โครงการจิตอาสาบริจาคโลหิต สู้วิกฤติ Covid-19 ปี 2565

โครงการจิตอาสาบริจาคโลหิต สู้วิกฤติ Covid-19 ปี 2565

ม.ราชภัฏพิบูลสงคราม จัดโครงการจิตอาสาบริจาคโลหิต สู้วิกฤติ Covid-19 ประจำปี 2565 เชิญชวนผู้มีจิตอันเป็นกุศลร่วมบริจาคโลหิตตลอดปี 2565 ณ อาคารทีปวิชญ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม (ส่วนทะเลแก้ว) เวลา 08.30 – 12.00 น. โดยกิจกรรมบริจาคโลหิตในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ในปีนี้ เป็นความร่วมมือของ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม สโมสรโรตารีพิษณุโลก เหล่ากาชาดจังหวัดพิษณุโลก และ โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก นับเป็นส่วนหนึ่งของการฉลองครบรอบ 100 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มีเป้าหมายโลหิต 1 ล้าน CC สำหรับสังคม เพื่อส่งมอบโลหิตให้กับธนาคารเลือด โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก ซึ่งกำลังขาดแคลนโลหิตขั้นวิกฤติ ในช่วง COVID-19 ขณะนี้โครงการจิตอาสาบริจาคโลหิต สู้วิกฤติ Covid-19 ปี 2565 ได้เสร็จสิ้นลงแล้ว มหาวิทยาลัยสามารถส่งมอบโลหิตให้กับ ธนาคารเลือด โรงพยาบาลพุทธชินราช ณ วันที่ 16 ธันวาคม 2565 จำนวน 1,037,580…

มรภ.พิบูลสงคราม เดินหน้าพัฒนาหลักสูตรเพื่อความยั่งยืน

มรภ.พิบูลสงคราม เดินหน้าพัฒนาหลักสูตรเพื่อความยั่งยืน

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสัตวศาสตร์และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม  ได้ผลักดันและส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสัตวศาสตร์และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มุ่งผลิตบัณฑิต ที่มีความรู้คู่คุณธรรม พัฒนาทักษะวิชาชีพ ด้านการผลิตสัตว์ทั้งสัตว์บกและสัตว์น้ำ สร้างองค์ความรู้ใหม่ จากการวิจัยที่สามารถนําไปใช้ได้จริงอันจะนําไปสู่การพัฒนาชุมชนและท้องถิ่นได้อย่างยั่งยืน  โดยมุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ทางด้านการผลิตสัตว์ทั้งสัตว์บกและสัตว์น้ำ การขยายและปรับปรุงพันธุ์สัตว์การจัดการ อาหารและโภชนาการสัตว์การจัดการฟาร์มสัตว์ตลอดจนการจัดการผลผลิตสัตว์ทั้งสัตว์บกและสัตว์น้ำ โดยใช้องค์ความรู้ร่วมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ มีการพัฒนาบัณฑิตให้มีองค์ความรู้ จากการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาด้านการผลิตสัตว์และสามารถปรับตัวเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกได้  รวมถึงในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนร่วมกับชุมชนท้องถิ่น  โดยนำนักศึกษาลงพื้นที่เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจต่าง ๆ เพื่อก่อให้เกิดอาหารในชุมชนและสร้างอาชีพก่อเกิดรายได้ให้แก่ชุมชุน ที่มาข้อมูล  :  หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสัตวศาสตร์และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ  คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร https://www.facebook.com/profile.php?id=100068093410507 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม  ได้ผลักดันและส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา เพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านระบบนิเวศ เพื่อสังคมชมชนที่ยั่งยืน เนื่องจากสังคมไทยในปัจจุบันมีขนาดใหญ่ขึ้นแนวคิดในการใช้ชีวิตของคนไทยจึง เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลกระทบถึงวัฒนธรรม ประเพณีของประชาชนในท้องถิ่น ทั้งในทางบวกและลบการ พัฒนาหลักสูตรต้องอยู่บนพื้นฐานของการพัฒนาคน นอกจากความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์แล้ว ยัง จําเป็นต้องมีการเสริมสร้างจิตสํานึกและอนุรักษ์ความรับผิดชอบต่อสังคมและต้องมีเจตคติที่ดีต่อการใช้ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวทางพระราชดําริที่ถูกต้องด้วย  มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม  โดยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงได้เปิดการสอนในหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต  สาขาวิชาชีววิทยา เป็นหลักสูตรที่ยึดหลักมาตรฐานวิชาการมุ่งผลิตกําลังคนที่เป็นนักวิชาการทางด้านชีววิทยาและเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น และสามารถ ปรับตัวตามสภาพความก้าวหน้าของวิชาการควบคู่กับคุณธรรม  โดยมีการจัดการเรียนการสอนจํานวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 122 หน่วยกิต  มีการออกแบบรายวิชาที่สามารถตอบโจทย์การศึกษาเกี่ยวกับระบบนิเวศ…

พิบูลสงครามบรรจุรายวิชา SDG เพื่อส่งเสริมความยั่งยืน

พิบูลสงครามบรรจุรายวิชา SDG เพื่อส่งเสริมความยั่งยืน

1. วิชาการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (Sustainable Environmental Management) จุดประสงค์ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อ ศึกษาระบบของโลก หลักการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การวิเคราะห์ระบบและประเด็นปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การติดตามสารมลพิษในสิ่งแวดล้อมเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม การวางแผนในการจัดการสิ่งแวดล้อม มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม องค์กรด้านสิ่งแวดล้อม การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2. เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Technology and Innovation for Sustainable Development) จุดประสงค์ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อ ศึกษาความหมาย แนวคิด และบทบาทของเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่อการสร้างสรรค์ที่ยั่งยืนและผลกระทบต่อสังคมและความเป็นมนุษย์ รวมถึงนโยบาย กลยุทธ์ เครื่องมือสำหรับการสังเคราะห์และพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมในสังคมฐานความรู้โดยบริหารจัดการภายใต้จริยธรรมที่ดี 3. การใช้พลังงานอย่างยั่งยืน (Sustainable Energy) จุดประสงค์ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อ ศึกษาแหล่งกำเนิดของพลังงานไฟฟ้าและพลังงานความร้อน ผลกระทบของการผลิตพลังงาน ต่อสภาวะแวดล้อม การวิเคราะห์ต้นทุนค่าพลังงาน เทคโนโลยีพลังงานทดแทนในปัจจุบัน เทคโนโลยีไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน ประสิทธิภาพพลังงานและการจัดการพลังงานในภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรม

พัฒนาบุคลากรเพื่อสร้างเครือข่ายวิศวกรสังคม

พัฒนาบุคลากรเพื่อสร้างเครือข่ายวิศวกรสังคม

กระแสความปั่นป่วนทางด้านเศรษฐกิจและการเมืองโลกในปัจจุบันก่อให้เกิดความท้าทายต่อความพยายามในการก้าวข้ามกับดักประเทศกำลังพัฒนาของประเทศไทยในอนาคตอันใกล้สงครามทางการระหว่างประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจได้เริ่มส่งผลกระทบอย่างชัดเจนต่อกระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรมหลักของประเทศซึ่งเชื่อมโยงไปถึงภาวการณ์มีงานทำของประชาชนในระยะยาวเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันจำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีคนไทยเป็นเจ้าของและสามารถสร้างคุณค่าใหม่ให้แก่ระบบเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนท่ามกลางบริบทความท้าทายดังกล่าวทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพโดยเฉพาะเยาวชนรุ่นใหม่ที่เป็นนักศึกษาและบัณฑิตใหม่คือกุญแจสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยหลุดพ้นวงจรแห่งความยากจนและกับดักประเทศกำลังพัฒนาแผนงานด้านการพัฒนาคนไทยยุคใหม่แห่งศตวรรษที่21จึงมีความมุ่งหวังเพื่อสร้างและพัฒนากำลังคน(Manpower)ที่เป็นยุวชนคนรุ่นใหม่ไม่จำกัดว่าเป็นนักศึกษาหรือบัณฑิตใหม่จะมีความถนัดด้านวิทยาศาสตร์หรือสังคมศาสตร์ซึ่งคนไทยรุ่นใหม่ทุกคนจะได้รับ“โอกาส”ในการเรียนรู้ตามความถนัดของตนเองจนได้“ความรู้ใหม่”หรือ“นวัตกรรม”ที่สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้อย่างยั่งยืนดังนั้นการพัฒนานักศึกษาซึ่งเป็นทรัพยากรสำคัญของเทศไทยให้เป็น“คนไทยแห่งศตวรรษที่21”ที่ถึงพร้อมด้วยสติปัญญาวุฒิภาวะทางอารมณ์และมีจิตสาธารณะและท่ามกลางความผันผวนทางด้านเศรษฐกิจและการค้าโลกทำให้นักศึกษาสามารถลดภาวการณ์ว่างงานของบัณฑิตใหม่ได้ด้วยการบ่มเพาะอาชีพใหม่แห่งอนาคตที่สามารถสร้างคุณค่าใหม่ให้แก่เศรษฐกิจของประเทศ โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม    ได้มอบหมายให้ กองพัฒนานักศึกษา โดยงานกิจกรรมและพัฒนานักศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบกิจกรรมอบรม เพื่อขยายผลโครงการ วิศวกรสังคม(Social Engineer)  สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม  และการคาดการณ์สิ่งที่จะตามมาหลังการเปลี่ยนแปลงได้เกิดขึ้นแล้ว นักศึกษาได้ฝึกการใช้ทักษะวิศวกรสังคม  ทั้งทักษะในการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ  เป็นเหตุเป็นผล  สามารถเชื่อมโยงองค์ความรู้บูรณาการแบบข้ามศาสตร์ คละศาสตร์  ผสมผสานศาสตร์ความรู้ ในการพัฒนาคนในชุมชนท้องถิ่น  สามารถสื่อสาร  ประสานงานกับกลุ่มคน  โดยปราศจากข้อขัดแย้งและเกิดความชำนาญในการสร้างนวัตกรรม เพื่อแก้ไขปัญหาให้กับชุมชน สังคม  และประเทศชาติ           ชุมชนได้รับการแก้ไขปัญหา  จากการลงพื้นที่ใช้ทักษะวิศวกรสังคมของนักศึกษาซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องการแก้ไขจากชุมชนโดยแท้จริง  ทั้งปัญหาดิน เศรษฐกิจ  เกษตรกรรม  ความเป็นอยู่และวิถีชีวิตจนทำให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ อย่างเข้มแข็งและเกิดความยั่งยืนในชุมชน และเพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อเนื่องและยั่งยืนของชุมชน ผู้นำนักศึกษาวิศวกรสังคมได้มีการติดตามและการดำเนินงานโดยลงไปช่วยเหลือชาวบ้านในการปรับปรุง  แก้ไข  ในการทำผลิตภัณฑ์ของชุมชน และถ้าหากเกิดข้อผิดพลาด  ข้อบกพร่องอย่างเป็นระยะและยังได้มีการให้ความรู้เพิ่มเติมให้กับชุมชน  เพื่อให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน   โดยมีผู้นำนักศึกษาวิศวกรสังคมเป็นพี่เลี้ยงต่อไป ผลที่ได้รับจากการดำเนินการ           วิศวกรสังคม (Social Engineer)  คือคนที่ใส่ใจเรื่องราวต่าง ๆ ในสังคม และเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างสังคมให้ดีขึ้น โดยใช้การสังเกต เก็บข้อมูล คิดวิเคราะห์ แบบมีเหตุและผล รวมทั้งการแก้ไขปัญหาแบบเป็นระบบ ในการลงพื้นที่ชุมชนท้องถิ่น เพื่อร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ…

ประชุมเชิงปฏิบัติการการขับเคลื่อนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์ด้านวิทยาศาสตร์ ด้วยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์และนวัตกรรม

ประชุมเชิงปฏิบัติการการขับเคลื่อนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์ด้านวิทยาศาสตร์ ด้วยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์และนวัตกรรม

1. ชื่อโครงการ / กิจกรรม           ประชุมเชิงปฏิบัติการการขับเคลื่อนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์ด้านวิทยาศาสตร์ ด้วยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์และนวัตกรรม 2. สรุปสาระสำคัญ           ตามที่ประชุมโดยกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการรวมถึงพิธีลงนามความร่วมมือ “ การขับเคลื่อนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์งานด้านวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมในระดับภูมิภาค ประจำปี 2567-2570 เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนในทุกพื้นที่ของประเทศ  โดยมุ่งเน้นนำนโยบาย BCG เพิ่มขีดความ ยกระดับคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจในพื้นที่ทั่วประเทศ สู่การแก้ไขปัญหาในระดับจังหวัด ซึ่งกระทรวงฯ ให้ความสำคัญกับการปฏิรูปเพื่อเชื่อมโยงการอุดมศึกษา กับการสร้างนวัตกรรมสู่การสร้างสรรค์สังคม สนับสนุนการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ ลดความเหลื่อมล้ำเศรษฐกิจฐานราก เร่งสร้างอุตสาหกรรมฐานความรู้คู่ไทย ยกระดับวิสาหกิจทุกระดับให้มีรายได้สูง ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี และส่งเสริมบูรณาการการทำงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ด้วยการนำองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ซึ่งได้สอดคล้องกับการจัดกลุ่มการเป็นมหาวิทยาลัยกลุ่ม 2 ของมหาวิทยาลับราชภัฏพิบูลสงคราม โดยท่านอธิการบดีบดีได้รับนโยบายและลงนามพิธีลงนามความร่วมมือ “การขับเคลื่อนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์งานด้านวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมในระดับภูมิภาค ประจำปี 2567-2570” เพื่อนำมาเป็นนโยบายในการขับเคลื่อนหารดำเนินของมหาวิทยาลัยที่สอดรับกับความร่วมมือต่อไป 3. ที่มา           ประชุมเชิงปฏิบัติการรวมถึงพิธีลงนามความร่วมมือ “ การขับเคลื่อนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์งานด้านวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมในระดับภูมิภาค ประจำปี 2567-2570 “ ผ่านระบบประชุมทางไกลออนไลน์…

ประชุมเชิงปฏิบัติการมหาวิทยาลัยราชภัฏกับการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

ประชุมเชิงปฏิบัติการมหาวิทยาลัยราชภัฏกับการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

1. ชื่อโครงการ / กิจกรรม           ประชุมเชิงปฏิบัติการมหาวิทยาลัยราชภัฏกับการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) 2. สรุปสาระสำคัญ           สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ “มหาวิทยาลัยราชภัฏกับการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) โดยนำงานวิจัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นโมเดลพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏและพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนได้ ในการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ได้ร่วมอภิปราย และระดมความคิดเห็น (ร่าง) รายงาน เรื่อง “การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานตามพันธกิจและยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)” และ (ร่าง) รายงานกรณีศึกษา เรื่อง “มหาวิทยาลัยราชภัฏกับการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของท้องถิ่น” ( 10 ราชภัฏ 10 วิสาหกิจชุมชน) จากที่ประชุมได้กำหนดเป้าหมายแนวทางในการดำเนินงานร่วมกันของ มรภ. คือ เป้าหมายของการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ซึ่งการมีเป้าหมายที่ชัดเจนจนนำไปสู่การกำหนดยุทธศาสตร์ นโยบายและแผนงาน ซึ่งทางมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามได้นำเป้าหมายแนวทางในการดำเนินงานที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม มาเป็นนโยบายในการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยเพื่อให้สอดรับกับเป้าหมายการดำเนินงานในภาพใหญ่ร่วมทั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 38 แห่ง ต่อไป 3. ที่มา           ประชุมเชิงปฏิบัติการรวมถึงพิธีลงนามความร่วมมือ “ การขับเคลื่อนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์งานด้านวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมในระดับภูมิภาค ประจำปี 2567-2570 “ ผ่านระบบประชุมทางไกลออนไลน์…

PSRU ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้นวัตกรรมขยะวิทยา  “Urban mining business with recycling”

PSRU ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้นวัตกรรมขยะวิทยา  “Urban mining business with recycling”

ผู้บริหารมหาวิทยาลัยได้เข้ารว่มโครงการฝึกอบรมหลักสูตรนานาชาติ วิชานวัตกรรมขยะวิทยา “Urban mining business with recycling” ซึ่งเป็นโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการความรู้ด้านการบริหารจัดการขยะ  โดยมุ่งเน้นการสร้างประโยชน์จากขยะ  ยุติการเผา  และการฝังกลบ  เป็นการสร้างสิ่งแวดล้อมที่สะอาดในอนาคต  ซึ่งมีผู้สนใจเข้าร่วมอบรมจากทุกสาขาอาชีพทั้งในและต่างประเทศ  ทั้งนี้  เป็นความร่วมมือและได้รับการสนับสนุนจากจังหวัดพิษณุโลก  มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม  สถาบันพัฒนาสี่แยกอินโดจีน  สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย  (วว.)  กระทรวงวิทยาศาสตร์  ในการดำเนินการฝึกอบรมจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ  และนักวิชาการ  และในโครงการดังกล่าวได้มีพิธีมอบเกียรติบัตร Certification Ceremony Training Participant’s Wasteology : UrbanMining Business with Recycling ให้กับภาคีเครือข่ายการจัดการขยะ จากประเทศสาธารณรัฐกานา 4.  ที่มา :  บริษัท วงษ์พาณิชย์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด โดย สถาบัน ASEAN Institute of Recycling (AIR) Page Facebook : งานเลขานุการผู้บริหาร  มรภ.พิบูลสงคราม 5.  …