ในปีการศึกษา 2564 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ร่วมกับ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ได้จัดโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่นเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนที่ขาดโอกาสทางด้านการเงินได้มีโอกาสได้พัฒนาตนเองเป็นครูในเขตพื้นที่ของตนเอง โดยมีการเข้าคัดเลือกนักเรียนที่ทางบ้านขาดทุนทรัพย์ทางการเรียนเพื่อนำมาพัฒนาเป็นนักศึกษาครู โดยทางโครงการได้มีแนวทางการคัดเลือกนักเรียน ด้วยการลงพื้นที่เพื่อสำรวจค้นหานักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อพัฒนานักศึกษาให้สามารถเป็นครูที่ดีและสนับสนุนทุนการศึกษาเพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสเป็นครูและกิจกรรมที่สนับสนุนให้นักศึกษาสามารถเป็นครูที่ดีได้ ในแต่ละปีจะมีการวางแผนในการดำเนินการโดยการรับนักเรียนเข้าโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น โดยมีช่วงเวลาต่าง โดยเริ่มวางแผนในช่วง พฤษภาคม 2564 – กุมภาพันธ์ 2565 เพื่อดำเนินการตั้งแต่ขั้นตอนการเปิดโครงการครูคืนถิ่นนักศึกษารหัส 2565 จนถึงขั้นตอนการประกาศรับทุนการศึกษา ทางคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้ปฏิบัติตาม TIMELINE ของผู้ให้ทุกและดำเนินการอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ทุนการศึกษาไปถึงนักเรียนที่ขาดโอกาสที่แท้จริง ในช่วงปีการศึกษา สาขาวิชาที่ได้รับทุน ครูรัก(ษ์)ถิ่น ประกอบไปด้วย สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย และ สาขาการประถมศึกษา
การสนับสนุนทุนโครงการ ครูรัก(ษ์)ถื่น คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ร่วมกับ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ได้จัดโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนที่ขาดโอกาสทางด้านการเงินได้มีโอกาสได้พัฒนาตนเองเป็นครูในเขตพื้นที่ของตนเอง โดยมีการเข้าคัดเลือกนักเรียนที่ทางบ้านขาดทุนทรัพย์ทางการเรียนเพื่อนำมาพัฒนาเป็นนักศึกษาครู โดยทางโครงการได้มีแนวทางการคัดเลือกนักเรียน ด้วยการลงพื้นที่เพื่อสำรวจค้นหานักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ โดยรายละเอียดของทุนไม่เกินปีละ 150,000 บาท จะประกอบด้วย
- ค่าธรรมเนียมการศึกษา 30,000 บาท
- ค่าครองชีพประจำเดือน เดือนละ 6,000 บาท
- ค่าตำราและอุปกรณ์การเรียน เดือนละ 2,000 บาท
- ค่าที่พัก 2,000 บาท
เกณฑ์การรับเข้าศึกษาต่อใน โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น นักเรียนต้องมีสัญชาติไทย สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่าในปีการศึกษา 2563-2564 ครอบครัวที่นักเรียนอาศัยอยู่ต้องมีรายได้เฉลี่ยต่อคน ไม่เกิน 3,000 บาท/เดือน บิดา หรือมารดา หรือผู้ปกครองและผู้ขอร่วมรับทุนจะไปบรรจุและแต่งตั้งหลังสำเร็จในปี พ.ศ.2568 ไม่น้อยกว่า 3 ปี เกรดเฉลี่ยสะสม 5 เทอมไม่น้อยกว่า 2.50
โดยมีทีมคณาจารย์ได้ดำเนินการไปคัดเลือกนักศึกษาที่ขาดแคลนโอกาสในแต่ละพื้นที่โดยมีเงื่อนไขที่ต้องทำร่วมกับเขตพื้นที่การศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบล ในแต่ละพื้นที่ในการยืนยันนักเรียนคนนี้ขาดโอกาสจริง มีการสัมภาษณ์เพื่อใช้ในการคัดเลือกนักเรียน โดยโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้มีสาขาที่เข้าร่วมจำนวน 2 สาขารายวิชา ได้แก่ สาขาการศึกษาปฐมวัย และ สาขาประถมศึกษา และคาดการณ์ในอนาคตจะมีสาขาที่เข้าร่วมเพิ่มเติม
ในแต่ละขั้นตอนของการรับสมัครนั้นนักเรียนจะต้องทราบถึงการดำเนินการของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้ดำเนินการประกาศเพื่อให้นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ที่ขาดแคลนโอกาสรับข้อเสนอโครงการเพื่อศึกษาต่อในสถาบันที่สนใจ ประชุมในแต่ละพื้นที่เพื่อคัดพื้นที่คัดเลือกนักเรียนในแต่ละพื้นที่ได้นำมาเข้าขั้นตอนการสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกนักเรียนที่มีความไม่มั่นคงทางด้านการเงิน โดยเข้าเกณฑ์การดำเนินการรายได้ของครอบครัวเฉลี่ยต่อคน ต้องไม่เกิน 3,000 บาทต่อเดือน และอยู่ภายในพื้นที่ขาดแคลนครูตามพื้นที่ต่างๆ มีการพิจารณาข้อมูลที่อยู่อาศัยเพื่อพิจารณาประกอบในการคัดเลือกผู้ให้ทุนการศึกษา
ในลำดับขั้นตอนการพิจารณาการคัดเลือกนักเรียน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลันราชภัฏพิบูลสงคราม จะส่งตัวแทนอาจารย์พร้อมทีมงานเข้าพื้นที่เพื่อสำรวจเพื่อยืนยันข้อมูลที่แท้จรอง มีการตรวจเช็คที่อยู่อาศัยของนักเรียนและสภาพความเป็นอยู่ของนักเรียนเพื่อให้ได้นักเรียนที่มีปัญหาทางด้านของรายได้เฉลี่ยต่ำของครอบครัว รวมถึงพื้นที่การทำมาหากินของผู้ปกครองของผู้เรียนที่นักเรียนอาศัยอยู่ โดยทางคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้ทำงานร่วมกับหน่วยงานภายนอก คือ เขตพื้นที่การศึกษา เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล เป็นต้น เพื่อใช้ในการพิจารณาร่วมกัน
จากข้อมูลดังกล่าว อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ได้จัดโครงการพิธีลงนามสัญญารับทุนการศึกษาของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ในวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2564 ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 2 อาคารศูนย์ภาษาและคอมพิวเตอร์ เพื่อให้นักศึกษาสามารถได้รับทุนการศึกษาเล่าเรียนและการดำเนินการตามโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น เพื่อส่งมอบทุนการศึกษาให้กับนักเรียนที่ขาดโอกาสทางการเงิน
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าเรียนของผู้รับทุนครูรัก(ษ์)ถิ่น ในวันที่ 21-28 มิถุนายน พ.ศ. 2564 ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 2 อาคารศูนย์ภาษาและคอมพิวเตอร์ได้มีการเตรียมความพร้อมสำหรับครูประถมศึกษา เพื่อปรับพื้นฐานความรู้ก่อนที่จะเข้าเรียนต่อในการเรียนในระดับอุดมศึกษา ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามได้มอบโอกาสทางการศึกษาให้นักเรียนครูรัก(ษ์)ถิ่น ได้เพิ่มประสบการณ์ทางการศึกษา ทางทีมผู้บริหารนำโดย อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามได้นำทีมผู้บริหาร และ คณบดีคณะครุศาสตร์ ร่วมเซ็นต์สัญญา และเปิดโครงการเตรียมความพร้อมสำหรับครุปะถมศึกษา
วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2564สาขาการประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้นำโดยผศ.ดร.นงลักษณ์ ใจฉลาด ประธานหลักสูตรสาขาวิชาและทีมคณาจารย์ ได้นำนักศึกษาครูรัก(ษ์)ถิ่น จำนวน 22 คน เข้าร่วมเรียนรู้การทำกิจกรรมวางแผนลงสวนเศรษฐกินพอเพียง และร่วมการเรียนรู้การปลูกต้นไม้ผลและการดูแลรักษา โดยวัตถุประสงค์เพื่อได้เรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและให้นักศึกษาสามารถนำกระบวนการดังกล่าวไปใช้ในพื้นที่ของตนเพื่อลดความเลื่อมล้ำความอดอยากได้
วันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2564 สาขาการประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้นำโดยผศ.ดร.นงลักษณ์ ใจฉลาด ประธานหลักสูตรสาขาวิชาและทีมคณาจารย์ ได้นำนักศึกษาครูรัก(ษ์)ถิ่น จำนวน 22 คน เข้าร่วมเรียนรู้การทำกิจกรรมวางแผนลงสวนเศรษฐกินพอเพียง และร่วมปลูกไผ่เข้าร่วมกิจกรรม “ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ (ปลา) จำนวน 100,000 ตัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง บริเวณด้านหน้าศูนย์เศรษฐกิจพอเพียง มรพส. ส่วนทะเลแก้ว ร่วมกับผู้บริหารศูนย์เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสามารถใช้ในการเรียนรู้การทำสวนเศรษฐกินพอเพียง
วันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2564 สาขาการประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้นำโดยผศ.ดร.นงลักษณ์ ใจฉลาด ประธานหลักสูตรสาขาวิชาและทีมคณาจารย์ ได้นำนักศึกษาครูรัก(ษ์)ถิ่น จำนวน 22 คน เข้าร่วมเรียนรู้การทำกิจกรรมวางแผนลงสวนเศรษฐกินพอเพียง และร่วมปลูกไผ่เข้าร่วมกิจกรรม “ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ (ปลา) จำนวน 100,000 ตัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง บริเวณด้านหน้าศูนย์เศรษฐกิจพอเพียง มรพส. ส่วนทะเลแก้ว ร่วมกับผู้บริหารศูนย์เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสามารถใช้ในการเรียนรู้การทำสวนเศรษฐกินพอเพียง