การใช้น้ำและการดูแลรักษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามมีกระบวนการบำบัดน้ำเสีย คือ มีถังบำบัดน้ำเสียในแต่ละอาคาร (onsite treatment) ที่มีการออกแบบมาพร้อมกับการก่อสร้างอาคาร ซึ่งจะมีการคำนวณปริมาณน้ำเสียที่คลอบคุมทั้งอาคาร โดยเมื่อน้ำทิ้งที่ผ่านถังบำบัดน้ำเสียแล้วจะเข้าสู่คลองระบายน้ำโดยรอบและมีประตูน้ำปิด-เปิดของมหาวิทยาลัย โดยคลองระบายน้ำจะทำการบำบัดน้ำเสียไหลวนด้วยวิธีธรรมชาติผ่านสระเก็บน้ำขนาดใหญ่ 3 สระ (oxidation pond) ได้แก่ สระเก็บน้ำคณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร, สระเก็บน้ำหลังหอสมุดอิเล็กทรอนิกส์ และสระเก็บน้ำสวนรัชมังคลาภิเษก เป็นต้น ซึ่งสระเก็บน้ำดังกล่าว จะมีการพักน้ำเสียและปรับสมดุลโดยวิธีธรรมชาติ ก่อนที่น้ำทิ้งจะไหลวนมายังคลองรอบมหาวิทยาลัย ซึ่งคุณภาพน้ำดิบจะค่อนข้างดีที่สุด จากนั้นก็จะสูบมาพักยังสระน้ำดิบเพื่อรอผลิตน้ำประปาส่งจ่ายไปยังมหาวิทยาลัยดังเดิม
พื้นที่รับน้ำโดยรอบมหาวิทยาลัย
พื้นที่รับน้ำโดยรอบมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้มีการปฏิบัติตามกรมควบคุมมลพิษออกกฎกระทรวงเรื่อง “กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และแบบการเก็บสถิติและข้อมูล การจัดทำบันทึกรายละเอียด และรายงานสรุปผลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย พ.ศ. 2555” ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษ ซึ่งมีหน้าที่ต้องเก็บข้อมูล และรายงานสรุปการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย ตามมาตรา 80 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 2 สิงหาคม 2555 ตามกฎกระทรวงดังกล่าว มีผลให้เจ้าของแหล่งกำเนิดมลพิษที่ถูกประกาศให้เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษ จะต้องจดบันทึกสถิติและข้อมูลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียตามแบบ ทส.1 ทุกวัน และสรุปผลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียตามแบบ ทส.2 ทุกเดือน โดยรายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือรายงานด้วยวิธีการอิเล็กทรอนิกส์ภายใน 15 ของเดือนถัดไป
แหล่งที่มา : http://www.ereportmatra80.com/frm80_19.aspx
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มีระบบการป้องกันน้ำเสียเข้าสู่ระบบน้ำของมหาวิทยาลัยด้วยคันกั้นน้ำโดยรอบ และมีประตูน้ำปิด-เปิดเพื่อป้องกันน้ำไหลออกสู่แหล่งน้ำสาธารณะภายนอก โดยมหาวิทยาลัยจะนำไปใช้ประโยชน์ต่อในการนำกลับไปใช้รดน้ำต้นไม้และสนามหญ้า (Land treatment) ในบริเวณโดยรอบอาคาร ซึ่งถือเป็นความรับผิดหนึ่งของมหาวิทยาลัยในการอยู่ร่วมกับชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัย คงสภาพแวดล้อมที่ดีทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยอย่างยั่งยืน
และมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามยังมีการจัดทำคันกันน้ำโดยรอบทั้งมหาวิทยาลัยโดย บนคันกั้นน้ำจะทำถนน เพื่อใช้ประโยชน์เป็นทั้งถนนและคันกั้นน้ำ ไม่ให้น้ำเสียจากภายนอกและภายในรวมกันได้ ซึ่งเป็นการง่ายต่อการควบคุมคุณภาพน้ำเสีย