กระแสความปั่นป่วนทางด้านเศรษฐกิจและการเมืองโลกในปัจจุบันก่อให้เกิดความท้าทายต่อความพยายามในการก้าวข้ามกับดักประเทศกำลังพัฒนาของประเทศไทยในอนาคตอันใกล้สงครามทางการระหว่างประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจได้เริ่มส่งผลกระทบอย่างชัดเจนต่อกระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรมหลักของประเทศซึ่งเชื่อมโยงไปถึงภาวการณ์มีงานทำของประชาชนในระยะยาวเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันจำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีคนไทยเป็นเจ้าของและสามารถสร้างคุณค่าใหม่ให้แก่ระบบเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนท่ามกลางบริบทความท้าทายดังกล่าวทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพโดยเฉพาะเยาวชนรุ่นใหม่ที่เป็นนักศึกษาและบัณฑิตใหม่คือกุญแจสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยหลุดพ้นวงจรแห่งความยากจนและกับดักประเทศกำลังพัฒนาแผนงานด้านการพัฒนาคนไทยยุคใหม่แห่งศตวรรษที่21จึงมีความมุ่งหวังเพื่อสร้างและพัฒนากำลังคน(Manpower)ที่เป็นยุวชนคนรุ่นใหม่ไม่จำกัดว่าเป็นนักศึกษาหรือบัณฑิตใหม่จะมีความถนัดด้านวิทยาศาสตร์หรือสังคมศาสตร์ซึ่งคนไทยรุ่นใหม่ทุกคนจะได้รับ“โอกาส”ในการเรียนรู้ตามความถนัดของตนเองจนได้“ความรู้ใหม่”หรือ“นวัตกรรม”ที่สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้อย่างยั่งยืนดังนั้นการพัฒนานักศึกษาซึ่งเป็นทรัพยากรสำคัญของเทศไทยให้เป็น“คนไทยแห่งศตวรรษที่21”ที่ถึงพร้อมด้วยสติปัญญาวุฒิภาวะทางอารมณ์และมีจิตสาธารณะและท่ามกลางความผันผวนทางด้านเศรษฐกิจและการค้าโลกทำให้นักศึกษาสามารถลดภาวการณ์ว่างงานของบัณฑิตใหม่ได้ด้วยการบ่มเพาะอาชีพใหม่แห่งอนาคตที่สามารถสร้างคุณค่าใหม่ให้แก่เศรษฐกิจของประเทศ โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้มอบหมายให้ กองพัฒนานักศึกษา โดยงานกิจกรรมและพัฒนานักศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบกิจกรรมอบรม เพื่อขยายผลโครงการ วิศวกรสังคม(Social Engineer) สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และการคาดการณ์สิ่งที่จะตามมาหลังการเปลี่ยนแปลงได้เกิดขึ้นแล้ว นักศึกษาได้ฝึกการใช้ทักษะวิศวกรสังคม ทั้งทักษะในการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ เป็นเหตุเป็นผล สามารถเชื่อมโยงองค์ความรู้บูรณาการแบบข้ามศาสตร์ คละศาสตร์ ผสมผสานศาสตร์ความรู้ ในการพัฒนาคนในชุมชนท้องถิ่น สามารถสื่อสาร ประสานงานกับกลุ่มคน โดยปราศจากข้อขัดแย้งและเกิดความชำนาญในการสร้างนวัตกรรม เพื่อแก้ไขปัญหาให้กับชุมชน สังคม และประเทศชาติ
ชุมชนได้รับการแก้ไขปัญหา จากการลงพื้นที่ใช้ทักษะวิศวกรสังคมของนักศึกษาซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องการแก้ไขจากชุมชนโดยแท้จริง ทั้งปัญหาดิน เศรษฐกิจ เกษตรกรรม ความเป็นอยู่และวิถีชีวิตจนทำให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ อย่างเข้มแข็งและเกิดความยั่งยืนในชุมชน และเพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อเนื่องและยั่งยืนของชุมชน ผู้นำนักศึกษาวิศวกรสังคมได้มีการติดตามและการดำเนินงานโดยลงไปช่วยเหลือชาวบ้านในการปรับปรุง แก้ไข ในการทำผลิตภัณฑ์ของชุมชน และถ้าหากเกิดข้อผิดพลาด ข้อบกพร่องอย่างเป็นระยะและยังได้มีการให้ความรู้เพิ่มเติมให้กับชุมชน เพื่อให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน โดยมีผู้นำนักศึกษาวิศวกรสังคมเป็นพี่เลี้ยงต่อไป
ผลที่ได้รับจากการดำเนินการ
วิศวกรสังคม (Social Engineer) คือคนที่ใส่ใจเรื่องราวต่าง ๆ ในสังคม และเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างสังคมให้ดีขึ้น โดยใช้การสังเกต เก็บข้อมูล คิดวิเคราะห์ แบบมีเหตุและผล รวมทั้งการแก้ไขปัญหาแบบเป็นระบบ ในการลงพื้นที่ชุมชนท้องถิ่น เพื่อร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ในการแก้ปัญหาและสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนไปสู่ความเป็นพลเมือง และสร้างชุมชนที่มีการยกระดับสามารถจัดการตนเองได้
บทบาท หน้าที่ของวิศวกรสังคม
1.วิเคราะห์ศักยภาพชุมชน
2.ยกระดับองค์ความรู้ในชุมชน
3.สร้างนวัตกรรมเพื่อการแก้ปัญหาชุมชน
4.สร้างความยั่งยืนในการแก้ปัญหาเชิงพื้นที่ บนฐานข้อมูลของชุมชน
ดังนั้นวิศวกรสังคม จึงเป็นทั้งผู้เรียนรู้และผู้เอื้อให้เกิดกระบวนการจัดการเรียนรู้ของคนในท้องถิ่น ได้พูดคุยเพื่อออกแบบกระบวนการ / วิธีการในการจัดการปัญหาหรือยกระดับทุนของชุมชนไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยเน้นไปที่การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนผสานกับความรู้จากภายนอกที่วิศวกรสังคมจะเชื่อมโยงลงไปสู่ท้องถิ่นเพื่อขับเคลื่อนคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ต่อไป
โครงการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566
โครงการหลัก : โครงการพัฒนา Soft Skills ให้กับนักศึกษาและบุคลากรด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม
กิจกรรมต้นน้ำ
1. กิจกรรมการอบรมพัฒนา Soft Skills ผู้นำนักศึกษาด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม (แม่ไก่)
กิจกรรมการอบรมพัฒนา Soft Skills ผู้นำนักศึกษาด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม (แม่ไก่) ภายใต้โครงการส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนา Soft Skills ด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามเพื่อสร้างนวัตกรรมพัฒนาท้องถิ่น จัดขึ้นระหว่างวันที่ 11 – 12 มีนาคม 2566 ณ ภูแก้วรีสอร์ท แอนด์ แอดเวนเจอร์พาร์ค อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือผู้นำองค์การนักศึกษา ปีการศึกษา 2566 เข้าร่วมจำนวน 80 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามมีทักษะในการเป็นวิศวกรสังคม ได้แก่ ทักษะการคิดวิเคราะห์ เชิงเหตุ – ผล ทักษะการสื่อสาร ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นโดยปราศจากข้อขัดแย้ง และทักษะการสร้างนวัตกรรมเพื่อสังคม และทักษะของวิศวกรสังคมที่จะติดตัวไปกับนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมและได้ลงมือปฏิบัติจริงในพื้นที่ชุมชนท้องถิ่นของตัวเองนั้น ได้แก่
- ทักษะการคิดเชิงเหตุ-ผล เห็นปัญหาเป็นสิ่งท้าทาย
- ทักษะการสื่อสารองค์ความรู้เพื่อแก้ปัญหา
- ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นโดยปราศจากข้อขัดแย้ง ระดมสรรพกำลังและทรัพยากรในการแก้ไขปัญหา
- ทักษะการสร้างนวัตกรรมชุมชน
วิศวกรสังคมจึงมุ่งเน้นการบ่มเพาะนักศึกษาให้กลายเป็นบัณฑิต “นักคิด” “นักสื่อสาร” “นักประสาน” และ”นักสร้างนวัตกรรม” ด้วยความคิดสร้างสรรค์และทัศนคติที่ดีและถูกต้องต่อสังคม โดยการอบรมผ่านเครื่องมือ 5 ชิ้น คือ ฟ้าประทาน คือการฝึกทักษะพื้นฐานของการเป็นวิศวกรสังคม,ฝึกการแยกแยะ Objective data และ Subjective data , ฝึกการวิเคราะห์เหตุ – ผล, สะท้อนคิด สรุปสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้จากกิจกรรมนาฬิกาชีวิต ; การเข้าใจตนเองผ่านการเข้าใจผู้อื่น คือ การฝึกทักษะการตั้งคำถามจนเป็นอุปนิสัย, การฝึกจัดระบบข้อมูล,การฝึกจัดระบบข้อมูลสะท้อนคิด สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรม “Timeline พัฒนาการ” คือ การฝึกทักษะการเข้าใจปรากฏการณ์ การตีความ ผ่านการศึกษาข้อมูล ตามลำดับเวลา ,การยกตัวอย่างกรณีศึกษาในการนำไปปรับใช้ในการวิเคราะห์ชุมชน “Timeline กระบวนการ” คือ การสัมภาษณ์ชุมชนเพื่อฝึกปฏิบัติการเก็บข้อมูลด้วยเครื่องมือต่าง ๆ ,การฝึกวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ชุมชน สะท้อนแนวคิด สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ จากชุมชน เครื่องมือ “MIC Model” และการสร้างนวัตกรรม เป็นเครื่องมือช่วยกระตุ้นการคิดวิเคราะห์แนวทางการพัฒนากระบวนการให้กับวิศวกรสังคม โดยในพิธีเปิด – ปิดโครงการ ได้รับเกียรติจากท่านผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนสาร เพ็งพุ่ม รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา เป็นประธานในพิธี และได้รับความอนุเคราะห์วิทยากรจากหน่วย SEAL Train the Trainer
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชญาดา กลิ่นจันทร์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและศิลปวัฒนธรรมและกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชยภรณ บุญเรืองศักดิ์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
อาจารย์ ดร.สุวภัทร หนุ่มคำ อาจารย์ประจำสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
อาจารย์ธนกิจ โคกทอง รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
และในแต่ละกิจกรรมจะแบ่งนักศึกษาวิศวกรสังคม ออกเป็น 5 กลุ่ม ๆละ 12 คน โดยภายในกิจกรรมทำให้นักศึกษาวิศวกรสังคมได้เข้าใจหลักการของวิศวกรสังคม ตระหนักถึงวัตถุประสงค์ของเครื่องมือวิศวกรสังคม และเห็นประโยชน์ ประสานความสอดคล้องของเครื่องมือวิศวกรสังคมที่จะเกิดขึ้นกับตนเอง ตลอดจนนักศึกษาวิศวกรสังคมสามารถใช้เครื่องมือวิศวกรสังคมเบื้องต้นได้ และสามรถประยุกต์ใช้เครื่องมือวิศวกรสังคม เพื่อประโยชน์ต่อตนเอง และขยายผลสู่เพื่อนนักศึกษาด้วย
2. โครงการอบรมพัฒนาทักษะ Soft Skills ด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม (Social Engineer)
เพื่อบูรณาการกับการเรียนการสอน สำหรับคณาจารย์ และบุคลากร
โครงการอบรมพัฒนาทักษะ Soft Skills ด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม (Social Engineer)เพื่อบูรณาการกับการเรียนการสอน สำหรับคณาจารย์ และบุคลากร ภายใต้โครงการส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนา Soft Skills ด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามเพื่อสร้างนวัตกรรมพัฒนาท้องถิ่น จัดขึ้นระหว่างวันที่ 19 – 22 มีนาคม 2566 ณ โรงแรม The Regent Cha Am Beach Resort อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ คณาจารย์และบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือ 8 แห่ง เข้าร่วมจำนวน 177 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคณาจารย์ บุคลากรให้มีความรู้และทักษะด้านกระบวนการวิศวกรสังคม ได้แก่ ทักษะการคิดวิเคราะห์ เชิงเหตุ – ผล ทักษะการสื่อสาร ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นโดยปราศจากข้อขัดแย้ง และทักษะการสร้างนวัตกรรมเพื่อสังคม เพื่อสร้างเจตคติที่ดีของคณาจารย์ บุคลากรต่อกระบวนการวิศวกรสังคมและเพื่อบูรณาการกระบวนการวิศวกรสังคมกับการเรียนการสอน กิจกรรมวันแรก ได้รับเกียรติจากท่านผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนสาร เพ็งพุ่ม รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิด และเริ่มต้นด้วยกิจกรรมการบรรยายแนะนำหลักสูตร “วิศวกรสังคม” (Social Engineer) กิจกรรม Ice breaking / Introcluvtion โดย ดร.นงรัตน์ อิสโร และวิทยากร Train the Trainer (SEAL) ในส่วนภาคบ่าย วิศวกรสังคมจึงมุ่งเน้นการบ่มเพาะนักศึกษาให้กลายเป็นบัณฑิต “นักคิด” “นักสื่อสาร” “นักประสาน” และ”นักสร้างนวัตกรรม” ด้วยความคิดสร้างสรรค์และทัศนคติที่ดีและถูกต้องต่อสังคม โดยการอบรมผ่านเครื่องมือ 5 ชิ้น คือ ฟ้าประทาน คือการฝึกทักษะพื้นฐานของการเป็นวิศวกรสังคม, ฝึกการแยกแยะ Objective data และ Subjective data , ฝึกการวิเคราะห์เหตุ – ผล, สะท้อนคิด สรุปสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้จากกิจกรรม นาฬิกาชีวิต ; การเข้าใจตนเองผ่านการเข้าใจผู้อื่น คือ การฝึกทักษะการตั้งคำถามจนเป็นอุปนิสัย, การฝึกจัดระบบข้อมูล,การฝึกจัดระบบข้อมูลสะท้อนคิด สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรม “Timeline พัฒนาการ” คือ การฝึกทักษะการเข้าใจปรากฏการณ์ การตีความ ผ่านการศึกษาข้อมูล ตามลำดับเวลา , การยกตัวอย่างกรณีศึกษาในการนำไปปรับใช้ในการวิเคราะห์ชุมชน “Timeline กระบวนการ” คือ การสัมภาษณ์ชุมชนเพื่อฝึกปฏิบัติการเก็บข้อมูลด้วยเครื่องมือต่าง ๆ ,การฝึกวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ชุมชน สะท้อนแนวคิด สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ จากชุมชน โดย ดร.นงรัตน์ อิสโร และวิทยากร Train the Trainer (SEAL)
กิจกรรมวันที่ สอง ภาคเช้า การใช้เครื่องมือ “MIC Model” และการสร้างนวัตกรรม เป็นเครื่องมือช่วยกระตุ้นการคิดวิเคราะห์แนวทางการพัฒนากระบวนการให้กับวิศวกรสังคม ภาคบ่าย กิจกรรมบูรณาการวิศวกรสังคมกับการเรียนการสอน โดย ดร.นงรัตน์ อิสโร และวิทยากร Train the Trainer (SEAL)
3. การอบรมพัฒนาทักษะ Soft Skills ด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม (Social Engineer) กิจกรรม “ราชภัฏพิบูลสงครามร่วมใจ ขับขี่ปลอดภัย สร้างวินัยจราจร”
กิจกรรมราชภัฏพิบูลสงครามร่วมใจ ขับขี่ปลอดภัย สร้างวินัยจราจร ภายใต้โครงการส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนา Soft Skills ด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามเพื่อสร้างนวัตกรรมพัฒนาท้องถิ่น โดยมีกลุ่มเป้าหมาย นักศึกษา บุคลากรสายวิชาการและ บุคลากรสายสนับสนุน
เพื่อให้มีความปลอดภัยในการขับขี่รถทั้งในและนอกมหาวิทยาราชภัฏพิบูลสงคราม ให้คำนึงถึงความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนในชีวิตประจำวันมากขึ้น ซึ่งในปัจจุบันนักศึกษาบุคลากร ในมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มีการเดินทางที่หลากหลายมากขึ้น จึงจำเป็นจะต้องมีการสร้างจิตสำนึกถึงความปลอดภัยทั้งในและนอกของมหาวิทยาลัยเพื่อลดอุบัติเหตุบนท้องถนนและสร้างความตระหนักรู้ทางวินัยจราจรเพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับตนเองและรับผิดชอบต่อส่วนรวม จึงทำให้เกิดทักษะให้เข้าใจและเคารพวิถีชีวิตของเพื่อนร่วมงานและคนในชุมชนให้ทราบถึงปัญหาอย่างถ่องแท้เพื่อที่จะเลือกพัฒนาถึงศักยภาพอย่างตรงเป้าหมายหรือที่เรียกว่า เกาให้ถูกที่คัน โดยใช้วิธีการชวนเพื่อน จูงมือน้อง ขอร้องพี่ เพื่อที่จะได้ร่วมใจในการพัฒนาอย่างเห็นคุณค่าบนหลักการของเหตุและผลมากขึ้นนั่นเอง โดยได้มีการนำเครื่องมือวิศวกรสังคม มาประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์ต่อตนเอง และขยายผลสู่เพื่อนนักศึกษาได้ ซึ่งสอดแทรกผ่านการอบรมให้ความรู้แก่นักศึกษา และบุคลากรในมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในกิจกรรมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาบุคลิกภาพและเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม วิศวกรสังคม ให้แก่นักศึกษาใหม่ ปีการศึกษา 2566 “กิจกรรมก้าวแรกสู่…บัณฑิตพิบูลสงคราม” และกิจกรรม“ราชภัฏพิบูลสงครามร่วมใจ ขับขี่ปลอดภัย สร้างวินัยจราจร”ภายใต้โครงการส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนา Soft Skills ด้วยกระบวนการวิศวกรสังคมมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เพื่อสร้างนวัตกรรมพัฒนาท้องถิ่น ในระหว่างวันที่ 19 – 24 มิถุนายน 2566 ณ หอประชุมศรีวชิรโชติ ชั้น 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ส่วนทะเลแก้ว ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 4,111 คน โดยแยกเป็นนักศึกษาใหม่ 3,729 คนและกลุ่มผู้นำนักศึกษา 382 คน ในพิธีเปิดกิจกรรมราชภัฏพิบูลสงครามร่วมใจ ขับขี่ปลอดภัย สร้างวินัยจราจร ได้รับเกียรติจาก ท่านผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุมพล เสมาขันธ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม กล่าวเปิดโครงการ และกล่าวรายงานวัตถุประสงค์ โดย นายกิตติพศ สอนเม่น นายกองค์การบริหารกิจกรรมนักศึกษา เข้าสู่ช่วงการบรรยายในหัวข้อกิจกรรมก้าวแรกสู่…บัณฑิตพิบูลสงคราม” และกิจกรรม“ราชภัฏพิบูลสงครามร่วมใจ ขับขี่ปลอดภัย สร้างวินัยจราจร และการให้ข้อมูลในการเข้าร่วมกิจกรรมนักศึกษา โดย นายกฤษณะ คำดีตัน หัวหน้างานกิจกรรมและพัฒนานักศึกษา ต่อมาเข้าสู่การบรรยายแนะนำหลักสูตร วิศวกรสังคม (Socia Engineer) โดย อาจารย์ ดร.สุวภัทร หนุ่มคำ อาจารย์ประจำสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม มีการให้ความรู้จาก 5 เครื่องมือ คือ ฟ้าประทาน คือการฝึกทักษะพื้นฐานของการเป็นวิศวกรสังคม,ฝึกการแยกแยะ Objective data และ Subjective data , ฝึกการวิเคราะห์เหตุ – ผล, สะท้อนคิด สรุปสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้จากกิจกรรม นาฬิกาชีวิต ; การเข้าใจตนเองผ่านการเข้าใจผู้อื่น คือ การฝึกทักษะการตั้งคำถามจนเป็นอุปนิสัย, การฝึกจัดระบบข้อมูล,การฝึกจัดระบบข้อมูลสะท้อนคิด สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรม “Timeline พัฒนาการ” คือ การฝึกทักษะการเข้าใจปรากฏการณ์ การตีความ ผ่านการศึกษาข้อมูล ตามลำดับเวลา ,การยกตัวอย่างกรณีศึกษาในการนำไปปรับใช้ในการวิเคราะห์ชุมชน “Timeline กระบวนการ” คือ การสัมภาษณ์ชุมชนเพื่อฝึกปฏิบัติการเก็บข้อมูลด้วยเครื่องมือต่าง ๆ ,การฝึกวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ชุมชน สะท้อนแนวคิด สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ จากชุมชน เครื่องมือ “MIC Model” และการสร้างนวัตกรรม เป็นเครื่องมือช่วยกระตุ้นการคิดวิเคราะห์แนวทางการพัฒนากระบวนการให้กับวิศวกรสังคม และนำความรู้ที่ได้จาก 5 เครื่องมือ ที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมนำมาบูรณาการสร้างความตระหนักถึงความปลอดภัยในการใช้รถบนท้องถนนของบุคลาการ และนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามมากขึ้น รณรงค์สวมใส่หมวกกันน็อกทั้งนอกและในของมหาวิทยาลัยและปฏิบัติตามกฎจราจร เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนนั่นเอง
4. กิจกรรมโครงการฝึกปฏิบัติการและการประเมินทักษะ the Trainer หลักสูตรการพัฒนา Soft Skills ด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม ให้กับคณาจารย์และบุคลากร รุ่นที่ 1
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุมพล เสมาขันธ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มอบหมายให้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนสาร เพ็งพุ่ม รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา เป็นผู้แทนในการเข้าร่วมพิธีปิดโครงการฝึกปฏิบัติการและประเมินทักษะ The trainer หลักสูตรการพัฒนา Soft skill ด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม รุ่นที่ 1 โดยมี ท่านพลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ องคมนตรี เป็นประธานในพิธีปิดและมอบเกียรติบัตรพร้อมเสื้อสามารถ และบัตรประจำตัว SEAL แก่ผู้ผ่านการประเมินทักษะ The trainer รุ่นที่ 1 จำนวน 44 คน โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มี นายกฤษณะ คำดีตัน หัวหน้างานกิจกรรมและพัฒนานักศึกษา กองพัฒนานักศึกษา เป็นผู้ผ่านการคัดเลือกให้เข้ารับการฝึกอบรมโครงการอบรมและฝึกปฏิบัติการ Train the Trainer หลักสูตรการพัฒนา Soft Skills ด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม จำนวน 45 ท่าน จาก 38 มหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 26-30 สิงหาคม 2565 และเข้ารับการทดสอบคุณสมบัติการเป็น The real trainer วิศวกรสังคม เมื่อวันที่ 25 – 27 มีนาคม 2566 และเป็นผู้ผ่านเกณฑ์การฝึกและประเมินผล การเป็น The real trainer วิศวกรสังคมในรุ่นที่ 1 (มหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ)
กิจกรรมโครงการฝึกปฏิบัติการและการประเมินทักษะ the Trainer หลักสูตรการพัฒนา Soft Skills ด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม ให้กับคณาจารย์และบุคลากร รุ่นที่ 1 ในระหว่างวันที่ 24 – 28 มีนาคม 2566 ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร ซึ่งโครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกปฏิบัติการและประเมินทักษะ The trainer หลักสูตรการพัฒนา Soft skill ด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม รุ่นที่ 1 และการอบรมครั้งนี้มีกลุ่มเป้าหมายจาก คณาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศที่ผ่านการคัดเลือกเข้ารับการอบรม โดยมีผู้ผ่านการอบรมจาก ส่วนกลาง (กรุงเทพมหานครและภาคตะวันออก) จำนวน 14 แห่ง ภาคเหนือ จำนวน 8 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 11 แห่ง ภาคใต้ จำนวน 5 แห่ง ซึ่งมีกิจกรรมดังนี้ การอบรมฝึกปฏิบัติการและประเมินทักษะ the Trainer กิจกรรมวันที่ 1 โดยจะแบ่งกลุ่ม เป็น 4 กลุ่ม ๆละ 10 – 12 คน มีเนื้อหา คือ หัวข้อ การประเมินทักษะ the Trainer หลักสูตรการพัฒนา Soft Skills ด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม โดย ดร.นงรัตน์ อิสโร ประธานมูลนิธิไทยยั่งยืน และคณะ เป็นวิทยากร กิจกรรมวันที่ 2 เนื้อหาการอบรม หัวข้อ คือ การฝึกปฏิบัติการ SIT ต่อยอดความคิดจาก MIC Model และ หัวข้อ We are family มีคุณสุทธิศักดิ์ วงศ์ปิยะ (Coach ก้อง) Senior Innovation Coach และผู้ร่วมก่อตั้ง BOLD Group Thailand ผู้เชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษาเพื่อสร้างนวัตกรรม โดย ดร.นงรัตน์ อิสโร ประธานมูลนิธิไทยยั่งยืน และคณะ เป็นวิทยากร กิจกรรมวันที่ 3 เนื้อหาการอบรม ภาคเช้า หัวข้อ คือ The Real Coach เนื้อหาการอบรม ภาคบ่าย หัวข้อ คือ Certify the Real Coach โดย ดร.นงรัตน์ อิสโร ประธานมูลนิธิไทยยั่งยืน และคณะ เป็นวิทยากร หลังเสร็จสิ้นการอบรมเป็นการประกาศผลการประเมินทักษะและให้ข้อเสนอแนะ ต่อด้วยพิธีปิดและมอบเกียรติบัตร โดย พลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ องคมนตรี ประธานในพิธี กล่าวขอบคุณ โดยรองศาสตราจารย์ ดร.เปรื่อง กิจรัตน์ภร รักษาราการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครในฐานะอำนวยการจัดงาน
หน่วย SEAL วิศวกรสังคม หมายถึง ผู้สอนที่คิดอย่างเป็นระบบและรอบด้าน สามารถจัดการอารมณ์ของตนเองและผู้อื่น ให้เรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติอย่างมีความสุข และกระหายการพัฒนาตัวเองตลอดชีวิต
S = Systematic Thinking หมายถึง การคิดเป็นระบบอย่างรอบด้าน
E = Emotional Intelligence หมายถึง การจัดการอารมณ์
A = Active learning หมายถึง การเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ
L = Lifelong learning หมายถึง การเรียนรู้แบบตลอดชีวิต
รูปภาพประกอบ
กิจกรรมกลางน้ำ
1. กิจกรรมสืบสาน รักษา ต่อยอด โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
(รัชกาลที่ 9) ครั้งที่ 1
กิจกรรมสืบสาน รักษา ต่อยอด โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ครั้งที่ 1 โดยมีกลุ่มเป้าหมาย บุคลากรสายสนับสนุน ทั้ง 8 คณะ บุคลากรกองพัฒนานักศึกษา ผู้นำองค์การนักศึกษา ทั้ง 8 คณะ ที่จะเข้าร่วมในกิจกรรมครั้งนี้ ซึ่งมีกิจกรรมดังนี้ การอบรมทักษะการเป็นโค้ช โดยเริ่มทบทวนเครื่องมือวิศวกรสังคม (การ์ดภาพ การ์ดคำ Social Engineer วิศวกรสังคม) โดยมีการแบ่งกลุ่ม เป็น 5 กลุ่มๆละ 8 คน ภาคบ่าย จะเป็นการทบทวนเครื่องมือวิศวกรสังคม (บอร์ดเกมส์ Social Engineer วิศวกรสังคม) โดยมีการแบ่งกลุ่ม เป็น 5 กลุ่มๆละ 8 คนต่อด้วยการศึกษา Time Line พัฒนาการโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดสุโขทัยและมีการจัดทำ Time Line พัฒนาการ และวิเคราะห์ปัญหา พร้อมหาแนวทางสืบสาน รักษา ต่อยอด โครงการพัฒนาป่าไม้ตามแนวพระราชดำริภูหินร่องกล้า เพื่อให้นักศึกษาเห็นคุณค่าของอดีต เข้าใจปัจจุบัน เพื่อวางแผนอนาคต รวมถึงการวิเคราะห์ และเปรียบเทียบข้อมูลเพื่อการพัฒนาต่อไปได้
ซึ่งกิจกรรมบอร์ดเกมส์ Social Engineer วิศวกรสังคม นั้น เป็นเครื่องมือตัวใหม่ที่ทางวิทยากรนำมาใช้ในครั้งนี้ โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้พัฒนา Soft Skills ด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม มีความเชียวชาญในการใช้งาน The coaching card วิศวกรสังคม และเพื่อการปรับปรุงและพัฒนา The coaching card วิศวกรสังคม ให้มีมาตรฐานมากขึ้น
กิจกรรมบอร์ดเกมส์ Social Engineer วิศวกรสังคม เป็นกิจกรรมการทดลองเก็บเคส เสมือนให้ลงพื้นที่ในชุมชนโดยการสัมภาษณ์ชาวบ้านในการทำอาชีพ ซึ่งเราจะมาทดลองโดยใช้ บอร์ดเกมส์มาจำลองในการทำกิจกรรมครั้งนี้ โดยในกิจกรรมดังกล่าวจะส่งผลให้นักศึกษาเห็นประโยชน์ของเครื่องมือวิศวกรสังคมที่จะเกิดขึ้นกับตนเอง และจะทำให้นักศึกษาประยุกต์ใช้เครื่องมือวิศวกรสังคมเพื่อประโยชน์ต่อตนเอง และชุมชนได้
2. กิจกรรมราชภัฏพิบูลสงครามร่วมใจ ขับขี่ปลอดภัย สร้างวินัยจราจร
กิจกรรม “ราชภัฏพิบูลสงครามร่วมใจ ขับขี่ปลอดภัย สร้างวินัยจราจร” ภายใต้โครงการส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนา Soft Skills ด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามเพื่อสร้างนวัตกรรม พัฒนาท้องถิ่น ของวันที่ 28 ธันวาคม 2565 ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 2 อาคารกิจกรรมนักศึกษา (กองพัฒนานักศึกษา) มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม การกล่าวรายงานของการจัดกิจกรรม โดย นางสาวประนอม หาญจริง ผู้อำนวยการกองพัฒนานักศึกษา ต่อมาเข้าพิธีการมอบหมวกกันน็อกให้กับคณะผู้บริหาร บุคลากร และผู้นำนักศึกษา โดยท่านผศ.ดร.ธนสาร เพ็งพุ่ม รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จำนวน 100 ใบ
เพื่อให้มีความปลอดภัยในการขับขี่รถทั้งในและนอก มหาวิทยาราชภัฏพิบูลสงคราม ให้คำนึงถึงความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนในชีวิตประจำวันมากขึ้น ซึ่งในปัจจุบันนักศึกษาบุคลากร ในมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มีการเดินทางที่หลากหลายมากขึ้น จึงจำเป็นจะต้องมีการสร้างจิตสำนึกถึงความปลอดภัยทั้งในและนอกของมหาวิทยาลัยเพื่อลดอุบัติเหตุบนท้องถนนและสร้างความตระหนักรู้ทางวินัยจราจรเพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับตนเองและรับผิดชอบต่อส่วนรวม จึงทำให้เกิดทักษะให้เข้าใจและเคารพวิถีชีวิตของเพื่อนร่วมงานและคนในชุมชนให้ทราบถึงปัญหาอย่างถ่องแท้เพื่อที่จะเลือกพัฒนาถึงศักยภาพอย่างตรงเป้าหมายหรือที่เรียกว่า เกาให้ถูกที่คัน โดยใช้วิธีการชวนเพื่อน จูงมือน้อง ขอร้องพี่ เพื่อที่จะได้ร่วมใจในการพัฒนาอย่างเห็นคุณค่าบนหลักการของเหตุและผลมากขึ้นนั่นเอง โดยได้มีการนำเครื่องมือวิศวกรสังคม มาประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์ต่อตนเอง และขยายผลสู่เพื่อนนักศึกษาได้ ซึ่งสอดแทรกผ่านการอบรมให้ความรู้แก่นักศึกษา และบุคลากรในมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
3. กิจกรรมสืบสาน รักษา ต่อยอด โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ครั้งที่ 2 “การจัดทำแนวกันไฟ ป้องกันไฟป่า”
กิจกรรมสืบสาน รักษา ต่อยอด โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ครั้งที่ 2 “การจัดทำแนวกันไฟ ป้องกันไฟป่า” ภายใต้โครงการส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนา Soft Skills ด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เพื่อสร้างนวัตกรรมพัฒนาท้องถิ่น ระหว่างวันที่ 25 – 26 กุมภาพันธ์ 2566 ณ อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า ตำบลเนินเพิ่ม อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก โดยมีกลุ่มเป้าหมาย นักศึกษาและบุคลากรสายสนับสนุน ทั้ง 8 คณะ บุคลากรกองพัฒนานักศึกษา ผู้นำองค์การนักศึกษา ทั้ง 8 คณะ ที่จะเข้าร่วมในกิจกรรมครั้งนี้ กิจกรรมวันแรก มีกิจกรรมดังนี้ โดยภาคเช้าจะเป็นการทบทวนเครื่องมือวิศวกรสังคม (การ์ดภาพ การ์ดคำ การ์ดคำถาม Social Engineer วิศวกรสังคม) โดยมีการแบ่งกลุ่ม เป็น 5 กลุ่มๆละ 10 คน ต่อด้วยทบทวนเครื่องมือ Time Line พัฒนาการโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระบรมชนกา ธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดสุโขทัยและมีการจัดทำ ภาคบ่าย นำเสนอเครื่องมือ Time Line พัฒนาการ และวิเคราะห์ปัญหา พร้อมหาแนวทางสืบสาน รักษา ต่อยอด โครงการพัฒนาป่าไม้ตามแนวพระราชดำริภูหินร่องกล้า ภาคค่ำ ประชุมวางแผนและแบ่งหน้าที่ในการดำเนินกิจกรรมสืบสาน รักษา ต่อยอด โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ครั้งที่ 2 “การจัดทำแนวกันไฟ ป้องกันไฟป่า” เพื่อให้นักศึกษาวิศวกรสังคมได้เข้าใจ และเคารพวิถีชีวิตของเพื่อนร่วมงานและคนในชุมชน รวมไปถึงการเลือกเวลาและการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมของแต่ละบุคคลได้อย่างเหมาะสม กิจกรรมวันที่ สอง ดำเนินกิจกรรมสืบสาน รักษา ต่อยอด โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ครั้งที่ 2 “การจัดทำแนวกันไฟ ป้องกันไฟป่า” โดย ผู้นำวิศวกรสังคม 8 คณะ ร่วมกับ เจ้าหน้าที่โครงการการพัฒนาป่าไม้ตามแนวพระราชดำริภูหินร่องกล้า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 11 (พิษณุโลก) ทำให้นักศึกษาวิศวกรสังคมเกิดความร่วมมือเชิงสร้างสรรค์ในพื้นที่ร่วมกับเจ้าหน้าที่โครงการการพัฒนาป่าไม้ตามแนวพระราชดำริภูหินร่องกล้า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 11 (พิษณุโลก) จนเกิดเป็นผลงาน ที่เกิดขึ้นในพื้นที่โครงการการพัฒนาป่าไม้ตามแนวพระราชดำริภูหินร่องกล้า ซึ่งทำให้ชุมชนในพื้นที่ได้รับผลประโยชน์ อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งบ่งชี้ว่านวัตกรรมที่สร้าง คือแนวกันไฟ ผ่านกระบวนการคิดมาอย่างลึกซึ้งและครอบคลุมทุกด้าน
4. กิจกรรมพัฒนาแหล่งเรียนรู้เชิงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
กิจกรรมพัฒนาแหล่งเรียนรู้เชิงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ภายใต้โครงการส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนา Soft Skills ด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เพื่อสร้างนวัตกรรมพัฒนาท้องถิ่น ระหว่างวันที่ 8 – 9 กรกฎาคม 2566 ณ พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตึก ตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมคือนักศึกษาวิศวกรสังคมมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามและอาจารย์ที่ปรึกษาวิศวกรสังคม ทั้ง 8 คณะ ที่จะเข้าร่วมในกิจกรรมครั้งนี้
กิจกรรมวันแรก มีกิจกรรมดังนี้ โดยภาคเช้าประชุมร่วมกับคณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตึก พร้อมทั้งเก็บข้อมูล Time Line พัฒนาการตำบลบ้านตึก พร้อมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาและความต้องการของชุมชนในด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เชิงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยวิทยากร ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4 ตำบลบ้านตึก ภาคบ่าย จะเป็นการเก็บข้อมูล Time Line พัฒนาการโบสถ์โบราณ พร้อมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาและความต้องการของชุมชนในด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เชิงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยวิทยากร เจ้าอาวาทวันจอมแจ้ง (ภูนก) เก็บข้อมูล Time Line พัฒนาการประเพณีแห่น้ำขึ้นโฮงสรงน้ำเจ้าหมื่นด้ง พร้อมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาและความต้องการของชุมชนในด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เชิงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยวิทยากร ปราชญ์ชาวบ้านตำบลบ้านตึก นักศึกษาได้ใช้ววิธีการตั้งคำถามอย่างสงสัยใคร่รู้ เพื่อให้ได้ข้อมูลอย่างหลากหลายมิติ ภาคค่ำ ประชุมสรุปและจัดทำข้อมูล Time Line พัฒนาการที่ได้จากการสัมภาษณ์ โดยนักศึกษาวิศวกรสังคมมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้ทดลองใช้เครื่องมือวิศวกรสังคมเพื่อเรียนรู้กระบวนการวิศวกรสังคมในพื้นที่จริง กิจกรรมวันที่สอง เก็บข้อมูล Time Line พัฒนาการพิพิธภัณฑ์พ่อเลี้ยงทูล พร้อมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาและความต้องการของชุมชนในด้านพัฒนาแหล่งเรียนรู้เชิงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยวิทยากร ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์พ่อเลี้ยงทูล ภาคบ่าย เก็บข้อมูล Time Line พัฒนาการกลุ่มผ้าทอและกลุ่มจักสาน พร้อมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาและความต้องการของชุมชนในด้านพัฒนาแหล่งเรียนรู้เชิงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยวิทยากร กลุ่มผ้าทอและกลุ่มจักสาน และประชุมสรุปและจัดทำข้อมูล Time Line พัฒนาการที่ได้จากการสัมภาษณ์ เพื่อให้นักศึกษาวิศวกรสังคมได้ใช้ทักษะการสร้างนวัตกรรมเพื่อสังคมและสามารถใช้องค์ความรู้ในการปฏิบัติงานจริงในกิจกรรมนี้ เป็นการลงพื้นที่เกี่ยวกับ ข้อมูล Time Line พัฒนาการ ตำบลบ้านตึก Time Line พัฒนาการโบสถ์โบราณ Time Line พัฒนาการการประเพณีแห่น้ำ ขึ้นโฮ่ง ส่งน้ำเจ้าหมื่นด้ง Time Line พัฒนา การพิพิธิภัณฑ์พ่อเลี้ยงทูล Time Line พัฒนาการกลุ่มทอผ้าและจักสาน ทั้งนี้ เพื่อแก้ปัญหาความต้องการของชุมชน และยกระดับผลิตภัณฑ์ที่เป็นของดีประจำชุมชน ให้เป็นที่รู้จัก ของคนทั่วไปรวมทั้งนักศึกษาวิศวกรสังคมจึงได้ยกระดับผลิตภัณฑ์ทอผ้าและจักสานของชุมชนโดยการสร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ทอผ้าและจักสานให้กับชุมชน
กิจกรรมพัฒนาแหล่งเรียนรู้เชิงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น กลุ่มผู้นำวิศวกรสังคมที่ได้เข้าร่วมโครงการสามารถแสดงทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลของปัญหาเชิงเหตุและผลได้ สามารถแสดงทักษะการคิดเชิงระบบ นำไปสู่การใช้เหตุผลในการตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างดี พร้อมทั้งมีความเข้าใจปรากฏการณ์ของสภาพปัญหาในแต่ละพื้นที่ มีความพร้อมที่จะเผชิญปัญหาต่าง ๆ และสามารถสืบค้นแนวทางในการแก้ปัญหาเบื้องต้นด้วยกระบวนการและองค์ความรู้ได้ ผู้เข้าร่วมมีทักษะในการสื่อสารที่ดี ถูกต้อง เหมาะสม สามารถสื่อสารความหมายได้ตรงตามวัตถุประสงค์ เพื่อการแก้ไขปัญหาให้กับชุมชนท้องถิ่นได้ มีทักษะในการทำงานร่วมกัน และยอมรับข้อคิดเห็นต่าง ๆ ทั้งที่คล้ายกันกับตัวเอง หรือแตกต่างจากตนเอง เพื่อหาจุดร่วมของข้อสรุปที่มีความสมบูรณ์มากที่สุด ซึ่งทักษะการทำงานร่วมกันเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งของการทำงานในพื้นที่ชุมชน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายหรือจุดประสงค์ และงานเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ผู้เข้าร่วมมีทักษะการประสานงานที่ดีจากการรู้จักใช้ทักษะการสื่อสารที่ถูกต้อง มีการวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ
5. กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ของชุมชนท้องถิ่น
กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ของชุมชนท้องถิ่น ภายใต้โครงการส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนา Soft Skills ด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เพื่อสร้างนวัตกรรมพัฒนาท้องถิ่น ระหว่างวันที่ 15 – 16 กรกฎาคม 2566 ณ วัดจอมแจ้ง (ภูนก) หมู่ 4 ตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้จำนวน 32 คน ซึ่งประกอบไปด้วย นักศึกษาวิศวกรสังคมมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ( 8 คณะ ) พร้อมด้วยบุคลากรด้านกิจการนักศึกษา
จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลโดยใช้เครื่องมือวิศวกรสังคม ซึ่งประกอบไปด้วย เครื่องมือฟ้าประทาน เครื่องมือนาฬิกาชีวิต เครื่องมือTime Line พัฒนาการ และ เครื่องมือTime Line กระบวนการ ทำให้กลุ่มนักศึกษาวิศวกรสังคมทราบถึงข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาและความต้องการของชุมชนในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ของชุมชนท้องถิ่น ซึ่งในชุมชนตำบลบ้านตึกมีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าบ้านภูนก และกลุ่มจักสานบ้านภูนก (หมู่4) จึงทำให้กลุ่มนักศึกษาวิศวกรสังคมได้ใช้ทักษะการสร้างนวัตกรรมเพื่อสังคม และสามารถใช้องค์ความรู้ในการปฏิบัติงานจริง
กิจกรรมวันแรก ภาคเช้า โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนสาร เพ็งพุ่ม รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา เป็นประธานเปิดกิจกรรม กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ โดย นางสาวประนอม หาญจริง ผู้อำนวยการกองพัฒนานักศึกษา และกล่าวต้อนรับ โดย นายสุเทพ มิ่งด่าง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตึก หลังจากพิธีเปิดกิจกรรมได้มีการบรรยายในหัวข้อ ฝึกทักษะวิศวกรสังคมโดยใช้เครื่องมือTime Line พัฒนาการเกี่ยวกับข้อมูล (ผ้าทอบ้านภูนก) โดยวิทยากรกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าบ้านภูนก โดยคุณปรีชานันท์ มาขวา ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและกลุ่มทอผ้าจักสานมาบรรยายให้ข้อมูลกับนักศึกษาวิศวกรสังคม
ใช้กระบวนการแบบมีส่วนร่วมในการย้อมสีธรรมชาติ นำไปขึ้นทอผ้าจนเกิดเป็นชิ้นงานผลิตภัณฑ์ผ้าทอ จากขั้นตอนนี้ทำให้นักศึกษาได้ทราบ Time Line กระบวนการ ทำให้ทราบถึงปัญหาการจัดการน้ำย้อมผ้าที่มีสารเคมีปนเปื้อน
ตารางที่ 1 สูตรการย้อมผ้า
ส่วนประกอบ | ปริมาณ | หมายเหตุ |
ใบมะยงชิดฉีก (ใบอ่อนและใบแก่) | 4 กิโลกรัม | |
น้ำต้ม | 5 ลิตร | |
สารส้มและสารสนิมละลายกับน้ำ | 5 กิโลกกรัม | สารสนิมใช้ แค่ 5 กรัม |
หลังจากการอบรมได้เข้าสู่ขั้นตอนการปฏิบัติ ขั้นตอนแรก คือเก็บใบมะยงชิดในพื้นที่เกษตรกรรมของชุมชนบ้านตึก เนื่องจากในพื้นที่ตำบลบ้านตึกมีการปลูกต้นมะยงชิดจำนวนมาก จึงทำให้ชาวบ้านได้เกิดความคิดนำใบมะยงชิดมาย้อมสีธรรมชาติ โดยเก็บมะยงชิด (ใบอ่อน และใบแก่) และนำมาฉีกหรือหั่นให้เป็นชิ้นเล็กๆๆพอประมาณ ขั้นตอนต่อมาคือการต้มน้ำ 5 ลิตรต่อใบมะยงชิด 4 กิโลกรัม หลังจากนั้นนำสารส้มและสารสนิมไปละลายกับน้ำ 5 กิโลกรัม โดยสารสนิมจะใช้แค่ 5 กรัม หลังจากนั้นนำเส้นฝ้ายไปแช่น้ำเพื่อที่จะให้เส้นฝ้ายได้มีการดูดซับน้ำที่ดี ต่อมานำเส้นฝ้ายไปแช่น้ำในสารทั้งสอง เป็นเวลาครึ่งชั่วโมง และนำเส้นฝ้ายลงไปต้มในน้ำที่กรองเอาแต่น้ำใบมะยงชิด5กิโลกรัมและต้มเป็นเวลา 20 นาที หลังจากนั้นนำเส้นฝ้ายที่ผ่านกระบวนการต้มพอต้มได้ 20 นาทีละนำกลับไปแช่ในสารทั้งสอง อีก 15 นาที หลังจากนั้นนำไปล้างน้ำสะอาดเพื่อล้างสีที่ตกออกจากฝ้าย และขั้นตอนสุดท้ายคือนำฝ้ายที่ย้อมเสร็จแล้ว จากนั้นกระจายเส้นฝ้ายออกจากกันไปเพื่อนำตากแห้งโดยตากนั้นจะตากในสถานที่ร่ม เมื่อเส้นฝ้ายแห้งสนิทแล้ว สามารถนำไปขึ้นทอผ้าจนเกิดเป็นชิ้นงานผลิตภัณฑ์ผ้าทอ จากขั้นตอนนี้ทำให้นักศึกษาได้ทราบ Time Line กระบวนการ ทำให้ทราบถึงปัญหาการจัดการน้ำย้อมผ้าที่มีสารเคมีปนเปื้อน นักศึกษาจึงได้ใช้วิธีการสืบเสาะข้อเท็จจริง ด้วยหลักเหตุและผล โดยวิธีการตั้งคำถามเพื่อให้ได้ข้อมูลหลากหลายมิติ เพื่อนำข้อมูลมาพัฒนาแก้ไขปัญหาให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน
กิจกรรมวันที่สอง กิจกรรมอบรมการพัฒนาบรรจุภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ “จักสาน” การจักสานกระด้ง และ กวักไม้ไผ่
กิจกรรมอบรมการพัฒนาบรรจุภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ “จักสาน” โดยนักศึกษาได้ทดลองใช้เครื่องมือวิศวกรสังคม ในพื้นที่จริง ได้เริ่มเรียนรู้จาก กระด้ง เป็นภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ที่มีรูปร่างเป็นวงกลมแบน ที่ใช้สำหรับฝัดข้าวเพื่อแยกเอาเศษฝุ่น แกลบ ออกจากเมล็ดข้าวหรือเมล็ดพันธุ์อื่นที่มีเปลือกเช่นถั่ว เพื่อเป็นการคัดแยกระหว่างข้าว หรือเมล็ดพืชพันธุ์ที่ต้องการและเปลือกออกจากกันการสานกระด้งเริ่มจากการตัดไม้ไผ่ยาวประมาณ 2 เมตร จากนั้นจึงนำไม้ไผ่มาเหลาให้เป็นเส้นบางพอสมควรแล้วนำมาวางเรียงกัน 8 เส้น นำไม้ไผ่มาสานเป็นลายขัดกัน 2 เส้น จากนั้นจึงสานต่อไปเรื่อย ๆ ให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ แล้วจึงเหลาไม้ไผ่มาดัดเพื่อทำเป็นขอบกระด้งมาประกอบกันแล้วมัดด้วยเชือก หวาย หรือลวด หลังจากนั้นได้นำกระด้งไปเผาเพื่อไห้เกิดสีที่สวยงามและขนาดตามที่ต้องการ
กระด้ง เป็นภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ที่มีรูปร่างเป็นวงกลมแบน ที่ใช้สำหรับฝัดข้าวเพื่อแยกเอาเศษฝุ่น แกลบ ออกจากเมล็ดข้าวหรือเมล็ดพันธุ์อื่นที่มีเปลือกเช่นถั่ว เพื่อเป็นการคัดแยกระหว่างข้าว หรือเมล็ดพืชพันธุ์ที่ต้องการและเปลือกออกจากกัน การสานกระด้งเริ่มจากการตัดไม้ไผ่ยาวประมาณ 2 เมตร จากนั้นจึงนำไม้ไผ่มาเหลาให้เป็นเส้นบางพอสมควรแล้วนำมาวางเรียงกัน 8 เส้น นำไม้ไผ่มาสานเป็นลายจัดกัน 2 เส้น จากนั้นจึงสานต่อไปเรื่อยๆ ให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ แล้วจึงเหลาไม้ไผ่มาดัดเพื่อทำเป็นขอบกระด้งมาประกอบกันแล้วมัดด้วยเชือก หวาย หรือลวด
กิจกรรมอบรมการพัฒนาบรรจุภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ “กวักไม้ไผ่” โดยนักศึกษาได้ทดลองใช้เครื่องมือวิศวกรสังคม ในพื้นที่จริง ได้เริ่มเรียนรู้จาก กวักไม้ไผ่ เอาไว้พันฝ้ายที่จะใช้ทอผ้า กวักเป็นเครื่องมือสำหรับม้วนเส้นด้าย หน้าตาคล้ายกระชุกหรือชะลอมปากผายทรงสูงแต่เล็กกว่า การสาน เป็นลายตาเข่งหกเหลี่ยม ตรงขอบปากจะบานออก และเว้นรูไว้ตรงหัวและท้ายสำหรับสอดแกนไม้ที่เรียกว่า หางเห็น เพื่อให้หมุนได้สะดวก บ้างก็เรียกการม้วนเส้นด้ายด้วยกวักว่า การกวักด้าย การกวักฝ้ายเป็นต้น กวักต้องใช้งานร่วมกับหางเห็น จึงจะสามารถม้วนกวักด้ายได้ตามวัตถุประสงค์การใช้งาน หางเห็น ทำจากไม้เนื้อแข็ง มีสามขา ปลายด้านหนึ่งยื่นยาวออกมาคล้ายหางของอีเห็น ส่วนที่ยื่นออกมานี้คือแกนสำหรับสอดกวัก การกวักด้ายหรือการกวักฝ้ายเป็นหนึ่งในขั้นตอนการเตรียมเส้นด้ายก่อนการทอผ้าเป็นผืน มีตัวอย่างขั้นตอนการเตรียมเส้นด้ายก่อนการทอผ้าของชาวไทยพวนศรีสัชนาลัยและนอกจากนั้นกวักไม้ไผ่ยังสามารถนำไปต่อยอดผลิตภัณฑ์ได้อีกเช่นการนำไปทำโคมไฟตกแต่งสถานที่
โดยวิทยากร กลุ่มผ้าทอและกลุ่มจักสาน ได้ให้ความรู้เพื่อให้นักศึกษาวิศวกรสังคมได้ใช้ทักษะการสร้างนวัตกรรมเพื่อสังคม และสามารถใช้องค์ความรู้ในการปฏิบัติงานจริง จากการบรรยายให้ความรู้ของวิทยากรทำให้นักศึกษาได้ใช้เครื่องมือวิศวกรสังคม ในการบันทึกข้อมูลของกลุ่มผ้าทอและกลุ่มจักสาน นักศึกษาจึงทราบข้อมูล และนำข้อมูลมาวิเคราะห์และเปรียบเทียบเพื่อหาแนวทางในการพัฒนา จึงก่อให้เกิดการยกระดับ ผลิตภัณฑ์ในชุมชนเพื่อสร้างรายได้เพิ่ม คือการเพิ่มมูลค่าให้กับกระด้ง โดยได้มีการนำมาประยุกต์ใช้ในการทำพวงหรีด ทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ชุมชนได้นำไปใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งบ่งชี้ว่าการที่นักศึกษาได้ยกระดับกระด้ง มาประยุกต์ใช้เป็นพวงหรีดนั้น ผ่านกระบวนการคิดมาอย่างลึกซึ้ง และรอบด้านจนประสบความสำเร็จ
6. กิจกรรมสืบสาน รักษา ต่อยอด โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ครั้งที่ 3 “การใช้ทักษะวิศวกรสังคมในการแก้ไขปัญหาด้านเกษตรกรรม” ภายใต้โครงการส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนา Soft Skills ด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เพื่อสร้างนวัตกรรมพัฒนาท้องถิ่น
กิจกรรมสืบสาน รักษา ต่อยอด โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ครั้งที่ 3 “การใช้ทักษะวิศวกรสังคมในการแก้ไขปัญหาด้านเกษตรกรรม” ภายใต้โครงการส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนา Soft Skills ด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามเพื่อสร้างนวัตกรรมพัฒนาท้องถิ่น และตามแนวพระราชดำริในการก่อสร้างฝายต้นน้ำ มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศเสริมสร้างเศรษฐกิจชุมชนต้นน้ำ ซึ่งฝายต้นน้ำจะช่วยสร้างความชุ่มชื้น ดักดินตะกอน และเป็นแหล่งน้ำสำหรับใช้ในการอุปโภคบริโภคในพื้นที่ต้นน้ำลำธาร ดังนั้น ในการก่อสร้างฝายต้นน้ำแต่ละชนิดจึงมีวัตถุประสงค์และความเหมาะสมของพื้นที่ที่ใช้ในการก่อสร้างแตกต่างกันออกไปด้วย และในระหว่างวันที่ 21 – 23 กรกฎาคม 2566 ณ บ้านปลายนา หมู่ 12 ตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมคือนักศึกษาวิศวกรสังคมมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามและอาจารย์ที่ปรึกษาวิศวกรสังคม ทั้ง 8 คณะ บุคลากรกองพัฒนานักศึกษา นักศึกษาวิศวกรสังคมมหาวิทยาลัย ราชภัฏพิบูลสงคราม ทั้ง 8 คณะ ที่จะเข้าร่วมในกิจกรรมครั้งนี้
กิจกรรมวันแรก ภาคเช้า กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมและแนะนำผู้นำชุมชน โดย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตึก ต่อด้วย การฝึกทักษะวิศวกรสังคมในการใช้เครื่องมือฟ้าประทาน และการใช้เครื่องมือนาฬิกาชีวิต ภาคบ่าย ฝึกทักษะการใช้เครื่องมือ Time Line พัฒนาการ และการนำข้อมูลที่ได้จากการใช้เครื่องมือฟ้าประทาน นาฬิกาชีวิต และ Time Line พัฒนาการ มาวิเคราะห์และสรุป ทำให้นักศึกษาได้ทดลองใช้เครื่องมือวิศวกรสังคมในพื้นที่จริง เพื่อให้ทราบข้อมูล และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ เปรียบเทียบข้อมูลเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาร่วมกับชุมชนได้
กิจกรรมวันที่สอง ชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่และรูปแบบในการศึกษา Time Line กระบวนการ “ในการการทำฝายน้ำล้น” ทำให้นักศึกษาได้ทราบข้อมูล และขั้นตอนในการสร้างฝายอย่างถ่องแท้
ในส่วนของมนุษย์ ความที่เป็นสัตว์ประเสริฐ มีมันสมองก็ได้คิดค้นและพัฒนาแหล่งน้ำอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด เนื่องจากแหล่งน้ำตามธรรมชาติที่มีอยู่นับวันก็จะหดหายไป ซึ่งตรงข้ามกับการเพิ่มของจำนวนประชากร พื้นที่ต้นน้ำต่าง ๆ ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดน้ำก็ถูกทำลายลงทุกวัน เป็นเหตุให้คนที่มีความจำเป็นต้องใช้น้ำในการอุปโภค บริโภคและการเกษตรได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก หลายฝ่ายพยายามหาทางแก้ไขซึ่งรูปแบบหนึ่งก็คือการก่อสร้างฝายทดน้ำ
ฝาย คือ อาคารทดน้ำประเภทหนึ่งสร้างขึ้นทางต้นน้ำของลำน้ำธรรมชาติ ทำหน้าที่ทดน้ำที่ไหลมาตามลำน้ำให้มีระดับสูง จนสามารถไหลเข้าคลองส่งน้ำได้ตามปริมาณที่ต้องการในฤดูการเพาะปลูก ส่วนน้ำที่เหลือจะไหลล้นข้ามสันฝายไป ฝายส่วนใหญ่จะมีขนาดความสูงไม่มากนัก มีรูปร่างคล้ายสี่เหลี่ยมคางหมู
การสร้างฝายชะลอน้ำเป็นการบริหารจัดการน้ำจากธรรมชาติที่ทำให้พื้นที่ของเรามีน้ำใช้และให้ประโยชน์ได้มากที่สุด การสร้างฝายชะลอน้ำเป็นการบริหารจัดการน้ำจากธรรมชาติที่ทำให้พื้นที่ของเรามีน้ำใช้และให้ประโยชน์ได้มากที่สุด ฝายมีหลายประเภท ได้แก่ ฝายถาวร ฝายชั่วคราว และฝายกึ่งถาวร
• ฝายถาวร เป็นฝายคอนกรีตมีความทนทาน แต่ใช้ต้นทุนและแรงงานในการก่อสร้างสูง
• ฝายชั่วคราว สร้างจากวัสดุธรรมชาติ สภาพไม่คงทน ไม่เหมาะกับการใช้งานในระยะยาว
• ฝายกึ่งถาวร ผสมผสานระหว่างวัสดุตามธรรมชาติร่วมกับวัสดุก่อสร้าง ทำให้มีความคงทนและสามารถทำเองได้ไม่ยาก เหมาะกับพื้นที่ต้นน้ำที่มีทางน้ำไหลคดเคี้ยวตามธรรมชาติ และพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง
ในครั้งนี้เราทำฝาย ฝายต้นน้ำลำธารแบบกึ่งถาวร ฝายต้นน้ำลำธารแบบกึ่งถาวร เป็นฝายชนิดหินก่อคอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นฝายที่มีความมั่นคงแข็งแรงพอสมควร ซึ่งจะดำเนินการก่อสร้างบริเวณ Second Order Stream หรือ Third Order Stream ของลำห้วย
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้
1. ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์
2. ปูนซีเมนต์ผสม
3. หิน ทราย หินใหญ่
4. เหล็กเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 12 มิลลิเมตร เหล็กเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 9 มิลลิเมตร
เหล็กเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 6 มิลลิเมตร
5. ลวดผูกเหล็ก
จาการลงพื้นทำกิจกรรมทำให้นักศึกษาวิศวกรสังคมมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามได้มองเห็นปัญหาการขาดแคนน้ำ ในช่วงฤดูแล้ง และปัญหาน้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก เป็นสิ่งท้าทาย และร่วมกับชุมชนในการแก้ไขปัญหาโดยได้มีการวิเคราะห์ และเปรียบเทียบข้อมูลร่วมกับชุมชน เพื่อนำมาหาวิธีแก้ไขปัญหาการทำเกษตรกรรมให้กับชุมชน จนเกิดเป็นการสร้างนวัตกรรมขึ้นใหม่ คือการสร้างฝายชะลอน้ำล้น เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง
- สภาพพื้นที่ก่อนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
ตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย มีระยะทางห่างจากจังหวัดสุโขทัย 72 กิโลเมตร และห่างจากอำเภอศรีสัชนาลัย ไปทางทิศเหนือ 15 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 101 (สุโขทัย – ศรีสัชนาลัย) ลักษณะภูมิประเทศ เป็นพื้นที่ราบแอ่งกระทะมีภูเขาล้อมรอบมีลำน้ำสายหลักไหลผ่าน คือ ลำห้วยแม่ราก ทิศเหนือ ติดต่อตำบลแม่สิน อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ทิศใต้ ติดต่อตำบลป่างิ้ว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ทิศตะวันออก ติดต่อตำบลแม่พูล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ทิศตะวันตก ติดต่อตำบลแม่สำ อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ลักษณะของแหล่งน้ำ แหล่งน้ำธรรมชาติมีการจัดแบ่งตามลักษณะของน้ำออกเป็น 3 ประเภท คือ1) น้ำฝน 2) น้ำผิวดิน และ 3) น้ำใต้ดิน
1.แหล่งน้ำฝน
2. แหล่งน้ำผิวดิน ตำบลบ้านตึกมีห้วยแม่รากเป็นลำน้ำสายหลัก ไหลผ่านหมู่ที่ 7, 6, 8, 12, 5, 2, 14, 1 และ หมู่ที่ 10 โดยจะไหลลงสู่แม่น้ำยมที่ตำบลป่างิ้ว ฤดูแล้งน้ำจะตื้นเขิน นอกจากนี้ยังมีลำห้วยสายเล็กอีก ไม่น้อยกว่า 30 สาย โดยส่วนใหญ่จะมีลักษณะแห้งเขินไม่สามารถใช้ประโยชน์ในฤดูแล้งได้
3. แหล่งน้ำใต้ดิน แต่ละหมู่บ้านในพื้นที่ตำบลบ้านตึกมีจุดบ่อน้ำตื้น และบ่อน้ำบาดาลไว้ใช้สำหรับการอุปโภคบริโภค
ในภาพรวมทรัพยากรธรรมชาติของตำบลบ้านตึกค่อนข้างมีความอุดมสมบูรณ์ พื้นที่มีลักษณเป็นที่
ราบแอ่งกะทะมีภูเขาล้อมรอบ มีห้วยแม่รากเป็นลำน้ำสายหลัก ไหลผ่านหมู่ที่ 7, 6, 8, 12, 5, 2, 14, 1และหมู่ที่ 10 โดยจะไหลลงสู่แม่น้ำยมที่ตำบลป่างิ้ว ลักษณะดินมีความหลากหลายคุณภาพค่อนข้างต่ำแต่สามารถปรับปรุงดินให้มีความเหมาะสมกับการปลูกพืชได้ไม่ยาก (ที่มา : องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตึก,2566)