การใช้น้ำและการดูแลรักษา
| |

การใช้น้ำและการดูแลรักษา

การใช้น้ำและการดูแลรักษา           มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามมีกระบวนการบำบัดน้ำเสีย คือ มีถังบำบัดน้ำเสียในแต่ละอาคาร (onsite treatment) ที่มีการออกแบบมาพร้อมกับการก่อสร้างอาคาร ซึ่งจะมีการคำนวณปริมาณน้ำเสียที่คลอบคุมทั้งอาคาร โดยเมื่อน้ำทิ้งที่ผ่านถังบำบัดน้ำเสียแล้วจะเข้าสู่คลองระบายน้ำโดยรอบและมีประตูน้ำปิด-เปิดของมหาวิทยาลัย โดยคลองระบายน้ำจะทำการบำบัดน้ำเสียไหลวนด้วยวิธีธรรมชาติผ่านสระเก็บน้ำขนาดใหญ่ 3 สระ (oxidation pond) ได้แก่ สระเก็บน้ำคณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร, สระเก็บน้ำหลังหอสมุดอิเล็กทรอนิกส์ และสระเก็บน้ำสวนรัชมังคลาภิเษก เป็นต้น ซึ่งสระเก็บน้ำดังกล่าว จะมีการพักน้ำเสียและปรับสมดุลโดยวิธีธรรมชาติ ก่อนที่น้ำทิ้งจะไหลวนมายังคลองรอบมหาวิทยาลัย ซึ่งคุณภาพน้ำดิบจะค่อนข้างดีที่สุด จากนั้นก็จะสูบมาพักยังสระน้ำดิบเพื่อรอผลิตน้ำประปาส่งจ่ายไปยังมหาวิทยาลัยดังเดิม พื้นที่รับน้ำโดยรอบมหาวิทยาลัย พื้นที่รับน้ำโดยรอบมหาวิทยาลัย           มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้มีการปฏิบัติตามกรมควบคุมมลพิษออกกฎกระทรวงเรื่อง “กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และแบบการเก็บสถิติและข้อมูล การจัดทำบันทึกรายละเอียด และรายงานสรุปผลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย พ.ศ. 2555” ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษ ซึ่งมีหน้าที่ต้องเก็บข้อมูล และรายงานสรุปการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย ตามมาตรา 80 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 2 สิงหาคม 2555 ตามกฎกระทรวงดังกล่าว มีผลให้เจ้าของแหล่งกำเนิดมลพิษที่ถูกประกาศให้เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษ จะต้องจดบันทึกสถิติและข้อมูลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียตามแบบ ทส.1 ทุกวัน และสรุปผลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียตามแบบ…

ปริมาณการใช้น้ำต่อท่าน
|

ปริมาณการใช้น้ำต่อท่าน

ปริมาณการใช้น้ำต่อท่าน มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มีพื้นที่ตั้งทั้งหมด 3 วิทยาเขต ได้แก่ 1. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (ส่วนทะเลแก้ว) : ตั้งอยู่ ตำบลพลายชุมพล อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก มีพื้นที่เท่ากับ 993-0-41 ไร่ เป็นที่ตั้งของสำนักงานอธิการบดี สถาบันวิจัยและพัฒนา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม วิทยาลัยการจัดการและพัฒนาท้องถิ่น วิทยาลัยการพยาบาล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ศูนย์วิทยาศาสตร์ ศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางธุรกิจ หอประชุมศรีวชิรโชติ และสวนสุขภาพ สนามกีฬา/ที่พักผ่อน และมีพื้นแหล่งกักเก็บน้ำภายในมหาวิทยาลัยจำนวนมาก เช่น สระน้ำ หนอง บึง เป็นต้น พื้นที่แหล่งน้ำธรรมชาติภายในมหาวิทยาลัย โรงผลิตน้ำประปาผิวดิน โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (ส่วนทะเลแก้ว) มีการนำแหล่งน้ำมาใช้ในการอุปโภคอยู่จำนวน 3 แหล่ง ได้แก่ น้ำประปาส่วนภูมิภาค, น้ำประปาเทศบาลตำบลพลายชุม และน้ำประปาที่มหาวิทยาลัยได้มีการนำน้ำธรรมชาติหรือน้ำผิวดินภายในพื้นที่ของตนเองมาผลิตน้ำใช้เพื่ออุปโภค ซึ่งในแต่ละปีจะมีการใช้น้ำเพื่ออุปโภคปีละ 158,070 ลบ.ม. ปริมาณการใช้น้ำ 1,464/คน (ปริมาณการใช้น้ำต่อ…

| | | | | | | | | | | | | | | |

รายวิชาที่ความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
(Sustainable Development Goals, SDGs) ทั้ง 17 ด้าน

          การพัฒนาอย่างยั่งยืน คือการตอบสนองความต้องการของคนรุ่นปัจจุบัน โดยไม่มีผลกระทบในทางลบต่อความต้องการของคนรุ่นต่อไปในอนาคต ซึ่งรายวิชาศึกษาทั่วไปในทักษะนี้แต่ละรายวิชามีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งมหาวิทยาลัยได้มีการจัดรายวิชาที่ความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals, SDGs) ทั้ง 17 ด้าน  เช่น รายวิชา GESO115 The King’ s Philosophy for Local Development ซึ่งเป็นรายวิชาที่ออกแบบเพื่อให้นักศึกษาทราบถึงพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและพระบรมวงศานุวงศ์ ความหมาย หลักการ แนวคิด ความสําคัญ และเป้าหมายของหลักการทรงงาน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และการพัฒนาตามศาสตร์พระราชาอย่างยั่งยืน ตลอดจนถึงการลงพื้นที่สำรวจ วิเคราะห์ปัญหา การน้อมนําศาสตร์พระราชาไปประยุกต์ใช้ในให้การแก้ปัญหาของพื้นที่ตั้งแต่ระดับบุคคล องค์กรธุรกิจหรือชุมชนในระดับท้องถิ่น และระดับประเทศอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงเทคนิคการสร้างภาคีเครือข่าย และการฝึกปฏิบัติงานโดยบูรณาการแบบองค์รวมกับทีมภาคีเครือข่าย และรายวิชา SOED332Community Study and Community Based Learning  for Life Long เป็นรายวิชาที่ออกแบบเพื่อให้นักศึกษาทราบถึงโครงสร้างระบบการศึกษาส่วนท้องถิ่น บทบาทของคนและองค์กรชุมชนศิลปวัฒนธรรมจารีต ประเพณีท้องถิ่น  กิจกรรมและการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาคนและองค์กรชุมชนและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน รายละเอียดดังตาราง ลำดับ รายวิชา…

PSUR ยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)
| | |

PSUR ยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้ดำเนินกิจกรรมโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 – 31 ธันวาคม 2564 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ โดยมหาวิทยาลัยเป็น System Integrator ให้เกิดการพัฒนาตามปัญหาและความต้องการของชุมชน การจ้างงานประชาชนทั่วไป บัณฑิตจบใหม่ และนักศึกษาให้มีงานทำและฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน และการจัดทำข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชน (Community Big Data) โดยร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 15 ตำบล จากจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 9 ตำบล และจังหวัดสุโขทัย จำนวน 6 ตำบล ได้แก่ 1. เทศบาลตำบลพลายชุมพล ตำบลพลายชุมพล อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก2. องค์การบริหารส่วนตำบลจอมทอง ตำบลจอมทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก3. องค์การบริหารส่วนตำบลดอนทอง ตำบลดอนทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก4. องค์การบริหารส่วนตำบลทองแท้…

สร้างโอกาสทางการศึกษา คืนครูสู่ท้องถิ่น “โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น”
| | |

สร้างโอกาสทางการศึกษา คืนครูสู่ท้องถิ่น “โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น”

ในปีการศึกษา 2564 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ร่วมกับ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ได้จัดโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่นเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนที่ขาดโอกาสทางด้านการเงินได้มีโอกาสได้พัฒนาตนเองเป็นครูในเขตพื้นที่ของตนเอง โดยมีการเข้าคัดเลือกนักเรียนที่ทางบ้านขาดทุนทรัพย์ทางการเรียนเพื่อนำมาพัฒนาเป็นนักศึกษาครู โดยทางโครงการได้มีแนวทางการคัดเลือกนักเรียน ด้วยการลงพื้นที่เพื่อสำรวจค้นหานักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อพัฒนานักศึกษาให้สามารถเป็นครูที่ดีและสนับสนุนทุนการศึกษาเพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสเป็นครูและกิจกรรมที่สนับสนุนให้นักศึกษาสามารถเป็นครูที่ดีได้ ในแต่ละปีจะมีการวางแผนในการดำเนินการโดยการรับนักเรียนเข้าโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น โดยมีช่วงเวลาต่าง โดยเริ่มวางแผนในช่วง พฤษภาคม 2564 – กุมภาพันธ์ 2565 เพื่อดำเนินการตั้งแต่ขั้นตอนการเปิดโครงการครูคืนถิ่นนักศึกษารหัส 2565 จนถึงขั้นตอนการประกาศรับทุนการศึกษา ทางคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้ปฏิบัติตาม TIMELINE ของผู้ให้ทุกและดำเนินการอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ทุนการศึกษาไปถึงนักเรียนที่ขาดโอกาสที่แท้จริง ในช่วงปีการศึกษา สาขาวิชาที่ได้รับทุน ครูรัก(ษ์)ถิ่น ประกอบไปด้วย สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย และ สาขาการประถมศึกษา การสนับสนุนทุนโครงการ ครูรัก(ษ์)ถื่น คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ร่วมกับ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ได้จัดโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนที่ขาดโอกาสทางด้านการเงินได้มีโอกาสได้พัฒนาตนเองเป็นครูในเขตพื้นที่ของตนเอง โดยมีการเข้าคัดเลือกนักเรียนที่ทางบ้านขาดทุนทรัพย์ทางการเรียนเพื่อนำมาพัฒนาเป็นนักศึกษาครู โดยทางโครงการได้มีแนวทางการคัดเลือกนักเรียน ด้วยการลงพื้นที่เพื่อสำรวจค้นหานักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ โดยรายละเอียดของทุนไม่เกินปีละ 150,000 บาท จะประกอบด้วย เกณฑ์การรับเข้าศึกษาต่อใน โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น นักเรียนต้องมีสัญชาติไทย สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่…