บริการทุนการศึกษา ประเภททุนทั่วไป
ปีการศึกษา 2565
สรุปสถิติการจัดบริการทุนการศึกษา ประเภททุนทั่วไป ปีการศึกษา 2565 (435 ราย)
ทุนต่อเนื่อง : ได้รับทุนต่อเนื่องจนกว่าจะสำเร็จการศึกษา
ชื่อทุนการศึกษา | จำนวน(ราย) |
ทุนอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ | 4 |
ทุนมูลนิธินายห้างโรงปูนผู้หนึ่ง | 8 |
ทุนเฉลิมราชกุมารี | 13 |
ทุนมูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้า | 2 |
ทุนมูลนิธิช่วยนักเรียนที่ขาดแคลนในพระบรมราชูปถัมภ์(ม.น.ข.) | 6 |
นักเรียนในพระราชานุเคราะห์ | 11 |
ทุนสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ | 5 |
ทุนพระราชทานการศึกษาสงเคราะห์ | 18 |
ทุนบริษัท ปตท.สผ.เพชร เอส 1 | 9 |
ทุนบริษัทกรุงไทยการไฟฟ้า | 4 |
ทุนมูลนิธิยุวสถิรคุณ(ทุนเศรษฐกิจพอเพียง) | 1 |
ทุนธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) | 2 |
ทุนมูลนิธิราชประชาสมาสมัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ | 1 |
มูลนิธิพิพัฒน์พิษณุโลกและสุโขทัย | 18 |
สหกรณ์ข้าราชการสหกรณ์ | 1 |
มูลนิธิชิน โสภณพนิช | 18 |
ทุนมูลนิธิทิสโก้ เพื่อการกุศล | 11 |
โครงการทุนเรียนดีเพชรกาซะลอง | 42 |
โครงการทุนการศึกษาพิษณุโลก-สุโขทัย 1 ตำบล 1 ทุน | 158 |
ทุนนักศึกษาพิการ | 14 |
ทุนบริษัทกรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด | 1 |
ทุนผู้ได้รับผลกระทบความไม่สงบใน จ.ชายแดนภาคใต้ | 1 |
ทุน อบจ.กำแพงเพชร | 1 |
สมาคมสภาสังคมสงเคราะห์ฯ | 1 |
รวม | 350 |
ทุนรายปี : ได้รับทุนครั้งเดียวในปีการศึกษานั้น
ชื่อทุนการศึกษา | จำนวน(ราย) |
กองทุนการศึกษาและการพัฒนานักศึกษา | 52 |
รศ.ดร.ธัชคณิณ จงจิตวิมล | 1 |
ผศ.ดร.ชนิกาญจน์ จันทร์มาทอง | 1 |
คุณไพบูลย์ หาญดำรงศักดิ์ | 1 |
รศ.สุรชัย ขวัญเมือง | 3 |
คุณเพ็ญศรี มีพยุง | 2 |
บริษัท ต้าลี่ เทรดดิ้ง จำกัด | 2 |
บริษัท สกิน ทูเกทเธอร์ จำกัด | 2 |
Sichon&Thomas D.Cox | 8 |
รศ.ดร.อัญชนา ปรีชาวรพันธ์ | 5 |
ผศ.ดร.สนธยา สาลี | 1 |
อ.ดร.ณริศรา พฤษะวัน | 1 |
ผศ.ปราณี ซื่ออุทิศกุล | 1 |
ผศ.ดร.ปัณณวิชญ์ ใบกุหลาบ | 1 |
ผศ.ดร.อนงค์ ศรีโสภา | 3 |
รศ.ดร.นิคม นาคอ้าย | 1 |
รวม | 85 |
หน่วยทุนการศึกษา งานบริการนักศึกษาและศิษย์เก่า
055-267000-2 ต่อ 9622
มรพส. ส่งเสริมและสนับสนุนการการกู้ยืมเงินแก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์เพื่อเป็นค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา
และค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการครองชีพระหว่างศึกษา
กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2538 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2539 ให้เริ่มดำเนินการกองทุนในลักษณะเงินทุนหมุนเวียน ตามนัยมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ. 2491 ต่อมารัฐบาลได้พิจารณาเห็นความสำคัญของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษามากขึ้น จึงได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2541 มีผลให้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษามีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยอยู่ในการกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง มีวัตถุประสงค์ให้กู้ยืมเงินแก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์เพื่อเป็นค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา และค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการครองชีพระหว่างศึกษา
ปัจจุบัน พระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 ได้ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2560 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2560 มีผลให้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาอยู่ในการกำกับดูแลของรัฐมนตรี และมีฐานะเป็นนิติบุคคลที่ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายอื่น เนื่องจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2541 และกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ ผูกกับรายได้ในอนาคตตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการบริหารกองทุนเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2549 ที่ออกตามพระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ. 2491 มีการบริหารจัดการและการดำเนินการที่มีข้อจำกัด และไม่สอดคล้องกับนโยบายการผลิตกำลังคนและการพัฒนาประเทศสมควรบูรณาการ การบริหารจัดการและการดำเนินการของกองทุน กยศ. และกองทุน กรอ. ให้เป็นเอกภาพอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน และเพิ่มมาตรการในการบริหารจัดการกองทุนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
จากความเป็นมาและความสำคัญดังกล่าว มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้เข้าร่วมโครงการกองทุนฯ โดยเริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2540 รวมระยะเวลา 24 ปี จึงมีความจำเป็นต้องจัดทำคู่มือปฏิบัติงานกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา สำหรับผู้ปฏิบัติหน้าที่หรือรับผิดชอบเกี่ยวกับกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา อาทิ การรับสมัคร การทำสัญญาลงนามแบบยืนยันค่าเล่าเรียนค่าครองชีพ การจัดเก็บเอกสารสำหรับการสืบค้น การคืนเอกสาร เป็นต้น เพื่อให้งานนั้น ๆ สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี สามารถดำเนินการได้ตรงตามเวลาที่กำหนดเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
วัตถุประสงค์ (Objectives)
พระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 กองทุนมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาด้วยการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
1. เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ให้แก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์
2. เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ให้แก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่ศึกษาในสาขาวิชาที่เป็นความต้องการหลัก ซึ่งมีความชัดเจนของการผลิตกำลังคนและมีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ
3. เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ให้แก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่ศึกษาในสาขาวิชาที่ขาดแคลนหรือสาขาวิชาที่กองทุนมุ่งมั่นส่งเสริมเป็นพิเศษ
4. เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ให้แก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่เรียนดีเพื่อสร้างความเป็นเลิศ
5. มีจิตสำนึกในการชำระหนี้คืนเพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับรุ่นน้องต่อไป
สรุปข้อมูลการกู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ปีการศึกษา 2565
ประเภท | จำนวน | ค่าเล่าเรียน | ค่าครองชีพ | รวม |
กยศ. | 2,007 | 34,016,100 | 70,992,000 | 105,008,100 |
กรอ. | 5 | 316,600 | 108,000 | 424,600 |
ลักษณะที่ 1 | 1,855 | 29,726,500 | 65,364,000 | 95,090,500 |
ลักษณะที่ 2 | 1,151 | 26,077,300 | 39,468,000 | 65,545,300 |
รวม | 5,018 | 90,136,500 | 175,932,000 | 266,068,500 |
ประกาศ มรพส. ปีการศึกษา 2565
- ประกาศรับสมัครประสงค์กู้ยืมเงินรายเก่า (รหัส-61-64)
- ประกาศแนวปฏิบัติผู้ได้รับการพิจารณาให้กู้ยืมเงินรายเก่า (รหัส 61-64)
- ประกาศรับสมัครผู้ประสงค์กู้ยืมเงินรายเก่า(รหัส-65) และผู้กู้รายใหม่ทุกชั้นปี
- ประกาศแนวปฏิบัติผู้ได้รับการพิจารณาให้กู้ยืมเงินรายเก่า (รหัส 65)
และผู้กู้รายใหม่ทุกชั้นปี - ประกาศรับสมัครผู้ประสงค์กู้ยืมเงินรายเก่า (รหัส 60-63)
- ประกาศแนวปฏิบัติผู้ได้รับการพิจารณาให้กู้ยืมเงินรายเก่า (รหัส 60-63)
- ประกาศรายชื่อนักศึกษาที่ได้รับการอนุมัติให้กู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ปีการศึกษา 2565
- รายชื่อนักศึกษาที่ได้รับการอนุมัติให้กู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)
ปีการศึกษา 2565 - ประกาศการลงทะเบียนและการยืนยันการเบิกเงินกู้ยืม กยศ. ภาคเรียนที่ 3/2565
ภาพกิจกรรมการดำเนินงานกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ปีการศึกษา 2565