การใช้น้ำและการดูแลรักษา
| |

การใช้น้ำและการดูแลรักษา

การใช้น้ำและการดูแลรักษา           มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามมีกระบวนการบำบัดน้ำเสีย คือ มีถังบำบัดน้ำเสียในแต่ละอาคาร (onsite treatment) ที่มีการออกแบบมาพร้อมกับการก่อสร้างอาคาร ซึ่งจะมีการคำนวณปริมาณน้ำเสียที่คลอบคุมทั้งอาคาร โดยเมื่อน้ำทิ้งที่ผ่านถังบำบัดน้ำเสียแล้วจะเข้าสู่คลองระบายน้ำโดยรอบและมีประตูน้ำปิด-เปิดของมหาวิทยาลัย โดยคลองระบายน้ำจะทำการบำบัดน้ำเสียไหลวนด้วยวิธีธรรมชาติผ่านสระเก็บน้ำขนาดใหญ่ 3 สระ (oxidation pond) ได้แก่ สระเก็บน้ำคณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร, สระเก็บน้ำหลังหอสมุดอิเล็กทรอนิกส์ และสระเก็บน้ำสวนรัชมังคลาภิเษก เป็นต้น ซึ่งสระเก็บน้ำดังกล่าว จะมีการพักน้ำเสียและปรับสมดุลโดยวิธีธรรมชาติ ก่อนที่น้ำทิ้งจะไหลวนมายังคลองรอบมหาวิทยาลัย ซึ่งคุณภาพน้ำดิบจะค่อนข้างดีที่สุด จากนั้นก็จะสูบมาพักยังสระน้ำดิบเพื่อรอผลิตน้ำประปาส่งจ่ายไปยังมหาวิทยาลัยดังเดิม พื้นที่รับน้ำโดยรอบมหาวิทยาลัย พื้นที่รับน้ำโดยรอบมหาวิทยาลัย           มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้มีการปฏิบัติตามกรมควบคุมมลพิษออกกฎกระทรวงเรื่อง “กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และแบบการเก็บสถิติและข้อมูล การจัดทำบันทึกรายละเอียด และรายงานสรุปผลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย พ.ศ. 2555” ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษ ซึ่งมีหน้าที่ต้องเก็บข้อมูล และรายงานสรุปการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย ตามมาตรา 80 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 2 สิงหาคม 2555 ตามกฎกระทรวงดังกล่าว มีผลให้เจ้าของแหล่งกำเนิดมลพิษที่ถูกประกาศให้เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษ จะต้องจดบันทึกสถิติและข้อมูลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียตามแบบ ทส.1 ทุกวัน และสรุปผลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียตามแบบ…

ปริมาณการใช้น้ำต่อท่าน
|

ปริมาณการใช้น้ำต่อท่าน

ปริมาณการใช้น้ำต่อท่าน มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มีพื้นที่ตั้งทั้งหมด 3 วิทยาเขต ได้แก่ 1. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (ส่วนทะเลแก้ว) : ตั้งอยู่ ตำบลพลายชุมพล อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก มีพื้นที่เท่ากับ 993-0-41 ไร่ เป็นที่ตั้งของสำนักงานอธิการบดี สถาบันวิจัยและพัฒนา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม วิทยาลัยการจัดการและพัฒนาท้องถิ่น วิทยาลัยการพยาบาล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ศูนย์วิทยาศาสตร์ ศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางธุรกิจ หอประชุมศรีวชิรโชติ และสวนสุขภาพ สนามกีฬา/ที่พักผ่อน และมีพื้นแหล่งกักเก็บน้ำภายในมหาวิทยาลัยจำนวนมาก เช่น สระน้ำ หนอง บึง เป็นต้น พื้นที่แหล่งน้ำธรรมชาติภายในมหาวิทยาลัย โรงผลิตน้ำประปาผิวดิน โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (ส่วนทะเลแก้ว) มีการนำแหล่งน้ำมาใช้ในการอุปโภคอยู่จำนวน 3 แหล่ง ได้แก่ น้ำประปาส่วนภูมิภาค, น้ำประปาเทศบาลตำบลพลายชุม และน้ำประปาที่มหาวิทยาลัยได้มีการนำน้ำธรรมชาติหรือน้ำผิวดินภายในพื้นที่ของตนเองมาผลิตน้ำใช้เพื่ออุปโภค ซึ่งในแต่ละปีจะมีการใช้น้ำเพื่ออุปโภคปีละ 158,070 ลบ.ม. ปริมาณการใช้น้ำ 1,464/คน (ปริมาณการใช้น้ำต่อ…

โครงการส่งเสริม และทำนุบำรุงศาสนาและประเพณีท้องถิ่น
|

โครงการส่งเสริม และทำนุบำรุงศาสนาและประเพณีท้องถิ่น

โครงการส่งเสริม และทำนุบำรุงศาสนาและประเพณีท้องถิ่น ได้แก่ 1) กิจกรรมมาฆประทีป                      2) กิจกรรมตักบาตร 3) กิจกรรมทำบุญระหว่างพรรษา 4) กิจกรรมหล่อเทียน-ถวายเทียนพรรษา            5) กิจกรรมทอดกฐิน  สรุปสาระสำคัญการดำเนินงาน : รูปแบบการจัดกิจกรรมการอนุรักษ์ ส่งเสริม สืบสาน และเผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรม ให้แก่นักศึกษาได้เข้ามามีส่วนร่วมในการสืบสาน ส่งเสริม และสนับสนุนการเรียนรู้ ให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทย ผ่านโครงการอนุรักษ์ สืบสาน และทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ในรูปแบบกิจกรรมต่างๆ ที่มา: สำนักศิลปะและวัฒนธรรม

โครงการยกย่องเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานดีเด่นด้านศิลปวัฒนธรรม
|

โครงการยกย่องเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานดีเด่นด้านศิลปวัฒนธรรม

โครงการยกย่องเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานดีเด่นด้านศิลปวัฒนธรรมสรุปสาระสำคัญการดำเนินงาน มีกิจกรรมดังนี้ เสวนา “วิถีครู ผู้สืบสานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น” วิทยากรโดยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เรื่อง นิยามศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น โดย ผศ.สุพจน์ พฤกษะ เรื่องการเป็นผู้สืบสานและจัดกิจกรรมศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น โดย คุณปรีชญา พรมชู เรื่องบทบาทของความเป็นครูกับการถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น โดย ผศ.ดร.ชุมพล เสมาขันธ์ ทั้งนี้มีผศ.ดร.ภาวิดา มหาวงศ์ เป็นผู้ดำเนินรายการ และพิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ ที่มา: สำนักศิลปะและวัฒนธรรม รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง : https://www.facebook.com/media/set/?set=a.4265620196887294&type=3

การฟื้นฟูบ่อเกลือโบราณ กับชุมชน ณ บ้านนาขาม ตำบลบ้านยาง อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก
|

การฟื้นฟูบ่อเกลือโบราณ กับชุมชน ณ บ้านนาขาม ตำบลบ้านยาง อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก

การฟื้นฟูบ่อเกลือโบราณอายุมากกว่า 800 ปี ที่ปิดร้างมานานกว่า 90 ปี ทำพิธีเบิกบ่อเกลือร่วมกับชุมชน ณ บ้านนาขาม ตำบลบ้านยาง อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก สรุปสาระสำคัญการดำเนินงาน : ผศ.ดร.สุพัตรา เจริญภักดี บดีรัฐ ในฐานะหัวหน้าศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช มรพส. นำบุคลากรสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ร่วมพิธีเบิกบ่อเกลือบ้านนาขาม จัดโดย ชุมชนตำบลบ้านยาง ร่วมกับ อำเภอวัดโบสถ์ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม องค์กรภาครัฐภาคเอกชน และประชาชนในตำบลบ้านยาง ได้จัดพิธีเบิกบ่อเกลือบ้านนาขาม กิจกรรมนี้จัดขึ้นขึ้นจากความศรัทธา ความรักความสามัคคี และจิตอาสาของทุกภาคส่วน ในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนเป็นส่วนสำคัญ ตระหนักถึงคุณค่าและช่วยกันอนุรักษ์แหล่งเกลือโบราณสืบสานพิธีกรรมและความเชื่อ นับเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมที่สำคัญของตำบลบ้านยาง กิจกรรมนี้เป็นการฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับการต้มเกลือของคนตำบลบ้านยาง คาดว่าสูญหายไปนานมากกว่า 90 ปี จากการสอบถามผู้สูงอายุ  ซึ่งไม่เคยทราบเกี่ยวกับการต้มเกลือในพื้นที่นี้ การดำเนินงานครั้งนี้ ยังช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายการสืบสานและพัฒนาภูมิปัญญาของชุมชนบ้านยาง เนื่องจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐภาคเอกชนได้ร่วมมือร่วมใจในการส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมส่งผลให้คนในชุมชนเห็นคุณค่า และร่วมกันอนุรักษ์มรดกภูมิปัญญาที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นตน โดยกำหนดจัดขึ้นในวันขึ้น 4 ค่ำ เดือน 4 ของทุกปี ในปีนี้ตรงกับวันจันทร์ที่…

การสนับสนุนจัดประกวดการแสดงศิลปวัฒนธรรมและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมภายในประเทศไทยร่วมกับเครือข่ายในโอกาสต่าง ๆ
|

การสนับสนุนจัดประกวดการแสดงศิลปวัฒนธรรมและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมภายในประเทศไทยร่วมกับเครือข่ายในโอกาสต่าง ๆ

การเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ได้แก่ การสนับสนุนจัดประกวดการแสดงศิลปวัฒนธรรมและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมภายในประเทศไทยร่วมกับเครือข่ายในโอกาสต่าง ๆ สรุปสาระสำคัญการดำเนินงาน : เพื่อสืบสาน อนุรักษ์ ส่งเสริม สนับสนุน ศิลปะและภูมิปัญญาสู่เยาวชนไทย โดยภายในงานมีการจัดการแสดงดังนี้ 1. วงดนตรีลูกทุ่งพิบูลสงคราม2. ลิเกเพชรพิบูล               3. รำโนราห์4. รำไทพวน                                                5. รำวงย้อนยุค ที่มา : สำนักศิลปะและวัฒนธรรม รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง : https://aco.psru.ac.th/hotnews3.php?id=929

โครงการอนุรักษ์ สืบสานและถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่เยาวชนในจังหวัดพิษณุโลกและสุโขทัย
|

โครงการอนุรักษ์ สืบสานและถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่เยาวชนในจังหวัดพิษณุโลกและสุโขทัย

โครงการอนุรักษ์ สืบสานและถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่เยาวชนในจังหวัดพิษณุโลกและสุโขทัย เป็นการบูรณาการองค์ความรู้ทางวิชาการกับการจัดการเรียนการสอนและวิจัย จำนวน 12 รายวิชา สรุปสาระสำคัญการดำเนินงาน : เป็นการบูรณาการการเรียนการสอนร่วมกับศิลปะและวัฒนธรรม มีการเสวนาวิชาการ การแสดงการถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นจากเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานทั้งภายในและภายนอก 7 คณะ 12 รายวิชา ได้แก่ 1. คณะครุศาสตร์2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์3. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี4. คณะวิทยาการจัดการ5. คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร6. วิทยาลัยการจัดการและพัฒนาท้องถิ่น7. คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม8. ภาพวาดจากศิลปินอิสระเป็นงานศิลปะภาพพิมพ์ (ศิลปะนามธรรมหรือแอ๊บแสตร็กอารต์) และศิลปะสื่อผสมเป็นงานเทคเจ้อร์หรืองานพื้นผิวด้านศิลปวัฒนธรรม9. การแสดงผลงานการแสดงชุดรำมโนราห์จากกลุ่มนางฟ้าดาวลูกไก่ รายละเอียดกิจกรรม1. กิจกรรม : อาภรณ์กลางไพร ถักทอสายใยสืบสานด้วยเยาวชนแหล่งเรียนรู้  ณ หมู่บ้านห้วยหยวก ตำบลบ้านแกร่ง อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย2. กิจกรรม :  Food Sci รู้จักเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น แหล่งเรียนรู้  ณ วิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงปลา บ้านวังแร่ ตำบลชุมแสงสงคราม อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก3. กิจกรรม : รักษ์เรื่องเล่าวิถีไท ผ่านโลกออนไลน์ ตามสไตล์ภาษาอังกฤษแหล่งเรียนรู้ ณ…

การสร้างห้องขายสินค้าทางวัฒนธรรม (CPOT: Cultural Product of Thailand)
|

การสร้างห้องขายสินค้าทางวัฒนธรรม (CPOT: Cultural Product of Thailand)

ส่งเสริมและจัดจำหน่ายการขายสินค้าทางวัฒนธรรม อาทิ เสื้อ กระเป๋า หมวก ผ้าถุง น้ำพริก ซึ่งเป็นสินค้าทางวัฒนธรรมที่ผลิตโดยชุมชนเพื่อชุมชม  เป็นการอนุรักษ์ สืบสานวัฒนธรรมด้านภูมิปัญญาให้คงไว้ และสืบทอดให้คนรุ่นหลังได้ภาคภูมิใจในวัฒนธรรมของตนเอง ทั้งยังเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน ที่มา : สำนักศิลปะและวัฒนธรรม

การจัดสวดมนต์ยี่เป็ง
|

การจัดสวดมนต์ยี่เป็ง

สรุปสาระสำคัญการดำเนินงาน : โดยไม่ใช้งบประมาณจากมหาวิทยาลัย เพื่อระลึกถึงบรรพชน ครูบาอาจารย์และนางรำจิตอาสาที่ล่วงลับไปแล้ว ที่มา : สำนักศิลปะและวัฒนธรรม รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง : https://aco.psru.ac.th/hotnews3.php?id=982

การส่งเสริมเอกลักษณ์แต่งกายผ้าไทย ผ้าพื้นเมือง ทุกวันจันทร์ วันพุธ วันศุกร์
|

การส่งเสริมเอกลักษณ์แต่งกายผ้าไทย ผ้าพื้นเมือง ทุกวันจันทร์ วันพุธ วันศุกร์

สาระสำคัญการดำเนินงาน : ส่งเสริมเอกลักษณ์แต่งกายผ้าไทย ผ้าพื้นเมือง ให้กับบุคลากร อาจารย์ เจ้าหน้าที่ ทุกวันจันทร์ วันพุธ วันศุกร์ ที่มา: สำนักศิลปะและวัฒนธรรม รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง : https://aco.psru.ac.th/hotnews3.php?id=922