พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ.2551 ที่กำหนดให้สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาและสถาบันอาชีวศึกษาในทุกสังกัด มีหน้าที่รับคนพิการเข้าศึกษาในสัดส่วนหรือจำนวนที่เหมาะสม ทั้งนี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนดนั้น ต่อมาได้มีระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ.2552 มีหน้าที่รับคนพิการเข้าศึกษาตามความสามารถ ความสนใจ ความถนัดและความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการตามประเภทความพิการ ทั้งนี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขที่สถาบันการศึกษากำหนดและสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้จัดทำโครงการสนับสนุนเงินอุดหนุนทางการศึกษาสำหรับนักศึกษาพิการในระดับอนุปริญญาและระดับปริญญาตรี เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายและนโยบายของรัฐบาล และเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการกระจายโอกาสทางการศึกษาและการสร้างความเท่าเทียมกันทางการศึกษาสำหรับคนพิการให้สามารถเข้าถึงการศึกษาในระดับอุดมศึกษา โดยจัดสรรเงินอุดหนุนทางการศึกษาดังกล่าวโดยตรงไปยังสถานศึกษาที่รับคนพิการเข้าศึกษาในสถาบัน
งานกิจกรรมและพัฒนานักศึกษาได้ทำการสำรวจนักศึกษาพิการระดับปริญญาตรี ที่เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามทั้งภาคปกติและภาคพิเศษ (เสาร์-อาทิตย์) เพื่อขอรับการสนับสนุนเงินอุดหนุนทางการศึกษาสำหรับนักศึกษาพิการในระดับอนุปริญญาและระดับปริญญาตรี ตั้งแต่ที่เข้าศึกษาถึงจบการศึกษา และเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายและนโยบายของรัฐบาล อีกทั้งได้ให้ความสำคัญกับนักศึกษาพิการในการคัดเลือกทุนต่างๆ ที่เหมาะสมแก่นักศึกษาพิการ
นักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน นายปวริศ เหล็กสุวรรณ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้รับเข็มเชิดชูเกียรติและเกียรติบัตร เนื่องจากนักศึกษาผู้ได้รับการคัดเลือกและยกย่องว่าเป็นผู้มีความประพฤติดี พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปี 2564
นายปวริศ เหล็กสุวรรณ นักศึกษาสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้รับคัดเลือกให้รับ “รางวัลชมเชย” ในการคัดเลือกนักศึกษาเพื่อรับรางวัลพระราชทาน ระดับอุดมศึกษา ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔ (ประเภทนักศึกษาพิการ ทางด้านการได้ยิน)
4. ที่มา งานกิจกรรมและพัฒนานักศึกษา กองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม