นโยบายในการขับเคลื่อนการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green Innovation University)
|

นโยบายในการขับเคลื่อนการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green Innovation University)

มหาวิทยาลัย มีนโยบายในการขับเคลื่อนการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green Innovation University) สนับสนุนการดำเนินการตามเป้าหมายเข้าสู่การจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวโลก ยูไอ กรีนเมตริก (UI Green Metric) เพื่อยกระดับคุณภาพของมหาวิทยาลัย ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สร้างจิตสำนึก รักษาสมดุลทางกายภาพอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยจึงกำหนดนโยบายเพื่อให้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการทรัพยากร และนำไปสู่แนวทางการปฏิบัติของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ภายใต้กรอบนโยบายตามหลักแนวคิดสากล 7 ด้าน ดังนี้           ด้านที่ 1 สถานที่และโครงสร้างพื้นฐาน (Setting and Infrastructure : SI) ด้านที่ 2 พลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Energy and Climate Change : EC) ด้านที่ 3 ของเสีย (Waste : WC) ด้านที่ 4 น้ำ (Water : WR) ด้านที่ 5 การขนส่ง (Transportation…

นโยบายในการขับเคลื่อนการเป็นมหาวิทยาลัยนวัตกรรมสีเขียว
|

นโยบายในการขับเคลื่อนการเป็นมหาวิทยาลัยนวัตกรรมสีเขียว

มหาวิทยาลัย มีกระบวนการในการจัดการคาร์บอนและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยมหาวิทยาลัยมีนโยบายในการขับเคลื่อนการเป็นมหาวิทยาลัยนวัตกรรมสีเขียว (Green Innovation University) เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพของมหาวิทยาลัย ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สร้างจิตสำนึก รักษาสมดุลทางกายภาพอย่างยั่งยืน โดยมีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ หรือการลดการใช้พลังงาน เช่น กิจกรรมคาร์บอนเครดิต ร่วมกับกระทรวงพลังงาน ได้เข้ามาให้ความรู้ตลอดจนร่วมกันจัดทำฐานข้อมูลต้นไม้รอบมหาวิทยาลัยว่ามีความสามารถในการดูดซับก๊าซได้ปริมาณเท่าไร กิจกรรมการทำสวนผักแบบ คีย์โฮล (Keyhole) เป็นการทำแปลงผักที่มีการผสมผสานที่ปลูกผักกับที่หมักปุ๋ยไว้ด้วยกัน ส่วนเหตุผลที่เรียกว่า คีย์โฮล เพราะหน้าตาเหมือนรูกุญแจที่มีทางเดินไปยังรูตรงกลาง สำหรับใส่เศษอาหารจากครัวเรือน เพื่อทำเป็นปุ๋ยหมักให้ผักในแปลง ผักจะดูดปุ๋ยหมักจากท่อในดินไปใช้ใน การเจริญเติบโต ประโยชน์ของการทำคีย์โฮล คือช่วยลดขยะอินทรีย์ในครัวเรือน และยังเป็นรูปแบบสวนผักที่ ช่วยประหยัดน้ำ โดยรดน้ำแค่ในส่วนของท่อปุ๋ยหมักแล้วน้ำจะกระจายไปยังแปลงดินที่มีชั้นหินด้านล่างช่วยเก็บความชื้นไว้ ระบบการขนส่งที่มีบทบาทสำคัญในการปล่อยก๊าซคาร์บอนและระดับมลพิษในมหาวิทยาลัยนโยบายการขนส่งเพื่อจำกัดจำนวนยานยนต์ในการใช้งานภายในมหาวิทยาลัย จำนวนของรถโดยสารและจักรยานจะช่วยส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพ นโยบายทางเดินเท้าจะส่งเสริมให้นักศึกษาและเจ้าหน้าที่เดินภายในพื้นที่มหาวิทยาลัยและหลีกเลี่ยงการใช้ยานพาหนะส่วนตัว การใช้ระบบขนส่งสาธารณะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ภายในและรอบพื้นที่มหาวิทยาลัย การส่งเสริมการใช้จักรยาน โดยจักยาน OFO จะจอดตามจุดเพื่อให้ นักศึกษา บุคลากร และอาจารย์ได้ใช้งาน มีการให้บริการรถไฟฟ้าสัญจรภายในมหาวิทยา วิทยาเขต     ทะเลแก้ว จำนวน 6 คัน ซึ่งผู้บริหารได้มีแนวคิดพื้นฐานของการใช้เทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้าคือ การใช้พลังงานสะอาด มาขับเคลื่อนรถยนต์ไฟฟ้า โดยพลังงานสะอาด หรือพลังงานสีเขียว…

ห้องเรียนอัจฉริยะ
|

ห้องเรียนอัจฉริยะ

มหาวิทยาลัย มีแผนที่จะปรับปรุงอาคารที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยมีแนวทางในการทำห้องเรียนห้องเรียนอัจฉริยะ (Smart Classroom) ซึ่งในขณะนี้มีห้องเรียนทดลองระบบนี้อยู่ จำนวน 5 ห้องเรียนที่อาคารทีปวิชญ์ เพื่อจำลอง และทดสอบการใช้งานจริงก่อนการสร้างห้องเรียนอัจฉริยะ (Smart Classroom) ในมหาวิทยาลัยต่อไป

ระบบเปิด-ปิด น้ำและเปิด-ปิดไฟอัตโนมัติ (Automatic)
|

ระบบเปิด-ปิด น้ำและเปิด-ปิดไฟอัตโนมัติ (Automatic)

มหาวิทยาลัยมีการปรับปรุงอาคารภายในมหาวิทยาลัย ให้มีมาตรฐานและประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน โดยเริ่มต้นจากการปรับปรุงอาคารภายในมหาวิทยาลัย เช่น อาคารสถาบันเทคโนโลยีดิจิทัล และอาคารห้องสมุด   E-Library PSRU ในส่วนของน้ำในห้องน้ำ และระบบแสงสว่าง ที่เป็นระบบ Manual ผู้ใช้ต้องทำการเปิด – ปิด บางครั้งมีการเปิดใช้งานทิ้งไว้ อีกทั้งจำนวนผู้ใช้งานทั้ง 2 อาคาร มีผู้ใช้งานจำนวนมากและตลอดทั้งวัน โดยเปิดทำการเวลา 8.30-19.30 น. ทำให้สิ้นเปลืองพลังงานเป็นอย่างมาก มหาวิทยาลัยจึงนำระบบการเปิด –ปิด น้ำในห้องน้ำ (Automatic switch on-off system of water) และระบบเปิด-ปิดไฟอัตโนมัติ(Automatic Light Control System ) เข้าไปติดตั้งแทนระบบเดิมทำให้หน่วยงานสามารถลดพลังงานและประหยัดมากยิ่งขึ้น   

Sci PSRU สร้างเสริมสุขภาวะ การป้องกันโรคและเพศศึกษา
|

Sci PSRU สร้างเสริมสุขภาวะ การป้องกันโรคและเพศศึกษา

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้จัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาวะ การป้องกันโรคและเพศศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาวะ การป้องกันโรค และเพศศึกษา ให้แก่นักศึกษา ซึ่งเป็นการจัดกิจกรรมเสริมความเป็นครูเพื่อ ให้นักศึกษาในหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา เพื่อเป็นการพัฒนานักศึกษาให้เป็นบัณฑิตครูที่มีคุณภาพ นอกจากการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนแล้ว และยังเป็นอีกวิธีหนึ่งในการเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นครูและเสริมความเป็นพลเมืองที่เข้มแข็งอีกด้วย   โดยมีกิจกรรมพัฒนาความรอบรู้ทางด้านสุขภาวะ การป้องกันโรค และเพศศึกษา ประกอบด้วยกลุ่มที่ 1 ฐาน “ฉลาดคิด” วิทยากรโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ร.ต.อ.หญิงกิ่งแก้ว สำรวยรื่น กลุ่มที่ 2 ฐาน “ฉลาดรัก” วิทยากรโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิภาดา ศรีเจริญ และกลุ่มที่ 3 ฐาน “ฉลาดเลือก”วิทยากร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุวดี ตรงต่อกิจ ผลลัพธ์ที่ได้ประกอบด้วย : ความพึงพอใจโดยรวม เท่ากับ 4.17 (S.D.= 0.63) คิดเป็นร้อยละ 83.4 อยู่ในระดับมาก หากแยกรายด้าน พบว่า 1. ความพึงพอใจด้านวิทยากร…

ชมรมอาสาพัฒนาสุข “สร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค”
|

ชมรมอาสาพัฒนาสุข “สร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค”

 สรุปสาระสำคัญการดำเนินงาน :               หลักสูตรสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยชมรมอาสาพัฒนาสุข ภายใต้หลักการสาธารณสุขมูลฐาน เพื่อบรรลุเป้าหมายสุขภาพดีถ้วนหน้า ตามประกาศ อัลมาอาตาในปี ค.ศ. 1978 และปฏิญญาออตตาวา ว่าด้วยการส่งเสริมสุขภาพ (Ottawa Charter for Health Promotion) ในปีค.ศ.1986 เป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลายว่า สุขภาพที่ดีมิใช่เป็นผลลัพธ์เฉพาะ การปฏิบัติการทางแพทย์ (Medical intervention) เพียงอย่างเดียว แต่เป็นผลพวงของความสัมพันธ์ที่ ซับซ้อนระหว่างปัจจัยทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม พันธุกรรม และพฤติกรรมสุขภาพต่างๆ ของบุคคล แนวคิดดังกล่าวผลักดันให้มีการปรับเปลี่ยนแนวคิดการส่งเสริมสุขภาพจากการมุ่งแก้เฉพาะ ปัญหาปัจจัยต่างๆ ไปสู่การปรับปรุงพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพและสภาพแวดล้อมเพื่อเอื้อต่อ สุขภาพ (Environment and setting) จากหลักการและเหตุผลดังกล่าวในปัจจุบัน จะพบว่านักศึกษาเจ็บป่วยด้วยโรค 5 อันดับแรก ได้แก่ โรคระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินอาหาร ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ระบบผิวหนัง และประสบอุบัติเหตุจากการจราจร ซึ่งปัญหาดังกล่าวเกิดจากหลาย สาเหตุ เช่น นักศึกษานอนดึก พักผ่อนน้อย ขาดการออกกำลังกาย…

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (MOU) บริษัท ภัทธารา กรุ๊ป (2018) จำกัด พัฒนากำลังคน เปิดโอกาสการมีงานทำ
|

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (MOU) บริษัท ภัทธารา กรุ๊ป (2018) จำกัด พัฒนากำลังคน เปิดโอกาสการมีงานทำ

ทั้งสองฝ่ายได้ทำข้อตกลงความร่วมมือในการจัดการศึกษาของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เพื่อผลิตและพัฒนากําลังคน พัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ให้สอดคล้องกับความต้องการตลาดแรงงาน า จึงได้ตกลงให้มีความร่วมมือ โดยมีรายละเอียดบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ดังนี้ ข้อ 1 วัตถุประสงค์ 1.1 เพื่อร่วมกันผลิตและพัฒนากําลังคน ให้ได้ทั้งปริมาณและคุณภาพ มีทักษะวิชาชีพและคุณลักษณะพร้อมที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงาน ตลาดอาชีพ1.2 เพื่อพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนให้เป็นหลักสูตรฐานสมรรถนะสอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการและตลาดแรงงาน1.3 เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรทางการศึกษาร่วมกัน ส่งเสริมอาชีพให้กับนักศึกษาของมหาวิทยาลัย บุคลากรในสถานประกอบการ ตลอดจนประชาชนทั่วไป1.4 เพื่อให้เกิดการจัดการศึกษาร่วมกันในลักษณะทวิภาคี การรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และรับประกันการมีงานทำของผู้สำเร็จการศึกษา การพัฒนาบุคลากรของหน่วยงานภายนอก และอื่นๆ ตามความเห็นชอบของทั้งสองฝ่าย ข้อ 2 ขอบเขตการดําเนินงาน 2.1 มหาวิทยาลัย มีหน้าที่ในการจัดการศึกษาในระดับปริญญาตรี และฝึกอบรมวิชาชีพเพื่อผลิตและพัฒนากําลังคน 2.2 หน่วยงานภายนอกมีหน้าที่รับนักศึกษาฝึกอาชีพ ฝึกงาน และรับประกันการมีงานทำของผู้สำเร็จการศึกษา เพื่อพัฒนาศักยภาพทางด้านฝีมือและทักษะอาชีพให้เป็นที่ยอมรับของตลาดแรงงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงการพัฒนาหลักสูตรและบุคลากร ข้อ 3 การรับนักศึกษาเข้าฝึกประสบการณ์วิชาชีพ  3.2.1 มหาวิทยาลัยจะจัดส่งนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพในหน่วยงานภายนอก                                                            3.2.2 นักศึกษาที่เข้ารับการปฏิบัติฝึกประสบการณ์วิชาชีพในหน่วยงานภายนอกตามบันทึกข้อตกลงฉบับนี้ต้องผ่านความเห็นชอบจากมหาวิทยาลัยทั้งนี้เป็นไปตามความสมัครใจของนักศึกษา รวมทั้งเป็นไปตามหลักเกณฑ์การปฏิบัติฝึกประสบการณ์วิชาชีพของหลักสูตร 3.2.3 นักศึกษาที่เข้ารับการปฏิบัติฝึกประสบการณ์วิชาชีพตามบันทึกข้อตกลงฉบับนี้ต้องปฏิบัติตามข้อตกลง กฎระเบียบ และข้อบังคับของหน่วยงานภายนอกอย่างเคร่งครัด หากนักศึกษาฝ่าฝืนหรือมีความประพฤติไม่เหมาะสมในระหว่างการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ หน่วยงานภายนอกต้องรีบแจ้งให้ผู้ประสานงานของมหาวิทยาลัยรับทราบ…

เสริมสร้างคุณภาพชีวิตและสุขภาพให้กับผู้สูงอายุ ต.จอมทอง จ.พิษณุโลก
|

เสริมสร้างคุณภาพชีวิตและสุขภาพให้กับผู้สูงอายุ ต.จอมทอง จ.พิษณุโลก

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม โดยคณะพยาบาลศาสตร์ได้ดำเนินโครงการเพื่อสร้างเสริมสุขภาพให้กับผู้สูงอายุในตำบลดังรายละเอียดของโครงการวิจัย การพัฒนาชุดความรู้ในการสร้างเสริมสุขภาพ สำหรับผู้สูงอายุ ตำบลจอมทอง จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งมีหลักการและเหตุผล และที่มาของโครงการวิจัยดังนี้ ปัจจุบันประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเนื่องจากสังคมปัจจุบันมีวิวัฒนาการในด้านการแพทย์ และสาธารณสุขทำให้ประชากรมีอายุยืนยาวขึ้น วัยสูงอายุเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทางสรีระของร่างกาย การทำหน้าที่ของร่างกายลดลงทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรค โดยเฉพาะโรคเรื้อรังซึ่งเป็นปัญหาทางสุขภาพที่สำคัญของผู้สูงอายุ จากสถานการณ์ด้านโครงสร้างประชากรในปัจจุบันซึ่งมีประชากรรวม 64.5 ล้านคน พบว่า มีจำนวนผู้สูงอายุ 60 ปี ขึ้นไป จำนวน 9.4 ล้านคน หรือคิดเป็น 14.57% ของประชากรรวม มีจำนวนผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป จำนวน 6.3 ล้านคน หรือคิดเป็น 9.77% ของประชากรรวม และพบว่า อัตราการพึ่งพิงของประชากรสูงอายุต่อคนวัยทำงานของประเทศไทย ซึ่งในปีพ.ศ. 2563 วัยทำงาน 100 คน ต้องดูแลผู้สูงอายุ 30.3 ผลจากการเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกาย จิตใจและสังคมดังกล่าวทำให้ผู้สูงอายุขาดโอกาสในการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนหรือรับข้อมูลข่าวสาร จึงทำให้แนวคิดเกี่ยวกับความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุอยู่ในความสนใจเพิ่มขึ้น แต่จากการสำรวจของศูนย์วิจัย  มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต ในปี2558 พบว่า ผู้สูงอายุจำนวนประมาณ50 เปอร์เซ็นต์หรือครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้สูงอายุในประเทศไทย…

สวัสดิการประกันอุบัติเหตุแก่นักศึกษาและบุคลากร
|

สวัสดิการประกันอุบัติเหตุแก่นักศึกษาและบุคลากร

กองพัฒนานักศึกษา เป็นผู้ประสานงานประกันอุบัติเหตุกลุ่มสำหรับนักศึกษา และบุคลากร ของมหาวิทยาลัย ราชภัฏพิบูลสงคราม โดยคุ้มครองตามระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนดเป็นรายปีการศึกษา ตั้งแต่กรณีบาดเจ็บเล็กน้อย การสูญเสียอวัยวะ กรณีสูญเสียชีวิต รวมถึงการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุพิเศษที่เกิดจากการ ร่วมกิจกรรมที่ทางมหาวิทยาลัยจัดขึ้นซึ่งจะต้องอยู่ในความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยตามกฎหมายอีกด้วย ความคุ้มครอง 1.  สูญเสียชีวิตจากอุบัติเหตุสาธารณะ(รถสาธารณะ อาคารสาธารณะและอื่นๆ) 200,000 บาท 2.  เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทั่วไป 100,000 บาท 3.  ค่าปลงศพ กรณีเสียชีวิตจากเจ็บป่วย รวมการเสียชีวิตจากโควิด 2019     10,000 บาท 4.  สูญเสียสายตา  มือ เท้า  (สองส่วน)       100,000 บาท 5.  สูญเสียสายตา  มือ เท้า  (หนึ่งส่วน)        60,000 บาท 6.  ค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุ (ต่อการเกิดอุบัติเหตุ 1 ครั้ง)  10,000 บาท 7.  เงินชดเชยการใช้สิทธิรักษาจากบัตรทอง (ผู้ป่วยนอก) 500 บาท 8.  เงินชดเชยการใช้สิทธิรักษาจากบัตรทอง…

พัฒนาชุมชนต้นแบบบูรณาการนำร่อง บ้านลาดบัวขาว ตำบลสมอแข อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ระยะที่ 2
| | |

พัฒนาชุมชนต้นแบบบูรณาการนำร่อง บ้านลาดบัวขาว ตำบลสมอแข อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ระยะที่ 2

            คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมได้ลงพื้นที่ชุมชนหมู่ที่2บ้านลาดบัวขาวตำบลสมอแขอำเภอเมืองจังหวัดพิษณุโลกเพื่อดำเนินกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาผู้นำชุมชนซึ่งนำไปสู่การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องอย่างมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชนเบื้องต้นพบว่าประชาชนส่วนใหญ่เป็นคนดีแต่ยังขาดกระบวนการพัฒนาชุมชนที่เป็นรูปธรรมที่จะก่อให้เกิดผลการทบในระดับหมู่บ้านรวมทั้งผู้นำหมู่บ้านยังขาดความกล้าแสดงออกในเชิงต่อต้านทุจริตและภาวะผู้นำจากการดำเนินการพัฒนาผู้นำชุมชนในช่วงปี2561-2562เพื่อจะได้เป็นกำลังสำคัญในการดำเนินการสร้างแนวคิดที่ดีต่อการพัฒนาชุมชนต้นแบบสุจริตตามแผนพัฒนาหมู่บ้านระยะเวลา3ปีดังนั้นคณะพิจารณาเลือกเป็นชุมชนนำร่องในการพัฒนาตามแผนไปสู่ชุมชนต้นแบบในปีงบประมาณ2563และยังคงดำเนินการที่สอดคล้องกับความต้องการและปัญหาของพื้นที่เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างเป็นระบบโดยมีข้อสรุปสำคัญคือจะปรับรูปแบบการสนับสนุนเพื่อให้ชุมชนมีระยะเวลาการดำเนินการต่อเนื่องครบวงรอบการพัฒนามีเป้าหมายในการสร้างให้เกิดการบริหารจัดการชุมชนเพื่อนำสู่การเป็นชุมชนที่น่าอยู่ตามแผนชุมชนพึ่งตนเองได้ในที่สุด หลักการและเหตุผล :             การพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งจำเป็นต้องเริ่มต้นที่การพัฒนาคนให้รู้จักตัวเองรู้ปัญหาของตนเองและชุมชนรู้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนและเชื่อว่าตนจะพึ่งตัวเองได้จนนำไปสู่ชุมชนเข้มแข็งโดยเริ่มจากการค้นพบศักยภาพของตนเองค้นพบภูมิปัญญาของตนเองค้นพบแนวทางที่จะพัฒนาตนเองจากทุนเดิมที่มีอยู่ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการพัฒนาการเรียนรู้การร่วมคิดร่วมทำและมีความรับผิดชอบต่อสังคมตลอดจนมีการเชื่อมโยงและประสานงานกับหน่วยงานภายนอกเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่สอดคล้องและเหมาะสมกับพื้นที่จนเกิดชุมชนพึ่งตนเองได้พร้อมทั้งนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์เป็นแนวทางการดำเนินงานเน้นการพึ่งตนเองโดยสร้างสังคมแห่งการเอื้ออาทรพึ่งพาอาศัยกันนำไปสู่วิธีการคิดและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของชุมชนต่อไปดังนั้นการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งน่าอยู่จะส่งผลให้ชุมชนมีสุขภาวะที่ดีและหากมีการดำเนินงานอย่างกว้างขวางแล้วนั้นย่อมส่งผลให้เป็นประเทศน่าอยู่ต่อไปจุดกำเนิดโครงการชุมชนจึงมีแนวคิดหลักคือการพัฒนากลไกการจัดการในชุมชน/หมู่บ้านที่เรียกว่า“สภาผู้นำชุมชน”มีองค์ประกอบหลักคือคณะกรรมการหมู่บ้านตามโครงสร้างที่มีอยู่เดิมและตัวแทนจากกลุ่มต่างๆภายในชุมชนใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการทำประชาคมหมู่บ้านเพื่อค้นหาปัญหาของตนเองมีการเก็บข้อมูลในพื้นที่เพื่อสามารถระบุถึงขนาดและความรุนแรงของปัญหานั้นๆอย่างชัดเจนและร่วมกันคิดแนวทางการแก้ไขปัญหาด้วยการจัดทำเป็นแผนชุมชนพึ่งตนเองหนึ่งในต้นแบบของการแก้ปัญหาโดยการบริหารจัดการชุมชนด้วยกลไกสภาผู้นำชุมชนที่ประกอบด้วยกลุ่มต่างๆในหมู่บ้านที่แบ่งหน้าที่การดำเนินงานกันอย่างชัดเจนมีการประชุมกันอย่างสม่ำเสมอมีการเก็บข้อมูลต่อเนื่องอย่างเป็นระบบมีการร่วมคิดร่วมวิเคราะห์จนเกิดเป็นแผนชุมชนที่ปฏิบัติได้จริงมีการสื่อสารข้อมูลแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันนอกจากนี้สภาผู้นำชุมชนยังเป็นแบบอย่างให้แก่สมาชิกชุมชนในแต่ละเรื่องและสามารถรวมพลังทุกกลุ่มในชุมชนมุ่งมั่นทำงานให้บรรลุเป้าหมายและผลลัพธ์ตามแผนชุมชนส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการเรียนรู้ของคนในชุมชนสร้างการเปลี่ยนแปลงสุขภาวะที่ดีของชุมชนให้เป็นไปอย่างยั่งยืนจนกลายเป็นวิถีและเกิดวัฒนธรรมที่สร้างสุขภาวะใหม่ๆขึ้นในชุมชน ชื่อกิจกรรมที่ 1 กิจกรรมการประชุมบูรณาการแผนพัฒนาชุมชนนำร่องบ้านลาดบัวขาวโดยภาคีเครือข่ายการพัฒนาชุมชนต้นแบบ เป็นการวางแผน จัดประชุม กำกับ และติดตามความก้าวหน้าของโครงการย่อยต่างๆ ที่อยู่ภายใต้แผน นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ประสานงานกับผู้นำชุมชน ไม่ว่าจะเป็น นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสมอแข ผู้ใหญ่บ้าน และกลุ่มผู้นำชุมชนบ้านลาดบัวขาว ดำเนินการรวบรวมข้อมูลทั้งหมดเพื่อจัดประชุมชี้แจงความเป็นไปเป็นมาของโครงการ และปิดโครงการ ชื่อกิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการพัฒนาผู้นำต้นแบบหมู่บ้านสุจริตบ้านลาดบัวขาว และเครือข่ายชุมชนใกล้เคียง โดยดำเนินการสนับสนุนให้เกิดกลไกการบริหารจัดการชุมชนที่เรียกว่าสภาผู้นำชุมชน ที่สามารถขับเคลื่อนงาน เสริมสร้างสุขภาวะในชุมชนได้อย่างเข้มแข็ง และจัดกิจกรรมสนับสนุนเสริมศักยภาพให้สภาผู้นำชุมชนรวมถึงสมาชิกชุมชนร่วมกันพัฒนาและขับเคลื่อนแผน ชุมชนพึ่งตนเอง ที่ประกอบด้วยประเด็นสุขภาวะที่ต้องการดำเนินงานอันจะนำไปสู่ความเป็น “ชุมชน น่าอยู่” ชื่อกิจกรรมที่ 3 กิจกรรมฟังธรรมและปฏิบัติธรรมชำระจิต ดำเนินการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการเจริญสติตามแนวสติปัฏฐานในพุทธศาสนา โดยพระอาจารย์สายวิปัสสนา ชื่อกิจกรรมที่ 4 กิจกรรมการบำบัดคุณภาพน้ำดิบสำหรับการผลิตน้ำประปาด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมพัฒนาระบบสูบน้ำเพื่อการเกษตรสำหรับชุมชน โดยดำเนินการจัดทำระบบสูบน้ำเพื่อการเกษตรสำหรับชุมชนบ้านลาดบัวขาว กิจกรรมที่ 6 กิจกรรมส่งเสริมออกกำลังกายด้วยกีฬาฟุตซอลสำหรับเยาวชนชุมชนบ้านลาดบัวขาว โดยจัดฝึกอบรมกีฬาฟุตซอลสำหรับเยาวชนชุมชนบ้านลาดบัวขาว -จัดการแข่งขันกีฬาฟุตซอลสำหรับเยาวชนชุมชนบ้านลาดบัวขาว กิจกรรมที่ 7 กิจกรรมเวทีนิทรรศการแสดงผลงานการพัฒนาชุมชนต้นแบบบูรณาการนำร่อง หมู่2 บ้านลาดบัวขาว…