พัฒนาบุคลากรเพื่อสร้างเครือข่ายวิศวกรสังคม
| | |

พัฒนาบุคลากรเพื่อสร้างเครือข่ายวิศวกรสังคม

กระแสความปั่นป่วนทางด้านเศรษฐกิจและการเมืองโลกในปัจจุบันก่อให้เกิดความท้าทายต่อความพยายามในการก้าวข้ามกับดักประเทศกำลังพัฒนาของประเทศไทยในอนาคตอันใกล้สงครามทางการระหว่างประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจได้เริ่มส่งผลกระทบอย่างชัดเจนต่อกระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรมหลักของประเทศซึ่งเชื่อมโยงไปถึงภาวการณ์มีงานทำของประชาชนในระยะยาวเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันจำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีคนไทยเป็นเจ้าของและสามารถสร้างคุณค่าใหม่ให้แก่ระบบเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนท่ามกลางบริบทความท้าทายดังกล่าวทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพโดยเฉพาะเยาวชนรุ่นใหม่ที่เป็นนักศึกษาและบัณฑิตใหม่คือกุญแจสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยหลุดพ้นวงจรแห่งความยากจนและกับดักประเทศกำลังพัฒนาแผนงานด้านการพัฒนาคนไทยยุคใหม่แห่งศตวรรษที่21จึงมีความมุ่งหวังเพื่อสร้างและพัฒนากำลังคน(Manpower)ที่เป็นยุวชนคนรุ่นใหม่ไม่จำกัดว่าเป็นนักศึกษาหรือบัณฑิตใหม่จะมีความถนัดด้านวิทยาศาสตร์หรือสังคมศาสตร์ซึ่งคนไทยรุ่นใหม่ทุกคนจะได้รับ“โอกาส”ในการเรียนรู้ตามความถนัดของตนเองจนได้“ความรู้ใหม่”หรือ“นวัตกรรม”ที่สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้อย่างยั่งยืนดังนั้นการพัฒนานักศึกษาซึ่งเป็นทรัพยากรสำคัญของเทศไทยให้เป็น“คนไทยแห่งศตวรรษที่21”ที่ถึงพร้อมด้วยสติปัญญาวุฒิภาวะทางอารมณ์และมีจิตสาธารณะและท่ามกลางความผันผวนทางด้านเศรษฐกิจและการค้าโลกทำให้นักศึกษาสามารถลดภาวการณ์ว่างงานของบัณฑิตใหม่ได้ด้วยการบ่มเพาะอาชีพใหม่แห่งอนาคตที่สามารถสร้างคุณค่าใหม่ให้แก่เศรษฐกิจของประเทศ โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม    ได้มอบหมายให้ กองพัฒนานักศึกษา โดยงานกิจกรรมและพัฒนานักศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบกิจกรรมอบรม เพื่อขยายผลโครงการ วิศวกรสังคม(Social Engineer) สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม  เพื่อการพัฒนาประเทศ (ครั้งที่ 1) มีกลุ่มเป้าหมาย องค์การบริหารกิจกรรมนักศึกษา   สภานักศึกษา  นักศึกษาจิตอาสา  สโมสรนักศึกษาคณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร  สโมสรนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  สโมสรนักศึกษาวิทยาลัยการพยาบาล  สโมสรนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  สโมสรนักศึกษาวิทยาลัยการจัดการและพัฒนาท้องถิ่น  บุคลากรกองพัฒนานักศึกษาที่จะเข้าร่วมในกิจกรรมครั้งนี้  ซึ่งมีกิจกรรมดังนี้ การบรรยายแนะนำหลักสูตร วิศวกรสังคม(Social Engineer)  โดย ดร.นงรัตน์   อิสโร เลขาองคมนตรี (พลเอกดาว์พงษ์  รัตนสุวรรณ)  การบรรยายหัวข้อ “แนวคิดวิศวกรสังคม  พัฒนาทักษะเพื่อสร้างกระบวนการ” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนสาร  เพ็งพุ่ม  รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา  อาจารย์ธีรพัฒน์  พูลทอง  รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและศิลปวัฒนธรรมคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  อาจารย์ศิลปชัย  ฟั่นพะยอม  ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา  วิทยาลัยการพยาบาล        และมีการละลายพฤติกรรมก่อนที่จะทำกิจกรรมกลุ่มต่อไป ช่วงบ่ายจะเป็นกิจกรรมฟ้าประทาน ,กิจกรรมนาฬิกาชีวิต : การเข้าใจตนเองผ่านการเข้าใจผู้อื่น และให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมนำเสนอไทม์ไลน์และนาฬิกาชีวิตของแต่ละกลุ่ม  กิจกรรมวันที่สอง จะเป็นการฝึกทักษะการเข้าใจปรากฏการณ์ …

การสรรหาผู้บังคับบัญชาสูงสุดของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

การสรรหาผู้บังคับบัญชาสูงสุดของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

สรุปสาระสำคัญการดำเนินงาน :           มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม โดยมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 บัญญัติให้มีอธิการบดีคนหนึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดและรับผิดชอบการบริหารงานของมหาวิทยาลัย…”ดังนั้น ผู้บริหารสูงสุดของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม คือ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ประกอบกับมาตรา 28 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 บัญญัติ “ให้อธิการบดีนั้น จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง โดยคำแนะนำของสภามหาวิทยาลัยจากผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา 29” ปัจจุบัน ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุมพล เสมาขันธ์ ให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564           ในส่วนของการสรรหาผู้บังคับบัญชาสูงสุด คือ ตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จะเป็นไปตามมาตรา 28 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 บัญญัติ “หลักเกณฑ์ วิธีการได้มา และคุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี ให้เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย โดยกระบวนการสรรหาซึ่งต้องคำนึงถึงหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้           (1) เป็นผู้มีความรู้ ความชำนาญ และคุณสมบัติเหมาะสมกับวัตถุประสงค์และภาระหน้าที่ของมหาวิทยาลัย และเป็นที่ยอมรับนับถือของบุคลากรของมหาวิทยาลัยและบุคคลในท้องถิ่นที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจการของมหาวิทยาลัย          …