การพัฒนาชุมชนแบบบูรณาการ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
|

การพัฒนาชุมชนแบบบูรณาการ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

โครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพศูนย์การเรียนรู้ชุมชนต้นแบบตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงในตำบลดินทอง อำเภอวังทอง และตำบลท่างาม อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก จากการสำรวจข้อมูลของกรมพัฒนาชุมชน และข้อมูล กชช.2ค ของจังหวัดพิษณุโลกทั้ง 9 อำเภอ ดังที่กล่าวมาที่พบว่า อำเภอวังทอง โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ตำบลดินทองที่มีทั้งหมด 11 หมู่บ้าน และอำเภอวัดโบสถ์ ตำบลท่างามมีทั้งหมด 13 หมู่บ้าน ซึ่งประชาชนในพื้นที่ทั้ง 2 ตำบล ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และเป็นพื้นที่ที่มีความจำเป็นต้องพัฒนาอย่างเร่งด่วนของจังหวัดพิษณุโลกที่ต้องแก้ปัญหาความยากจน โดยเฉพาะต้องการให้เกษตรกรมีรายได้เสริมภายในครัวเรือนนอกเหนือจากรายได้หลัก หรือสร้างอาชีพใหม่ให้กับเกษตรกรเพื่อให้มีความเพียงพอกับต้องการภายในครัวเรือนและพ้นเกณฑ์ความยากจน อย่างไรก็ตามสภาพต้นทุนในพื้นที่ดังกล่าวนี้ส่วนใหญ่มีการเลี้ยงสัตว์และปลูกพืชเป็นอาชีพเสริม และควรทำให้เป็นพื้นที่ที่ควรเข้าไปสนับสนุน และพัฒนาให้เป็นอาชีพของชุมชน โดยมีศูนย์การเรียนรู้ชุมชนต้นแบบตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง           เนื่องจากในพื้นที่มีการเลี้ยงสัตว์และทำการเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลักเป็นจำนวนมาก ซึ่งปัจจุบันนี้การน้อมนำแนวเศรษฐกิจพอเพียงของพ่อหลวงแห่งปวงชนชาวไทยนั้น ถือว่าเป็นการยึดหลักในการดำเนินชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี ไม่ต้องเดือดร้อน และที่สำคัญในยุคนี้ เกษตรกรต้องรู้จักการเลี้ยงสัตว์หลากหลายชนิด เพื่อการประกอบอาชีพ ซึ่งเป็นไปตามพระราชปณิธานเดินตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รวมทั้งเป็นการสนองพระราชหฤทัยห่วงใยของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ รัชกาลที่ 10 ที่พระราชทานพระราชดำรัสให้เดินตามรอยพระยุคลบาทที่พระราชทานพระราชดำริในการดำเนินชีวิตไว้ คือ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุก ระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์…

PSUR ยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)
| | |

PSUR ยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้ดำเนินกิจกรรมโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 – 31 ธันวาคม 2564 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ โดยมหาวิทยาลัยเป็น System Integrator ให้เกิดการพัฒนาตามปัญหาและความต้องการของชุมชน การจ้างงานประชาชนทั่วไป บัณฑิตจบใหม่ และนักศึกษาให้มีงานทำและฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน และการจัดทำข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชน (Community Big Data) โดยร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 15 ตำบล จากจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 9 ตำบล และจังหวัดสุโขทัย จำนวน 6 ตำบล ได้แก่ 1. เทศบาลตำบลพลายชุมพล ตำบลพลายชุมพล อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก2. องค์การบริหารส่วนตำบลจอมทอง ตำบลจอมทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก3. องค์การบริหารส่วนตำบลดอนทอง ตำบลดอนทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก4. องค์การบริหารส่วนตำบลทองแท้…

พัฒนาศักยภาพนักบริการวิชาการสู่นักวิจัยรับใช้สังคม กิจกรรม : อบรมเชิงปฏิบัติการธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise : SE)
|

พัฒนาศักยภาพนักบริการวิชาการสู่นักวิจัยรับใช้สังคม กิจกรรม : อบรมเชิงปฏิบัติการธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise : SE)

งานสนับสนุนการบริการวิชาการ สถาบันวิจัยและพัฒนา ได้จัดโครงการส่งเสริมพัฒนาศักยภาพ     นักบริการวิชาการสู่นักวิจัยรับใช้สังคม กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise : SE) ให้แก่ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว การเกษตรและกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่จังหวัดสุโขทัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการในกลุ่มธุรกิจด้านการท่องเที่ยว/การเกษตร และกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำธุรกิจเพื่อสังคม สิทธิประโยชน์ที่กลุ่มธุรกิจจะได้รับ และตัวอย่างกลุ่มธุรกิจเพื่อสังคมสู่ความยั่งยืน ในวันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม 2565 บ้านหมอรีสอร์ท สุโขทัย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย โดยมีทีมนักวิชาการวิสาหกิจเพื่อสังคม จากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม เป็นวิทยากรจำนวน 4 ท่าน คือ 1) นางปิยะณัฐ หอมวิเชียร นักวิชาการวิสาหกิจเพื่อสังคมชำนาญการ 2) นายธนาวุฒิ ศุภางคะรัตน์ นักวิชาการวิสาหกิจเพื่อสังคมชำนาญการ 3) นางสาวกริศา ลอยวิสุทธิ์ นักวิชาการวิสาหกิจเพื่อสังคม 4 และ 4) นายประเมศฐ์ พิชญ์พันธ์เดชา นักวิชาการวิสาหกิจเพื่อสังคม 3  โดยกิจกรรมมีทั้งการให้ความรู้ในเรื่องหลักการของวิสาหกิจเพื่อสังคม ความแตกต่างของกิจกรรมเพื่อสังคมและองค์กรการกุศล การแนะนำสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคมและหน้าที่ของสำนักงานฯ วิธีการจดทะเบียนวิสาหกิจเพื่อสังคม รวมถึงแนะนำประโยชน์ของการเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม…

การบริการหอพักให้กับนักศึกษา (เรือนธรรม เรือนปัญญา เรือนสุข)

การบริการหอพักให้กับนักศึกษา (เรือนธรรม เรือนปัญญา เรือนสุข)

การบริการหอพักให้กับนักศึกษา  (เรือนธรรม เรือนปัญญา เรือนสุข)           มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม มีนโยบายการบริหารจัดการหอพักนักศึกษา คือทำอย่างไรหอพักนักศึกษาจึงจะเป็นสถานที่พักอาศัยที่เป็นแหล่งพัฒนาการเรียนรู้ และเป็นแหล่งบ่มเพาะให้เกิดความเอื้ออาทรต่อกัน โดยพยายามจัดหอพักให้เป็นบ้านแห่งการเรียนรู้ที่อบอุ่น (Living Learning and Caring Center) เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนรู้ร่วมกันในสังคม เรียนรู้ระเบียบวินัยการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมส่งเสริมด้านปัญญา และจริยธรรม เป็นการเสริมสร้างบุคลิกที่ดีงาม และป้องกันความเสื่อมเสียด้านพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักศึกษาในปัญหาต่างๆ ดังนั้นมหาวิทยาลัยจึงได้ตระหนักถึงความสำคัญต่อการวางระบบการบริหารจัดการหอพักในทุกๆด้านให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยหอพักนักศึกษาแบ่งเป็นหอพักทะเลแก้วนิเวศ ซึ่งเป็นหอพักนักศึกษาหญิงมีจำนวน 3 หอพัก และหอพักกาซะลอง ซึ่งเป็นหอพักนักศึกษาชาย จำนวน 10 ห้อง           หอพักทะเลแก้วนิเวศ เป็นหอพักสำหรับนักศึกษาหญิง มีจำนวน 3 อาคาร อาคารละ 5 ชั้น แบ่งเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่ง A และ ฝั่ง B มีทางเดินเชื่อมถึงกัน มีจำนวนห้องพักหอละ 160 ห้อง รวมทั้งสิ้น 3 อาคาร…

พิบูลสงครามสร้างโอกาสทางการศึกษา มอบทุนเรียนดี เพชรกาซะลองและทุน 1 ตำบล 1 ทุน

พิบูลสงครามสร้างโอกาสทางการศึกษา มอบทุนเรียนดี เพชรกาซะลองและทุน 1 ตำบล 1 ทุน

ทุนเรียนดีเพชรกาซะลอง และ ทุนการศึกษาพิษณุโลก-สุโขทัย 1 ตำบล 1 ทุน การศึกษาเป็นกระบวนการที่พัฒนาบุคคลให้มีความรู้ ความสามารถ ซึ่งถือเป็นการลงทุนในทรัพยากรมนุษย์อย่างหนึ่ง โดยผลตอบแทนที่ได้รับจากการศึกษามีทั้งผลตอบแทนส่วนบุคคล เช่น การประกอบอาชีพ การมีรายได้ในอนาคต และผลตอบแทนทางสังคม เช่น การมีคุณภาพชีวิตที่ดี การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นต้น ดังนั้นการศึกษาจึงเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาชุมชน ท้องถิ่น และประเทศชาติแต่เนื่องจาก ความสามารถในการได้รับโอกาสทางการศึกษาของแต่ละบุคคลในสังคมมีไม่เท่ากัน ดังนั้น บทบาทการสนับสนุนด้านการศึกษาของภาครัฐ จึงมีความสำคัญ ที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำของโอกาสในการเข้าถึงการศึกษา และช่วยให้บุคคลในสังคมได้รับโอกาสทางการศึกษามากขึ้น จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ขยายวงกว้างไปทั่วโลก ครอบครัวจำนวนไม่น้อยประสบปัญหา อาทิ การถูกเลิกจ้าง ถูกนายจ้างลดวันทำงาน ธุรกิจส่วนตัวถูกปิด รายได้ลดลง และไม่สามารถประกอบอาชีพได้ตามปกติ เป็นต้น ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ได้ให้ความสำคัญกับผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยขอความร่วมมือจากสถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานในสังกัด อว. ร่วมกันออกมาตรการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจให้แก่ นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ตลอดจนพิจารณากำหนดมาตรการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว ด้วยเหตุผลข้างต้น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม…

จิตอาสาฟื้นฟูป่าชุมชนโดยการสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น ณ ตำบลบ้านดง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ปีที่ 3”

จิตอาสาฟื้นฟูป่าชุมชนโดยการสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น ณ ตำบลบ้านดง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ปีที่ 3”

โครงการจิตอาสาฟื้นฟูป่าชุมชนโดยการสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น ณ ตำบลบ้านดง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ปีที่ 3” ภายใต้โครงการโครงการพัฒนากระบวนการคิดแบบวิทย์นอกห้องเรียน การให้บริการวิชาการของสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม คณะผู้นำชุมชน และชาวชุมชนผู้มีจิตอาสา เล็งเห็นถึงความสำคัญในการสืบสานแนวทางพระราชดำริเกี่ยวกับการอนุรักษ์และฟื้นฟู่ป่าต้นน้ำตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เกี่ยวกับการพัฒนาและฟื้นฟูป่าไม้ด้วยการใช้ทรัพยากรที่เอื้ออำนวย เกิดการสัมพันธ์ซึ่งกันและกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด และพระราชดำริเกี่ยวกับจิตอาสาในการพัฒนาชุมชนของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงลงพื้นที่สำรวจป่าชุมชนของหมู่ที่ 1 ตำบลบ้านดง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก พบว่าพื้นที่ป่าชุมชนดังกล่าวมีพื้นที่กว่า 3,000 ไร่ถูกบุกรุกทำลายส่งผลให้ไม่มีป่าต้นไม้ ไม่มีแหล่งต้นน้ำ และไม่มีพื้นที่กักเก็บน้ำ ดังนั้นสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะผู้นำชุมชน และชาวชุมชนผู้มีจิตอาสาจึงร่วมกันจัดทำโครงการจิตอาสาฟื้นฟูป่าชุมชนโดยการสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น ณ ป่าชุมชน หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านดง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ปีที่ 2 เพื่อมุ่งเน้นการสร้างความรู้ ความเข้าใจ พร้อมทั้งสร้างความตระหนักเกี่ยวกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าต้นน้ำตามแนวพระราชดำริ ให้แก่เยาวชนรุ่นใหม่ และ ชาวชุมชน รวมถึงการสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่ป่าชุมชน และเพื่อช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำ ซึ่งเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนอย่างยั่งยืน ดังรูปที่ 1 รูปที่…

มรพส.จับมือร่วมกับกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) จำนวนกว่า 4,000 ราย

มรพส.จับมือร่วมกับกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) จำนวนกว่า 4,000 ราย

กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2538 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2539 ให้เริ่มดำเนินการกองทุนในลักษณะเงินทุนหมุนเวียน ตามนัยมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ. 2491 ต่อมารัฐบาลได้พิจารณาเห็นความสำคัญของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษามากขึ้น จึงได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2541 มีผลให้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษามีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยอยู่ในการกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง มีวัตถุประสงค์ให้กู้ยืมเงินแก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์เพื่อเป็นค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา และค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการครองชีพระหว่างศึกษา ปัจจุบัน พระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2560 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2560 มีผลให้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาอยู่ในการกำกับดูแลของรัฐมนตรี และมีฐานะเป็นนิติบุคคลที่ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายอื่น เนื่องจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2541 และกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคตตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการบริหารกองทุนเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2549 ที่ออกตามพระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ. 2491 มีการบริหารจัดการและการดำเนินการที่มีข้อจำกัด และไม่สอดคล้องกับนโยบายการผลิตกำลังคนและการพัฒนาประเทศสมควรบูรณาการการบริหารจัดการและการดำเนินการของกองทุน กยศ….

สร้างโอกาสทางการศึกษา คืนครูสู่ท้องถิ่น “โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น”
| | |

สร้างโอกาสทางการศึกษา คืนครูสู่ท้องถิ่น “โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น”

ในปีการศึกษา 2564 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ร่วมกับ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ได้จัดโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่นเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนที่ขาดโอกาสทางด้านการเงินได้มีโอกาสได้พัฒนาตนเองเป็นครูในเขตพื้นที่ของตนเอง โดยมีการเข้าคัดเลือกนักเรียนที่ทางบ้านขาดทุนทรัพย์ทางการเรียนเพื่อนำมาพัฒนาเป็นนักศึกษาครู โดยทางโครงการได้มีแนวทางการคัดเลือกนักเรียน ด้วยการลงพื้นที่เพื่อสำรวจค้นหานักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อพัฒนานักศึกษาให้สามารถเป็นครูที่ดีและสนับสนุนทุนการศึกษาเพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสเป็นครูและกิจกรรมที่สนับสนุนให้นักศึกษาสามารถเป็นครูที่ดีได้ ในแต่ละปีจะมีการวางแผนในการดำเนินการโดยการรับนักเรียนเข้าโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น โดยมีช่วงเวลาต่าง โดยเริ่มวางแผนในช่วง พฤษภาคม 2564 – กุมภาพันธ์ 2565 เพื่อดำเนินการตั้งแต่ขั้นตอนการเปิดโครงการครูคืนถิ่นนักศึกษารหัส 2565 จนถึงขั้นตอนการประกาศรับทุนการศึกษา ทางคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้ปฏิบัติตาม TIMELINE ของผู้ให้ทุกและดำเนินการอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ทุนการศึกษาไปถึงนักเรียนที่ขาดโอกาสที่แท้จริง ในช่วงปีการศึกษา สาขาวิชาที่ได้รับทุน ครูรัก(ษ์)ถิ่น ประกอบไปด้วย สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย และ สาขาการประถมศึกษา การสนับสนุนทุนโครงการ ครูรัก(ษ์)ถื่น คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ร่วมกับ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ได้จัดโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนที่ขาดโอกาสทางด้านการเงินได้มีโอกาสได้พัฒนาตนเองเป็นครูในเขตพื้นที่ของตนเอง โดยมีการเข้าคัดเลือกนักเรียนที่ทางบ้านขาดทุนทรัพย์ทางการเรียนเพื่อนำมาพัฒนาเป็นนักศึกษาครู โดยทางโครงการได้มีแนวทางการคัดเลือกนักเรียน ด้วยการลงพื้นที่เพื่อสำรวจค้นหานักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ โดยรายละเอียดของทุนไม่เกินปีละ 150,000 บาท จะประกอบด้วย เกณฑ์การรับเข้าศึกษาต่อใน โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น นักเรียนต้องมีสัญชาติไทย สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่…

การพัฒนามหาวิทยาลัยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่
|

การพัฒนามหาวิทยาลัยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม  ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของภัยอันตรายที่อาจเกิดจากการสูบบุหรี่เพื่อปกป้องสิทธิของผู้ไม่สูบบุหรี่ ซึ่งควันบุหรี่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคหลายชนิด เช่น บุคคลที่ได้รับควันบุหรี่จากบุคคลอื่นที่สูบบุหรี่นั้นอาจจะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคมะเร็ง  โรคหัวใจ  และโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจได้ จึงได้มีการดำเนินงานการพัฒนามหาวิทยาลัยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ และปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535 เพื่อสร้างให้นักศึกษา อาจารย์ บุคลากร เจ้าหน้าที่ และผู้ที่เข้ามาเยี่ยมมหาวิทยาลัย ให้เกิดความตระหนัก รู้เท่าทันถึงโทษและพิษภัยของบุหรี่ ทั้งต่อตัวผู้สูบบุหรี่เอง  และต่อผู้ที่ได้รับควันบุหรี่จากบุคคลอื่นที่สูบบุหรี่  ทั้งนี้เพื่อสร้างให้มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามเป็นมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ต่อไปอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม  ให้เป็นมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ โดย งานกิจกรรมและพัฒนานักศึกษา  กองพัฒนานักศึกษา  มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม  พร้อมที่จะดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายและสร้างความยั่งยืนในการดำเนินงาน โดยการจัดทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อการสร้างกระแส สร้างค่านิยม ให้กับนักศึกษาและบุคลากร  กิจกรรมที่ 1 สร้างสื่อออนไลน์ DLTV  เรื่องบุหรี่ไฟฟ้าภัยเงียบของวัยรุ่น

อบรมเชิงปฏิบัติการธุรกิจเพื่อสังคม(สวจ.)
|

อบรมเชิงปฏิบัติการธุรกิจเพื่อสังคม(สวจ.)

วันที่ 29 สิงหาคม 2565 สถาบันวิจัยและพัฒนาจัดกิจกรรม อบรมเชิงปฏิบัติการธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterpnise : SE) ณ หอประชุมศุภวรรณ บ้านหมอรีสอร์ทสุโขทัย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ได้รับเกียรติจาก นายธวัช ใสสม พัฒนาการจังหวัดสุโขทัย เป็นประธานกล่าวเปิดการอบรม และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัญณ์ณภัทร์ เจริญพานิช เป็นผู้กล่าวรายงานโดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย ประธานชมรมและสมาชิกชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนตำบลต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดสุโขทัย ผู้แทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่เกี่ยวของจำนวน 9 ตำบล ในการนี้ขอขอบคุณทีมนักวิชาการวิสาหกิจเพื่อสังคม สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม (สวส.) ประกอบด้วย นางปิยะณัฐ หอมวิเชียร (นักวิชาการวิสาหกิจเพื่อสังคม ชำนาญการ) นายธนาวุฒิ ศุภางคะรัตน์ (นักวิชาการวิสาหกิจเพื่อสังคมทํนาญการ) นางสาวกริศา ลอยวิสุทธิ์ (นักวิชาการวิสาหกิจเพื่อสังคม 4) และนายประเมศฐ์ พิชญ์พันธ์เดชา (นักวิชาการวิสาหกิจเพื่อสังคม 3) เป็นวิทยากรในการจัดอบรมเชิงปฎิบัติการครั้งนี้