พัฒนาชุมชนต้นแบบบูรณาการนำร่อง บ้านลาดบัวขาว ตำบลสมอแข อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ระยะที่ 2
| | |

พัฒนาชุมชนต้นแบบบูรณาการนำร่อง บ้านลาดบัวขาว ตำบลสมอแข อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ระยะที่ 2

            คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมได้ลงพื้นที่ชุมชนหมู่ที่2บ้านลาดบัวขาวตำบลสมอแขอำเภอเมืองจังหวัดพิษณุโลกเพื่อดำเนินกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาผู้นำชุมชนซึ่งนำไปสู่การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องอย่างมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชนเบื้องต้นพบว่าประชาชนส่วนใหญ่เป็นคนดีแต่ยังขาดกระบวนการพัฒนาชุมชนที่เป็นรูปธรรมที่จะก่อให้เกิดผลการทบในระดับหมู่บ้านรวมทั้งผู้นำหมู่บ้านยังขาดความกล้าแสดงออกในเชิงต่อต้านทุจริตและภาวะผู้นำจากการดำเนินการพัฒนาผู้นำชุมชนในช่วงปี2561-2562เพื่อจะได้เป็นกำลังสำคัญในการดำเนินการสร้างแนวคิดที่ดีต่อการพัฒนาชุมชนต้นแบบสุจริตตามแผนพัฒนาหมู่บ้านระยะเวลา3ปีดังนั้นคณะพิจารณาเลือกเป็นชุมชนนำร่องในการพัฒนาตามแผนไปสู่ชุมชนต้นแบบในปีงบประมาณ2563และยังคงดำเนินการที่สอดคล้องกับความต้องการและปัญหาของพื้นที่เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างเป็นระบบโดยมีข้อสรุปสำคัญคือจะปรับรูปแบบการสนับสนุนเพื่อให้ชุมชนมีระยะเวลาการดำเนินการต่อเนื่องครบวงรอบการพัฒนามีเป้าหมายในการสร้างให้เกิดการบริหารจัดการชุมชนเพื่อนำสู่การเป็นชุมชนที่น่าอยู่ตามแผนชุมชนพึ่งตนเองได้ในที่สุด หลักการและเหตุผล :             การพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งจำเป็นต้องเริ่มต้นที่การพัฒนาคนให้รู้จักตัวเองรู้ปัญหาของตนเองและชุมชนรู้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนและเชื่อว่าตนจะพึ่งตัวเองได้จนนำไปสู่ชุมชนเข้มแข็งโดยเริ่มจากการค้นพบศักยภาพของตนเองค้นพบภูมิปัญญาของตนเองค้นพบแนวทางที่จะพัฒนาตนเองจากทุนเดิมที่มีอยู่ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการพัฒนาการเรียนรู้การร่วมคิดร่วมทำและมีความรับผิดชอบต่อสังคมตลอดจนมีการเชื่อมโยงและประสานงานกับหน่วยงานภายนอกเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่สอดคล้องและเหมาะสมกับพื้นที่จนเกิดชุมชนพึ่งตนเองได้พร้อมทั้งนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์เป็นแนวทางการดำเนินงานเน้นการพึ่งตนเองโดยสร้างสังคมแห่งการเอื้ออาทรพึ่งพาอาศัยกันนำไปสู่วิธีการคิดและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของชุมชนต่อไปดังนั้นการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งน่าอยู่จะส่งผลให้ชุมชนมีสุขภาวะที่ดีและหากมีการดำเนินงานอย่างกว้างขวางแล้วนั้นย่อมส่งผลให้เป็นประเทศน่าอยู่ต่อไปจุดกำเนิดโครงการชุมชนจึงมีแนวคิดหลักคือการพัฒนากลไกการจัดการในชุมชน/หมู่บ้านที่เรียกว่า“สภาผู้นำชุมชน”มีองค์ประกอบหลักคือคณะกรรมการหมู่บ้านตามโครงสร้างที่มีอยู่เดิมและตัวแทนจากกลุ่มต่างๆภายในชุมชนใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการทำประชาคมหมู่บ้านเพื่อค้นหาปัญหาของตนเองมีการเก็บข้อมูลในพื้นที่เพื่อสามารถระบุถึงขนาดและความรุนแรงของปัญหานั้นๆอย่างชัดเจนและร่วมกันคิดแนวทางการแก้ไขปัญหาด้วยการจัดทำเป็นแผนชุมชนพึ่งตนเองหนึ่งในต้นแบบของการแก้ปัญหาโดยการบริหารจัดการชุมชนด้วยกลไกสภาผู้นำชุมชนที่ประกอบด้วยกลุ่มต่างๆในหมู่บ้านที่แบ่งหน้าที่การดำเนินงานกันอย่างชัดเจนมีการประชุมกันอย่างสม่ำเสมอมีการเก็บข้อมูลต่อเนื่องอย่างเป็นระบบมีการร่วมคิดร่วมวิเคราะห์จนเกิดเป็นแผนชุมชนที่ปฏิบัติได้จริงมีการสื่อสารข้อมูลแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันนอกจากนี้สภาผู้นำชุมชนยังเป็นแบบอย่างให้แก่สมาชิกชุมชนในแต่ละเรื่องและสามารถรวมพลังทุกกลุ่มในชุมชนมุ่งมั่นทำงานให้บรรลุเป้าหมายและผลลัพธ์ตามแผนชุมชนส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการเรียนรู้ของคนในชุมชนสร้างการเปลี่ยนแปลงสุขภาวะที่ดีของชุมชนให้เป็นไปอย่างยั่งยืนจนกลายเป็นวิถีและเกิดวัฒนธรรมที่สร้างสุขภาวะใหม่ๆขึ้นในชุมชน ชื่อกิจกรรมที่ 1 กิจกรรมการประชุมบูรณาการแผนพัฒนาชุมชนนำร่องบ้านลาดบัวขาวโดยภาคีเครือข่ายการพัฒนาชุมชนต้นแบบ เป็นการวางแผน จัดประชุม กำกับ และติดตามความก้าวหน้าของโครงการย่อยต่างๆ ที่อยู่ภายใต้แผน นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ประสานงานกับผู้นำชุมชน ไม่ว่าจะเป็น นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสมอแข ผู้ใหญ่บ้าน และกลุ่มผู้นำชุมชนบ้านลาดบัวขาว ดำเนินการรวบรวมข้อมูลทั้งหมดเพื่อจัดประชุมชี้แจงความเป็นไปเป็นมาของโครงการ และปิดโครงการ ชื่อกิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการพัฒนาผู้นำต้นแบบหมู่บ้านสุจริตบ้านลาดบัวขาว และเครือข่ายชุมชนใกล้เคียง โดยดำเนินการสนับสนุนให้เกิดกลไกการบริหารจัดการชุมชนที่เรียกว่าสภาผู้นำชุมชน ที่สามารถขับเคลื่อนงาน เสริมสร้างสุขภาวะในชุมชนได้อย่างเข้มแข็ง และจัดกิจกรรมสนับสนุนเสริมศักยภาพให้สภาผู้นำชุมชนรวมถึงสมาชิกชุมชนร่วมกันพัฒนาและขับเคลื่อนแผน ชุมชนพึ่งตนเอง ที่ประกอบด้วยประเด็นสุขภาวะที่ต้องการดำเนินงานอันจะนำไปสู่ความเป็น “ชุมชน น่าอยู่” ชื่อกิจกรรมที่ 3 กิจกรรมฟังธรรมและปฏิบัติธรรมชำระจิต ดำเนินการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการเจริญสติตามแนวสติปัฏฐานในพุทธศาสนา โดยพระอาจารย์สายวิปัสสนา ชื่อกิจกรรมที่ 4 กิจกรรมการบำบัดคุณภาพน้ำดิบสำหรับการผลิตน้ำประปาด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมพัฒนาระบบสูบน้ำเพื่อการเกษตรสำหรับชุมชน โดยดำเนินการจัดทำระบบสูบน้ำเพื่อการเกษตรสำหรับชุมชนบ้านลาดบัวขาว กิจกรรมที่ 6 กิจกรรมส่งเสริมออกกำลังกายด้วยกีฬาฟุตซอลสำหรับเยาวชนชุมชนบ้านลาดบัวขาว โดยจัดฝึกอบรมกีฬาฟุตซอลสำหรับเยาวชนชุมชนบ้านลาดบัวขาว -จัดการแข่งขันกีฬาฟุตซอลสำหรับเยาวชนชุมชนบ้านลาดบัวขาว กิจกรรมที่ 7 กิจกรรมเวทีนิทรรศการแสดงผลงานการพัฒนาชุมชนต้นแบบบูรณาการนำร่อง หมู่2 บ้านลาดบัวขาว…

| | | | | | | | | | | | | | | |

รายวิชาที่ความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
(Sustainable Development Goals, SDGs) ทั้ง 17 ด้าน

          การพัฒนาอย่างยั่งยืน คือการตอบสนองความต้องการของคนรุ่นปัจจุบัน โดยไม่มีผลกระทบในทางลบต่อความต้องการของคนรุ่นต่อไปในอนาคต ซึ่งรายวิชาศึกษาทั่วไปในทักษะนี้แต่ละรายวิชามีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งมหาวิทยาลัยได้มีการจัดรายวิชาที่ความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals, SDGs) ทั้ง 17 ด้าน  เช่น รายวิชา GESO115 The King’ s Philosophy for Local Development ซึ่งเป็นรายวิชาที่ออกแบบเพื่อให้นักศึกษาทราบถึงพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและพระบรมวงศานุวงศ์ ความหมาย หลักการ แนวคิด ความสําคัญ และเป้าหมายของหลักการทรงงาน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และการพัฒนาตามศาสตร์พระราชาอย่างยั่งยืน ตลอดจนถึงการลงพื้นที่สำรวจ วิเคราะห์ปัญหา การน้อมนําศาสตร์พระราชาไปประยุกต์ใช้ในให้การแก้ปัญหาของพื้นที่ตั้งแต่ระดับบุคคล องค์กรธุรกิจหรือชุมชนในระดับท้องถิ่น และระดับประเทศอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงเทคนิคการสร้างภาคีเครือข่าย และการฝึกปฏิบัติงานโดยบูรณาการแบบองค์รวมกับทีมภาคีเครือข่าย และรายวิชา SOED332Community Study and Community Based Learning  for Life Long เป็นรายวิชาที่ออกแบบเพื่อให้นักศึกษาทราบถึงโครงสร้างระบบการศึกษาส่วนท้องถิ่น บทบาทของคนและองค์กรชุมชนศิลปวัฒนธรรมจารีต ประเพณีท้องถิ่น  กิจกรรมและการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาคนและองค์กรชุมชนและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน รายละเอียดดังตาราง ลำดับ รายวิชา…

การดำเนินกิจกรรมความร่วมมือของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามกับสโมสรโรตารีพิษณุโลก
| |

การดำเนินกิจกรรมความร่วมมือของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามกับสโมสรโรตารีพิษณุโลก

การดำเนินกิจกรรมความร่วมมือของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามกับสโมสรโรตารีพิษณุโลกซึ่งได้มีการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ดังนี้           กิจกรรมที่ 1 ปล่อยพันธุ์ปลามหากุศล & โรตารีเกื้อกูล จัดขึ้นในวันที่ 12 สิงหาคม 2564 ณ บึงทะเลแก้ว โดยมีความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการดำเนินกิจกรรม ได้แก่ ภาคการศึกษา ภาคเอกชน สภาอุตสาหกรรมจังหวัดพิษณุโลก และ หอการค้าจังหวัดพิษณุโลก รวมถึงยังมีกิจกรรมารมอบถุงปันน้ำใจให้ส่งถึงมือประชาชน“โรตารีเกื้อกูลเพื่อนมนุษย์ สู้ภัยโควิด 19″ นำทีมมอบข้าวสารอาหารแห้ง 400 ชุด แก่ประชาชนในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก (4โซน) ได้แก่ โซน 1 โรงเรียนเทศบาล 4 ชุมชนวัดธรรมจักรโซน 2 มอบที่ วัดหนองบัว โซน 3 มอบที่ วัดจันทร์ตะวันออก และโซน 4 มอบที่ โรงเรียนเทศบาล 2 วัดคูหาสวรรค์           กิจกรรมที่ 2 บริจาคโลหิต สู้วิกฤต COVID –…

กิจกรรมชมรมสโมสรโรทาแรคท์วิศวกรสังคมมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
| | |

กิจกรรมชมรมสโมสรโรทาแรคท์วิศวกรสังคมมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

การก่อตั้งชมรมสโมสรโรทาแรคท์วิศวกรสังคมมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เกิดจากการรวมตัวของนักศึกษาที่มีจิตอาสาจะช่วยเหลือสังคมและพัฒนาชุมชนท้องถิ่นโดยแกนนำผู้นำนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามรับนโยบายจาก  พลเอกดาว์พงษ์  รัตนสุวรรณ  องคมนตรี เพื่อสร้างแกนนำวิศวกรสังคมฝึกให้นักศึกษาเป็น นักคิด นักสื่อสาร นักประสาน และนักสร้างนวัตกรรมโดยการนำชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้และฝึกฝนทักษะ จึงได้ก่อตั้งชมรมสโมสรโรทาแรคท์วิศวกรสังคมมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เพื่อพัฒนาชุมชน ด้วยกระบวนการและเครื่องมือของวิศวกรสังคม โดยมีกิจกรรมจิตอาสา ดังนี้  – กิจกรรมโครงการค่ายผู้นำวิศวกรสังคมอาสา พิบูลพัฒน์  สร้างสุขสู่ท้องถิ่น ปีที่ 1  กำหนดจัดกิจกรรม ในระหว่างวันที่ 4 – 6 กุมภาพันธ์ 2565   ณ โรงเรียนคลองห้วยนาพัฒนาการ  ตำบลชนแดน  อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ พิธีเปิดโครงการค่ายผู้นำวิศวกรสังคมอาสา พิบูลพัฒน์  สร้างสุขสู่ท้องถิ่น ปีที่ 1 ปรับปรุงสนามเปตอง ทำความสะอาดและทาสีสนามบาสเก็ตบอล ทำความสะอาดและทาสีรั้วโรงเรียน เข้าร่วมการอบรมเจ้าหน้าที่และคณะกรรมการบริหารสโมสร (District Training Assembly-DTA) และพิธีสถาปนาผู้ว่าการภาค 3360 โรตารีสากล ปี 2022 -2023  ณ โรงแรมแพร่นครา  อำเภอเมือง  จังหวัดแพร่…

พัฒนาบุคลากรเพื่อสร้างเครือข่ายวิศวกรสังคม
| | |

พัฒนาบุคลากรเพื่อสร้างเครือข่ายวิศวกรสังคม

กระแสความปั่นป่วนทางด้านเศรษฐกิจและการเมืองโลกในปัจจุบันก่อให้เกิดความท้าทายต่อความพยายามในการก้าวข้ามกับดักประเทศกำลังพัฒนาของประเทศไทยในอนาคตอันใกล้สงครามทางการระหว่างประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจได้เริ่มส่งผลกระทบอย่างชัดเจนต่อกระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรมหลักของประเทศซึ่งเชื่อมโยงไปถึงภาวการณ์มีงานทำของประชาชนในระยะยาวเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันจำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีคนไทยเป็นเจ้าของและสามารถสร้างคุณค่าใหม่ให้แก่ระบบเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนท่ามกลางบริบทความท้าทายดังกล่าวทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพโดยเฉพาะเยาวชนรุ่นใหม่ที่เป็นนักศึกษาและบัณฑิตใหม่คือกุญแจสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยหลุดพ้นวงจรแห่งความยากจนและกับดักประเทศกำลังพัฒนาแผนงานด้านการพัฒนาคนไทยยุคใหม่แห่งศตวรรษที่21จึงมีความมุ่งหวังเพื่อสร้างและพัฒนากำลังคน(Manpower)ที่เป็นยุวชนคนรุ่นใหม่ไม่จำกัดว่าเป็นนักศึกษาหรือบัณฑิตใหม่จะมีความถนัดด้านวิทยาศาสตร์หรือสังคมศาสตร์ซึ่งคนไทยรุ่นใหม่ทุกคนจะได้รับ“โอกาส”ในการเรียนรู้ตามความถนัดของตนเองจนได้“ความรู้ใหม่”หรือ“นวัตกรรม”ที่สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้อย่างยั่งยืนดังนั้นการพัฒนานักศึกษาซึ่งเป็นทรัพยากรสำคัญของเทศไทยให้เป็น“คนไทยแห่งศตวรรษที่21”ที่ถึงพร้อมด้วยสติปัญญาวุฒิภาวะทางอารมณ์และมีจิตสาธารณะและท่ามกลางความผันผวนทางด้านเศรษฐกิจและการค้าโลกทำให้นักศึกษาสามารถลดภาวการณ์ว่างงานของบัณฑิตใหม่ได้ด้วยการบ่มเพาะอาชีพใหม่แห่งอนาคตที่สามารถสร้างคุณค่าใหม่ให้แก่เศรษฐกิจของประเทศ โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม    ได้มอบหมายให้ กองพัฒนานักศึกษา โดยงานกิจกรรมและพัฒนานักศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบกิจกรรมอบรม เพื่อขยายผลโครงการ วิศวกรสังคม(Social Engineer) สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม  เพื่อการพัฒนาประเทศ (ครั้งที่ 1) มีกลุ่มเป้าหมาย องค์การบริหารกิจกรรมนักศึกษา   สภานักศึกษา  นักศึกษาจิตอาสา  สโมสรนักศึกษาคณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร  สโมสรนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  สโมสรนักศึกษาวิทยาลัยการพยาบาล  สโมสรนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  สโมสรนักศึกษาวิทยาลัยการจัดการและพัฒนาท้องถิ่น  บุคลากรกองพัฒนานักศึกษาที่จะเข้าร่วมในกิจกรรมครั้งนี้  ซึ่งมีกิจกรรมดังนี้ การบรรยายแนะนำหลักสูตร วิศวกรสังคม(Social Engineer)  โดย ดร.นงรัตน์   อิสโร เลขาองคมนตรี (พลเอกดาว์พงษ์  รัตนสุวรรณ)  การบรรยายหัวข้อ “แนวคิดวิศวกรสังคม  พัฒนาทักษะเพื่อสร้างกระบวนการ” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนสาร  เพ็งพุ่ม  รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา  อาจารย์ธีรพัฒน์  พูลทอง  รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและศิลปวัฒนธรรมคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  อาจารย์ศิลปชัย  ฟั่นพะยอม  ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา  วิทยาลัยการพยาบาล        และมีการละลายพฤติกรรมก่อนที่จะทำกิจกรรมกลุ่มต่อไป ช่วงบ่ายจะเป็นกิจกรรมฟ้าประทาน ,กิจกรรมนาฬิกาชีวิต : การเข้าใจตนเองผ่านการเข้าใจผู้อื่น และให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมนำเสนอไทม์ไลน์และนาฬิกาชีวิตของแต่ละกลุ่ม  กิจกรรมวันที่สอง จะเป็นการฝึกทักษะการเข้าใจปรากฏการณ์ …

การให้บริการห้องสมุดเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้
| |

การให้บริการห้องสมุดเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มีพันธกิจหลักในการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศทุกรูปแบบ เป็นศูนย์กลางของแหล่งเรียนรู้และการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้เกิดการสร้างแรงบันดาลใจและความคิดสร้างสรรค์ สนับสนุนองค์ความรู้ที่ทันสมัยและเพียงพอต่อความต้องการเพื่อตอบสนองต่อการสอน การวิจัย การบริการวิชาการให้แก่นักศึกษา อาจารย์ บุคลากรภายในและประชาชนทั่วไป มีการจัดการอย่างยั่งยืนและมีการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมภายในองค์กรที่ได้มาตรฐานระดับชาติสร้างความเชื่อมั่นให้ชุมชน องค์กรภายนอก มีส่วนร่วมในการตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาและการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดสุโขทัย สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการเพื่อเป็นศูนย์เสริมสร้างความเข้มแข็งทางวิชาชีพบรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์ สนับสนุนการพัฒนาความสามารถด้วยหลัก SMART Model อย่างต่อเนื่อง เสริมสร้างการทำงานเป็นทีมเพื่อให้ภารกิจของหน่วยงานบรรลุเป้าหมาย โดยมีพื้นที่ในการให้บริการ 4 ชั้น ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ ชั้น 1 สำนักงานผู้อำนวยการ.(Director.‘s.Office)./ ร้านอาหารและเครื่องดื่ม /.ธนาคาร./.ลานจอดรถยนต์ / จักรยานยนต์ / ตู้รับคืนหนังสืออัตโนมัติ.(Book.Drop) ./. Drive.Through.Drop.Off / พื้นที่นั่งอ่านสำหรับนักศึกษา 24 ชั่วโมง (ARIT LEARNING SPACE) ชั้น 2 Zone.A : บริการคอมพิวเตอร์ฝึกอบรม (Training room) / บริการคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาค้นคว้า / บริการวารสาร.หนังสือพิมพ์ / หนังสืออ้างอิง วิทยานิพนธ์ วิจัย…