การเล่นดนตรีพื้นบ้านมังคละและท่ารำมังคละ
|

การเล่นดนตรีพื้นบ้านมังคละและท่ารำมังคละ

การเข้าร่วมโครงการการอบรมเชิงปฏิบัติการร่วมจัดทำหลักสูตรและคู่มือการอบรมการเล่นดนตรีพื้นบ้านมังคละและท่ารำมังคละ ระดับจังหวัด โดยมีเครือข่ายความร่วมมือกับสำนักวัฒนธรรมจังหวัด สำนักศิลปะและวัฒนธรรม และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาลัยนาฏศิลป์สุโขทัยและตัวแทนเครือข่ายผู้เข้าร่วมอบรม 9 อำเภอ สรุปสาระสำคัญการดำเนินงาน : ร่วมจัดทำหลักสูตรและคู่มือการอบรมการเล่นดนตรีพื้นบ้านมังคละและการท่ารำมังคละพิษณุโลก โดยมีผู้เข้ารับการอบรมได้แก่ตัวแทนเครือข่ายดนตรีมังคละทั้ง 9 อำเภอ เพื่อเพื่อสืบสานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างรู้คุณค่า ต่อยอดให้เกิดประโยชน์ มุ่งเน้นไปที่เยาวชนคนพิษณุโลกรุ่นใหม่ ที่มีความสนใจ เพื่อไม่ให้ขาดสายในการเล่นดนตรีมังคละ  และการแสดงประกอบมังคละสืบไป ที่มา : สำนักศิลปะและวัฒนธรรม รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง : https://aco.psru.ac.th/hotnews3.php?id=907

การขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม “บ่อเกลือของจังหวัดพิษณุโลก” ในระดับจังหวัดและระดับประเทศ จากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม
|

การขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม “บ่อเกลือของจังหวัดพิษณุโลก” ในระดับจังหวัดและระดับประเทศ จากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม

สาระสำคัญการดำเนินงาน : จัดประชุมการลงมติการขอขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของจังหวัดพิษณุโลก ประเพณี ความเชื่อ และกระบวนการผลิตเกลือสินเธาว์ ณ วัดนาขามวนาราม ตำบล บ้านยาง อำเภอวัดโบสถ์ พิษณุโลก โดย รศ.ดร.นิวัตร พัฒนะ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา กล่าวต้อนรับผู้นำท้องถิ่น พร้อมด้วย รศ.ดร.โชติ บดีรัฐ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ บรรยาย เรื่อง แหล่งเกลือโบราณของจังหวัดพิษณุโลก และ ผศ.ดร.สุพัตรา เจริญภักดี บดีรัฐ ชี้แจงการขอขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม จากนั้น ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และตอบข้อซักถามโดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และผู้นำท้องถิ่นท้องที่ตำบลบ้านยาง ที่มา : สำนักศิลปะและวัฒนธรรมรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง : https://www.facebook.com/media/set/?set=a.3704978219618164&type=3

โครงการการสร้างอัตลักษณ์และเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้าทอย้อมสีจากธรรมชาติของชุมชนตำบลบ้านยาง อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก เพื่อยกระดับวิถีชีวิตและเศรษฐกิจที่ยั่งยืน
|

โครงการการสร้างอัตลักษณ์และเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้าทอย้อมสีจากธรรมชาติของชุมชนตำบลบ้านยาง อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก เพื่อยกระดับวิถีชีวิตและเศรษฐกิจที่ยั่งยืน

: สำนักศิลปะและวัฒนธรรมร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง ชุมชนตำบลบ้านยาง 11 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านนาขาม, หมู่ที่ 2 บ้านป่าคาย, หมู่ที่ 3 บ้านน้ำหัก, หมู่ที่ 4 บ้านน้ำคบ, หมู่ที่ 5 บ้านพรมมาศ, หมู่ที่ 6 บ้านท่าสะเดาะ, หมู่ที่ 8 บ้านหนองยาง, หมู่ที่ 9 บ้านเนินตาเกิด, หมู่ที่ 10 บ้านไร่สุขสมบูรณ์ และหมู่ที่ 11 บ้านแก่งเจ็ดแคว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้กรรมวิธีการย้อมสีจากธรรมชาติ ออกแบบ และสร้างสรรค์ลายผ้าต้นแบบที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน และออกแบบผลิตภัณฑ์จากผ้าทอย้อมสีได้จากวัตถุดิบธรรมชาติของชุมชนตำบลบ้านยาง อำเภอวัดโบสถ์ ซึ่งมีผลการดำเนินกิจกรรมดังนี้ 1. กิจกรรมประชุมวางแผน และติดตามผลการดำเนินโครงการ ดำเนินการสำรวจความต้องการของชุมชน โดยมีตัวแทนเป็นกลุ่มผู้นำชุมชนตำบลบ้านยาง วัดและสถานศึกษา ได้ข้อสรุปว่า ชุมชนตำบลบ้านยางมีความต้องการให้พัฒนาด้านการผลิตหรือออกแบบผ้าที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชนตำบลบ้านยาง โดยจะวางแผนการดำเนินกิจกรรมร่วมกันในลำดับต่อไป 2. กิจกรรมสำรวจ ศึกษา รวบรวม…

โครงการสืบสาน อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น ชุมชนบ้านลาดบัวขาว ตำบลสมอแข อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
|

โครงการสืบสาน อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น ชุมชนบ้านลาดบัวขาว ตำบลสมอแข อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

สาระสำคัญการดำเนินงาน : จัดกิจกรรมถ่ายทอดภูมิปัญญาการตีกลองยาว และกิจกรรมการปฏิบัติธรรมส่งเสริมคุณธรรมชุมชนบ้านลาดบัวขาว เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ร่วมกันสร้างสังคมให้อยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืนและเป็นต้นแบบที่ดีให้กับชุมชนอื่นๆ ต่อไป ซึ่งมีกิจกรรมที่ดำเนินการ ดังนี้ กิจกรรมที่ 1 วางแผนดำเนินการ (กิจกรรมที่ 1 ประชุมวางแผน และติดตามการดำเนินโครงการ จัดประชุมระหว่างกลุ่มผู้ปฏิบัติงานและคนในชุมชนเพื่อวางแผนและชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดโครงการเพื่อให้มีความเข้าใจตรงกันและขอความร่วมมือในการลงปฏิบัติงานร่วมกับชุมชน ผู้นำชมชนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จัดขึ้นวันที่ 30 ธันวาคม 2563 ณ ศาลาเอนกประสงค์บ้านลาดบัวขาว กิจกรรมที่ 2 สำรวจความต้องการของชุมชนบ้านลาดบัวขาวและสรุปความต้องการของชุมชน จัดการประชุมเพื่อรวมกลุ่มคนในชุมชนเพื่อเก็บข้อมูลพื้นฐานของชุมชน รวมทั้งสำรวจความต้องการในการฟื้นฟูด้านศิลปวัฒนธรรมที่ชุมชนต้องการให้มีการฟื้นฟู อีกทั้งรวบรวมและวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลเพื่อเป็นการจัดกิจกรรมต่อไป จัดขึ้นวันที่ 2 เมษายน ณ ศาลาเอนกประสงค์ บ้านลาดบัวขาว กิจกรรมที่ 3 จัดกิจกรรมฟื้นฟู สืบสาน อนุรักษ์ และต่อยอดศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนต้อนแบบ การจัดกิจกรรมทำให้ผู้เข้าอบรมสามารถปฏิบัติเทคนิคการตีกลองยาวในบทเพลง 5 บทเพลง ได้แก่ เพลง สามบ่อม, จังหวะ 1 , จังหวะ 2…

โครงการพัฒนาลวดลายผ้าทอมือจากสีย้อมธรรมชาติ เพื่อสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ และจัดทำแหล่งเรียนรู้อัตลักษณ์ด้านมรดกภูมิปัญญาผ้าทอมือชุมชนบ้านกร่าง
|

โครงการพัฒนาลวดลายผ้าทอมือจากสีย้อมธรรมชาติ เพื่อสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ และจัดทำแหล่งเรียนรู้อัตลักษณ์ด้านมรดกภูมิปัญญาผ้าทอมือชุมชนบ้านกร่าง

โครงการพัฒนาลวดลายผ้าทอมือจากสีย้อมธรรมชาติ เพื่อสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ และจัดทำแหล่งเรียนรู้อัตลักษณ์ด้านมรดกภูมิปัญญาผ้าทอมือชุมชนบ้านกร่าง เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีการดำเนินการ ดังนี้1. ประชุมวางแผน และติดตามการดำเนินโครงการ กิจกรรม : ประชุมวางแผน และติดตามการดำเนินโครงการ จำนวน  2 ครั้ง เรื่องชี้แจงตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ : แผนปฏิบัติการของแต่ละกิจกรรม งบประมาณ : 3,600 บาท โดยมี อาจารย์ว่าที่ร้อยตรีหญิงยุวดี พ่วงรอด เป็นผู้รับผิดชอบ (ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว) 2. ลงพื้นที่ สำรวจ ศึกษา รวบรวม ตลอดตนวิเคราะห์ สังเคราะห์ และเรียบเรียงข้อมูลมรดกภูมิปัญญาผ้าทอมือของชุมชนบ้านกร่าง งบประมาณ : 14,800 บาท โดยมี อาจารย์รสสุคนธ์ ประดิษฐ์ เป็นผู้รับผิดชอบ (ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว)  ตัวชี้วัดความสำเร็จของกิจกรรม จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ    45 คน จำนวนหมู่บ้าน ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏฯ ดำเนินโครงการ                            2 หมู่บ้านจำนวนนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ                                              12…

การทำข้อตกลงความร่วมมือกับเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ในจังหวัดพิษณุโลก
|

การทำข้อตกลงความร่วมมือกับเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ในจังหวัดพิษณุโลก

การทำข้อตกลงความร่วมมือกับเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ในจังหวัดพิษณุโลก สรุปสาระสำคัญการดำเนินงาน : นำนักศึกษา เข้าร่วมกิจกรรมสำรวจแหล่งท่องเที่ยวแสดงวิถีพื้นบ้านของคนภาคเหนือ “พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี” จัดโดยสมาคมสหพันธ์ท่องเที่ยวภาคเหนือจังหวัดพิษณุโลก ที่มา : สำนักศิลปะและวัฒนธรรม รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง : https://aco.psru.ac.th/hotnews3.php?id=969

โครงการรักษ์ลาน
|

โครงการรักษ์ลาน

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม โดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ได้ดำเนินโครงการรักษ์ลาน เพื่อถวายผ้าห่อคัมภีย์โบราณ ณ วัดราชบูรณะ อ.เมือง จ.พิษณุโลก ทั้งนี้เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึกและกระตุ้นให้คนในชุมชนท้องถิ่นเกิดความตระหนัก และเข้ามามีส่วนร่วมในการฟื้นฟู เผยแพร่ และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น และคุณค่าความหลากหลายของศิลปะและวัฒนธรรมไทย ทั้งที่เป็นวิถีชีวิต ค่านิยม และความเป็นไทย ในปัจจุบันวัฒนธรรมท้องถิ่นถูกละเลยและมีการถ่ายทอด ไปสู่คนรุ่นหลังต่อไป ที่มา : สำนักศิลปะและวัฒนธรรม รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง : https://www.facebook.com/photo/?fbid=5471323199650315&set=a.5471331659649469

โครงการชุมชนสัมพันธ์สัญจร
|

โครงการชุมชนสัมพันธ์สัญจร

สรุปสาระสำคัญการดำเนินงาน : ลงพื้นที่วิสาหกิจชุมชนแปรรูปเกษตรอินทรีย์บางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก ร่วมกับ CEO บริษัท คารีทิส ครีเอชั่น จำกัด พร้อมทีมงาน และวิทยากร วิทยาลัยการจัดการและพัฒนาท้องถิ่น มรพส. ศึกษาวิธีการบริหารจัดการกลุ่ม การสร้างทัศนคติและบุคลิกภาพที่ดีในการทำงานร่วมกับชุมชน และถอดบทเรียนเป็นองค์ความรู้และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเขียนแผนโครงการสร้างชุมชนต้นแบบ ตามงบยุทธศาสตร์ ในปีงบประมาณ 2565 รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง : https://m.facebook.com/ArtsandCulture.psru/albums/4132661040183211/?paipv=0&eav=AfYZA1Bl-o4yWsgBWoel66sodcAumKz1EI8-BiR022e9SCBMQZHEzlBibBLhzUnSb7Q

กิจกรรมการสร้างแหล่งเรียนรู้บ่อเกลือ
|

กิจกรรมการสร้างแหล่งเรียนรู้บ่อเกลือ

กิจกรรมการสร้างแหล่งเรียนรู้บ่อเกลือ สรุปสาระสำคัญการดำเนินงาน : ฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่น เกี่ยวกับการต้มเกลือของคนตำบลบ้านยาง โดยกิจกรรมประกอบด้วย พิธีบวงสรวง พิธีเบิกบ่อเกลือ พิธีปั้นเตาต้มเกลือ พิธีขอขมาเจ้าพ่อบ่อเกลือ และการสาธิตต้มเกลือโบราณ ที่มา : สำนักศิลปะและวัฒนธรรม รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง : https://m.facebook.com/ArtsandCulture.psru/albums/3765509140231738/?paipv=0&eav=AfZJmdwMplXaL-Hwgm2MZeCpxp4eXDuPj3wRPy06vW7YAa_SNNU5YUlClH7i8LXoMPo SDG ที่เกี่ยวข้อง : SDG11 (11.2.6) ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความครอบคลุม ปลอดภัย มีภูมิต้านทานและยั่งยืน

โครงการพิพิธภัณฑ์
|

โครงการพิพิธภัณฑ์

โครงการ / กิจกรรม ระดับหน่วยงาน ตามเป้าหมาย SDG (การพัฒนาที่ยั่งยืน) สรุปสาระสำคัญการดำเนินงาน : เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีการดำเนินการ ดังนี้              พิพิธภัณฑ์ ประวัติศาสตร์เมืองพิษณุโลก ศูนย์วัฒนธรรมและการท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ภายใต้การดูแลของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จัดอยู่ในประเภทพิพิธภัณฑสถานของมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษา (University Museum) เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่สามารถค้นคว้า หาความรู้ได้นอกเหนือจากในห้องเรียนหรือการศึกษาในตำราทั่วไป ประกอบกับปรัชญาการศึกษาสมัยปัจจุบันไม่ได้จำกัดขอบเขตอยู่เพียงการฟังบรรยายเพียงอย่างเดียว แต่ได้เน้นในด้านการใช้วิจารณญาณและการเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ ดังนั้น พิพิธภัณฑ์จึงเป็นแหล่งค้นคว้าของนักเรียน นักศึกษา รวมทั้งประชาชนภายนอกเข้าศึกษาหาความรู้ได้ด้วย ซึ่งรูปแบบการจัดแสดงจัดแสดงข้อมูลภายในพิพิธภัณฑ์เมืองพิษณุโลกและศูนย์วัฒนธรรมและการท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 เป็นนิทรรศการที่นำเสนอข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี สถานที่ท่องเที่ยวและเอกลักษณ์ของจังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดใกล้เคียง ประกอบด้วย จังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดตาก จังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดสุโขทัย ตัวอย่างเช่น            1. ห้องแนะนำจังหวัด นำเสนอข้อมูลของจังหวัดพิษณุโลก โดยรวมทั้งข้อมูลพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ ชาติพันธุ์ สถานที่สำคัญ สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญพร้อมแบบจำลองบริเวณเมืองพิษณุโลกกำแพงเมืองเก่า โบราณสถานและวิดีทัศน์…