มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม โดยคณะครุศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป มีโครงการจิตอาสาฟื้นฟูป่าชุมชนโดยการสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น ณ ตำบลบ้านดง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ปีที่ 3” ภายใต้โครงการพัฒนากระบวนการคิดแบบวิทย์นอกห้องเรียน ให้กับนักศึกษาและชุมชนอำเภอชาติตระการ
นับตั้งแต่พุทธศักราช 2502 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในภูมิภาคต่าง ๆ ทรงประจักษ์ในปัญหาของราษฎรในชนบทที่ดำรงชีวิตด้วยความยากจน ลำเค็ญ และด้อยโอกาสทรงช่วยเหลือและบรรเทาความทุกข์ยากเดือดร้อนให้แก่พสกนิกรชาวไทย ก่อเกิดเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ทั้งด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ การเกษตร สิ่งแวดล้อม ส่งเสริมอาชีพ สาธารณสุข สวัสดิการสังคม และอื่น ๆ กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศกว่า 4,810 โครงการ ที่สร้างประโยชน์และคุโณปการแก่ราษฎรอย่างหาที่สุดมิได้
ทางสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม คณะผู้นำชุมชน และชาวชุมชนผู้มีจิตอาสา เล็งเห็นถึงความสำคัญในการสืบสานแนวทางพระราชดำริเกี่ยวกับการอนุรักษ์และฟื้นฟู่ป่าต้นน้ำตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เกี่ยวกับการพัฒนาและฟื้นฟูป่าไม้ด้วยการใช้ทรัพยากรที่เอื้ออำนวย เกิดการสัมพันธ์ซึ่งกันและกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด และพระราชดำริเกี่ยวกับจิตอาสาในการพัฒนาชุมชนของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงลงพื้นที่สำรวจป่าชุมชนของหมู่ที่ 1 ตำบลบ้านดง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก พบว่าพื้นที่ป่าชุมชนดังกล่าวมีพื้นที่กว่า 3,000 ไร่ถูกบุกรุกทำลายส่งผลให้ไม่มีป่าต้นไม้ ไม่มีแหล่งต้นน้ำ และไม่มีพื้นที่กักเก็บน้ำ ดังนั้นสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะผู้นำชุมชน และชาวชุมชนผู้มีจิตอาสาจึงร่วมกันจัดทำโครงการจิตอาสาฟื้นฟูป่าชุมชนโดยการสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น ณ ป่าชุมชน หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านดง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ปีที่ 2 เพื่อมุ่งเน้นการสร้างความรู้ ความเข้าใจ พร้อมทั้งสร้างความตระหนักเกี่ยวกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าต้นน้ำตามแนวพระราชดำริ ให้แก่เยาวชนรุ่นใหม่ และ ชาวชุมชน รวมถึงการสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่ป่าชุมชน และเพื่อช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำ ซึ่งเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนอย่างยั่งยืน ดังรูปที่ 1
รูปที่ 1 ผลการดำเนินการโครงการจิตอาสาฟื้นฟูป่าชุมชนโดยการสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น
ณ ตำบลบ้านดง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ปีที่ 2
จากรูปที่ 1 เป็นผลจากการดำเนินการโครงการจิตอาสาฟื้นฟูป่าชุมชนโดยการสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น ณ ตำบลบ้านดง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ปีที่ 2 แสดงให้เห็นว่าหลังจากสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้นในฤดูฝนฝายสามารถชะลอน้ำไว้ในพื้นที่ได้ แต่ยังมีจำนวนไม่มากพอที่จะทำให้ป่าต้นน้ำกลับมาสมบูรณ์ ซึ่งการที่จะให้ป่าต้นน้ำกลับสมบูรณ์ได้นั้นต่อมีฝายชะลอความชุ่มชื้นเป็นจำนวนมาก ดังนั้นสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะผู้นำชุมชน และชาวชุมชนผู้มีจิตอาสา จึงร่วมกันจัดทำโครงการจิตอาสาฟื้นฟูป่าชุมชนโดยการสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น ณ ป่าชุมชน หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านดง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ปีที่ 3 โดยได้ลงพื้นที่สำรวจสภาพของฝายชะลอความชุ่มชื้นของโครงการในปีที่ 2 ดังรูปที่ 2
รูปที่ 2 พื้นที่สำรวจสภาพของฝายชะลอความชุ่มชื้นของโครงการในปีที่ 2 และสร้างฝายเพิ่มเติมในปีที่ 3
จากรูปที่ 2 เป็นการลงพื้นที่สำรวจเพื่อวางแผนดำเนินโครงการในปีที่ 3 เพื่อสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้นเพิ่มเติม และปรับปรุงชะลอความชื้นชุมชนให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลทำให้ป่าชุมชนมีจุดชะลอความชุ่มชื้นเพิ่มขึ้นและสภาพของป่าชุมชนมีความสมบูรณ์เพิ่มขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมที่บูรณาการแนวพระราชดำริร่วมกับการจัดการเรียนรู้ให้แก่นักศึกษา ถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงปฏิบัติการการสร้างฝายชะลอน้ำตามแนวพระราชดำริ และสร้างความตระหนักถึงเกี่ยวกับการอนุรักษ์และฟื้นฟู่ป่าต้นน้ำตามแนวพระราชดำริ ให้แก่ชุมชน เยาวชน อาจารย์ บุคลากร และผู้เข้าร่วมกิจกรรม รวมถึงสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างชุมชนและเยาวชน โดยมีกลุ่มเป้าหมายคณาจารย์และนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามคณะผู้นำชุมชน และชาวชุมชนผู้มีจิตอาสา ซึ่งผลที่เกิดขึ้นจากโครงการ มีดังนี้
1. ได้พัฒนาการจัดกิจกรรมที่บูรณาการแนวพระราชดำริร่วมกับการจัดการเรียนรู้ให้แก่นักศึกษา
2. ได้น้อมนำศาสตร์พระราชามาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาเชิงพื้นที่ให้แก่นักศึกษา
3. ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงปฏิบัติการการสร้างฝายชะลอน้ำและฝายดักตะกอนตามแนวพระราชดำริ
4. ได้สร้างความตระหนักถึงการรักษาพื้นที่ป่าไม้ และแหล่งต้นน้ำ
5. ได้สร้างความตระหนักเกี่ยวกับการอนุรักษ์และฟื้นฟู่ป่าต้นน้ำตามแนวพระราชดำริ ให้แก่
ชุมชน เยาวชน อาจารย์ บุคลากร และผู้เข้าร่วมกิจกรรม
6. ได้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างชุมชนและเยาวชน
รูปกิจกรรมโครงการ
ที่่มา : สรุปรายละเอียดโครงการบริการวิชาการ โดยชมรมสืบสานงานพ่อ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์ และ โครงการจัดตั้งสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง (2558-2565)
รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง :
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามพัฒนา นวัตกรรมเครื่องบดย่อยผลผลิตเหลือทิ้งทางการเกษตร
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม โดยคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ได้ลงพื้นที่บ้านวังตามด ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ได้พบว่าชุมชนเป็นพื้นที่ที่มีการทำอาชีพเกษตรกรรม มีการปลูกต้นยางเป็นจำนวนมาก จึงทำให้มีใบไม้และ/หรือมีผลผลิตเหลือทิ้งทางการเกษตรจำนวนมาก ดังนั้นจึงได้มีการประชุมเพื่อระดมความคิดร่วมกับผู้นำชุมชน คือ หากนำเอาใบไม้ดังกล่าวมาบด/สับ/ย่อยให้มีขนาดเล็กก่อนนำไปอัดแท่งเพื่อทำเป็นถ่านอัดแท่งก็จะเป็นการสร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ของเกษตรกรในชุมชนได้ ทั้งนี้อาจารย์ผู้รับผิดชอบพร้อมด้วยนักศึกษาได้ดำเนินการออกแบบ สร้าง และทดสอบการทำงาน ก่อนที่จะนำเครื่องเครื่องบดย่อยผลผลิตเหลือทิ้งทางการเกษตร ดังกล่าวไปส่งให้กับชุมชนพร้อมกับสอนการใช้งาน ทำให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนทั้งด้านสิ่งแวดล้อม มลภาวะ และเกิดรายได้ต่อชุมชน
เครื่องบดย่อยผลผลิตเหลือทิ้งทางการเกษตร โดยในการดำเนินกิจกรรมจะมีการออกแบบ/เขียนแบบ จัดซื้อวัสดุเพื่อนำมาประกอบเป็นเครื่องอัดแท่ง/ก้อนผลผลิตเหลือทิ้งทางการเกษตร ทั้งนี้ในการสร้าง/ประกอบนั้นจะได้รับการดำเนินกิจกรรมโดยนักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล และหลังจากประกอบสร้างแล้วเสร็จจะได้นำเครื่องอัดแท่ง/ก้อนดังกล่าวไปส่งให้กับกลุ่มเกษตรกรบ้านวังตาดพร้อมกับสอนการใช้งาน เครื่องอัดแท่งดังกล่าวจะก่อให้เกิดอาชีพใหม่ๆ ในชุมชน และจะก่อให้เกิดการพัฒนาภายในชุมชนอย่างยั่งยืน
เตาเผาถ่านประสิทธิภาพสูง เนื่องด้วยในปีงบประมาณ 2564 เคยได้ดำเนินกิจกรรมเตาเผาถ่านประสิทธิภาพสูงแล้ว แต่เนื่องด้วยชุมชนมีความต้องการเตาเผาถ่านประสิทธิภาพสูงในจำนวนที่สูงมากๆ จึงทำให้ในปีงบประมาณ 2565 ผู้ดำเนินกิจกรรมจึงได้วางแผนทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง (ระยะที่ 2) ทั้งนี้ก็เนื่องมากจากวิถีชีวิตที่หมายรวมถึงการดำเนินชีวิตประจำวันที่จะต้องหารายได้พร้อมกับลดรายจ่ายจึงทำให้การเผาถ่านเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ทำกันเกือบทุกครัวเรือน โดยการดำเนินกิจกรรมดังกล่าวจะให้นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลดำเนินการสร้าง ประกอบ และติดตั้ง ก่อนนำเอาเตาเผาถ่านดังกล่าวไปมอบให้กับชาวบ้านบ้านวังตาด จากนั้นผู้ดำเนินกิจกรรมจะมีการจัดฝึกอบรมเรื่องวิธีการเผาถ่านด้วยเตาเผาถ่านประสิทธิภาพสูง
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม โดยคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมได้พัฒนารูปแบบการทำการเกษตรในการรดน้ำในพื้นที่ที่ไม่มีไฟฟ้า เพื่อส่งเสริมการทำเกษตรกรรมให้ได้พื้นที่เพิ่มมากขึ้น และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับระบบสูบน้ำแบบอื่นๆได้ ในชุมชนบ้านลาดบัวขาว ต.สมอแข อ.เมืองพิษณุโลก จ.พิษณุโลก โดยใช้วัดลาดบัวขาว เป็นกรณีศึกษา เนื่องจากพื้นที่บริเวรวัดมีปัญหาเรื่องการรดน้ำแปลงผัก ซึ่งได้นำนวัตกรรมจ่ายน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ไปใช้ ทำให้สามารถแก้ปัญหาการรดน้ำในพื้นที่ที่ไม่มีไฟฟ้าในชุนชนได้เป็นอย่าดี