โครงการส่งเสริม และทำนุบำรุงศาสนาและประเพณีท้องถิ่น
|

โครงการส่งเสริม และทำนุบำรุงศาสนาและประเพณีท้องถิ่น

โครงการส่งเสริม และทำนุบำรุงศาสนาและประเพณีท้องถิ่น ได้แก่ 1) กิจกรรมมาฆประทีป                      2) กิจกรรมตักบาตร 3) กิจกรรมทำบุญระหว่างพรรษา 4) กิจกรรมหล่อเทียน-ถวายเทียนพรรษา            5) กิจกรรมทอดกฐิน  สรุปสาระสำคัญการดำเนินงาน : รูปแบบการจัดกิจกรรมการอนุรักษ์ ส่งเสริม สืบสาน และเผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรม ให้แก่นักศึกษาได้เข้ามามีส่วนร่วมในการสืบสาน ส่งเสริม และสนับสนุนการเรียนรู้ ให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทย ผ่านโครงการอนุรักษ์ สืบสาน และทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ในรูปแบบกิจกรรมต่างๆ ที่มา: สำนักศิลปะและวัฒนธรรม

โครงการยกย่องเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานดีเด่นด้านศิลปวัฒนธรรม
|

โครงการยกย่องเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานดีเด่นด้านศิลปวัฒนธรรม

โครงการยกย่องเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานดีเด่นด้านศิลปวัฒนธรรมสรุปสาระสำคัญการดำเนินงาน มีกิจกรรมดังนี้ เสวนา “วิถีครู ผู้สืบสานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น” วิทยากรโดยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เรื่อง นิยามศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น โดย ผศ.สุพจน์ พฤกษะ เรื่องการเป็นผู้สืบสานและจัดกิจกรรมศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น โดย คุณปรีชญา พรมชู เรื่องบทบาทของความเป็นครูกับการถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น โดย ผศ.ดร.ชุมพล เสมาขันธ์ ทั้งนี้มีผศ.ดร.ภาวิดา มหาวงศ์ เป็นผู้ดำเนินรายการ และพิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ ที่มา: สำนักศิลปะและวัฒนธรรม รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง : https://www.facebook.com/media/set/?set=a.4265620196887294&type=3

การฟื้นฟูบ่อเกลือโบราณ กับชุมชน ณ บ้านนาขาม ตำบลบ้านยาง อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก
|

การฟื้นฟูบ่อเกลือโบราณ กับชุมชน ณ บ้านนาขาม ตำบลบ้านยาง อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก

การฟื้นฟูบ่อเกลือโบราณอายุมากกว่า 800 ปี ที่ปิดร้างมานานกว่า 90 ปี ทำพิธีเบิกบ่อเกลือร่วมกับชุมชน ณ บ้านนาขาม ตำบลบ้านยาง อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก สรุปสาระสำคัญการดำเนินงาน : ผศ.ดร.สุพัตรา เจริญภักดี บดีรัฐ ในฐานะหัวหน้าศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช มรพส. นำบุคลากรสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ร่วมพิธีเบิกบ่อเกลือบ้านนาขาม จัดโดย ชุมชนตำบลบ้านยาง ร่วมกับ อำเภอวัดโบสถ์ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม องค์กรภาครัฐภาคเอกชน และประชาชนในตำบลบ้านยาง ได้จัดพิธีเบิกบ่อเกลือบ้านนาขาม กิจกรรมนี้จัดขึ้นขึ้นจากความศรัทธา ความรักความสามัคคี และจิตอาสาของทุกภาคส่วน ในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนเป็นส่วนสำคัญ ตระหนักถึงคุณค่าและช่วยกันอนุรักษ์แหล่งเกลือโบราณสืบสานพิธีกรรมและความเชื่อ นับเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมที่สำคัญของตำบลบ้านยาง กิจกรรมนี้เป็นการฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับการต้มเกลือของคนตำบลบ้านยาง คาดว่าสูญหายไปนานมากกว่า 90 ปี จากการสอบถามผู้สูงอายุ  ซึ่งไม่เคยทราบเกี่ยวกับการต้มเกลือในพื้นที่นี้ การดำเนินงานครั้งนี้ ยังช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายการสืบสานและพัฒนาภูมิปัญญาของชุมชนบ้านยาง เนื่องจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐภาคเอกชนได้ร่วมมือร่วมใจในการส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมส่งผลให้คนในชุมชนเห็นคุณค่า และร่วมกันอนุรักษ์มรดกภูมิปัญญาที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นตน โดยกำหนดจัดขึ้นในวันขึ้น 4 ค่ำ เดือน 4 ของทุกปี ในปีนี้ตรงกับวันจันทร์ที่…

โครงการอนุรักษ์ สืบสานและถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่เยาวชนในจังหวัดพิษณุโลกและสุโขทัย
|

โครงการอนุรักษ์ สืบสานและถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่เยาวชนในจังหวัดพิษณุโลกและสุโขทัย

โครงการอนุรักษ์ สืบสานและถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่เยาวชนในจังหวัดพิษณุโลกและสุโขทัย เป็นการบูรณาการองค์ความรู้ทางวิชาการกับการจัดการเรียนการสอนและวิจัย จำนวน 12 รายวิชา สรุปสาระสำคัญการดำเนินงาน : เป็นการบูรณาการการเรียนการสอนร่วมกับศิลปะและวัฒนธรรม มีการเสวนาวิชาการ การแสดงการถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นจากเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานทั้งภายในและภายนอก 7 คณะ 12 รายวิชา ได้แก่ 1. คณะครุศาสตร์2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์3. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี4. คณะวิทยาการจัดการ5. คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร6. วิทยาลัยการจัดการและพัฒนาท้องถิ่น7. คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม8. ภาพวาดจากศิลปินอิสระเป็นงานศิลปะภาพพิมพ์ (ศิลปะนามธรรมหรือแอ๊บแสตร็กอารต์) และศิลปะสื่อผสมเป็นงานเทคเจ้อร์หรืองานพื้นผิวด้านศิลปวัฒนธรรม9. การแสดงผลงานการแสดงชุดรำมโนราห์จากกลุ่มนางฟ้าดาวลูกไก่ รายละเอียดกิจกรรม1. กิจกรรม : อาภรณ์กลางไพร ถักทอสายใยสืบสานด้วยเยาวชนแหล่งเรียนรู้  ณ หมู่บ้านห้วยหยวก ตำบลบ้านแกร่ง อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย2. กิจกรรม :  Food Sci รู้จักเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น แหล่งเรียนรู้  ณ วิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงปลา บ้านวังแร่ ตำบลชุมแสงสงคราม อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก3. กิจกรรม : รักษ์เรื่องเล่าวิถีไท ผ่านโลกออนไลน์ ตามสไตล์ภาษาอังกฤษแหล่งเรียนรู้ ณ…

การจัดสวดมนต์ยี่เป็ง
|

การจัดสวดมนต์ยี่เป็ง

สรุปสาระสำคัญการดำเนินงาน : โดยไม่ใช้งบประมาณจากมหาวิทยาลัย เพื่อระลึกถึงบรรพชน ครูบาอาจารย์และนางรำจิตอาสาที่ล่วงลับไปแล้ว ที่มา : สำนักศิลปะและวัฒนธรรม รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง : https://aco.psru.ac.th/hotnews3.php?id=982

การส่งเสริมเอกลักษณ์แต่งกายผ้าไทย ผ้าพื้นเมือง ทุกวันจันทร์ วันพุธ วันศุกร์
|

การส่งเสริมเอกลักษณ์แต่งกายผ้าไทย ผ้าพื้นเมือง ทุกวันจันทร์ วันพุธ วันศุกร์

สาระสำคัญการดำเนินงาน : ส่งเสริมเอกลักษณ์แต่งกายผ้าไทย ผ้าพื้นเมือง ให้กับบุคลากร อาจารย์ เจ้าหน้าที่ ทุกวันจันทร์ วันพุธ วันศุกร์ ที่มา: สำนักศิลปะและวัฒนธรรม รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง : https://aco.psru.ac.th/hotnews3.php?id=922

การขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม “บ่อเกลือของจังหวัดพิษณุโลก” ในระดับจังหวัดและระดับประเทศ จากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม
|

การขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม “บ่อเกลือของจังหวัดพิษณุโลก” ในระดับจังหวัดและระดับประเทศ จากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม

สาระสำคัญการดำเนินงาน : จัดประชุมการลงมติการขอขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของจังหวัดพิษณุโลก ประเพณี ความเชื่อ และกระบวนการผลิตเกลือสินเธาว์ ณ วัดนาขามวนาราม ตำบล บ้านยาง อำเภอวัดโบสถ์ พิษณุโลก โดย รศ.ดร.นิวัตร พัฒนะ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา กล่าวต้อนรับผู้นำท้องถิ่น พร้อมด้วย รศ.ดร.โชติ บดีรัฐ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ บรรยาย เรื่อง แหล่งเกลือโบราณของจังหวัดพิษณุโลก และ ผศ.ดร.สุพัตรา เจริญภักดี บดีรัฐ ชี้แจงการขอขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม จากนั้น ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และตอบข้อซักถามโดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และผู้นำท้องถิ่นท้องที่ตำบลบ้านยาง ที่มา : สำนักศิลปะและวัฒนธรรมรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง : https://www.facebook.com/media/set/?set=a.3704978219618164&type=3

โครงการการสร้างอัตลักษณ์และเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้าทอย้อมสีจากธรรมชาติของชุมชนตำบลบ้านยาง อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก เพื่อยกระดับวิถีชีวิตและเศรษฐกิจที่ยั่งยืน
|

โครงการการสร้างอัตลักษณ์และเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้าทอย้อมสีจากธรรมชาติของชุมชนตำบลบ้านยาง อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก เพื่อยกระดับวิถีชีวิตและเศรษฐกิจที่ยั่งยืน

: สำนักศิลปะและวัฒนธรรมร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง ชุมชนตำบลบ้านยาง 11 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านนาขาม, หมู่ที่ 2 บ้านป่าคาย, หมู่ที่ 3 บ้านน้ำหัก, หมู่ที่ 4 บ้านน้ำคบ, หมู่ที่ 5 บ้านพรมมาศ, หมู่ที่ 6 บ้านท่าสะเดาะ, หมู่ที่ 8 บ้านหนองยาง, หมู่ที่ 9 บ้านเนินตาเกิด, หมู่ที่ 10 บ้านไร่สุขสมบูรณ์ และหมู่ที่ 11 บ้านแก่งเจ็ดแคว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้กรรมวิธีการย้อมสีจากธรรมชาติ ออกแบบ และสร้างสรรค์ลายผ้าต้นแบบที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน และออกแบบผลิตภัณฑ์จากผ้าทอย้อมสีได้จากวัตถุดิบธรรมชาติของชุมชนตำบลบ้านยาง อำเภอวัดโบสถ์ ซึ่งมีผลการดำเนินกิจกรรมดังนี้ 1. กิจกรรมประชุมวางแผน และติดตามผลการดำเนินโครงการ ดำเนินการสำรวจความต้องการของชุมชน โดยมีตัวแทนเป็นกลุ่มผู้นำชุมชนตำบลบ้านยาง วัดและสถานศึกษา ได้ข้อสรุปว่า ชุมชนตำบลบ้านยางมีความต้องการให้พัฒนาด้านการผลิตหรือออกแบบผ้าที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชนตำบลบ้านยาง โดยจะวางแผนการดำเนินกิจกรรมร่วมกันในลำดับต่อไป 2. กิจกรรมสำรวจ ศึกษา รวบรวม…

โครงการสืบสาน อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น ชุมชนบ้านลาดบัวขาว ตำบลสมอแข อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
|

โครงการสืบสาน อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น ชุมชนบ้านลาดบัวขาว ตำบลสมอแข อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

สาระสำคัญการดำเนินงาน : จัดกิจกรรมถ่ายทอดภูมิปัญญาการตีกลองยาว และกิจกรรมการปฏิบัติธรรมส่งเสริมคุณธรรมชุมชนบ้านลาดบัวขาว เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ร่วมกันสร้างสังคมให้อยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืนและเป็นต้นแบบที่ดีให้กับชุมชนอื่นๆ ต่อไป ซึ่งมีกิจกรรมที่ดำเนินการ ดังนี้ กิจกรรมที่ 1 วางแผนดำเนินการ (กิจกรรมที่ 1 ประชุมวางแผน และติดตามการดำเนินโครงการ จัดประชุมระหว่างกลุ่มผู้ปฏิบัติงานและคนในชุมชนเพื่อวางแผนและชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดโครงการเพื่อให้มีความเข้าใจตรงกันและขอความร่วมมือในการลงปฏิบัติงานร่วมกับชุมชน ผู้นำชมชนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จัดขึ้นวันที่ 30 ธันวาคม 2563 ณ ศาลาเอนกประสงค์บ้านลาดบัวขาว กิจกรรมที่ 2 สำรวจความต้องการของชุมชนบ้านลาดบัวขาวและสรุปความต้องการของชุมชน จัดการประชุมเพื่อรวมกลุ่มคนในชุมชนเพื่อเก็บข้อมูลพื้นฐานของชุมชน รวมทั้งสำรวจความต้องการในการฟื้นฟูด้านศิลปวัฒนธรรมที่ชุมชนต้องการให้มีการฟื้นฟู อีกทั้งรวบรวมและวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลเพื่อเป็นการจัดกิจกรรมต่อไป จัดขึ้นวันที่ 2 เมษายน ณ ศาลาเอนกประสงค์ บ้านลาดบัวขาว กิจกรรมที่ 3 จัดกิจกรรมฟื้นฟู สืบสาน อนุรักษ์ และต่อยอดศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนต้อนแบบ การจัดกิจกรรมทำให้ผู้เข้าอบรมสามารถปฏิบัติเทคนิคการตีกลองยาวในบทเพลง 5 บทเพลง ได้แก่ เพลง สามบ่อม, จังหวะ 1 , จังหวะ 2…

โครงการพัฒนาลวดลายผ้าทอมือจากสีย้อมธรรมชาติ เพื่อสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ และจัดทำแหล่งเรียนรู้อัตลักษณ์ด้านมรดกภูมิปัญญาผ้าทอมือชุมชนบ้านกร่าง
|

โครงการพัฒนาลวดลายผ้าทอมือจากสีย้อมธรรมชาติ เพื่อสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ และจัดทำแหล่งเรียนรู้อัตลักษณ์ด้านมรดกภูมิปัญญาผ้าทอมือชุมชนบ้านกร่าง

โครงการพัฒนาลวดลายผ้าทอมือจากสีย้อมธรรมชาติ เพื่อสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ และจัดทำแหล่งเรียนรู้อัตลักษณ์ด้านมรดกภูมิปัญญาผ้าทอมือชุมชนบ้านกร่าง เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีการดำเนินการ ดังนี้1. ประชุมวางแผน และติดตามการดำเนินโครงการ กิจกรรม : ประชุมวางแผน และติดตามการดำเนินโครงการ จำนวน  2 ครั้ง เรื่องชี้แจงตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ : แผนปฏิบัติการของแต่ละกิจกรรม งบประมาณ : 3,600 บาท โดยมี อาจารย์ว่าที่ร้อยตรีหญิงยุวดี พ่วงรอด เป็นผู้รับผิดชอบ (ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว) 2. ลงพื้นที่ สำรวจ ศึกษา รวบรวม ตลอดตนวิเคราะห์ สังเคราะห์ และเรียบเรียงข้อมูลมรดกภูมิปัญญาผ้าทอมือของชุมชนบ้านกร่าง งบประมาณ : 14,800 บาท โดยมี อาจารย์รสสุคนธ์ ประดิษฐ์ เป็นผู้รับผิดชอบ (ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว)  ตัวชี้วัดความสำเร็จของกิจกรรม จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ    45 คน จำนวนหมู่บ้าน ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏฯ ดำเนินโครงการ                            2 หมู่บ้านจำนวนนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ                                              12…