การอนุรักษ์น้ำในชุมชน : ภายใต้โครงการอาสาฟื้นฟูป่า โดยการสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น ต.บ้านดง อ.ชาติตระการ จ.พิษณุโลก

การอนุรักษ์น้ำในชุมชน : ภายใต้โครงการอาสาฟื้นฟูป่า โดยการสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น ต.บ้านดง อ.ชาติตระการ จ.พิษณุโลก

ในปัจจุบันป่าชุมชนถูกทำลายเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนน้ำในการทำการเกษตรและอาชีพของ ผู้คนในพื้นที่ ผลผลิตจากธรรมชาติไม่สามารถผลิตได้ตามความต้องการ นับเป็นวิกฤตการณ์เกี่ยวกับน้ำ ซึ่งตามท้องถิ่น ต่างๆ ทุกภาคของประเทศ ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพของประชาชน จึงต้องอนุรักษ์ ฟื้นฟูป่าต้น น้ำ โดยนับตั้งแต่พุทธศักราช 2502 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนารถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในภูมิภาคต่าง ๆ ทรงประจักษ์ในปัญหาของราษฎรในชนบท ที่ดำรงชีวิตด้วยความยากจน ลำเค็ญ และด้อยโอกาสทรงช่วยเหลือและบรรเทาความทุกข์ยากเดือดร้อนให้แก่พสก นิกรชาวไทย ก่อเกิดเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ทั้งด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ การเกษตร สิ่งแวดล้อม ส่งเสริมอาชีพ สาธารณสุข สวัสดิการสังคม และอื่น ๆ กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศกว่า 4,877 โครงการ ที่ สร้างประโยชน์และคุโณปการแก่ราษฎรอย่างหาที่สุดมิได้หนึ่งในนั้นคือ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้าน การอนุรักษ์ทรัพยากรแหล่งน้ำเกี่ยวกับการสร้างฝายกั้นน้ำหรือฝายชะลอความชุ่มชื้น เพื่อการพัฒนาพื้นที่ต้นน้ำลำ ธารหรือแหล่งน้ำให้เกิดความชุ่มชื้น นำไปสู่การกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง ลดอุทกภัยและภัยของประชาชนทางด้าน น้ำ รวมทั้งช่วยให้เกษตรกรพึ่งตนเองได้ โดยที่มีการอนุรักษ์ต้นน้ำลำธารหรือแหล่งน้ำรวมทั้งการพัฒนาป่าไม้ไป พร้อม ๆ กัน เป็นแนวพระราชดำริทฤษฎีการพัฒนา ฟื้นฟูแหล่งน้ำและป่าชุมชน โดยการใช้ทรัพยากรที่เอื้ออำนวย…

มาตรการลดการใช้น้ำ

มาตรการลดการใช้น้ำ

The university uses water-saving equipment instead of traditional equipment.  It also utilizes appliances that focus on water efficiency (e.g. using sensor/automatic handwashing faucets, water-saving toilets, etc.). Appliance Total Number Total number water Efficient appliances Percentage Basin 2,539 93 3.66% Urinal 1,523 60 3.93% Toilet 2,350 1,920 81.70% Average Percentage 29.76% Water-saving sanitary ware that opens…

โครงการอนุรักษ์สวนสมุนไพรและสวนป่าพันธุ์ไม้หายาก

โครงการอนุรักษ์สวนสมุนไพรและสวนป่าพันธุ์ไม้หายาก

1. ที่มาและความสำคัญ: โครงการปลูกป่าพันธุ์ไม้หายาก โดยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นโครงการที่สืบสานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากแนวพระราชดำริ ฯ ตามนโยบายของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 ต่อมาโครงการดังกล่าวเปลี่ยนชื่อเป็นสวนป่าพันธุ์ไม้หายากมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช และปลูกจิตสำนึกให้คนในท้องถิ่นรู้จักคุณค่าของทรัพยากรพันธุ์ไม้ ปัจจุบันสวนป่าพันธุ์ไม้หายากมีไม้ต้นจำนวน 163 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นไม้ต้นที่มีความสูงประมาณ 6-10 เมตร ได้ดำเนินการตามกรอบการเรียนรู้ดังนี้ คือ กรอบการเรียนรู้ทรัพยากร จัดกิจกรรมบูรณาการเรียนการสอนและอบรมให้สอดคล้องกับเนื้อหาในรายวิชาที่เปิดสอน ได้แก่ ชีววิทยาทั่วไป นิเวศวิทยา การเก็บรวบรวมตัวอย่างสิ่งมีชีวิต สัณฐานและกายวิภาคของพืช เป็นต้น และกิจการนักศึกษาในการเข้ามาใช้สถานที่ เพื่อให้นักศึกษาและบุคคลที่สนใจได้รู้จักและคุ้นเคยกับทรัพยากรที่มีในท้องถิ่น ประกอบด้วย 1.1. กิจกรรมปกปักพันธุกรรมพืช ปลูก อนุรักษ์ ดูแลรักษา และรวบรวมพันธุ์ไม้ที่มีอยู่เดิม พร้อมทั้งจัดหาพันธุ์ไม้ชนิดใหม่ เพื่อปลูกทดแทนต้นที่ตายไป เนื่องจากสภาวะแวดล้อมไม่เหมาะสมในการเจริญเติบโต 1.2. กิจกรรมสำรวจเก็บรวบรวมพันธุกรรมพืช จัดอบรมการเก็บรักษาพรรณไม้แห้งไว้ในหอพรรณไม้ที่ก่อตั้ง ณ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรพส. เพื่อการจัดจำแนกและการบ่งชี้ชนิดที่ถูกต้องตามหลักการ โดยวิทยากรที่มีความรู้และความชำนาญ กรอบการสร้างจิตสานึก จัดกิจกรรมให้ความรู้ และสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชให้กับนักศึกษา โดยกิจกรรมของโครงการมุ่งเน้นการใช้องค์ความรู้ในหลายสาขาวิชา เช่น ชีววิทยา จุลชีววิทยา…

การนำน้ำกลับมาใช้ใหม่

การนำน้ำกลับมาใช้ใหม่

6.4.1 มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มีนโยบายในการขับเคลื่อนการเป็นมหาวิทยาลัยนวัตกรรมสีเขียว (Green Innovation University) เพื่อยกระดับคุณภาพของมหาวิทยาลัย ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สร้างจิตสำนึก รักษาสมดุลทางกายภาพอย่างยั่งยืน โดยมีด้านที่ 1 สถานที่และโครงสร้างพื้นฐาน (Setting and Infrastructure : ) มหาวิทยาลัยมีการผลักดันให้ทุกหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย กำหนดแนวทาง วางแผน จัดโครงการ/กิจกรรม วางระบบการจัดการน้ำ การอนุรักษ์และสนับสนุนการใช้อุปกรณ์ประหยัดน้ำ รณรงค์การใช้น้ำให้เกิดประสิทธิภาพ การบัดน้ำเสียเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุด [4.2] Water Recycling Program Implementation Treated Water from polluted canals for the lawn watering Water treatment by adding oxygen to water The use of treated water by artificial wetlands…

โรงผลิตน้ำประปาผิวดิน

โรงผลิตน้ำประปาผิวดิน

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มีพื้นที่ตั้งทั้งหมด 3 วิทยาเขต ได้แก่  1. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (ส่วนทะเลแก้ว) : ตั้งอยู่ ตำบลพลายชุมพล อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก มีพื้นที่เท่ากับ 993-0-41 ไร่ เป็นที่ตั้งของสำนักงานอธิการบดี สถาบันวิจัยและพัฒนา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม วิทยาลัยการจัดการและพัฒนาท้องถิ่น วิทยาลัยการพยาบาล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ศูนย์วิทยาศาสตร์ ศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางธุรกิจ หอประชุมศรีวชิรโชติ และสวนสุขภาพ สนามกีฬา/ที่พักผ่อน และมีพื้นแหล่งกักเก็บน้ำภายในมหาวิทยาลัยจำนวนมาก เช่น สระน้ำ หนอง บึง เป็นต้น  พื้นที่แหล่งน้ำธรรมชาติภายในมหาวิทยาลัย โรงผลิตน้ำประปาผิวดิน โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (ส่วนทะเลแก้ว) มีการนำแหล่งน้ำมาใช้ในการอุปโภคอยู่จำนวน 3 แหล่ง ได้แก่ น้ำประปาส่วนภูมิภาค, น้ำประปาเทศบาลตำบลพลายชุม และน้ำประปาที่มหาวิทยาลัยได้มีการนำน้ำธรรมชาติหรือน้ำผิวดินภายในพื้นที่ของตนเองมาผลิตน้ำใช้เพื่ออุปโภค ซึ่งในแต่ละปีจะมีการใช้น้ำเพื่ออุปโภคปีละ 263,453 ลบ.ม. ปริมาณการใช้น้ำ 15,040/คน (ปริมาณการใช้น้ำต่อ 47.97 ลิตร/ต่อคน/ต่อวัน…

กระบวนการป้องกันน้ำเสียเข้าสู่ระบบน้ำรวมถึงมลพิษ

กระบวนการป้องกันน้ำเสียเข้าสู่ระบบน้ำรวมถึงมลพิษ

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามมีกระบวนการบำบัดน้ำเสีย คือ มีถังบำบัดน้ำเสียในแต่ละอาคาร (onsite treatment) ที่มีการออกแบบมาพร้อมกับการก่อสร้างอาคาร ซึ่งจะมีการคำนวณปริมาณน้ำเสียที่คลอบคุมทั้งอาคาร โดยเมื่อน้ำทิ้งที่ผ่านถังบำบัดน้ำเสียแล้วจะเข้าสู่คลองระบายน้ำโดยรอบและมีประตูน้ำปิด-เปิดของมหาวิทยาลัย โดยคลองระบายน้ำจะทำการบำบัดน้ำเสียไหลวนด้วยวิธีธรรมชาติผ่านสระเก็บน้ำขนาดใหญ่ 3 สระ (oxidation pond) ได้แก่ สระเก็บน้ำคณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร, สระเก็บน้ำหลังหอสมุดอิเล็กทรอนิกส์ และสระเก็บน้ำสวนรัชมังคลาภิเษก เป็นต้น ซึ่งสระเก็บน้ำดังกล่าว จะมีการพักน้ำเสียและปรับสมดุลโดยวิธีธรรมชาติ ก่อนที่น้ำทิ้งจะไหลวนมายังคลองรอบมหาวิทยาลัย ซึ่งคุณภาพน้ำดิบจะค่อนข้างดีที่สุด จากนั้นก็จะสูบมาพักยังสระน้ำดิบเพื่อรอผลิตน้ำประปาส่งจ่ายไปยังมหาวิทยาลัยดังเดิม พื้นที่รับน้ำโดยรอบมหาวิทยาลัย พื้นที่รับน้ำโดยรอบมหาวิทยาลัย           มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้มีการปฏิบัติตามกรมควบคุมมลพิษออกกฎกระทรวงเรื่อง “กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และแบบการเก็บสถิติและข้อมูล การจัดทำบันทึกรายละเอียด และรายงานสรุปผลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย พ.ศ. 2555” ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษ ซึ่งมีหน้าที่ต้องเก็บข้อมูล และรายงานสรุปการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย ตามมาตรา 80 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 2 สิงหาคม 2555 ตามกฎกระทรวงดังกล่าว มีผลให้เจ้าของแหล่งกำเนิดมลพิษที่ถูกประกาศให้เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษ จะต้องจดบันทึกสถิติและข้อมูลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียตามแบบ ทส.1 ทุกวัน และสรุปผลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียตามแบบ ทส.2 ทุกเดือน…

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามมีกระบวนการบำบัดน้ำเสีย

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามมีกระบวนการบำบัดน้ำเสีย

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามมีกระบวนการบำบัดน้ำเสีย คือ มีถังบำบัดน้ำเสียในแต่ละอาคารที่มีการออกแบบมาพร้อมกับการก่อสร้างอาคาร ซึ่งจะมีการคำนวณปริมาณน้ำเสียที่คลอบคุมทั้งอาคาร โดยเมื่อน้ำทิ้งที่ผ่านถังบำบัดน้ำเสียแล้วจะเข้าสู่คลองระบายน้ำรอบในของมหาวิทยาลัย โดยคลองระบายน้ำจะทำการบำบัดน้ำเสียไหลวนด้วยวิธีธรรมชาติผ่านสระเก็บน้ำขนาดใหญ่ 3 สระ ได้แก่ สระเก็บน้ำคณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร, สระเก็บน้ำหลังหอสมุดอิเล็กทรอนิกส์ และสระเก็บน้ำสวนรัชมังคลาภิเษก เป็นต้น ซึ่งสระเก็บน้ำดังกล่าว จะมีการพักน้ำเสียและปรับสมดุลโดยวิธีธรรมชาติ ก่อนที่น้ำทิ้งจะไหลวนมายังคลองรอบมหาวิทยาลัย ซึ่งคุณภาพน้ำดิบจะค่อนข้างดีที่สุด จากนั้นก็จะสูบมาพักยังสระน้ำดิบเพื่อรอผลิตน้ำประปาส่งจ่ายไปยังมหาวิทยาลัยดังเดิม พื้นที่รับน้ำโดยรอบมหาวิทยาลัย พื้นที่รับน้ำโดยรอบมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้มีการปฏิบัติตามกรมควบคุมมลพิษออกกฎกระทรวงเรื่อง “กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และแบบการเก็บสถิติและข้อมูล การจัดทำบันทึกรายละเอียด และรายงานสรุปผลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย พ.ศ. 2555” ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษ ซึ่งมีหน้าที่ต้องเก็บข้อมูล และรายงานสรุปการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย ตามมาตรา 80 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 2 สิงหาคม 2555 ตามกฎกระทรวงดังกล่าว มีผลให้เจ้าของแหล่งกำเนิดมลพิษที่ถูกประกาศให้เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษ จะต้องจดบันทึกสถิติและข้อมูลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียตามแบบ ทส.1 ทุกวัน และสรุปผลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียตามแบบ ทส.2 ทุกเดือน โดยรายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือรายงานด้วยวิธีการอิเล็กทรอนิกส์ภายใน 15 ของเดือนถัดไป แหล่งที่มา  :…

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามมีการให้บริการน้ำดื่มฟรีแก่นักศึกษา บุคลากร และบุคคลภายนอก

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามมีการให้บริการน้ำดื่มฟรีแก่นักศึกษา บุคลากร และบุคคลภายนอก

 มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามมีการให้บริการน้ำดื่มฟรีแก่นักศึกษา บุคลากร และบุคคลภายนอกภายในอาคารต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัย จำนวน 50 จุด จุดให้บริการน้ำดื่มฟรี 

การใช้น้ำและการดูแลรักษา

การใช้น้ำและการดูแลรักษา

การใช้น้ำและการดูแลรักษา 6.3.5 มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามมีภูมิทัศน์เป็นพื้นที่พืชพรรณป่าเป็นส่วนใหญ่ เช่น ไม้สัก ไม้พยูง ไม้เต็ง ไม้รัง เป็นต้น เพื่อดูดซับน้ำในช่วงฝนตก และช่วยลดการประหยัดน้ำผิวดินโดยที่ไม่ต้องมีดูแลรดน้ำต้นไม้  พื้นที่พืชพรรณป่าไม้ พืชทนแล้ง มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามมีโครงการอนุรักษ์สวนสมุนไพรที่คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรับผิดชอบดูแล ดังนี้ โครงการอนุรักษ์สวนสมุนไพรที่คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 1. ชื่อโครงการ โครงการอนุรักษ์สวนสมุนไพร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม 2. สาระสำคัญ           โครงการอนุรักษ์พืชสมุนไพรได้ดำเนินการจัดตั้งสวนสมุนไพรเพื่อรวบรวมพรรณพืชขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2554 และดำเนินการต่อเนื่องจนถึงปี พ.ศ. 2564 เพื่อสืบสานโครงการอันเนื่องมาจากแนวพระราชดำริฯ  ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  โดยมีวัตถุประสงค์โครงการ คือ 1. เพื่อเรียนรู้ เผยแพร่ และสืบสานงานโครงการแนวพระราชดำริฯ 2. เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้คุณลักษณะพืชสมุนไพร ประโยชน์และสรรพคุณจากพืชสมุนไพร 3. เพื่อให้ความรู้แก่ชุมชนท้องถิ่นในเรื่องของพืชสมุนไพร และร่วมอนุรักษ์สมุนไพรอย่างยั่งยืน 4. เพื่อปลูกจิตสำนึกเยาวชน และคนในชุมชนให้รู้จักคุณค่าและหวงแหนพืชสมุนไพรของชุมชน           กิจกรรมของโครงการจึงมุ่งเน้นในการรวบรวมพันธุ์ไม้มีชีวิตของพืชสมุนไพร เพื่อเป็นพืชอ้างอิงที่ถูกต้องตามหลักทางพฤกษศาสตร์ เพื่ออนุรักษ์พันธุ์สมุนไพร ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ แก่นักศึกษา…

การนำน้ำกลับมาใช้ใหม่

การนำน้ำกลับมาใช้ใหม่

6.4 การนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ 6.4.1 มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มีนโยบายในการขับเคลื่อนการเป็นมหาวิทยาลัยนวัตกรรมสีเขียว (Green Innovation University) เพื่อยกระดับคุณภาพของมหาวิทยาลัย ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สร้างจิตสำนึก รักษาสมดุลทางกายภาพอย่างยั่งยืน โดยมีด้านที่ 1 สถานที่และโครงสร้างพื้นฐาน (Setting and Infrastructure : ) มหาวิทยาลัยมีการผลักดันให้ทุกหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย กำหนดแนวทาง วางแผน จัดโครงการ/กิจกรรม วางระบบการจัดการน้ำ การอนุรักษ์และสนับสนุนการใช้อุปกรณ์ประหยัดน้ำ รณรงค์การใช้น้ำให้เกิดประสิทธิภาพ การบัดน้ำเสียเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุด [4.2] Water Recycling Program Implementation Treated Water from polluted canals for the lawn watering Water treatment by adding oxygen to water The use of treated water by…