มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบรายใหม่ต่อปีสูงที่สุดในสตรี ในประเทศไทยพบมะเร็งเต้านมรายใหม่ 22,158 ราย ต่อปีวันละ 60 คน และมีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งเต้านม 8,266 รายต่อปี หรือวันละ 22 คน จึงถือว่ามะเร็งเต้านมเป็นภัยร้ายต่อผู้หญิงทั้งในระดับโลกและในประเทศไทย ยุทธศาสตร์ในการควบคุมมะเร็งเต้านมที่ทั่วโลกใช้ คือ การค้นหามะเร็งเต้านมให้พบแต่เริ่มแรก เพื่อเข้าสู่กระบวนการรักษาที่รวดเร็ว เนื่องจากลการรักษามะเร็งเต้านมระยะแรก ผลการรักษาดี ผลแทรกซ้อน อัตราการตายและต้นทุนการรักษาต่ำ อีกทั้งสามารถผ่าตัดเฉพาะก้อนมะเร็ง ไม่จำเป็นต้องตัดเต้านมออกทั้งข้าง โดยการคัดกรองมะเร็งเต้านมที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก มี 3 วิธีการ วิธีแรกคือ การตรวจเต้านมด้วยตนเอง (Breast Self-Examination หรือ BSE) ทุกเดือน วิธีที่ 2 คือ การตรวจเต้านมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขปีละ 1 ครั้ง และวิธีที่ 3 คือ การตรวจด้วยแมมโมแรกม การตัดสินว่าจะเลือกวิธีใดจำเป็นต้องพิจารณาข้อจำกัดของทรัพยากรของแต่ละประเทศด้วย ดังนั้นการตรวจเต้านมด้วยตนเองจุงเป็นวิธีการที่ง่ายและสะดวกที่สุด แต่อย่างไรก็ตามเรื่องที่มองดูง่าย แต่ไม่ง่ายอย่างที่คิด เนื่องจากมะเร็งเต้านมมีมิติของสังคม วัฒนธรรม ความเชื่อ ความกลัว เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งต้อใช้หลายศาสตร์และหลายสาขาวิชาชีพเข้ามาบูรณาการการทำงานร่วมกัน ถึงจะสามารถเพิ่มความครอบคลุมของการตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างมีคุณภาพและสม่ำเสมอ
ชมรมถันยรักษ์ ได้จัดอบรมวิทยากรแกนนำการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง ให้กับนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 เพื่อเผยแพร่ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับมะเร็งเต้านม สร้างความตระหนักให้เห็นถึงความสำคัญของการดูแลเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ และเพื่อสร้างแกนนำนักศึกษาจิตอาสาพิชิตมะเร็งเต้านม ผ่านการอบรมหลักสูตรการพัฒนาแกนนำการตรวจเต้านมด้วยตนเองรวมทั้งสร้างแกนนำนักศึกษาจิตอาสาพิชิตมะเร็งเต้านม ผ่านการอบรมหลักสูตรการพัฒนาแกนนำการตรวจเต้านมด้วยตนเอง(19 กันยายน 2565)
นอกจากนี้ ชมรมถันยรักษ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ร่วมกับ สโมสรนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์
จัดโครงการภารกิจพิชิตมะเร็งเต้านม ชมรมถันยรักษ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ประจำปี 2565 (ระยะที่ 2) โดยอบรมผู้นำนักศึกษาจากองค์การนักศึกษาฯ และสโมสรนักศึกษา 8 คณะ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับมะเร็งเต้านม เพื่อสร้างความตระหนักให้เห็นถึงความสำคัญของการดูแลเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ รวมทั้งสร้างแกนนำนักศึกษาจิตอาสาพิชิตมะเร็งเต้านม ผ่านการอบรมหลักสูตรการพัฒนาแกนนำการตรวจเต้านมด้วยตนเอง (5 ตุลาคม 2565)
เผยแพร่ :