โครงการส่งเสริม และทำนุบำรุงศาสนาและประเพณีท้องถิ่น
|

โครงการส่งเสริม และทำนุบำรุงศาสนาและประเพณีท้องถิ่น

โครงการส่งเสริม และทำนุบำรุงศาสนาและประเพณีท้องถิ่น ได้แก่ 1) กิจกรรมมาฆประทีป                      2) กิจกรรมตักบาตร 3) กิจกรรมทำบุญระหว่างพรรษา 4) กิจกรรมหล่อเทียน-ถวายเทียนพรรษา  5) กิจกรรมทอดกฐิน  สาระสำคัญการดำเนินงาน : รูปแบบการจัดกิจกรรมการอนุรักษ์ ส่งเสริม สืบสาน และเผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรม ให้แก่นักศึกษาได้เข้ามามีส่วนร่วมในการสืบสาน ส่งเสริม และสนับสนุนการเรียนรู้ ให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทย ผ่านโครงการอนุรักษ์ สืบสาน และทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ในรูปแบบกิจกรรมต่างๆ ที่มา : สำนักศิลปะและวัฒนธรรม รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง : https://aco.psru.ac.th/hotnews3.php?id=839

ทางเดินเท้าในวิทยาเขต
|

ทางเดินเท้าในวิทยาเขต

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามได้ให้ความสำคัญกับปัญหาที่เกิดขึ้นเห็นได้จากนโยบายของมหาวิทยาลัยที่ให้ความสำคัญ เช่น ลดการใช้ยานพาหนะโดยการรณรงค์ให้นักศึกษาปีที่ 1 เดินทางเท้าแทนการใช้ยานพาหนะ การเพิ่มขนส่งมวลชนสาธารณะเพื่อลดการใช้ยานพาหนะส่วนบุคคล และการจำกัดพื่นที่จอดเพื่อให้ยากต่อการใช่ยานพาหนะ เป็นต้น พื้นที่มหาวิทยาลัยจึงเหมาะที่จะเป็นจุดเริ่มต้นของการส่งเสริมให้มีการเปลี่ยนการสัญจรโดยรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นการเดินทางเท้าแทน อีกทั้งมหาวิทยาลัยยังเล็งเห็นความสำคัญ จึงได้จัดทำโครงการก่อสร้างทางเท้าพร้อมหลังคาภายในมหาวิทยาลัย โครงการก่อสร้างทางเท้าพร้อมหลังคาภายในมหาวิทยาลัยเงินรายได้ ประจำปีงบประมาณ 2565 ยอดเงินงบประมาณ 7,000,000 บาท ซึ่งอยู่ในการตอนปรับแก้แบบ และถอดแบบประเมินราคา โครงการก่อสร้างดังกล่าว มีวัตถุประสงค์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นักศึกษา  บุคลากรและประชาชนทั่วไปที่จะเข้ามาติดต่อราชการ และเพื่อให้นักศึกษา  บุคคลากรภายในมหาวิทยาลัย ได้ใช้สอยพื้นที่ ได้สะดวก และทำกิจกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

สวัสดิการที่พักให้บุคลากร
|

สวัสดิการที่พักให้บุคลากร

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม นำโดยศูนย์วัฒนธรรมภาคเหนือตอนล่าง ได้มีนโยบายปรับค่าบริการห้องพักประเภทห้องพักดีลักซ์ ให้บุคลากรและบุคลากรที่เกษียณอายุราชการเข้าพัก จากลูกค้าทั่วไปราคา 790 บาท บุคลากร มรพส. เมื่อแสดงบัตรพนักงาน ได้รับบริการห้องพักอัตรา 490 บาท

การให้บริการโปรแกรมการประชุมและการจัดการเรียนการสอน
|

การให้บริการโปรแกรมการประชุมและการจัดการเรียนการสอน

การให้บริการโปรแกรมการประชุมและการจัดการเรียนการสอน บริการอีเมลมาตรฐาน Microsoft  ซึ่งเป็นชื่ออีเมล @live.psru.ac.th   ผู้ใช้งานสามารถนำอีเมลไปใช้งาน Login Microsoft Team เพื่อใช้ในการประชุมนักศึกษา อาจารย์ ใด้เนื่องจากมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามได้จัดซื้อ ชุด Software ประจำปีเพื่อให้บริการภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม สนับสนุนการปฏิบัติงานเพื่อรองรับการปฏิบัติงานนอกพื้นที่กับบุคลากรและนักศึกษา 2. โปรแกรมจัดการสอนและการประชุม Google Meet  เพื่อการเรียนการสอน และการประชุมกลุ่ม บริการ อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา  บริการอีเมลมาตรฐาน Google ซึ่งเป็นชื่ออีเมล @psru.ac.th   ผู้ใช้งานสามารถนำอีเมลไปใช้งาน Login Google Meet  เพื่อใช้ในการประชุมนักศึกษา อาจารย์ ใด้เนื่องจากมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามได้จัดซื้อ ชุด Software ประจำปีเพื่อให้บริการภายในมหาวิทยาลัยฯ  สนับสนุนการปฏิบัติงานเพื่อรองรับการปฏิบัติงานนอกพื้นที่กับบุคลากรและนักศึกษา         มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามได้จัดซื้อ Software  Zoom เพื่อจัดการประชุม ประจำปีจำนวน 15 User เพื่อให้บริการภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามเพื่อจัดการประชุมภายในและภายนอกหน่วยงาน สนับสนุนการปฏิบัติงานเพื่อรองรับการปฏิบัติงานนอกพื้นที่กับบุคลากรและนักศึกษา

ระบบขนส่งสาธารณะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
|

ระบบขนส่งสาธารณะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เล็งเห็นความสำคัญของระบบการขนส่งที่มีบทบาทสำคัญในการปล่อยก๊าซคาร์บอนและระดับมลพิษในมหาวิทยาลัยนโยบายการขนส่งเพื่อจำกัดจำนวนยานยนต์ในการใช้งานภายในมหาวิทยาลัย จำนวนของรถโดยสารและจักรยานจะช่วยส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพ นโยบายทางเดินเท้าจะส่งเสริมให้นักศึกษาและเจ้าหน้าที่เดินภายในพื้นที่มหาวิทยาลัยและหลีกเลี่ยงการใช้ยานพาหนะส่วนตัว การใช้ระบบขนส่งสาธารณะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ภายในและรอบพื้นที่มหาวิทยาลัย การส่งเสริมการใช้จักรยาน โดยจักยาน OFO จะจอดตามจุดเพื่อให้ นักศึกษา บุคลากร และอาจารย์ได้ใช้งาน มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มีการให้บริการรถไฟฟ้าสัญจรภายในมหาวิทยา วิทยาเขต ทะเลแก้ว จำนวน 6 คัน ซึ่งผู้บริหารได้มีแนวคิดพื้นฐานของการใช้เทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้าคือ การใช้พลังงานสะอาด มาขับเคลื่อนรถยนต์ไฟฟ้า โดยพลังงานสะอาด หรือพลังงานสีเขียว (Green Energy) คือ พลังงานที่ไม่ท้าลายสิ่งแวดล้อม ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ และเป็นพลังงานที่สามารถน้ามาใช้ได้ ไม่มีวันหมด ส้าหรับประโยชน์ของรถยนต์ไฟฟ้านั้นมีหลายประการ อาทิเช่น รถยนต์ไฟฟ้า มีศักยภาพที่จะช่วยลดมลพิษ เนื่องจาก ไม่มีการเผาไหม้จากพลังงานเชื้อเพลิงภายในจึงไม่มี ไอเสีย หรือควันออกสู่สิ่งแวดล้อม และมอเตอร์ไฟฟ้านี้จะไม่ทำงานในขณะที่รถจอด อีกทั้งรถยนต์ไฟฟ้ามีเสียงการ ทำงานของมอเตอร์ที่เงียบกว่าเสียงของเครื่องยนต์สันดาปภายใน ส่งผลให้ลดมลพิษทางเสียงได้ รายชื่อ เจ้าหน้าที่ขับรถไฟฟ้า ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

เข้าใช้พื้นที่ฟรีอย่างถาวร
| |

เข้าใช้พื้นที่ฟรีอย่างถาวร

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มีเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ 3 ภาคส่วน คือ ส่วนทะเลแก้ว ส่วนวังจันทน์ และส่วนสนามบิน  มีนโยบายในการขับเคลื่อนการเป็นมหาวิทยาลัยนวัตกรรมสีเขียว ซึ่งสอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 เพิ่มประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลเพื่อพัฒนาองค์การอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยฯ มีพื้นที่สีเขียว อาทิ พรรณไม้ป่า พืชปลูกและพื้นที่ดูดซึมน้ำ เป็นสถานที่หลากหลาย เพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้ และเพิ่มพื้นที่สีเขียวภายในมหาวิทยาลัย ไม่เพียงแต่เป็นมหาวิทยาลัยแห่งการเรียนรู้เท่านั้น ยังเป็นสาธารณให้ประชาชนทั่วไป สามารถเข้าใช้พื้นที่สีเขียว ภายมหาวิทยาลัยได้ฟรี อาทิเช่น สามารถเข้ามาออกกำลังกาย ปั่นจักรยาน หรือ เข้าใช้พื้นที่สถานที่ถ่ายพรีเวดดิ้ง หรือกิจกรรมอื่นๆ ได้                   – มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มีพื้นที่เปิดโล่งสำหรับออกกำลังกาย ณ สนามกีฬาพระองค์ดำ อีกทั้งเป็นพื้นที่สีเขียว เปิดให้ถ่ายพีเวดดิ้ง หรือ จัดกิจกรรมต่างๆ โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมเข้า มีกิจกรรม เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้เป็นมหาวิทยาลัยแห่งความสุข เช่น กิจกรรมปลูกไม้ผล ไม้ดอก ปล่อยพันธุ์ปลาเฉลิมพระเกียรติฯ ดอกเหลืองปีดียาธร และ ดอกเหลืองเชียงราย ณ ถนนภายในมหาวิทยาลัยฯ

สนับสนุนเงินอุดหนุนทางการศึกษาสำหรับนักศึกษาพิการในระดับอนุปริญญาและระดับปริญญาตรี
|

สนับสนุนเงินอุดหนุนทางการศึกษาสำหรับนักศึกษาพิการในระดับอนุปริญญาและระดับปริญญาตรี

   พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ.2551 ที่กำหนดให้สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาและสถาบันอาชีวศึกษาในทุกสังกัด มีหน้าที่รับคนพิการเข้าศึกษาในสัดส่วนหรือจำนวนที่เหมาะสม ทั้งนี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนดนั้น ต่อมาได้มีระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ.2552 มีหน้าที่รับคนพิการเข้าศึกษาตามความสามารถ ความสนใจ ความถนัดและความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการตามประเภทความพิการ ทั้งนี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขที่สถาบันการศึกษากำหนดและสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้จัดทำโครงการสนับสนุนเงินอุดหนุนทางการศึกษาสำหรับนักศึกษาพิการในระดับอนุปริญญาและระดับปริญญาตรี เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายและนโยบายของรัฐบาล และเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการกระจายโอกาสทางการศึกษาและการสร้างความเท่าเทียมกันทางการศึกษาสำหรับคนพิการให้สามารถเข้าถึงการศึกษาในระดับอุดมศึกษา โดยจัดสรรเงินอุดหนุนทางการศึกษาดังกล่าวโดยตรงไปยังสถานศึกษาที่รับคนพิการเข้าศึกษาในสถาบัน           งานกิจกรรมและพัฒนานักศึกษาได้ทำการสำรวจนักศึกษาพิการระดับปริญญาตรี ที่เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามทั้งภาคปกติและภาคพิเศษ (เสาร์-อาทิตย์) เพื่อขอรับการสนับสนุนเงินอุดหนุนทางการศึกษาสำหรับนักศึกษาพิการในระดับอนุปริญญาและระดับปริญญาตรี ตั้งแต่ที่เข้าศึกษาถึงจบการศึกษา และเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายและนโยบายของรัฐบาล อีกทั้งได้ให้ความสำคัญกับนักศึกษาพิการในการคัดเลือกทุนต่างๆ ที่เหมาะสมแก่นักศึกษาพิการ นักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน นายปวริศ เหล็กสุวรรณ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้รับเข็มเชิดชูเกียรติและเกียรติบัตร เนื่องจากนักศึกษาผู้ได้รับการคัดเลือกและยกย่องว่าเป็นผู้มีความประพฤติดี พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปี 2564 นายปวริศ   เหล็กสุวรรณ นักศึกษาสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้รับคัดเลือกให้รับ “รางวัลชมเชย” ในการคัดเลือกนักศึกษาเพื่อรับรางวัลพระราชทาน ระดับอุดมศึกษา ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔  (ประเภทนักศึกษาพิการ ทางด้านการได้ยิน) 4. ที่มา   งานกิจกรรมและพัฒนานักศึกษา…

การส่งเสริมการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาสำหรับคนพิการที่มีความสามารถในการเรียนรู้ให้สามารถได้รับโอกาสในการศึกษาอย่างทั่วถึงและเหมาะสม
|

การส่งเสริมการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาสำหรับคนพิการที่มีความสามารถในการเรียนรู้ให้สามารถได้รับโอกาสในการศึกษาอย่างทั่วถึงและเหมาะสม

          พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ.2551 ที่กำหนดให้สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาและสถาบันอาชีวศึกษาในทุกสังกัด มีหน้าที่รับคนพิการเข้าศึกษาในสัดส่วนหรือจำนวนที่เหมาะสม ทั้งนี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนดนั้น ต่อมาได้มีระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ.2552 มีหน้าที่รับคนพิการเข้าศึกษาตามความสามารถ ความสนใจ ความถนัดและความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการตามประเภทความพิการ ทั้งนี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขที่สถาบันการศึกษากำหนด           งานกิจกรรมและพัฒนานักศึกษาได้มีการจัดทำประกาศสภามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามเรื่อง นโยบาย หลักเกณฑ์ และวิธีการรับนักศึกษาพิการเข้าศึกษา ในแต่ละปีการศึกษา เพื่อเป็นการส่งเสริมการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาสำหรับคนพิการที่มีความสามารถในการเรียนรู้ให้สามารถได้รับโอกาสในการศึกษาอย่างทั่วถึงและเหมาะสม อันเป็นการสร้างความเท่าเทียมกันในสังคม ซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 ที่มา งานกิจกรรมและพัฒนานักศึกษา กองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง      2. ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ   3. ประกาศสภามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เรื่อง นโยบาย หลักเกณฑ์ และวิธีการรับนักศึกษาพิการเข้าศึกษา ประจำปีการศึกษา 2564  

บริการสิ่งสนับสนุนทางการศึกษาที่ช่วยให้นักศึกษาพิการสามารถเข้าถึงระบบการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยได้อย่างเท่าเทียมกับนักศึกษาทั่วไป
|

บริการสิ่งสนับสนุนทางการศึกษาที่ช่วยให้นักศึกษาพิการสามารถเข้าถึงระบบการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยได้อย่างเท่าเทียมกับนักศึกษาทั่วไป

          งานกิจกรรมและพัฒนานักศึกษามีหน่วยบริการสนับสนุนนักศึกษาพิการ (Disability Support Services : DSS) งานบริการสนับสนุนทางการศึกษาที่ช่วยให้นักศึกษาพิการสามารถเข้าถึงระบบการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยได้อย่างเท่าเทียมกับนักศึกษาทั่วไป โดยลดอุปสรรคซึ่งกำจัดโอกาสของนักศึกษาพิการ จัดหาบริการสนับสนุน และสิ่งอำนวยความสะดวก ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของนักศึกษาพิการเพื่อให้นักศึกษาพิการสามารถบรรลุเป้าหมายทางการศึกษาและใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง ซึ่งบริการที่จัดให้นั้นจะต้องพิจารณาจากลักษณะเฉพาะของแต่ละความพิการและความต้องการจำเป็นของนักศึกษาพิการเป็นรายบุคคล เช่น ล่ามภาษามือ ปฏิบัติหน้าที่หลักในฐานะล่ามภาษามือสำหรับนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน โดยต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถในการใช้ภาษามือไทย ซึ่งต้องปฏิบัติหน้าที่สอน (แปลล่ามภาษามือ) ในแต่ละรายวิชาให้กับนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน สอนเสริมหลังเลิกเรียน และสรุปผลการจัดการเรียนการสอน และทบทวนคำศัพท์ภาษามือหลังเลิกเรียน อีกทั้งปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้บริการสนับสนุนนักศึกษาพิการอื่นๆ ในมหาวิทยาลัย ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย แปลภาษามือให้แก่นักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในห้องเรียน แปลภาษามือให้แกก่นักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน รูปแบบออนไลน์ เนื่องจากสถานการณ์เชื้อไวรัสโคโรนา แปลภาษามือให้แก่นักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ เช่น กิจกรรมปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ พิธีไหว้ครู นักศึกษาใหม่ ภาคปกติ เป็นต้น แปลภาษามือให้แก่นักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยินกิจกรรมต่าง ๆ รูปแบบการถ่ายทอดสดเนื่องจากสถานการณ์ เชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ตู้ TTRS สำหรับนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ตู้ TTRS คือการให้บริการถ่ายทอดการสื่อสารโดยผู้ที่บกพร่องทางการได้ยินใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ส่ง SMS…

บริการสนับสนุนนักศึกษาพิการ
|

บริการสนับสนุนนักศึกษาพิการ

          งานกิจกรรมและพัฒนานักศึกษามีหน่วยบริการสนับสนุนนักศึกษาพิการ (Disability Support Services : DSS) ให้บริการช่วยเหลือสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของนักศึกษาพิการ มีการตรวจสอบเอกสารเกี่ยวกับความพิการของนักศึกษา จัดทำและดูแลแฟ้มข้อมูลนักศึกษาพิการ ประสานงานการจัดบริการกับบุคคลต่างๆ เช่น อาจารย์ประจำรายวิชาที่มีนักศึกษาพิการเรียนร่วม อีกทั้งบริการให้คำปรึกษาในเรื่องต่างๆ แก่อาจารย์ ผู้ปกครองและนักศึกษาพิการทุกประเภททั้งแบบรายบุคคลและแบบกลุ่ม ให้คำปรึกษาในเรื่องต่างๆ แก่นักศึกษาพิการทุกประเภท    ได้มีการโครงการต่างๆ ให้แก่นักศึกษาพิการ เพื่อให้นักศึกษาพิการได้มีความรู้และความเข้าใจในการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย ได้แก่ 1. จัดโครงการประชุมผู้ปกครองและปฐมนิเทศนักศึกษาพิการระดับอุดมศึกษา – เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกิจกรรมและทุนสำหรับนักศึกษาพิการ – เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวนักศึกษาพิการกับบุคลากรที่เกี่ยวข้อง – เพื่อชี้แจงกฎระเบียบและรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนของบุตรหลานให้ผู้ปกครองรับทราบ – เพื่อสร้างความตะหนักและความเข้าใในการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยแก่ผู้ปกครองและนักศึกษาพิการ 2. จัดโครงการเตรียมความพร้อมก่อนจบการศึกษาของนักศึกษาพิการ เพื่อให้นักศึกษาได้สร้างความก้าวหน้าในอนาคตและได้รับทราบลักษณะการทำงานในสายงานของตนเองรวมถึงการพัฒนาบุคลิกภาพในการสัมภาษณ์งานของนักศึกษาพิการให้พร้อมสำหรับในการสมัครงาน 3. ลิงค์การเข้าถึงรูปภาพ  4. ที่มา   งานกิจกรรมและพัฒนานักศึกษา กองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม