มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้ดำเนินกิจกรรมโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 – 31 ธันวาคม 2564 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ โดยมหาวิทยาลัยเป็น System Integrator ให้เกิดการพัฒนาตามปัญหาและความต้องการของชุมชน การจ้างงานประชาชนทั่วไป บัณฑิตจบใหม่ และนักศึกษาให้มีงานทำและฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน และการจัดทำข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชน (Community Big Data) โดยร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 15 ตำบล จากจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 9 ตำบล และจังหวัดสุโขทัย จำนวน 6 ตำบล ได้แก่
1. เทศบาลตำบลพลายชุมพล ตำบลพลายชุมพล อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
2. องค์การบริหารส่วนตำบลจอมทอง ตำบลจอมทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
3. องค์การบริหารส่วนตำบลดอนทอง ตำบลดอนทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
4. องค์การบริหารส่วนตำบลทองแท้ ตำบลท้อแท้ อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก
5. องค์การบริหารส่วนตำบลคันโช้ง ตำบลคันโช้ง อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก
6. องค์การบริหารส่วนตำบลท่างาม ตำบลท่างาม อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก
7. องค์การบริหารส่วนตำบลนครป่าหมาก ตำบลนครป่าหมาก อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก
8. องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสลุด ตำบลโคกสลุด อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก
9. องค์การบริหารส่วนตำบลท่าตาล ตำบลท่าตาล อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก
10. เทศบาลตำบลกลางดง ตำบลกลางดง อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย
11. องค์การบริหารส่วนตำบลวังไม้ขอน ตำบลวังไม้ขอน อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย
12. องค์การบริหารส่วนตำบลดงคู่ ตำบลดงดู่ อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
13. เทศบาลเมืองศรีสัชนาลัย ตำบลท่าชัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
14. องค์การบริหารส่วนตำบลคลองกระจง ตำบลคลองกระจง อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย
15. องค์การบริหารส่วนตำบลไทยชนะศึก ตำบลไทยชนะศึก อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย
ซึ่งได้จัดทำบันทึกข้อตกลงโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้ง 15 ตำบล โดยมีเนื้อหาให้มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามดำเนินการจ้างงานบัณฑิตจบใหม่(ไม่เกิน 3 ปี) 10 คน/ตำบล นักศึกษา 5 คน/ตำบล และประชาชนทั่วไป 5 คน/ตำบล รวมทั้งสิ้น 20 คน/ตำบล โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมให้การประชาสัมพันธ์โครงการ และคัดเลือกผู้รับจ้างงานภายในตำบล รวมถึงร่วมกันวางแผนการดำเนินโครงการ/กิจกรรมเพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลให้ตรงต่อความต้องการของแต่ละตำบล การสำรวจและจัดกิจกรรมตาม 16 เป้าหมายในการเอาชนะความยากจนของศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี และการดำเนินการตามตัวชี้วัดระดับตำบล 14 ตัวชี้วัด และตัวชี้วัดระดับมหาวิทยาลัย 14 ตัวชี้วัด ร่วมกันประเมินและวิเคราะห์ศักยภาพตำบลและสภาพปัญหาของตำบลจากข้อมูลต่างๆ เช่น TPMAP AGRIMAP และข้อมูลแผนที่ดาวเทียม (GRISTDA) เพื่อวางแผนกิจกรรมการพัฒนาตำบลในการแก้ไขปัญหาความยากจนร่วมกันกับกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ เช่น กลุ่มสังคม องค์กรชุมชน (กลุ่มเกษตรกร กลุ่มอาชีพ สถาบันการเงินชุมชน กลุ่มออมทรัพย์ วิสาหกิจชุมชน เป็นต้น) กลุ่มเปราะบาง และผู้สูงอายุ ร่วมทั้งหน่วยงานภาครัฐ กาคเอกชน (สมาคม สภาอุตสาหกรรม บริษัทเอกชน) เพื่อบูรณาการการพัฒนาร่วมกัน
ซึ่งมหาวิทยาลัยมีส่วนร่วมในการการกำหนดนโยบายในระดับท้องถิ่น เช่น การส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของตำบลพลายชุมพล ซึ่งเดิมมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามได้มีการดำเนินการร่วมกับเทศบาลตำบลพลายชุมพลดำเนินกิจกรรมจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลพลายชุมพล ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 – ปัจจุบัน โดยการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ นอกจากมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามในการดำเนินกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ ได้แก่ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตพิษณุโลก วัดวังหิน กองทุนผู้สูงอายุ กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงพัฒนาสังคม เป็นต้น ผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องทำให้ได้รับรางวัล ประกาศเกียรติคุณ มีผลการดำเนินงานด้านศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการในชุมชนดีเด่น จากผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 2, รางวัล “ประชาบดี” และเข็มเชิดชูเกียรติองค์กรที่ทำประโยชน์ดีเด่นแก่ผู้ที่อยู่ในภาวะยากลำบาก ประจำปี 2561
อีกทั้งชุมชนได้มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องโดยการส่งตัวแทนเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการพัฒนาศักยภาพองค์กรเครือข่ายขับเคลื่อนงานด้านผู้สูงอายุ ประจำปี 2562,ร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ ผู้สูงอายุในชุมชน (โรงเรียนผู้สูงอายุ), ศึกษาดูงาน ณ โรงเรียนชราบาลวุฒิวิทยาลัย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ และ โรงเรียนดอกซอมพอ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
นอกจากนี้ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ยังได้ให้การสนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม พัฒนารูปแบบการบริหารและเสริมความเข้มแข็งแก่โรงเรียนผู้สูงอายุด้วยวิจัยและนวัตกรรม และการเสริมสร้างกระบวนการ ดูแลสุขภาพกายสุขภาพใจให้แก่ผู้สูงอายุ โดย ผศ.ดร.จิราพัทธ์ แก้วศรีทอง เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ซึ่งเป็นโรงเรียนผู้สูงอายุที่เข้มแข็งเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่โรงเรียนผู้สูงอายุจากจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งชุมชนมีความเข้มแข็งในการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุ โดยมีหลักฐานให้เห็นชัดเจนจากการมีหน่วยงานภายนอกขอเข้าศึกษาดูงานเพื่อเป็นต้นแบบโรงเรียนผู้สูงอายุให้แก่หน่วยงานต่างๆ จำนวนไม่น้อยกว่า 17 หน่วยงาน อาทิ
1. องค์การบริหารส่วนตำบลสวนพริก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
2. องค์การบริหารส่วนตำบลถ้ำ อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา
3. องค์การบริหารส่วนตำบลป่าไร่ อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี
4. เทศบาลตำบลปากน้ำประแสร์ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
5. องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านทำเนียบ อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎ์ธานี
6. องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งสมอ อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์
7. คณะแกนนำสุขภาพตำบลบึงพระ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
8. องค์การบริหารส่วนตำบลท่าคล้อ อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี
9. องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลาไหล จังหวัดสระบุรี
10. เทศบาลตำบลบางสมัคร อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา
11. องค์การบริหารส่วนตำบลละหาร อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง
12. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ชมรมผู้สูงอายุเทศบาลเมืองกำแพงเพชร และชมรมผู้สูงอายุตำบลบ้านใหม่ธงชัย จังหวัดกำแพงเพชร
13. องค์การบริหารส่วนตำบลแพรกษา อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
14. เทศบาลเมืองบ้านหมี่ อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี
15. เทศบาลนครลำปาง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
16. องค์การบริหารส่วนตำบลเสนา อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
17. องค์การบริหารส่วนตำบลคลองท่อมใต้ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่
ซึ่งในปีงบประมาณ 2563 – 2564 ไม่สามารถดำเนินกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุได้ เนื่องจากสถานการณ์โรงติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ ได้ส่งเสริมศักยภาพให้แก่ผู้สูงอายุเพิ่มเติมในด้านการเพิ่มรายได้และบริหารร่างกาย และสังคม ให้แก่ผู้สูงอายุ เช่น
ส่งเสริมการนวดและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพสู่การสร้างอาชีพและสร้างรายได้ วัสดุอุปกรณ์ในการเตรียมการอบรม ได้แก่ อุปกรณ์การนวด อุปกรณ์การทำลูกประคบสมุนไพร และยาดมสมุนไพรสู่การสร้างอาชีพและเพิ่มรายได้ เนื่องจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีแพทย์แผนไทย จึงเห็นความสำคัญของกิจกรรมเพื่อสามารถเพิ่มทักษะการเรียนรู้ที่จะนำมาพัฒนาตนเอง โดยรวมกลุ่มขึ้นเพื่อออกไปรับบริการสร้างอาชีพ รายได้ส่วนหนึ่งนำมาสมทบเป็นกองทุน และอีกส่วนเป็นรายได้ของตนเอง สำหรับในด้านกลุ่มคนที่ให้ความสนใจในการรวมกลุ่มนั้น เนื่องจากคนในชุมชนมีผู้ว่างงานหลายช่วงวัย ซึ่งทักษะการนวดและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพสามารถทำได้หลายช่วงวัย อาทิเช่น ประชาชนทั่วไป และผู้สูงอายุที่มีกำลังสามารถนวดได้ และยังทำให้ผู้สูงอายุมีกิจกรรมที่ทำร่วมกันได้อีกด้วย
การผลิตวัสดุปลูกเม็ดดินเผาเพื่อใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์สร้างอาชีพเสริม เนื่องจากชุมชนเป็นพื้นที่ใกล้ตัวเมือง ซึ่งคนส่วนใหญ่นิยมการปลูกพืชในกระถาง ประกอบกับมีร้านค้าขายต้นไม้ และอุปกรณ์ปลูกต้นไม้ จึงทำให้สามารถจำหน่ายให้กับคนในพื้นที่เขตเมือง/ส่งให้กับร้านค้าได้สะดวก ซึ่งการผลิตวัสดุปลูกเม็ดดินเผาสามารถทำได้หลายช่วงวัย อาทิเช่น ผู้สูงอายุสามารถเป็นผู้ปั้นเม็ดดินเผา อีกทั้งยังช่วยในการบริหารนิ้วมือให้กับผู้สูงอายุ และยังทำให้ผู้สูงอายุมีกิจกรรมที่ทำร่วมกัน สำหรับผู้ที่อยู่ในช่วงวัยแรงงาน ก็เป็นผู้ที่ตั้งเตาเผาเม็ดดินที่ปั้นมาได้ รวมถึงการนำวัสดุที่เหลือทิ้งมาอัดทำให้เกิดประโยชน์และขายได้ต่อไป
ในปีงบประมาณ 2565 ได้มีการปรับรูปแบบโรงเรียนผู้สูงอายุเป็นแบบออนไลน์ซึ่งมีหน่วยงานของมหาวิทยาลัยจำนวน 2 คณะ ร่วมวางแผนการเรียนให้แก่โรงเรียนผู้สูงอายุได้แก่ คณะสังคมศาสตร์และการพัฒนาท้องถิ่น และคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ที่มา : สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง : 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ตำบลพลายชุมพล , กองสวัสดิการสังคม เทศบาลตำบลพลายชุมพล