มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามมีกระบวนในการจัดการของเสียจากห้องปฏิบัติการ ตามแนวทางการจัดการของเสียจากห้องปฏิบัติการของกรมควบคุมมลพิษ เป็นแนวปฏิบัติที่ทำให้ผู้ที่ปฏิบัติงานสามารถปฏิบัติงานได้สะดวก มีความถูกต้องและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน อีกทั้งห้องปฏิบัติการศูนย์วิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มีการเตรียมพร้อมการทำห้องปฏิบัติการเพื่อรองรับมาตรฐานห้องปฏิบัติการ ISO/IEC17025 จึงมีกระบวนการ แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการกำจัดของเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามมีนโยบายให้บุคลากรได้ปฏิบัติตามนโยบายคุณภาพในการกำจัดของเสียจากห้องปฏิบัติการ โดยให้เป็นความรับผิดชอบของบุคลากรทุกคน ต่อคุณภาพการกำจัดของเสีย ที่ต้องรับรู้ คุ้นเคย เข้าใจในนโยบาย คู่มือคุณภาพ วิธีดำเนินการคุณภาพ วิธีปฏิบัติงานและเอกสารคุณภาพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในแต่ละหน้าที่และสามารถนำไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธิผล ในการกำจัดของเสียและวัสดุอันตราย และพร้อมพัฒนากระบวนการกำจัดของเสียอย่างต่อเนื่อง
และมหาวิทยาลัยได้ดำเนินการจัดโครงการจิตอาสาฟื้นฟูป่าชุมชนโดยการสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น ณ ตำบลบ้านดง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ปีที่ 3” ภายใต้โครงการพัฒนากระบวนการคิดแบบวิทย์นอกห้องเรียน ให้กับนักศึกษาและชุมชนอำเภอชาติตระการ
ทางสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม คณะผู้นำชุมชน และชาวชุมชนผู้มีจิตอาสา เล็งเห็นถึงความสำคัญในการสืบสานแนวทางพระราชดำริเกี่ยวกับการอนุรักษ์และฟื้นฟู่ป่าต้นน้ำตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เกี่ยวกับการพัฒนาและฟื้นฟูป่าไม้ด้วยการใช้ทรัพยากรที่เอื้ออำนวย เกิดการสัมพันธ์ซึ่งกันและกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด และพระราชดำริเกี่ยวกับจิตอาสาในการพัฒนาชุมชนของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงลงพื้นที่สำรวจป่าชุมชนของหมู่ที่ 1 ตำบลบ้านดง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก พบว่าพื้นที่ป่าชุมชนดังกล่าวมีพื้นที่กว่า 3,000 ไร่ถูกบุกรุกทำลายส่งผลให้ไม่มีป่าต้นไม้ ไม่มีแหล่งต้นน้ำ และไม่มีพื้นที่กักเก็บน้ำ ดังนั้นสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะผู้นำชุมชน และชาวชุมชนผู้มีจิตอาสาจึงร่วมกันจัดทำโครงการจิตอาสาฟื้นฟูป่าชุมชนโดยการสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น ณ ป่าชุมชน หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านดง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ปีที่ 2 เพื่อมุ่งเน้นการสร้างความรู้ ความเข้าใจ พร้อมทั้งสร้างความตระหนักเกี่ยวกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าต้นน้ำตามแนวพระราชดำริ ให้แก่เยาวชนรุ่นใหม่ และ ชาวชุมชน รวมถึงการสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่ป่าชุมชน และเพื่อช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำ ซึ่งเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนอย่างยั่งยืน ดังรูปที่ 1
รูปที่ 1 ผลการดำเนินการโครงการจิตอาสาฟื้นฟูป่าชุมชนโดยการสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น
ณ ตำบลบ้านดง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ปีที่ 2
จากรูปที่ 1 เป็นผลจากการดำเนินการโครงการจิตอาสาฟื้นฟูป่าชุมชนโดยการสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น ณ ตำบลบ้านดง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ปีที่ 2 แสดงให้เห็นว่าหลังจากสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้นในฤดูฝนฝายสามารถชะลอน้ำไว้ในพื้นที่ได้ แต่ยังมีจำนวนไม่มากพอที่จะทำให้ป่าต้นน้ำกลับมาสมบูรณ์ ซึ่งการที่จะให้ป่าต้นน้ำกลับสมบูรณ์ได้นั้นต่อมีฝายชะลอความชุ่มชื้นเป็นจำนวนมาก ดังนั้นสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะผู้นำชุมชน และชาวชุมชนผู้มีจิตอาสา จึงร่วมกันจัดทำโครงการจิตอาสาฟื้นฟูป่าชุมชนโดยการสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น ณ ป่าชุมชน หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านดง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ปีที่ 3 โดยได้ลงพื้นที่สำรวจสภาพของฝายชะลอความชุ่มชื้นของโครงการในปีที่ 2 ดังรูปที่ 2
รูปที่ 2 พื้นที่สำรวจสภาพของฝายชะลอความชุ่มชื้นของโครงการในปีที่ 2 และสร้างฝายเพิ่มเติมในปีที่ 3
จากรูปที่ 2 เป็นการลงพื้นที่สำรวจเพื่อวางแผนดำเนินโครงการในปีที่ 3 เพื่อสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้นเพิ่มเติม และปรับปรุงชะลอความชื้นชุมชนให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลทำให้ป่าชุมชนมีจุดชะลอความชุ่มชื้นเพิ่มขึ้นและสภาพของป่าชุมชนมีความสมบูรณ์เพิ่มขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมที่บูรณาการแนวพระราชดำริร่วมกับการจัดการเรียนรู้ให้แก่นักศึกษา ถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงปฏิบัติการการสร้างฝายชะลอน้ำตามแนวพระราชดำริ และสร้างความตระหนักถึงเกี่ยวกับการอนุรักษ์และฟื้นฟู่ป่าต้นน้ำตามแนวพระราชดำริ ให้แก่ชุมชน เยาวชน อาจารย์ บุคลากร และผู้เข้าร่วมกิจกรรม รวมถึงสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างชุมชนและเยาวชน โดยมีกลุ่มเป้าหมายคณาจารย์และนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ราชภัฏพิบูลสงครามคณะผู้นำชุมชน และชาวชุมชนผู้มีจิตอาสา ซึ่งผลที่เกิดขึ้นจากโครงการ มีดังนี้
1. ได้พัฒนาการจัดกิจกรรมที่บูรณาการแนวพระราชดำริร่วมกับการจัดการเรียนรู้ให้แก่นักศึกษา
2. ได้น้อมนำศาสตร์พระราชามาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาเชิงพื้นที่ให้แก่นักศึกษา
3. ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงปฏิบัติการการสร้างฝายชะลอน้ำและฝายดักตะกอนตามแนวพระราชดำริ
4. ได้สร้างความตระหนักถึงการรักษาพื้นที่ป่าไม้ และแหล่งต้นน้ำ
5. ได้สร้างความตระหนักเกี่ยวกับการอนุรักษ์และฟื้นฟู่ป่าต้นน้ำตามแนวพระราชดำริ ให้แก่
ชุมชน เยาวชน อาจารย์ บุคลากร และผู้เข้าร่วมกิจกรรม
6. ได้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างชุมชนและเยาวชน
รูปกิจกรรมโครงการ
ที่มา
สรุปรายละเอียดโครงการบริการวิชาการ โดยชมรมสืบสานงานพ่อ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์ และ โครงการจัดตั้งสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง (2558-2565)
รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง
https://drive.google.com/file/d/1N-m4-bVmCnEjaSh55WP-a6ZvMKdiVg8g/view?usp=sharing