความพร้อมทั้งทางด้านบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในหลากหลายด้าน ทั้งด้านการเกษตร การเลี้ยงสัตว์ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางด้านการเกษตรการตลาดและบัญชี โดยเป็นการให้องค์ความรู้และถ่ายทอดความรู้ให้กับประชาชนเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายและพ้นความยากจน
กิจกรรม การส่งเสริมการเพาะเลี้ยงกบนา หมู่ 11 ตำบลดินทอง อ.วังทอง จ.พิษณุโลก
การเลี้ยงและการคัดพ่อ แม่พันธุ์ การเพาะพันธุ์กบนา และการอนุบาล
กิจกรรม การแปรรูปน้ำพริกกบนา หมู่ 11 ตำบลดินทอง อ.วังทอง จ.พิษณุโลก
สูตรน้ำกริดกบนา ลงมือปฏิบัติน้ำพริกตามสูตร
ผลผลิตและผลิตภัณฑ์น้ำริกกบนา
กิจกรรม แปรรูปหนังกบปรุงรส
หนังกบปรุงรส
บรรจุใสซองสุญญากาศทอดและจำหน่ายในหมู่บ้าน
กิจกรรม การเลี้ยงปลาน้ำจืด
การเลี้ยงปลาน้ำจืดในบ่อดิน
กิจกรรม ส่งเสริมการแปรรูปปลาหมอแดดเดียว
การแปรรูปปลาหมอแดดเดียว
กิจกรรม ส่งเสริมการน้ำพริกปลาย่าง
น้ำพริกปลาย่าง
ข้อมูลจาก : สาขาวิชาสัตวศาสตร์และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร