โครงการพัฒนาตำบลแบบบูรณาการนำร่องเพื่อพัฒนาเป็นชุมชนต้นแบบ

ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 นั้นมหาวิทยาลัยได้รับการจัดสรรงบประมาณภายใต้โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งมหาวิทยาลัยได้จัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินโครงการพัฒนาตำบลแบบบูรณาการนำร่อง เพื่อพัฒนาเป็นชุมชนต้นแบบนั้น ซึ่งได้มีการดำเนินโครงการ จำนวน 14 ชุดโครงการ ในพื้นที่ต่างๆ ดังนี้ โดยแบ่งเป็นพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 3 อำเภอ 11 ตำบล ได้แก่ อำเภอเมือง จำนวน 4 ตำบล อำเภอวังทอง  จำนวน 2 ตำบล อำเภอวัดโบสถ์ จำนวน 2 ตำบลและอำเภอพรหมพิราม 1 ตำบล และพื้นที่จังหวัดสุโขทัย จำนวน 3 อำเภอ 3 ตำบล ได้แก่ อำเภอศรีสำโรง อำเภอบ้านด่านลานหอย อำเภอสวรรคโลก โดยแบ่งเป็นอำเภอละ 1 ตำบล โดยมีแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้เกิดเป็นชุมชนพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ดังนี้ การสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ ลงพื้นที่ดำเนินโครงการร่วมกับชุมชน ท้องถิ่น โรงเรียน รวมถึงรูปแบบการทำงานร่วมกับชุมชน ท้องถิ่น โรงเรียน…

การจัดการเรียนการสอนหลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต   สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์

การจัดการเรียนการสอนหลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต   สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์

การจัดการเรียนการสอนหลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต   สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์  (Bachelor of Social Work (Social Work)) มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม  ได้ดำเนินการเปิดหลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์เป็นการศึกษา ตั้งแต่ปีการศึกษา2560  จนถึงปัจจุบัน   เพื่อการสร้างหลักประกันความมั่นคงของมนุษย์ความเป็นธรรมทางสังคมและการพัฒนาสังคม การยอมรับ ความหลากหลายในมิติต่างๆ การสร้างสังคมที่ไม่กีดกันและเลือกปฏิบัติเคารพคุณค่าและศักดิ์ศรีความ เป็นมนุษย์สิทธิมนุษยชน และสิทธิการเข้าถึงบริการของทุกภาคส่วน การรับใช้สังคมและการสร้างสํานึก ในการรับผิดชอบต่อหน้าที่ โดยหลักสูตรได้ให้ความสำคัญโดยการมุ่ง ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ทางสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติให้มีทักษะทางปัญญา มี ความสามารถในการคิดวิเคราะห์สังเคราะห์ประเมินค่า การจัดการ ศึกษาวิจัยมีทักษะในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล มีความสามารถสื่อสาร รับผิดชอบต่อสังคม ทั้งนี้เพื่อเตรียมบุคคลให้ออกไป ช่วยเหลือ บริการรับผิดชอบต่อบุคคล กลุ่ม และสังคม ให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ในขอบข่ายงานของนัก สังคมสงเคราะห์คือสามารถแก้ปัญหา หรือบรรเทาปัญหาของบุคคล กลุ่มและสังคม ทั้งด้านสุขภาพ อารมณ์จิตใจและสังคม ตลอดจนรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพ ส่งเสริมและพัฒนาความสามารถของผู้เผชิญ ปัญหาให้ดีขึ้น และเป็นที่ยอมรับของสังคมต่อไป   ปัจจุบันได้เปิดรับนักศึกษาเข้าสู่ระบบการศึกษาในหลักสูตรแล้ว 154 คน  สำเร็จการศึกษาเพื่อรับใช้สังคมจำนวน 54  คน   อีกทั้งมีการเปิดหลักสูตรชุดวิชาจำนวน 2 ชุดวิชาได้แก่  นวัตกรรมการพัฒนาเด็ก เยาวชน…

การจัดการเรียนการสอนหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์ สาขาวิชาวสาธารณสุขศาสตร์

การจัดการเรียนการสอนหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์ สาขาวิชาวสาธารณสุขศาสตร์

การจัดการเรียนการสอนหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์ สาขาวิชาวสาธารณสุขศาสตร์Bachelor of Public Health Program in Public Health ประวัติความเป็นมาแต่เดิมเป็นสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพเป็นสาชาวิชาที่สังกัดคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ (การส่งเสริมสุขภาพเด็ก) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ปรับปรุงหลักสูตรใหม่เป็นหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ (การส่งเสริมสุขภาพเด็กและผู้สูงอายุ) หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2552 มีการปรับสาขาวิชาในคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยการรวมหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์การกีฬา และคหกรรมศาสตร์มารวมอยู่ในสาขาเดียวกันในชื่อสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพและกีฬา ต่อมาในปี พ.ศ. 2553 ได้มีการเปิดหลักสูตรใหม่ คือ หลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์ และเปิดรับนักศึกษาปี 2554 เป็นต้นมา จนถึง พ.ศ. 2565 เป็นระยะเวลา 11 ปี ปัจจุบันมีนักศึกษาในหลักสูตร 468 คน หลักสูตรมีวัตถุประสงค์เพื่อ โดยหลักสูตรมีกิจกรรมในการเสริมสมรรถนะต่าง ๆ ของนักศึกษาตลอดทุกภาคการศึกษา โดยยกตัวอย่างเช่น การฝึกทักษะปฏิบัติการทางสาธารณสุขศาสตร์ การฝึกประสบการณ์วิชาชีพสาธารณสุขชุมชน การทำวิจัยและนำเสนอผลงานวิจัย/การศึกษาดูงาน ที่มาของข้อมูล :…

การจัดการเรียนการสอนหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม  ได้ดำเนินการเปิดหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต   สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน จัดการศึกษาระดับปริญญาตรี   โดยมุ่งผลิตบัณฑิตให้เป็นนักพัฒนาชุมชนที่มีนวัตกรรม มีองค์ความรู้ อุดมการณ์  คุณธรรม และ จิตอาสาในการพัฒนา และเปลี่ยนแปลงชุมชนให้ เข้มแข็งพึ่งตนเองได้ โดยหลักสูตรได้ให้ความสำคัญโดยการมุ่งหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน มุ่งผลิตบัณฑิตให้เป็นวิชาชีพที่ ให้บริการแก่ชุมชน โดยการนําความรู้ในเชิงวิชาการมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานดำเนินการพัฒนาชุมชน เพื่อให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งและยั่งยืน การพัฒนาชุมชนเป็นการพัฒนาคนในชุมชนและสภาพแวดล้อม ของชุมชน โดยมีเป้าหมายเพื่อการพึ่งพาตนเองได้บนแนวคิดพื้นฐานที่ว่า มนุษย์มีศักยภาพ มีเกียรติ ศักดิ์ศรี ความมั่นคง และความพึงพอใจในชีวิต นักพัฒนาชุมชนต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถและ ทักษะทางการพัฒนาชุมชน เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม เสียสละ อุทิศตน มีทัศนคติที่ดี รู้จักคิด วิเคราะห์ ตัดสินใจ และสามารถวางแผนการปฏิบัติงานพัฒนาชุมชนรู้จักค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง ติดตามความก้าวหน้าทางวิทยาการสมัยใหม่ สามารถทําวิจัยและนํางานวิจัยไปปฏิบัติให้เป็นประโยชน์ต่อ การพัฒนาชุมชน ทั้งนี้หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน ได้ปฏิบัติการพัฒนาบัณฑิต ภายใต้ภารกิจหลักทั้ง 4 ประการเพื่อสร้างนักพัฒนาชุมชนในอุดมคติ ได้แก่  (1) ภารกิจด้านการเรียนการ สอน โดยมุ้งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ในแนวคิด หลักการ และทฤษฎี ต่างๆ รวมถึงการฝึกปฏิบัติการ เพื่อเสริมสร้างทักษะ…

| | | | | | | | | | | | | | | |

รายวิชาที่ความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
(Sustainable Development Goals, SDGs) ทั้ง 17 ด้าน

          การพัฒนาอย่างยั่งยืน คือการตอบสนองความต้องการของคนรุ่นปัจจุบัน โดยไม่มีผลกระทบในทางลบต่อความต้องการของคนรุ่นต่อไปในอนาคต ซึ่งรายวิชาศึกษาทั่วไปในทักษะนี้แต่ละรายวิชามีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งมหาวิทยาลัยได้มีการจัดรายวิชาที่ความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals, SDGs) ทั้ง 17 ด้าน  เช่น รายวิชา GESO115 The King’ s Philosophy for Local Development ซึ่งเป็นรายวิชาที่ออกแบบเพื่อให้นักศึกษาทราบถึงพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและพระบรมวงศานุวงศ์ ความหมาย หลักการ แนวคิด ความสําคัญ และเป้าหมายของหลักการทรงงาน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และการพัฒนาตามศาสตร์พระราชาอย่างยั่งยืน ตลอดจนถึงการลงพื้นที่สำรวจ วิเคราะห์ปัญหา การน้อมนําศาสตร์พระราชาไปประยุกต์ใช้ในให้การแก้ปัญหาของพื้นที่ตั้งแต่ระดับบุคคล องค์กรธุรกิจหรือชุมชนในระดับท้องถิ่น และระดับประเทศอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงเทคนิคการสร้างภาคีเครือข่าย และการฝึกปฏิบัติงานโดยบูรณาการแบบองค์รวมกับทีมภาคีเครือข่าย และรายวิชา SOED332Community Study and Community Based Learning  for Life Long เป็นรายวิชาที่ออกแบบเพื่อให้นักศึกษาทราบถึงโครงสร้างระบบการศึกษาส่วนท้องถิ่น บทบาทของคนและองค์กรชุมชนศิลปวัฒนธรรมจารีต ประเพณีท้องถิ่น  กิจกรรมและการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาคนและองค์กรชุมชนและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน รายละเอียดดังตาราง ลำดับ รายวิชา…

กิจกรรมชมรมสโมสรโรทาแรคท์วิศวกรสังคมมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
| | |

กิจกรรมชมรมสโมสรโรทาแรคท์วิศวกรสังคมมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

การก่อตั้งชมรมสโมสรโรทาแรคท์วิศวกรสังคมมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เกิดจากการรวมตัวของนักศึกษาที่มีจิตอาสาจะช่วยเหลือสังคมและพัฒนาชุมชนท้องถิ่นโดยแกนนำผู้นำนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามรับนโยบายจาก  พลเอกดาว์พงษ์  รัตนสุวรรณ  องคมนตรี เพื่อสร้างแกนนำวิศวกรสังคมฝึกให้นักศึกษาเป็น นักคิด นักสื่อสาร นักประสาน และนักสร้างนวัตกรรมโดยการนำชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้และฝึกฝนทักษะ จึงได้ก่อตั้งชมรมสโมสรโรทาแรคท์วิศวกรสังคมมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เพื่อพัฒนาชุมชน ด้วยกระบวนการและเครื่องมือของวิศวกรสังคม โดยมีกิจกรรมจิตอาสา ดังนี้  – กิจกรรมโครงการค่ายผู้นำวิศวกรสังคมอาสา พิบูลพัฒน์  สร้างสุขสู่ท้องถิ่น ปีที่ 1  กำหนดจัดกิจกรรม ในระหว่างวันที่ 4 – 6 กุมภาพันธ์ 2565   ณ โรงเรียนคลองห้วยนาพัฒนาการ  ตำบลชนแดน  อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ พิธีเปิดโครงการค่ายผู้นำวิศวกรสังคมอาสา พิบูลพัฒน์  สร้างสุขสู่ท้องถิ่น ปีที่ 1 ปรับปรุงสนามเปตอง ทำความสะอาดและทาสีสนามบาสเก็ตบอล ทำความสะอาดและทาสีรั้วโรงเรียน เข้าร่วมการอบรมเจ้าหน้าที่และคณะกรรมการบริหารสโมสร (District Training Assembly-DTA) และพิธีสถาปนาผู้ว่าการภาค 3360 โรตารีสากล ปี 2022 -2023  ณ โรงแรมแพร่นครา  อำเภอเมือง  จังหวัดแพร่…

ม.ราชภัฏพิบูลสงคราม พร้อมเพื่อยกระดับมหาวิทยาลัยสู่การประเมิน SDGs Ranking 2023

ม.ราชภัฏพิบูลสงคราม พร้อมเพื่อยกระดับมหาวิทยาลัยสู่การประเมิน SDGs Ranking 2023

          ด้วยมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มีนโยบายในการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยคำนึงถึงความเป็นองค์รวมในการพัฒนาคน สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและความมั่งคั่งอย่างสมดุลบนพื้นฐานของทรัพยากรธรรมชาติ ภูมิปัญญาวัฒนธรรม เพื่อขจัดปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม อีกทั้งส่งเสริมให้ประชาชน มีความเป็นอยู่ที่ดี ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัยฯ ที่มุ่งพัฒนาท้องถิ่นทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม โดยในปี พ.ศ.2565 มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามจะเข้าร่วมเข้ารับการจัดอันดับ SDGs Impact Ranking ใน 17 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน           มหาวิทยาลัยมีกระบวนการและขั้นตอนในการดำเนินงานร่วมกันกับหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย โดยมีการดำเนินงานหลัก 4 กิจกรรม ดังนี้                      กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการการเตรียมความพร้อมเพื่อยกระดับมหาวิทยาลัยเข้าสู่การประเมิน SDGs Ranking 2023 เป็นอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมการจัดอันดับ SDGs Impact Rankings 2023 ให้กับบุคลากรและผู้รับผิดชอบหลักในแต่ละตัวชี้วัดต่างๆ เข้าใจในบริบทของตัวชี้วัด SDGs Impact Rankings 2023 ในการรวบรวมข้อมูลเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงที่สุด                      กิจกรรมที่ 2 ประชุมหารือชี้แจงแนวทางการรายงานผลตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้ง 17 เป้าหมาย ผู้รับผิดชอบหลักทั้ง 4 กลุ่ม…

โครงการ Big Rock ด้านการศึกษา

          ตามที่ประชุมสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 4/2564 เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2564 ระเบียบวาระที่ 4.1 เรื่อง โครงการ Big Rock ด้านการศึกษา โดยสานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) มอบหมายให้ สภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย เป็นผู้ดำเนินงานโครงการ คณะครุศาสตร์ส่งบุคลากรเข้าร่วมในเป็นคณะกรรมการดำเนินโครงการดังกล่าว โดยมีรายละเอียดดังนี้           1. โครงการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรผลิตครูตามสาขาวิชาและบริบทพื้นที่เพื่อสร้างความเป็นเลิศ หัวข้อการผลิตครูสามัญ ตัวแทน คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่เรืออากาศตรี ดร.บัญชา สำรวยรื่น คณบดีคณะครุศาสตร์ และอาจารย์ ดร.ภานุมาศ หมอสินธ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา           2. โครงการพัฒนาระบบและกระบวนการบริหารจัดการ กระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูและระบบการนิเทศการศึกษา และการสอนงานของครูพี่เลี้ยงในสถานศึกษา ตัวแทน คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่เรืออากาศตรี ดร.บัญชา สำรวยรื่น คณบดีคณะครุศาสตร์ และ อาจารย์ ดร.พรทิพย์…

ประชุมยุทธศาสตร์ศิลปะและวัฒนธรรม 5 ปี (พ.ศ.2565-2569)

ประชุมยุทธศาสตร์ศิลปะและวัฒนธรรม 5 ปี (พ.ศ.2565-2569)

          เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2564 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุมพล เสมาขันธ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (ที่ปรึกษา สภาศิลปะและวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย) เป็นประธานในการประชุมยุทธศาสตร์ศิลปะและวัฒนธรรม 5 ปี (พ.ศ.2565-2569) เพื่อเป็นการปรับและทบทวนการดำเนินงานของสภาศิลปะและวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย และเป็นทิศทาง/แนวทางในการดำเนินงานในด้านศิลปะและวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่ง ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ศิลปะและวัฒนธรรม 5 ปี (พ.ศ.2565-2569) ที่มา : งานเลขานุการผู้บริหาร มรภ.พิบูลสงคราม

โครงการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามพ.ศ. 2565 – 2569
|

โครงการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามพ.ศ. 2565 – 2569

1.ชื่อ โครงการ / กิจกรรม    :  โครงการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามพ.ศ. 2565 – 2569 2. สรุปสาระสำคัญการดำเนินงาน : โครงการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามพ.ศ. 2565 – 2569โดยมีกิจกรรมที่ดำเนินการหลักๆดังนี้                      กิจกรรมที่ 1 โครงการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม พ.ศ. 2565 – 2569 โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ ประกอบด้วย ผู้บริหารของมหาวิทยาลัย คณบดีรองคณบดี ผู้อำนวยการสำนัก/สถาบัน รองผู้อำนวยการสำนัก/สถาบัน ผู้อำนวยการกองหรือหน่วยงานที่เทียบเท่า ผู้อำนวยการ/รองผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม หัวหน้าสำนักงานคณะ/สถาบัน/สำนัก ประธานหลักสูตรสาขาวิชาต่างๆ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ อดีตรองอธิการบดีฝ่ายนโยบายและแผนฯ คณะกรรมการสภาคณาจารย์และข้าราชการ  ผู้นำนักศึกษา และตัวแทนศิษย์  การประชุมจัดทำแผนได้มีการดำเนินการร่วมวิพากษ์ : วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ กลยุทธ์และมิติการพัฒนาโดยระดมความคิดเห็นในประเด็นสำคัญที่และกำหนดมิติการพัฒนา ได้ 4 มิติ ได้แก่ 1) การยกระดับคุณภาพบัณฑิต 2) การผลิตและพัฒนาครูสู่ความเป็นเลิศในยุคดิจิทัล…