Skip to content
Sustainability Pibulsongkram
  • หน้าแรก
  • นโยบายสู่การพัฒนา
  • คณะกรรมการ
Sustainability Pibulsongkram
goal-15 | goal-17

รักษ์พิบูล รักษ์สิ่งแวดล้อม

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มีสาขาวิชาสิ่งแวดล้อมและได้จัดกิจกรรม รักษ์พิบูล รักษ์สิ่งแวดล้อม ขึ้น ดังต่อไปนี้

ชื่อโครงการ : รักษ์พิบูล รักษ์สิ่งแวดล้อม
ชื่อมหาวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
ชื่อชมรม: ชมรมรักษ์สิ่งแวดล้อม
ระยะเวลาการดำเนินโครงการ: มกราคม 2564-กันยายน 2564
ผู้รับผิดชอบโครงการ : นางสาวพลอยขวัญ เอี่ยมสะอาด (ประธานชมรม)
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา: ผศ.ดร.อรชร ฉิมจารย์ และ รศ.ดร.สุขสมาน สังโยคะ

1. ตัวชี้วัดด้านนโยบายการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อม

    1.1 นโยบายการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมของมหาวิทยาลัย(หลักฐานดังภาคผนวก)

       1. สร้างจิตสํานึกของคนในมหาวิทยาลัยทุกภาคส่วนในการร่วมคิดร่วมทําเพื่อขับเคลื่อนนโยบายอย่างต่อเนื่อง
2. ส่งเสริมวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในมหาวิทยาลัยอย่างมีคุณภาพ เพื่อพัฒนาให้เกิดการพึ่งพาตนเองและเป็นที่พึ่งของชุมชนท้องถิ่น
3. สร้างเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของคนในองค์กรให้มีความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งพัฒนาศักยภาพของคนในองค์กรให้มีแรงจูงใจในการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ

    1.2 นโยบายการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมของชมรมฯ(หลักฐานดังภาคผนวก)

1. มุ่งมั่นในการอนุรักษ์พลังงาน การใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด
2. ส่งเสริมการปลูกฝังจิตสํานึกต่อการรักษ์สิ่งแวดล้อม

2. ตัวชี้วัดด้านแผนงาน/เป้าหมาย
ชมรมได้มีการวางแผนงานที่จะต้องดําเนินการในปีงบประมาณ 2564 ดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 แผนการดําเนินงานโครงการ/กิจกรรมของชมรมฯ ประจําปี2564

      

อธิบายรายละเอียดเพิ่มเติม

        จากแผนงานเดิมที่วางไว้ทางคณะทํางานได้มีการปรับเปลี่ยนแผนงานเนื่องจากมีสถานการณ์การระบาดของ ไวรัสโควิด-19 ทำให้มหาวิทยาลัยจัดการเรียนการสอนในระบบออนไลน์ จึงได้ปรับให้กิจกรรมมีความเหมาะสมกับสถานการณ์เกิดขึ้น โดยเพิ่มกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ คือ จัดการประกวดคลิปรณรงค์การจัดการขยะในหัวข้อ “How to use How to ทิ้ง” โดยผู้เข้าร่วมประกวดเป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัย ซึ่งถือเป็นการรณรงค์ในการจัดการขยะอีกหนึ่งช่องทาง

2.2 มีการประเมินผลโครงรักษ์พิบูล รักษ์สิ่งแวดล้อมการตามแผนการดำเนินงานของชมรม

     ชมรมได้มีการประเมินผลของโครงการ ดังนี้
กิจกรรมการประกวดคลิปรณรงค์การจัดการแยกขยะในกิจกรรม ต่างๆ ของมหาวิทยาลัย ซึ่งประเมินจากผู้สนใจและเข้าร่วมโครงการ
การคัดแยกหลอดในทุกโรงอาหารของมหาวิทยาลัย โดยการสํารวจพื้นที่โรงอาหารเพื่อนําไปใช้ประโยชน์ในการทำหมอน
การประชาสัมพันธ์ด้านสิ่งแวดล้อมโดยชมรมฯ ในงานกิจกรรมต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยโดยประเมินจากความสนใจของผู้เข้าร่วมโครงการ ว่ามีความสนใจมากน้อยเพียงใด

3. ตัวชี้วัดด้านโครงการ/กิจกรรม (โครงการที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม)

       3.1 การสำรวจสภาพปัญหาภายในมหาวิทยาลัยและที่มาของโครงการ
จากการประชุมร่วมกันของสมาชิกในชมรม เพื่อสํารวจปัญหาที่ต้องการจะดําเนินกิจกรรมในโครงการ พบว่าปัญหาเกี่ยวกับการคัดแยกขยะภายในมหาวิทยาลัยยังเป็นปัญหาใหญ่ โดยเฉพาะขยะที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งแต่ยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในรูปแบบอื่นๆ เช่น หลอดพลาสติก ถุงพลาสติก และแก้วพลาสติก เป็นต้น ดังนั้นการรณรงค์ ส่งเสริมเพื่อให้ทุกคนภายในมหาวิทยาลัยมีจิตสำนึกในการจัดการขยะอย่างง่าย ไม่ว่าจะเป็นลดการเกิดขยะตั้งแต่ต้นทาง การคัดแยกขยะ และการใช้ประโยชน์จากขยะในรูปแบบต่างๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญ แต่เนื่องจากในปีการศึกษา 2564 มีสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 จึงทำมหาวิทยาลัยจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ทำให้การรณรงค์และการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ไม่เป็นไปตามแผนงานที่ได้วางไว้ เช่น การรณรงค์การจัดการขยะใน PSRU RUN 2021 และการคัดแยกหลอดพลาสติกภายในมหาวิทยาลัย อย่างไรก็ตามทางชมรมได้ดำเนินการรวบรวมเก็บหลอดพาสติกภายในมหาวิทยาลัยในช่วงต้นปีการศึกษา และประชุมออนไลนเพื่อสรุปการปรับกิจกรรมต่างๆ ซึ่งจากการประชุมดังกล่าวที่ประชุมจึงมีมติให้ดําเนินกิจกรรมต่างๆ ดังนี้

       1. กิจกรรมการคัดแยกหลอด เพื่อนําไปทําหมอนให้ผู้ป่วยติดเตียง
2. กิจกรรมการประกวดคลิปรณรงค์การจัดการขยะ “How to use How to ทิ้ง”

        3.2 การดำเนินงานตามแผนงาน/เป้าหมาย (โครงการที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม)
ได้ดำเนินงานตามแผนและเป้าหมายที่กำหนดไว้บางส่วน และมีการปรับเปลี่ยนแผนเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมาย

          รายละเอียดผลการดำเนินงานของโครงการ

  • การรณรงค์ให้เกิดการคัดแยกขยะในกิจกรรมต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย เช่น PSRU RUN 2021
  • การคัดแยกขยะในทุกโรงอาหารของมหาวิทยาลัย เช่น ขยะอินทรีย์ คัดแยกหลอด เพื่อนำไปใช้ประโยชน์
  • กิจกรรมคัดแยกหลอดเพื่อนำไปทำหมอนบริจาคให้ผู้ป่วยติดเตียง

      ชมรมได้สานต่อโครงการการคัดแยกหลอดพลาสติก โดยปัญหาที่พบในปีที่แล้ว คือ ขนาดของหลอดที่ตัดมีขนาดใหญ่ทําให้มีความแข็งเกินไป มีกลิ่น ในปีนี้ทางชมรมจึงทําการแก้ไขโดยการตัดหลอดให้เล็กลงและล้างหลอดหลังจากตัดหลอดอีกครั้งเพื่อกําจัดกลิ่นให้หมดไปรวมถึง ฆ่าเชื้อโรคโควิด-19 ด้วยสเปร์ยแอลกอฮอลล์ ซึ่งทางชมรมได้วางแผนว่าจะทำ “หมอนรักษ์โลก” จำนวน 40 ใบ แต่เนื่องด้วยสถาการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสทำให้ทางชมรมเก็บรวบรวมหลอดทั้งหมดจำนวน 9 กิโลกรัม จึงสามารถทำหมอนรักษ์โลกได้จำนวน 15 ใบ ซึ่งในแต่ละใบจะใส่หลอดจำนวน 600 กรัม โดยทางชมรมจะนําหมอนรักษ์โรคไปมอบให้กับผูู้ป่วยติดเตียงเมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ดีขึ้น

วิธีการทํา“หมอนรักษ์โลก” จากหลอดพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง

1) เก็บหลอดจากถังแยกหลอด นํามาล้างน้ำให้สะอาดและนําไปตากให้แห้ง
2) นําหลอดที่แห้งแล้ว มาตัดขนาด ประมาณ 4 เซนติเมตร นําไปล้างและตากให้แห้งอีกครั้งเพื่อเป็นการกําจัดกลิ่นให้หมดไปและพ่นสเปร์ยแอลกอฮอลล์
3) นําผ้าฝ้ายลวดลายต่างๆ ตัดขนาด กว้าง 12 นิ้ว ยาว 20 นิ้ว สําหรับเป็นปลอกหมอนข้างนอก
4) นําผ้าที่ตัดแล้วมาเย็บด้นถอยหลัง เหลือช่องอีกด้านหนึ่งไว้ใส่หลอด
5) นําหลอดที่ตัดเสร็จแล้วมาใส้ในปลอกหมอนด้านใน จากนั้นเย็บใส่ซิป

ซึ่งในวันพุธที่ 18 สิงหาคม 2564 ทางคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้จัดสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2564 (รูปแบบออนไลน์) ทางชมรมได้จัดบูทประจำสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและได้นำหมอนรักษ์โลกไปจัดแสดงด้วย

กิจกรรมที่เพิ่มเติมเข้ามา

จัดการประกวดคลิปรณรงค์การจัดการขยะในหัวข้อ “How to use Hoe to ทิ้ง”เพื่อให้นักศึกษาและบุคลากรได้เข้าใจ ตระหนักถึงปัญหาและจัดการขยะได้อย่างถูกต้อง มีการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง อีกทั้งยังเป็นการประชาสัมพันธ์ให้กับนักศึกษาและบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยได้รับรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะที่ถูกต้อง โดยมีการประชาสัมพันธ์ผ่านทางเพจชมรมรักษ์สิ่งแวดล้อม

ในการประกวดจะแบ่งการประกวดออกเป็น 2 ประเภท

1.ประเภทคลิปสั้น    มีผู้เข้าร่วม 18 ทีม จำนวน 39 คน
2.ประเภทไวรัลคลิป  มีผู้เข้าร่วม 9 ทีม จำนวน 9 คน

รางวัลการประกวดมี 6 รางวัล แบ่งเป็นประเภทคลิปสั้น 3 รางวัล ประเภทไวรัลคลิป 3 รางวัลและรางวัลพิเศษ 2 รางวัล คือ รางวัลยอดแชร์สูดสุดหน้าเพจชมรมรักษ์สิ่งแวดล้อมและรางวัลยอดแชร์ทางสื่อออนไลน์อื่นๆ  โดยมีคณะกรรมการตัดสิน ดังนี้

1. ผศ.ดร. อรชร ฉิมจารย์ 
2. รศ.ดร.ปิยะดา วชิระวงศกร
3. ผศ.สุภาวดี น้อยน้ำใส
4. ตัวแทนจากชมรมรักษ์สิ่งแวดล้อม จำนวน 17 คน

และจากการประชุมตัดสินออนไลน์ผ่านระบบ zoom ได้ผลการตัดสินดังนี้

  • ปรtเภทคลิปสั้น
    • รางวัลชนะเลิศ คือ ทีม Noten
    • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 คือ ทีม PEF
    • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 คือ ทีม MNM
  • ประเภทไวรัลคลิป
    • รางวัลชนะเลิศ คือ ทีมมายมิ้ว
    • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 คือ ทีม ธาตุไฟคือความร้อนแรง
    • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 คือ ทีม โซเดมาคอม
  • รางวัลยอดแชร์สูงสุด
    • รางวัลยอดแชร์สูงสุดหน้าเพจชมรมรักษ์สิ่งแวดล้อม คือ ทีม MNM
    • รางวัลยอดแชร์ทางสื่ออนไลน์อื่น ๆ ผู้ที่มียอดแชร์สูงสุดไม่ได้ปฏิบัติตามกติกาที่ทางชมรมได้กำหนดไว้จึงถือเป็นโมฆะ

ทางชมรมได้ปรับเปลี่ยนแผนจากการดำเนินงานเพื่อให้เกิดความเหมาะสมดังตารางที่ 2

ตารางที่ 2 แผนการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมของชมรมฯประจำปี 2564 ที่มีการปรับเปลี่ยนแผนใหม่

3.3 ได้มีการติดตามประเมินผลโครงการอย่างไร (ประเมินจากวัตถุประสงค์ของโครงการที่ตั้งไว้)
กิจกรรมคัดแยกหลอดเพื่อนำไปทำหมอนบริจาคให้ผู้ป่วยติดเตียง
จากปัญหาในปีที่แล้วที่ทางชมรมได้พบว่าหมอนมีความแข็งเกินไปเกิดจากการตัดหลอดขนาดใหญ่เกินไปและบางชิ้นมีกลิ่นในปีนี้ทางชมรมจึงทำการตัดหลอดให้มีขนาดเล็กลงเพิ่มจำนวนครั้งในการล้างหลอดเพื่อไม่ให้มีกลิ่น ฆ่าเชื้อโควิด-19 ด้วยสเปร์ยแอลกอฮอลล์เพิ่มสีสันของปลอกหมอนและเพิ่มขนาดของหมอนให้มีขนาดใหญ่กว่าปีที่แล้วทำให้ผู้ใช้รู้สึกสบายและเพื่อให้หมอนดูน่าใช้มากยิ่งขึ้น และชมรมสามารถเก็บรวบรวมหลอดทั้งหมดจำนวน 9 กิโลกรัม จึงสามารถทำหมอนรักษ์โลกได้จำนวน 15 ใบ ซึ่งในแต่ละใบจะใส่หลอดจำนวน 600 กรัม

  • กิจกรรมประกวดคลิปรณรงค์การจัดการขยะในหัวข้อ “How to use Hoe to ทิ้ง”

         ประเมินจากจำนวนผู้เข้าร่วมการประกวดคลิปการจัดการขยะในหัวข้อ “How to use How to ทิ้ง” เพื่อให้นักศึกษาและบุคลากรได้เข้าใจและตะหนักถึงปัญหาและคัดแยกขยะก่อนทิ้งเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจอีกทั้งยังเป็นการประชาสัมพันธ์ให้กับนักศึกษาและบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย โดยมีการประชาสัมพันธ์ผ่านทางเพจชมรมรักษ์สิ่งแวดล้อม

3.4 ผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินโครงการ
สรุปผลการดำเนินงานของโครงการ
– กิจกรรมคัดแยกหลอดเพื่อนำไปทำหมอนบริจาคให้ผู้ป่วยติดเตียง
“หมอนรักษโลก” ที่ทำขึ้นจากวัสดุที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งคือหลอดซึ่งสามารถนำกลับไปทำประโยชน์และใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันซึ่งทางชมรมได้มีกาปรับปรุงโดยตัดหลอดให้มีขนาดเล็กลงเพื่อให้หมอนไม่แข็งจนเกินไปเพิ่มสีสันและขนาดของปลอกหมอนให้ผู้ใช้รู้สึกสบายและน่าใช้มากยิ่งขึ้นล้างหลอดหลังจากตัดให้มีขนาดเล็กอีกครั้งเพื่อไม่ให้หมอนมีกลิ่น ฆ่าเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วยสเปร์ยแอลกอฮอลล์ซึ่งทางชมรมได้วางแผนว่าจะนำหมอนไปบริจาคผู้ป่วยติดเตียงซึ่งรอดำเนินการเมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ดีขึ้น

  • กิจกรรมประกวดคลิปรณรงค์การจัดการขยะในหัวข้อ “How to use Hoe to ทิ้ง”
    ทางชมรมได้เผยแพร่คลิปเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์รณรงค์ลดการการจัดการขยะผ่านทางสื่อออนไลน์ของเพจชมรม เพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักถึงปัญหาพลาสติกที่เป็นปัญหาใหญ่ในปัจจุบัน ผ่านการร่วมสร้างสรรค์ผลงานคลิปรณรงค์ของนักศึกษาและบุคลากรให้ได้มีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาขยะให้ถูกต้อง

ตัวชี้วัดด้านการมีส่วนร่วม

สมาชิกภายในชมรมมีส่วนร่วม (มากกว่าร้อยละ 50)

ตัวชี้วัดด้านการเผยแพร่และการขยายผล
โครงการได้มีการเผยแพร่ความรู้และการขยายผลหรือไม่ อย่างไร(ขยายผล หมายถึง นำความรู้ไปปฏิบัติด้วย)

                มีการเผยแพร่ความรู้ภายในมหาวิทยาลัยหรือภายนอกมหาวิทยาลัย

        อธิบายรายละเอียดเพิ่มเติม

มีการเผยแพร่ความรู้และขยายผลภายในมหาวิทยาลัย โดยประชาสัมพันธ์ผ่านทางเพจชมรมรักษ์สิ่งแวดล้อมให้นักศึกษาและบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยได้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะ

อุปสรรคในการดำเนินงาน (หากมี กรุณาระบุว่ามีอะไรบ้าง และได้แก้ไขอย่างไร)

  • ปัญหาในการร่วมเข้ากิจกรรมเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19

1.สมาชิกไม่สะดวกในการเดินทางมาพูดคุยและร่วมกิจกรรม

วิธีการแก้ไขปัญหา

มีการนัดประชุมออนไลน์ผ่านโปรแกรม zoom และนัดวันเวลาที่สมาชิกสามารถเดินทางมาร่วมกิจกรรมได้

2.โครงการที่วางแผนไว้ไม่สามารถดำเนินการตามแผนได้

วิธีการแก้ไขปัญหา

มีการปรับเปลี่ยนแผลและเพิ่มกิจกรรมที่สามารถทำได้เข้ามา คือ กิจกรรมประกวดคลิปรณรงค์การจัดการขยะในหัวข้อ “How to use Hoe to ทิ้ง” โดยประชาสัมพันธ์ผ่านทางเพจชมรมรักษ์สิ่งแวดล้อม

ความเห็นและข้อเสนอแนะ

ควรมีการสื่อสารของสมาชิกภายในชมรม จัดหาเวลาที่เหมาะสมในการทำกิจกรรมและแบ่งหน้าที่ให้ชัดเจนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานมากยิ่งขึ้น

ภาคผนวก

นโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียวมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

ที่มา : https://www.phitsanulokhotnews.com/2014/08/21/56577

นโยบายชมรมรักษ์สิ่งแวดล้อมมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามได้ประกาศไว้ณห้องชมรม

ภาพกิจกรรมคัดแยกหลอดเพื่อนําไปทําหมอนบริจาคให้ผู้ป่วยติดเตียง (หมอนรักษ์โลก)

ภาพกิจกรรมจัดการประกวดคลิปรณรงค์การจัดการขยะในหัวข้อ “How to use Hoe to ทิ้ง”

แนะแนวเรื่อง

Previous Previous
นโยบายในการขับเคลื่อนการเป็นมหาวิทยาลัยนวัตกรรมสีเขียว (Green Innovation University)
NextContinue
กระบวนในการจัดการของเสียจากห้องปฏิบัติการ

 

Pibulsongkram Rajabhat University

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
Pibulsongkram Rajabhat University
เลขที่ 156 หมู่ 5 ตำบลพลายชุมพล อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000
โทรศัพท์ : 0-5526-7000-2 โทรสาร : 0-5526-7091

Website : https://www.psru.ac.th
e-Mail : psru@psru.ac.th
Facebook : https://www.facebook.com/pr.psru

© 2023 Sustainability Pibulsongkram

Facebook Twitter Instagram
thThai
thThai en_USEnglish
  • หน้าแรก
  • นโยบายสู่การพัฒนา
  • คณะกรรมการ
Search