การใช้น้ำและการดูแลรักษา
6.3.5 มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามมีภูมิทัศน์เป็นพื้นที่พืชพรรณป่าเป็นส่วนใหญ่ เช่น ไม้สัก ไม้พยูง ไม้เต็ง ไม้รัง เป็นต้น เพื่อดูดซับน้ำในช่วงฝนตก และช่วยลดการประหยัดน้ำผิวดินโดยที่ไม่ต้องมีดูแลรดน้ำต้นไม้
พื้นที่พืชพรรณป่าไม้
พืชทนแล้ง
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามมีโครงการอนุรักษ์สวนสมุนไพรที่คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรับผิดชอบดูแล ดังนี้
โครงการอนุรักษ์สวนสมุนไพร
ที่คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
1. ชื่อโครงการ
โครงการอนุรักษ์สวนสมุนไพร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
2. สาระสำคัญ
โครงการอนุรักษ์พืชสมุนไพรได้ดำเนินการจัดตั้งสวนสมุนไพรเพื่อรวบรวมพรรณพืชขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2554 และดำเนินการต่อเนื่องจนถึงปี พ.ศ. 2564 เพื่อสืบสานโครงการอันเนื่องมาจากแนวพระราชดำริฯ ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยมีวัตถุประสงค์โครงการ คือ
1. เพื่อเรียนรู้ เผยแพร่ และสืบสานงานโครงการแนวพระราชดำริฯ
2. เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้คุณลักษณะพืชสมุนไพร ประโยชน์และสรรพคุณจากพืชสมุนไพร
3. เพื่อให้ความรู้แก่ชุมชนท้องถิ่นในเรื่องของพืชสมุนไพร และร่วมอนุรักษ์สมุนไพรอย่างยั่งยืน
4. เพื่อปลูกจิตสำนึกเยาวชน และคนในชุมชนให้รู้จักคุณค่าและหวงแหนพืชสมุนไพรของชุมชน
กิจกรรมของโครงการจึงมุ่งเน้นในการรวบรวมพันธุ์ไม้มีชีวิตของพืชสมุนไพร เพื่อเป็นพืชอ้างอิงที่ถูกต้องตามหลักทางพฤกษศาสตร์ เพื่ออนุรักษ์พันธุ์สมุนไพร ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ แก่นักศึกษา นักเรียน และผู้สนใจ อีกทั้งเพื่อบูรณาการเข้ากับการเรียนการสอนเพื่อปลูกฝั่งจิตสำนึกรักพืชสมุนไพรท้องถิ่นแก่นักศึกษาและคนในท้องถิ่น เป็นงานทางด้านการบำรุงรักษาสวนสมุนไพรและการเข้าสู่การเรียนการสอน และวิจัย โดยมีการจัดเข้าการเรียนการสอน
ในปีงบประมาณ 2564 โครงการได้มีแนวคิดในการพัฒนาสวนสมุนไพรเพิ่มเติม จากพื้นที่เดิมที่จำกัดอยู่เพียงคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งมีพืชสมุนไพรบางชนิดเท่านั้นที่สามารถเติบโตได้ในพื้นที่ดังกล่าว ทั้งที่มีพืชทุกชนิดที่พบในพื้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (ส่วนทะเลแก้ว) ล้วนเป็นพืชสมุนไพรเกือบทั้งสิ้น นอกจากนี้พื้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (ส่วนทะเลแก้ว) มักมีผู้คนในชุมชนมาออกกำลังกาย และใช้ประโยชน์ด้านอื่นมากมาย ดังนั้นโครงการจึงได้ขยายพื้นที่ในการระบุชนิดพืชสมุนไพรให้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งมหาวิทยาลัย เพื่อให้วัตถุประสงค์ของโครงการฯ บรรลุเป้าหมายสูงสุดในการเผยแพร่ความรู้สู่คนทั่วไปและปลูกจิตสำนึกเยาวชน และคนในชุมชนให้รู้จักคุณค่าและหวงแหนพืชสมุนไพรของชุมชนได้มากขึ้น
โครงการอนุรักษ์สวนสมุนไพรในปี 2564 มีการดำเนินด้านงานวิชาการเป็นหลัก เนื่องจากส่วนกลางของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามได้ช่วยดูแลด้านภูมิทัศน์ของมหาวิทยาลัยแล้ว ดังนั้นในการดำเนินงานของโครงการจึงเน้นในส่วนงานวิชาการในการเผยแพร่ความรู้และงานการเก็บรวบรวมพรรณไม้แห้งสำหรับเป็นพรรณไม้อ้างอิง โดยมีการดำเนินการแต่งตั้งกรรมการงบประมาณปี 2564 ทบทวนป้ายชื่อพันธุ์ไม้และปักป้ายพันธุ์ไม้ พัฒนาการจัดการฐานข้อมูลพรรณไม้ และงานจัดการตัวอย่างพรรณไม้ในหอพรรณไม้ บูรณาการการศึกษาพันธุ์ไม้สมุนไพรกับรายวิชาปัญหาพิเศษ และพัฒนาการจัดทำเว็ปไซด์เกี่ยวกับโครงการเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับข้อมูลพันธุ์พืชสมุนไพรในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทดแทนการจัดอบรมแบบเดิม
1. การบูรณาการผ่านกระบวนการเรียนการสอนในรายวิชาปัญหาพิเศษ
เรื่อง การศึกษาชีพลักษณ์และการขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่งของต้นจัน (Diospyros decandra Lour.) ในสวนป่าพันธุ์ไม้หายาก มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก
2. ป้ายชื่อพันธุ์ไม้พร้อมสรรพคุณที่น่าสนใจปี 2564 จำนวน 150 ป้าย บริเวณคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรพส.
3. จัดทำเว็บไซด์โครงการอนุรักษ์สวนสมุนไพร มรพส. HERB-PSRU https://www.herb-psru.com/home/ เพื่อใช้ในการเผยแพร่ความรู้ด้านพืชสมุนไพรทั้งรายชื่อสมุนไพรในพื้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามและการเผยแพร่ความรู้ด้านสมุนไพรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
4. จัดทำพรรณไม้แห้งและดองเป็นตัวอย่างอ้างอิง
ชั้นวางพรรณไม้เพื่อจัดแสดงพืชดอง/เมล็ดพืชแห้งและพรรณไม้แห้ง
การให้บริการรับฝากพรรณไม้อ้างอิงให้เป็นมาตรฐานเพื่อสนับสนุนงานวิจัยด้านพืชสมุนไพร
3. ที่มา
สรุปรายละเอียดโครงการบริการวิชาการ โครงการอนุรักษ์พืชสมุนไพร พ.ศ. 2564 เพื่อสืบสานโครงการอันเนื่องมาจากแนวพระราชดำริฯ ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี