โครงการครูรักษ์ถิ่น พ.ศ.2565
ในปีการศึกษา 2565 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ร่วมกับ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ได้จัดโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่นเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนที่ขาดโอกาสทางด้านการเงินได้มีโอกาสได้พัฒนาตนเองเป็นครูในเขตพื้นที่ของตนเอง โดยมีการเข้าคัดเลือกนักเรียนที่ทางบ้านขาดทุนทรัพย์ทางการเรียนเพื่อนำมาพัฒนาเป็นนักศึกษาครู โดยทางโครงการได้มีแนวทางการคัดเลือกนักเรียน ด้วยการลงพื้นที่เพื่อสำรวจค้นหานักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อพัฒนานักศึกษาให้สามารถเป็นครูที่ดีและสนับสนุนทุนการศึกษาเพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสเป็นครูและกิจกรรมที่สนับสนุนให้นักศึกษาสามารถเป็นครูที่ดีได้ ในแต่ละปีจะมีการวางแผนในการดำเนินการโดยการรับนักเรียนเข้าโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น รุ่นที่ 4 เพื่อเป็นนักศึกษาในปีการศึกษา 2566 โดยมีช่วงเวลาต่าง โดยเริ่มวางแผนในช่วง พฤษภาคม 2565 – กุมภาพันธ์ 2566 เพื่อดำเนินการตั้งแต่ขั้นตอนการเปิดโครงการครูคืนถิ่นนักศึกษารหัส 2566 จนถึงขั้นตอนการประกาศรับทุนการศึกษา ทางคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้ปฏิบัติตาม TIMELINE ของผู้ให้ทุกและดำเนินการอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ทุนการศึกษาไปถึงนักเรียนที่ขาดโอกาสที่แท้จริง ในช่วงปีการศึกษา สาขาวิชาที่ได้รับทุน ครูรัก(ษ์)ถิ่น ประกอบไปด้วย สาขาการประถมศึกษา
การสนับสนุนทุนโครงการ ครูรัก(ษ์)ถื่น คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ร่วมกับ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ได้จัดโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนที่ขาดโอกาสทางด้านการเงินได้มีโอกาสได้พัฒนาตนเองเป็นครูในเขตพื้นที่ของตนเอง โดยมีการเข้าคัดเลือกนักเรียนที่ทางบ้านขาดทุนทรัพย์ทางการเรียนเพื่อนำมาพัฒนาเป็นนักศึกษาครู โดยทางโครงการได้มีแนวทางการคัดเลือกนักเรียน ด้วยการลงพื้นที่เพื่อสำรวจค้นหานักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ โดยรายละเอียดของทุนไม่เกินปีละ 150,000 บาท จะประกอบด้วย
- ค่าธรรมเนียมการศึกษา 30,000 บาท
- ค่าครองชีพประจำเดือน เดือนละ 6,000 บาท
- ค่าตำราและอุปกรณ์การเรียน เดือนละ 2,000 บาท
- ค่าที่พัก 2,000 บาท
เกณฑ์การรับเข้าศึกษาต่อใน โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น นักเรียนต้องมีสัญชาติไทย สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่าในปีการศึกษา 2563-2564 ครอบครัวที่นักเรียนอาศัยอยู่ต้องมีรายได้เฉลี่ยต่อคน ไม่เกิน 3,000 บาท/เดือน บิดา หรือมารดา หรือผู้ปกครองและผู้ขอร่วมรับทุนจะไปบรรจุและแต่งตั้งหลังสำเร็จในปี พ.ศ.2568 ไม่น้อยกว่า 3 ปี เกรดเฉลี่ยสะสม 5 เทอมไม่น้อยกว่า 2.50
โดยมีทีมคณาจารย์ได้ดำเนินการไปคัดเลือกนักศึกษาที่ขาดแคลนโอกาสในแต่ละพื้นที่โดยมีเงื่อนไขที่ต้องทำร่วมกับเขตพื้นที่การศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบล ในแต่ละพื้นที่ในการยืนยันนักเรียนคนนี้ขาดโอกาสจริง มีการสัมภาษณ์เพื่อใช้ในการคัดเลือกนักเรียน โดยโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้มีสาขาที่เข้าร่วมจำนวน 1 สาขารายวิชา ได้แก่ สาขาประถมศึกษา
ในแต่ละขั้นตอนของการรับสมัครนั้นนักเรียนจะต้องทราบถึงการดำเนินการของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้ดำเนินการประกาศเพื่อให้นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ที่ขาดแคลนโอกาสรับข้อเสนอโครงการเพื่อศึกษาต่อในสถาบันที่สนใจ ประชุมในแต่ละพื้นที่เพื่อคัดพื้นที่คัดเลือกนักเรียนในแต่ละพื้นที่ได้นำมาเข้าขั้นตอนการสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกนักเรียนที่มีความไม่มั่นคงทางด้านการเงิน โดยเข้าเกณฑ์การดำเนินการรายได้ของครอบครัวเฉลี่ยต่อคน ต้องไม่เกิน 3,000 บาทต่อเดือน และอยู่ภายในพื้นที่ขาดแคลนครูตามพื้นที่ต่างๆ มีการพิจารณาข้อมูลที่อยู่อาศัยเพื่อพิจารณาประกอบในการคัดเลือกผู้ให้ทุนการศึกษาในลำดับขั้นตอนการพิจารณาการคัดเลือกนักเรียน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จะส่งตัวแทนอาจารย์พร้อมทีมงานเข้าพื้นที่เพื่อสำรวจเพื่อยืนยันข้อมูลที่แท้จริง มีการตรวจเช็คที่อยู่อาศัยของนักเรียนและสภาพความเป็นอยู่ของนักเรียนเพื่อให้ได้นักเรียนที่มีปัญหาทางด้านของรายได้เฉลี่ยต่ำของครอบครัว รวมถึงพื้นที่การทำมาหากินของผู้ปกครองของผู้เรียนที่นักเรียนอาศัยอยู่ โดยทางคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้ทำงานร่วมกับหน่วยงานภายนอก คือ เขตพื้นที่การศึกษา เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล เป็นต้น เพื่อใช้ในการพิจารณาร่วมกัน
จากข้อมูลดังกล่าว อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ได้จัดโครงการพิธีลงนามสัญญารับทุนการศึกษาของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เวลา 9.00 น. ผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามรับมอบโน๊ตบุ๊ค จาก กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และมอบให้ นักศึกษาครูรัก(ษ์)ถิ่น รุ่น 2 มี คณบดีคณะครุศาสตร์ และพร้อมคณาจารย์สังกัดคณะครุศาสตร์นำนักศึกษาครูรัก(ษ์)ถิ่น
หลังจากกิจกรรมดังกล่าวทางผู้บริหารคณะครุศาสตร์ นำโดย คณบดีคณะครุศาสตร์ และทีมคณาจารย์นำพานิสิตนักศึกษาครูรัก(ษ์)ถิ่น รุ่น 4 เข้าร่วม “ค่ายเตรียมความพร้อมก่อนคัดเลือกและการคัดเลือก”ค่ายสานฝันครูรัก(ษ์)ถิ่น” รุ่น 4” ในวันที่ 11-14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับครูประถมศึกษา เพื่อปรับพื้นฐานความรู้ก่อนที่จะเข้าเรียนต่อในการเรียนในระดับอุดมศึกษา
อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ได้จัดโครงการพิธีลงนามสัญญารับทุนการศึกษาของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ในวันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. 256๖ ณ ชั้น ๓ ห้อง PIBUL 302 เพื่อให้นักศึกษาสามารถได้รับทุนการศึกษาเล่าเรียนและการดำเนินการตามโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น เพื่อส่งมอบทุนการศึกษาให้กับนักเรียนที่ขาดโอกาสทางการเงิน