การใช้พลังงานคาร์บอนต่ำ
|

การใช้พลังงานคาร์บอนต่ำ

มหาวิทยาลัย มีพื้นที่ทั้งหมด แบ่งเป็น  3 ส่วน คือ ส่วนวังจันทน์ ส่วนทะเลแก้ว และส่วนสนามบิน ประกอบด้วย 8 คณะ 11 หน่วยงาน  ซึ่งมหาวิทยาลัยเป็นสถาบันที่มีอาคารควบคุมตาม พระราชกฤษฏีกา กำหนดอาคารควบคุม พ.ศ. 2538 ซึ่งต้องปฏิบัติตามพระราชบัณญัติส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.2535 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2550) โดยการนำระบบการจัดการพลังงานมาใช้ในหน่วยงาน เพื่อลดค่าใช้ใจในด้านพลังานที่ช่วยส่งผลให้การลดภาระการนำเข้าพลังงานของประเทศ ซึ่งเป็นนโยบายหนึ่งของรัฐบาล นอกจากนั้นยังช่วยลดผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนที่ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก โดยในแต่ละปีมหาวิทยาลัยจะรายงานข้อมูลด้านพลังงานให้กับกระทรวงพลังงานเพื่อใช้เป็นข้อมูลระดับประเทศต่อไป

Commitment to carbon neutral university ความมุ่งมั่นสู่มหาวิทยาลัยคาร์บอนเป็นกลาง
|

Commitment to carbon neutral university ความมุ่งมั่นสู่มหาวิทยาลัยคาร์บอนเป็นกลาง

สรุปสาระสำคัญในการดำเนินงาน           มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม โดยสำนักวิทยบริการและเทคโลยีสารสนเทศ  ได้กำหนดนโยบายการลดพลังานอย่ากชัดเจนในการใช้ทรัพยากร  พลังงาน ของเสียและปริมาณก๊าซเรือนกระจก  โดยสำนักวิทยาบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศได้ดำเนินการจัดทำประกาศ  เรื่อง  การจัดการพลังงานและการใช้ทรพัยากร           เพื่อกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดการการใช้ไฟฟ้า  น้ำมันเชื้อเพลง  น้ำ กระดาษ  ของเสีย และก๊าซเรือนกระจก  (เอกสารแนบ คำสั่ง)           การดำเนินงานของสำนักวิทยาบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ  จะตั้งเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 5 % โดยดำเนินการเก็บข้อมูลเชื้อเพลิง ภายในสำนักวิทยาบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ อย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปีและเมื่อได้ข้อมูลทางสำนักวิทยาบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ จะนำข้อมูลมาวิเคราะห์และเปรียบเทียบการลดพลังงานในแต่ละปี ที่มา           สรุปรายละเอียดข้อมูลการวิเคราะห์ การลดก๊าซเรือนกระจกในแต่ละปี จากสำนักวิทยาบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ (เอกสารแนบ ตารางคำนวณ) รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง           โครงการส่งเสริมสำนักงานสีเขียว (Green Office) ปี 2564 โดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม รายละเอียดโครงการ

โครงการอนุรักษ์สวนสมุนไพรที่คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
|

โครงการอนุรักษ์สวนสมุนไพรที่คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามมีโครงการอนุรักษ์สวนสมุนไพรที่คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรับผิดชอบดูแล ดังนี้ 1. ชื่อโครงการ โครงการอนุรักษ์สวนสมุนไพร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม 2. สาระสำคัญ           โครงการอนุรักษ์พืชสมุนไพรได้ดำเนินการจัดตั้งสวนสมุนไพรเพื่อรวบรวมพรรณพืชขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2554 และดำเนินการต่อเนื่องจนถึงปี พ.ศ. 2564 เพื่อสืบสานโครงการอันเนื่องมาจากแนวพระราชดำริฯ  ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  โดยมีวัตถุประสงค์โครงการ คือ 1. เพื่อเรียนรู้ เผยแพร่ และสืบสานงานโครงการแนวพระราชดำริฯ 2. เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้คุณลักษณะพืชสมุนไพร ประโยชน์และสรรพคุณจากพืชสมุนไพร 3. เพื่อให้ความรู้แก่ชุมชนท้องถิ่นในเรื่องของพืชสมุนไพร และร่วมอนุรักษ์สมุนไพรอย่างยั่งยืน 4. เพื่อปลูกจิตสำนึกเยาวชน และคนในชุมชนให้รู้จักคุณค่าและหวงแหนพืชสมุนไพรของชุมชน           กิจกรรมของโครงการจึงมุ่งเน้นในการรวบรวมพันธุ์ไม้มีชีวิตของพืชสมุนไพร เพื่อเป็นพืชอ้างอิงที่ถูกต้องตามหลักทางพฤกษศาสตร์ เพื่ออนุรักษ์พันธุ์สมุนไพร ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ แก่นักศึกษา นักเรียน และผู้สนใจ อีกทั้งเพื่อบูรณาการเข้ากับการเรียนการสอนเพื่อปลูกฝั่งจิตสำนึกรักพืชสมุนไพรท้องถิ่นแก่นักศึกษาและคนในท้องถิ่น เป็นงานทางด้านการบำรุงรักษาสวนสมุนไพรและการเข้าสู่การเรียนการสอน และวิจัย โดยมีการจัดเข้าการเรียนการสอน           ในปีงบประมาณ 2564 โครงการได้มีแนวคิดในการพัฒนาสวนสมุนไพรเพิ่มเติม จากพื้นที่เดิมที่จำกัดอยู่เพียงคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งมีพืชสมุนไพรบางชนิดเท่านั้นที่สามารถเติบโตได้ในพื้นที่ดังกล่าว ทั้งที่มีพืชทุกชนิดที่พบในพื้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม…

นโยบายในการสนับสนุนในการอนุรักการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างยังยืน
|

นโยบายในการสนับสนุนในการอนุรักการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างยังยืน

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม  มีนโยบายในการสนับสนุนในการอนุรักการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างยังยืน โดยมอบหมายหน่วยงานหลักในการดำเนินงานโครงการฯ คือ กองกลางสำนักงานอธิการบดีเป็นผู้รับผิดชอบ ในการดำเนินงานจัดโครงการ ในการอนุรักการใช้ดินให้เกิดประโยชน์ เพื่อไม่ให้พื้นที่ในมหาวิทยาลัยรกร้างว่างป่าว ซึ่งในปี 2564 ได้ดำเนินการจัดโครงการใช้ประโยชน์ที่ดิน ดังนี้ 1. โครงการวันรักษ์ต้นไม้ ประจำปี 25642. โครงการปลูกไผ่ซางหม่นและมะพร้าวน้ำหอม ประจำปี 2564 3. โครงการคลองสวยน้ำใสใจอาสา4. โครงการจิตอาสาพัฒนาภูมิทิศน์5. โครงการดอกทานตะวันทุ่งทะเลแก้ว6. โครงการผสานความร่วมมือ จ.พิษณุโลก ขับเคลื่อนโคกหนองนาโมเดล ที่มา กองกลางสำนักงานอธิการบดี

การอนุรักสัตว์น้ำภายในบริเวณมหาวิทยาลัย
| |

การอนุรักสัตว์น้ำภายในบริเวณมหาวิทยาลัย

           มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม  เป็นมหาวิทยาลัยที่มีพื้นขนาดใหญ่  จำนวน 1,000  ไร่  ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามได้ดำเนินการขุดคลองดินเป็นกำแพงรอบพื้นที่มหาวิทยาลัยทั้งหมด           และภายในมหาวิทยาลัย มีสวนราชมังคลาซึ่งบริเวณดังกล่าวมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ และมีสัตว์น้ำหลายชนิดเป็นจำนวนมาก ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามจึงได้มีการประชาสัมพันธ์ให้บุคคลที่เข้ามาภายในมหาวิทยาลัยได้ช่วยกันอนุรักสัตว์น้ำภายในบริเวณมหาวิทยาลัย

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม พ.ศ. 2564
|

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม พ.ศ. 2564

มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม ได้ได้รับทุนอุดหนุนการบริการวิชาการจากโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม พ.ศ. 2564 การท่องเที่ยวเชิงเกษตรพิบูลสงครามเพื่อสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากร ตามแนวโครงการ อพ.สธ. ศึกษาดูงานท่องเที่ยวเชิงเกษตรฯ แบบออนไซต์ กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรออนไลน์ การบริการวิชาการภายใต้โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจฐานรากสู่หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลดินทอง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก           สืบเนื่องจากการสำรวจข้อมูลของกรมพัฒนาชุมชน และข้อมูล กชช.2ค ของจังหวัดพิษณุโลก พบว่าประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพการเกษตร และมีอาชีพเสริมด้วยการรับจ้างรายวัน และเพาะกล้าไม้ขายและเป็นพื้นที่ที่มีความจำเป็นต้องพัฒนาอย่างเร่งด่วนเป็นอันดับที่ 1 ที่ต้องแก้ไขปัญหาความอยากจน โดยเฉพาะต้องให้ประชาชนมีรายได้เสริมภายในครัวเรือนลดรายจ่ายนอกเหนือจากรายได้หลักหรืออาจเป็นการสร้างอาชีพใหม่ให้กับประชาชนเพื่อให้มีความเพียงพอกับความต้องการภายในครัวเรือนและพ้นเกณฑ์ความยากจน ด้วยการส่งเสริมสร้างอาชีพเสริม เช่น การเลี้ยงไก่ไข่ การเลี้ยงปลาน้ำจืด การเพาะเลี้ยงกบนา เป็นต้น อย่างไรก็ตามคณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ซึ่งมีความพร้อมทั้งทางด้านบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในหลากหลายด้าน ทั้งด้านการเกษตร การเลี้ยงสัตว์ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางด้านการเกษตรการตลาดและบัญชี โดยเป็นการให้องค์ความรู้และถ่ายทอดความรู้ให้กับประชาชนเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายและพ้นความยากจน กิจกรรม การส่งเสริมการเพาะเลี้ยงกบนา หมู่ 11 ตำบลดินทอง อ.วังทอง จ.พิษณุโลก              การเลี้ยงและการคัดพ่อ แม่พันธุ์                               การเพาะพันธุ์กบนา และการอนุบาล กิจกรรม การแปรรูปน้ำพริกกบนา หมู่…

คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา ได้ถ่ายทอด องค์ความรู้การผลิตน้ำประปา
|

คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา ได้ถ่ายทอด องค์ความรู้การผลิตน้ำประปา

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม โดยคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา ได้ถ่ายทอด องค์ความรู้การผลิตน้ำประปา ร่วมกับการประปาส่วนภูมิภาคสาขาพิษณุโลก ส่งผลให้น้ำประปาใน หมู่ 2 บ้านลาดบัวขาว ตำบลสมอแข อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ไม่มีกลิ่น  น้ำใส ลดปริมาณการใช้สารเคมีในการผลิตน้ำประปา     ชุมชนลาดบัวขาวได้ร้องขอให้คณะเข้าไปช่วยระบบการผลิตน้ำประปาของหมู่บ้านลาดบัวขาวแต่เดิมนั้น  พบว่า น้ำประปาที่ได้ มีสีเหลืองและน้ำประปายังมีกลิ่นดิน  ซึ่งผู้ผลิตน้ำจึงใช้สารส้มในการผลิตน้ำจำนวนมากเกินความจำเป็นเพื่อให้น้ำนั้นใสไม่มีกลิ่น  ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนการผลิตน้ำประปาของหมู่บ้านลาดบัวขาวนั้น มีต้นทุนที่สูง   ผู้ดำเนินงานจึงมีความสนใจที่จะปรับปรุงระบบ หาสาเหตุ และปรับการใช้สารเคมีให้เหมาะสมเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการผลิตน้ำประปา  โครงการ : พัฒนาชุมชนแบบบูรณาการ ชุมชนต้นแบบ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา

นโยบายในการขับเคลื่อนการเป็นมหาวิทยาลัยนวัตกรรมสีเขียว 
|

นโยบายในการขับเคลื่อนการเป็นมหาวิทยาลัยนวัตกรรมสีเขียว 

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มีนโยบายในการขับเคลื่อนการเป็นมหาวิทยาลัยนวัตกรรมสีเขียว  ซึ่งจะมีการประชุมผู้บริการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามคณะกรรมการมหาวิทยาลัยสีเขียว Green University (ข่าวการประชุม)  โดยมีหน่วยงานนำร่อง คือ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ  การดำเนินงานเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลผล ทั้ง 7 หมวด  ดังนี้หมวดที่ 1 สถานที่และโครงสร้างพื้นฐาน (SI)หมวดที่ 2 พลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (EC)หมวดที่ 3 ของเสีย (WC)หมวดที่ 4 น้ำ (WR)หมวดที่ 5 การขนส่ง  (TR)หมวดที่ 6 การศึกษาและวิจัย (ED)หมวดที่ 7 นวัตกรรมส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรมสีเขียว (Green Innovation : GI) ซึ่งสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบและดำเนินการประจำทุกๆ ปีอย่างต่อเนื่อง  มีการจัดโครงการและกิจกรรมให้ บุคลากร ภายในมหาวิทยาลัยได้มีส่วนร่วมเป็นประจำทุกปี  เช่น  1. การประกวดวิดีโอคลิปนวัตกรรมสีเขียว 2. โครงการส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรมสีเขียวมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และได้นำผลการดำเนินงานจะทำการแผยแพร่ผ่านเวปไซต์ (มหาวิทยาลัยสีเขียว มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม) เผยแพร่รายงานความยั่งยืนของมาตรการต่างๆที่เกี่ยวข้อง หลักฐาน เว็บไซต์มหาวิทยาลัยสีเขียว…

แนวทางการคัดแยก รวบรวม และกำจัดขยะอย่างเหมาะสม
|

แนวทางการคัดแยก รวบรวม และกำจัดขยะอย่างเหมาะสม

มหาวิทยาลัยมีการดำเนินการตามแนวทางการคัดแยก รวบรวม และกำจัดขยะอย่างเหมาะสมมีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้จัดทำขั้นตอนการคัดแยกขยะตามประเภท เพื่อให้สามารถนำขยะแต่ละชนิดไปจัดการอย่างเหมาะสม และลดปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงการรณรงค์ในบุคลากร นักศึกษา ผู้ใช้บริการทุกท่านได้ตระหนักถึงความสำคัญของคัดแยกขยะ ดังนี้        (1) คัดแยกขยะตามประเภทขยะที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมภายในสำนักงาน และจัดวางถังขยะตามพื้นที่ทำงานต่างๆ อย่างเหมาะสมทุกจุดที่สุ่มตรวจสอบ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการคัดแยกขยะตามประเภทขยะที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมภายในสำนักงาน และจัดวางถังขยะตามพื้นที่ทำงานต่าง ๆ อย่างเหมาะสม ซึ่งในแต่ละจุดจะมีจำนวนถังขยะไม่เท่ากัน ดังนี้   1.    บริเวณทางเข้าชั้น 1 ได้จัดวางถังขยะไว้จำนวน 4 ถัง ได้แก่ ขยะทั่วไป ขยะเปียก ขยะรีไซเคิล ขยะอันตราย เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้และให้ผู้เข้ามาใช้บริการทิ้งขยะได้ถูกต้อง 2.    บริเวณพื้นที่ให้บริการและห้องทำงาน ได้จัดวางถังขยะไว้จำนวน 2 ถัง ได้แก่ ขยะทั่วไป และขยะรีไซเคิล เนื่องจากบริเวณนี้ไม่อนุญาตให้รับประทานอาหาร 3.    บริเวณร้านกาแฟจัดให้มีถังขยะ 4 ถัง ได้แก่ ขยะทั่วไป ขยะรีไซเคิล…

|

การกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อมสำนักงานสีเขียว (Green Office) สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามมีนโยบายจะเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวจึงให้มีการนำร่องหน่วยงานภายในที่เป็นต้นแบบ โดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มีการกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อมสำนักงานสีเขียว (Green Office) ในข้อ 5.2 ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงกำหนดมาตรการการใช้ทรัพยากรและวัสดุอุปกรณ์ในสำนักงาน ในข้อ 5.6 การจัดซื้อจัดจ้างวัสดุอุปกรณ์ในสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยพิจารณาเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งสำนักวิทยบริการฯ ได้แจ้งไปยังผู้ขายเพื่อขอความร่วมมือในการสั่งซื้อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (ดังตัวอย่าง) หลักฐาน https://library.psru.ac.th/greenoffice/ ที่มา  สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง  https://library.psru.ac.th