1. ชื่อโครงการ / กิจกรรม
ประชุมเชิงปฏิบัติการการขับเคลื่อนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์ด้านวิทยาศาสตร์ ด้วยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์และนวัตกรรม
2. สรุปสาระสำคัญ
ตามที่ประชุมโดยกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการรวมถึงพิธีลงนามความร่วมมือ “ การขับเคลื่อนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์งานด้านวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมในระดับภูมิภาค ประจำปี 2567-2570 เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนในทุกพื้นที่ของประเทศ โดยมุ่งเน้นนำนโยบาย BCG เพิ่มขีดความ ยกระดับคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจในพื้นที่ทั่วประเทศ สู่การแก้ไขปัญหาในระดับจังหวัด ซึ่งกระทรวงฯ ให้ความสำคัญกับการปฏิรูปเพื่อเชื่อมโยงการอุดมศึกษา กับการสร้างนวัตกรรมสู่การสร้างสรรค์สังคม สนับสนุนการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ ลดความเหลื่อมล้ำเศรษฐกิจฐานราก เร่งสร้างอุตสาหกรรมฐานความรู้คู่ไทย ยกระดับวิสาหกิจทุกระดับให้มีรายได้สูง ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี และส่งเสริมบูรณาการการทำงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดและ
กลุ่มจังหวัด ด้วยการนำองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
ซึ่งได้สอดคล้องกับการจัดกลุ่มการเป็นมหาวิทยาลัยกลุ่ม 2 ของมหาวิทยาลับราชภัฏพิบูลสงคราม โดยท่านอธิการบดีบดีได้รับนโยบายและลงนามพิธีลงนามความร่วมมือ “การขับเคลื่อนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์งานด้านวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมในระดับภูมิภาค ประจำปี 2567-2570” เพื่อนำมาเป็นนโยบายในการขับเคลื่อนหารดำเนินของมหาวิทยาลัยที่สอดรับกับความร่วมมือต่อไป
3. ที่มา
ประชุมเชิงปฏิบัติการรวมถึงพิธีลงนามความร่วมมือ “ การขับเคลื่อนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์งาน
ด้านวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมในระดับภูมิภาค ประจำปี 2567-2570 “ ผ่านระบบประชุมทางไกลออนไลน์ Zoom cloud meeting เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนในทุกพื้นที่ของประเทศ
จากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
5. SDG ที่เกี่ยวข้อง
SDG1 | ขจัดความยากจนทุกรูปแบบในทุกพื้นที่ | |
SDG2 | ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการและส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน | |
SDG3 | สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนในทุกวัย | |
SDG4 | สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต | |
SDG5 | บรรลุความเท่าเทียมระหว่างเพศ และเสริมอำนาจให้แก่สตรีและเด็กหญิง | |
SDG6 | สร้างหลักประกันว่าจะมีการจัดให้มีน้ำและสุขอนามัยสำหรับทุกคนและมีการบริหารจัดการที่ยั่งยืนคน | |
SDG7 | สร้างหลักประกันให้ทุกคนสามารถเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ที่ยั่งยืนในราคาที่ย่อมเยา | |
SDG8 | ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่ มีผลิตภาพ และการมีงานที่เหมาะสมสำหรับทุกคน | |
SDG9 | สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีความทนทาน ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมและยั่งยืน และส่งเสริมนวัตกรรม | |
SDG10 | ลดความไม่เสมอภาคภายในประเทศและระหว่างประเทศ | |
SDG11 | ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความครอบคลุม ปลอดภัย มีภูมิต้านทานและยั่งยืน | |
SDG12 | สร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน | |
SDG13 | ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น | |
SDG14 | อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน | |
SDG15 | ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน จัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนต่อสู้การกลายสภาพเป็นทะเลทราย หยุดการเสื่อมโทรมของที่ดินและฟื้นสภาพดิน และหยุดยั้งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ | |
SDG16 | ส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและครอบคลุมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ทุกคนเข้าถึงความยุติธรรม และสร้างสถาบันที่มีประสิทธิภาพ รับผิดชอบ และครอบคลุมในทุกระดับ | |
* | SDG17 | เสริมความเข้มแข็งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน |
ประชุมการจัดทำงบประมาณเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่เวทีโลก
2. สรุปสาระสำคัญ
ตามที่ประชุมโดยคณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วุฒิสภา ร่วมกับที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย โดย ศาสตราจารย์ ดร.สุรินทร์ คำฝอย ผู้ชำนาญการประจำคณะกรรมาธิการการอุดมศึกษาฯ และที่ปรึกษาคณะกรรมการฝ่ายแผนงาน ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยและกลไกการส่งเสริม จากนั้นเป็นการแบ่งกลุ่มประชุมระดมความคิดตามประเด็นการพัฒนาเพื่อนำไปสู่ข้อสรุปเชิงยุทธศาสตร์ ทั้งประเด็นการจัดสรรงบประมาณ (กองทุนศึกษาและกองทุน ววน.) และการจัดอันดับ Ranking กับการพัฒนามหาวิทยาลัยด้านการเรียนการสอน ด้านวิจัยนวัตกรรม และด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) พร้อมจัดทำออกมาเป็นแผนภาพ Infographic ซึ่งได้มีกิจกรรมการประชุมระดมความคิดเห็นประเด็นการพัฒนาเพื่อนำไปสู่ข้อสรุปเชิงยุทธศาสตร์ โดยแบ่งเป็นประเด็นต่างๆ ดังนี้
ประเด็นที่ 1 การจัดสรรงบประมาณ (กองทุนศึกษาและกองทุน ววน.)
ประเด็นที่ 2 การจัดอันดับ Ranking กับการพัฒนามหาวิทยาลัยด้านการเรียนการสอน
ประเด็นที่ 3 การจัดอันดับ Ranking กับการพัฒนามหาวิทยาลัยด้านวิจัยนวัตกรรม
ประเด็นที่ 4 Ranking กับเกณฑ์การพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)
จากการประชุมระดมความคิดเห็นในประเด็นการพัฒนาทั้ง 4 ประเด็น ได้จัดทำสรุปข้อมเชิงยุทธศาสตร์และเสนอแนวทางการพัฒนาระบบการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้สอดคล้องกับระเบียบและวิธีการในการจัดอันดับมหาวิทยาลัย และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา เสนอต่อคณะกรรมาธิการการอุดมศึกษาฯ เพื่อประกอบการพิจารณาศึกษา และรายงานต่อวุฒิสภาต่อไป
3. ที่มา
คณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วุฒิสภา ร่วมกับที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดสัมมนาเรื่อง “การจัดทํางบประมาณเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่เวทีโลก” โดยมีพลอากาศเอกประจิน จั่นตอง ประธานคณะกรรมาธิการ การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
4. รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง
5. SDG ที่เกี่ยวข้อง
SDG1 | ขจัดความยากจนทุกรูปแบบในทุกพื้นที่ | |
SDG2 | ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการและส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน | |
SDG3 | สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนในทุกวัย | |
SDG4 | สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต | |
SDG5 | บรรลุความเท่าเทียมระหว่างเพศ และเสริมอำนาจให้แก่สตรีและเด็กหญิง | |
SDG6 | สร้างหลักประกันว่าจะมีการจัดให้มีน้ำและสุขอนามัยสำหรับทุกคนและมีการบริหารจัดการ ที่ยั่งยืนคน | |
SDG7 | สร้างหลักประกันให้ทุกคนสามารถเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ที่ยั่งยืนในราคาที่ย่อมเยา | |
SDG8 | ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่ มีผลิตภาพ และการมีงานที่เหมาะสมสำหรับทุกคน | |
SDG9 | สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีความทนทาน ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมและยั่งยืน และส่งเสริมนวัตกรรม | |
SDG10 | ลดความไม่เสมอภาคภายในประเทศและระหว่างประเทศ | |
SDG11 | ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความครอบคลุม ปลอดภัย มีภูมิต้านทานและยั่งยืน | |
SDG12 | สร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน | |
SDG13 | ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น | |
SDG14 | อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน | |
SDG15 | ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน จัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนต่อสู้การกลายสภาพเป็นทะเลทราย หยุดการเสื่อมโทรมของที่ดินและฟื้นสภาพดิน และหยุดยั้งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ | |
SDG16 | ส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและครอบคลุมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ทุกคนเข้าถึงความยุติธรรม และสร้างสถาบันที่มีประสิทธิภาพ รับผิดชอบ และครอบคลุมในทุกระดับ | |
P | SDG17 | เสริมความเข้มแข็งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน |