มหาวิทยาลัยมีการดำเนินการตามแนวทางการคัดแยก รวบรวม และกำจัดขยะอย่างเหมาะสมมีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้จัดทำขั้นตอนการคัดแยกขยะตามประเภท เพื่อให้สามารถนำขยะแต่ละชนิดไปจัดการอย่างเหมาะสม และลดปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงการรณรงค์ในบุคลากร นักศึกษา ผู้ใช้บริการทุกท่านได้ตระหนักถึงความสำคัญของคัดแยกขยะ ดังนี้
(1) คัดแยกขยะตามประเภทขยะที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมภายในสำนักงาน และจัดวางถังขยะตามพื้นที่ทำงานต่างๆ อย่างเหมาะสมทุกจุดที่สุ่มตรวจสอบ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการคัดแยกขยะตามประเภทขยะที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมภายในสำนักงาน และจัดวางถังขยะตามพื้นที่ทำงานต่าง ๆ อย่างเหมาะสม ซึ่งในแต่ละจุดจะมีจำนวนถังขยะไม่เท่ากัน ดังนี้
1. บริเวณทางเข้าชั้น 1 ได้จัดวางถังขยะไว้จำนวน 4 ถัง ได้แก่ ขยะทั่วไป ขยะเปียก ขยะรีไซเคิล ขยะอันตราย เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้และให้ผู้เข้ามาใช้บริการทิ้งขยะได้ถูกต้อง
2. บริเวณพื้นที่ให้บริการและห้องทำงาน ได้จัดวางถังขยะไว้จำนวน 2 ถัง ได้แก่ ขยะทั่วไป และขยะรีไซเคิล เนื่องจากบริเวณนี้ไม่อนุญาตให้รับประทานอาหาร
3. บริเวณร้านกาแฟจัดให้มีถังขยะ 4 ถัง ได้แก่ ขยะทั่วไป ขยะรีไซเคิล ขยะเศษอาหาร ถังเทน้ำ น้ำแข็ง และจัดให้มีตะกร้าสำหรับแยกฝาขวดน้ำ
4. บริเวณห้องอาหาร ได้จัดวางถังขยะไว้จำนวน 2 ถัง ได้แก่ ขยะเศษอาหาร และขยะทั่วไป เนื่องจากเป็นห้องสำหรับพักรับประทานอาหารของบุคลากรภายในสำนักวิทยบริการฯ
ภาพถังขยะบริเวณทางเข้าชั้น 1 สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ภาพถังขยะบริเวณห้องทำงานและถังขยะบริเวณพื้นที่ให้บริการ
ภาพถังขยะบริเวณร้านกาแฟ
ภาพถังขยะบริเวณห้องอาหาร
(2) มีการติดป้ายบ่งชี้ประเภทขยะอย่างถูกต้องและชัดเจนทุกถังที่สุ่มตรวจสอบ
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้จัดทำสติกเกอร์/ป้าย เพื่อให้ง่ายต่อการจัดเก็บและนำไปจัดการอย่างเหมาะสม ซึ่งสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ แบ่งประเภทภาชนะของขยะภายในสำนักงานเป็น 3 ถัง ดังนี้
1) ถังขยะสีน้ำเงินสำหรับ ขยะทั่วไป เช่น ห่อพลาสติกใส่ขนม พลาสติกห่อลูกอม ซองบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ถุงพลาสติก เปื้อนเศษอาหาร โฟมเปื้อนอาหาร ฟอยล์เปื้อนอาหาร ซองหรือถุงพลาสติกสำหรับบรรจุเครื่องอุปโภคด้วยวิธีรีดความร้อน ไม้เสียบลูกชิ้น หลอดกาแฟ กระดาษชำระ ถ้วยใส่มาม่า ช้อนพลาสติก กรวยน้ำดื่ม แก้วกาแฟร้อน
2) ถังขยะสีเหลืองสำหรับ ขยะรีไซเคิล เช่น ขวดแก้ว กระดาษ กระป๋องเครื่องดื่ม ขวดพลาสติก กล่องเครื่องดื่มแบบ UHT แก้วพลาสติก
3) ถังขยะสีเขียวสำหรับใส่ขยะเศษอาหารที่เหลือจากการรับประทาน เช่น มาม่า ข้าว เปลือกกล้วย เศษผลไม้ ผัก
นอกจากนี้ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ยังได้รณรงค์ให้บุคลากร นักศึกษา และผู้ใช้บริการทุกท่าน ได้ตระหนักถึงการคัดแยกขยะ เช่น
ภาพตะกร้าสำหรับใส่ฝาขวดและถังเทน้ำและน้ำแข็ง
ภาพแก้วใส่ห่วงเครื่องดื่ม
(3) มีจุดพักขยะที่เหมาะสมตามหลักวิชาการ โดยจะต้องมีพื้นที่รองรับขยะ
แต่ละประเภทจากข้อ (1) อย่างเพียงพอ
(4) มีการทิ้งขยะถูกต้องทุกจุดที่สุ่มตรวจสอบ
1. บริเวณทางเข้าชั้น 1 ได้จัดวางถังขยะไว้จำนวน 4 ถัง ได้แก่ ขยะทั่วไป ขยะเปียก ขยะรีไซเคิล ขยะอันตราย เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้และให้ผู้เข้ามาใช้บริการทิ้งขยะได้ถูกต้อง
ภาพถังขยะบริเวณทางเข้าชั้น 1 สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. บริเวณพื้นที่ให้บริการและห้องทำงาน ได้จัดวางถังขยะไว้จำนวน 2 ถัง ได้แก่ ขยะทั่วไป และขยะรีไซเคิล เนื่องจากบริเวณนี้ไม่อนุญาตให้รับประทานอาหาร
ภาพถังขยะบริเวณห้องทำงานและถังขยะบริเวณพื้นที่ให้บริการ
3. บริเวณร้านกาแฟจัดให้มีถังขยะ 4 ถัง ได้แก่ ขยะทั่วไป ขยะรีไซเคิล ขยะเศษอาหาร ถังเทน้ำ น้ำแข็ง และจัดให้มีตะกร้าสำหรับแยกฝาขวดน้ำ
ภาพถังขยะบริเวณร้านกาแฟ
4. บริเวณห้องอาหาร ได้จัดวางถังขยะไว้จำนวน 2 ถัง ได้แก่ ขยะเศษอาหาร และขยะทั่วไป เนื่องจากเป็นห้องสำหรับพักรับประทานอาหารของบุคลากรภายในสำนักวิทยบริการฯ
ภาพถังขยะบริเวณห้องอาหาร
ภาพจุดพักขยะทั่วไป เพื่อรอเจ้าหน้าที่เทศบาลพลายชุมพลมาเก็บนำไปกำจัดโดยวิธีฝังกลบ |
ภาพจุดทิ้งขยะอินทรีย์ โดยทิ้งเศษอาหาร ลงในถังดำที่มีฝาปิดเจาะรูรอบถัง เพื่อทำเป็นปุ๋ยปลูกพืชผักสวนครัวแทนการใช้สารเคมี อีกทั้งยังเป็นการนำขยะอินทรีย์กลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ (reuse) |
ภาพจุดพักขยะรีไซเคิลเพื่อรอการจำหน่าย ให้กับร้านรับซื้อของเก่า |
ภาพจุดพักขยะอันตรายเพื่อรอเจ้าหน้าที่เทศบาลพลายชุมพลมาเก็บนำไปกำจัดอย่างเหมาะสมต่อไป |
(5) มีการส่งขยะให้ อปท. หรือผู้รับจ้างที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการคัดแยกขยะตามประเภทขยะที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมภายในสำนักงาน และมีการส่งขยะให้ อปท. หรือผู้รับจ้างที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายมาจัดเก็บต่อไป
หนังสือขอรับการชำระค่าธรรมเนียมการเก็บขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
สำหรับขยะรีไซเคิล ได้แก่ ขวดพลาสติก ขวดแก้ว กระดาษ กล่องกระดาษลัง สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้มีการคัดแยกเพื่อจำหน่ายให้กับผู้รับซื้อของเก่าที่มีใบอนุญาตในการประกอบกิจการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
ภาพการจำหน่ายให้กับผู้รับซื้อของเก่าที่มีใบอนุญาตในการประกอบกิจการ
ผู้ประกอบกิจการมีใบอนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
(6) มีการติดตามมีการติดตาม ตรวจสอบการกำจัดขยะของผู้รับจ้างให้มีการจัดการอย่างเหมาะสมตามหลักวิชาการ (กรณีส่งให้ อปท.ให้ถือว่ามีการจัดการอย่างเหมาะสม)
ขยะอันตราย |
ส่งไปยังหน่วยงานกำจัดอย่างถูกวิถี |
ชั่ง/คัดแยกรวบรวมจุดพักขยะอันตราย |
ขยะทั่วไป |
ขยะรีไซเคิล |
ขยะอินทรีย์ |
ชั่งน้ำหนัก |
ชั่ง/คัดแยกจุดพักขยะรีไซเคิล |
จุดพักขยะของมหาวิทยาลัย |
จำหน่ายให้ผู้รับซื้อของเก่า |
ชั่งน้ำหนัก |
รถเทศบาลภายชุมพลเก็บไปกำจัด |
ทำปุ๋ยหมัก |
กิจการรีไซเคิลขยะแห่งประเทศไทย |
กำจัดที่บ่อขยะตำบลหัวรอ |
(7) ไม่มีการเผาขยะในบริเวณหรือพื้นที่ของสำนักงาน (ยกเว้นเตาเผาที่ได้รับการอนุญาตอย่างถูกต้อง)
บริเวณโดยรอบอาคารของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ไม่มีการเผาขยะ
บริเวณด้านหน้าอาคาร
บริเวณด้านหลังอาคาร
บริเวณด้านข้างอาคารฝั่งซ้ายและขวา
(8) มีการนำขยะกลับมาใช้ใหม่
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้มีการจัดเก็บ คัดแยกขยะ และนำขยะบางประเภทกลับมาใช้ประโยชน์ และนำกลับมาใช้ใหม่ ส่งผลให้ขยะที่จะส่งไปกำจัดมีปริมาณน้อยลง ดังนี้
1. นำเศษอาหารจากห้องอาหาร มาทำปุ๋ยหมักเพื่อใช้ปลูกพืชผักสวนครัวในพื้นที่ด้านหลังอาคาร
2. นำขวดพลาสติกมาประดิษฐ์เป็นแจกันใส่ต้นไม้ตามจุดต่าง ๆ เพื่อเพิ่มบรรยากาศให้ดูเป็นธรรมชาติ สวยงามและดูดซับสารพิษได้
3. นำกระดาษห่อกระดาษ A4 มาทำเป็นถุงเพื่อใส่เอกสาร
(9) มีการบันทึกข้อมูลปริมาณขยะแต่ละประเภทครบถ้วนทุกเดือน
พนักงานทำความสะอาดประจำตึก จะรวบรวมขยะจากทุกจุดภายใน สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาทำการชั่งและบันทึกปริมาณทุกวัน ในเวลา 16.00 น. โดยคณะกรรมการจะไปตรวจเช็คการจดบันทึกปริมาณของพนักงาน และเมื่อสิ้นเดือนก็จะนำปริมาณที่จดบันทึกมาบันทึกลงในทะเบียนคุมก่อนจะรวบรวมข้อมูลทั้งหมดมาบันทึกในแบบฟอร์ม 4.1(1)
ตัวอย่างแบบฟอร์มบันทึกข้อมูลการเก็บขยะประจำเดือน
(10) มีการวิเคราะห์ปริมาณขยะเทียบค่าเป้าหมายที่ได้กำหนดจากหมวด 1 ข้อ 1.1.5
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ดำเนินการวิเคราะห์ปริมาณขยะเทียบค่าเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้คือ ปริมาณของเสียที่นำกลับมาใช้ประโยชน์ มากกว่าร้อยละ 40 % ตามประกาศสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่องเป้าหมายการจัดการพลังงานและการใช้ทรัพยากร