หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสัตวศาสตร์และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้ผลักดันและส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสัตวศาสตร์และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มุ่งผลิตบัณฑิต ที่มีความรู้คู่คุณธรรม พัฒนาทักษะวิชาชีพ ด้านการผลิตสัตว์ทั้งสัตว์บกและสัตว์น้ำ สร้างองค์ความรู้ใหม่ จากการวิจัยที่สามารถนําไปใช้ได้จริงอันจะนําไปสู่การพัฒนาชุมชนและท้องถิ่นได้อย่างยั่งยืน โดยมุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ทางด้านการผลิตสัตว์ทั้งสัตว์บกและสัตว์น้ำ การขยายและปรับปรุงพันธุ์สัตว์การจัดการ อาหารและโภชนาการสัตว์การจัดการฟาร์มสัตว์ตลอดจนการจัดการผลผลิตสัตว์ทั้งสัตว์บกและสัตว์น้ำ โดยใช้องค์ความรู้ร่วมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ มีการพัฒนาบัณฑิตให้มีองค์ความรู้ จากการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาด้านการผลิตสัตว์และสามารถปรับตัวเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกได้ รวมถึงในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนร่วมกับชุมชนท้องถิ่น โดยนำนักศึกษาลงพื้นที่เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจต่าง ๆ เพื่อก่อให้เกิดอาหารในชุมชนและสร้างอาชีพก่อเกิดรายได้ให้แก่ชุมชุน
ที่มาข้อมูล : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสัตวศาสตร์และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร https://www.facebook.com/profile.php?id=100068093410507
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้ผลักดันและส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา เพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านระบบนิเวศ เพื่อสังคมชมชนที่ยั่งยืน เนื่องจากสังคมไทยในปัจจุบันมีขนาดใหญ่ขึ้นแนวคิดในการใช้ชีวิตของคนไทยจึง เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลกระทบถึงวัฒนธรรม ประเพณีของประชาชนในท้องถิ่น ทั้งในทางบวกและลบการ พัฒนาหลักสูตรต้องอยู่บนพื้นฐานของการพัฒนาคน นอกจากความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์แล้ว ยัง จําเป็นต้องมีการเสริมสร้างจิตสํานึกและอนุรักษ์ความรับผิดชอบต่อสังคมและต้องมีเจตคติที่ดีต่อการใช้ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวทางพระราชดําริที่ถูกต้องด้วย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม โดยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงได้เปิดการสอนในหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา เป็นหลักสูตรที่ยึดหลักมาตรฐานวิชาการมุ่งผลิตกําลังคนที่เป็นนักวิชาการทางด้านชีววิทยาและเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น และสามารถ ปรับตัวตามสภาพความก้าวหน้าของวิชาการควบคู่กับคุณธรรม โดยมีการจัดการเรียนการสอนจํานวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 122 หน่วยกิต มีการออกแบบรายวิชาที่สามารถตอบโจทย์การศึกษาเกี่ยวกับระบบนิเวศ ทั้งพืชและสัตว์สำหรับชุมชนท้องถิ่นหรือระดับชาติ อาทิเช่น
รายวิชานิเวศวิทยาของพืช : ความสัมพันธ์ของพืชกับแหล่งที่อาศัย ระบบนิเวศ การถ่ายทอดพลังงาน การแพร่กระจายการเปลี่ยนแปลงแทนที่ของสังคมพืช การใช้ความรู้ทางนิเวศวิทยาวิเคราะห์ชนิดและชุมชนพืช
รายวิชาสัตววิทยา : วิวัฒนาการและการจัดจําแนกประเภท ความหลากหลาย โครงสร้างและหน้าที่เชิงเปรียบเทียบ นิเวศวิทยา และพฤติกรรมของสัตว
รายวิชานิเวศวิทยาของสัตว : ปฏิสัมพันธ์ของสัตว์กับสิ่งแวดล้อมการกระจายพันธุ์ทางภูมิศาสตร์พฤติกรรมการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม การวิเคราะห์ทางนิเวศวิทยาและการเขียนโครงงานวิจัยทางนิเวศวิทยาของสัตว์
ปักษีวิทยา : วิวัฒนาการ สัณฐานวิทยา กายวิภาค อนุกรมวิธาน การกระจาย พฤติกรรมและการอนุรักษ์พันธุ์ของนก
รายวิชาเทคโนโลยีสะอาด : หลักการด้านเทคโนโลยีสะอาด การเกิดของเสียในงานอุตสาหกรรม การจัดการของเสียอย่างมีระบบ สมดุลมวลสารและพลังงาน การประเมินเทคโนโลยีสะอาด การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสะอาดในงานอุตสาหกรรม การตรวจประเมินเทคโนโลยีสะอาด การศึกษากรณีตัวอย่าง
ที่มาข้อมูล : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี