มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มีพันธกิจมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ที่ต้องดำเนินการในการผลิตบัณฑิตเพื่อจำนวน 4 ข้อ ได้แก่
- ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพให้มีศักยภาพในการประกอบอาชีพ ทั้งในตลาดแรงงานและการประกอบอาชีพอิสระในยุคดิจิทัล มีทักษะ การสื่อสารมากกว่า 1 ภาษา มีทักษะด้านดิจิทัล มีทักษะชีวิต มีคุณธรรม จริยธรรม มีทักษะวิศวกรรมสังคม มีเอกลักษณ์ โดดเด่น การสร้างนวัตกรรม ด้านการทำงานเป็นทีม และมีภาวะผู้นำเป็นที่ยอมรับของสังคม
- ผลิตและพัฒนาครูทุกระดับให้มีศักยภาพในวิชาชีพ มีทักษะการจัดการเรียนรู้ที่ทันสมัย มีสมรรถนะความเป็นครู
- ยกระดับผู้ประกอบการและคุณภาพชีวิตของประชาชนในท้องถิ่น ด้วยกระบวนการบูรณาการ บริการวิชาการ การวิจัย การพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมที่ทันสมัย
- พลิกโฉมการบริหารจัดการเป็นมหาวิทยาลัยพัฒนาเทคโนโลยี และส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมสีเขียว
4.2.1 โดยทางมหาวิทยาลัย ราชภัฏพิบูลสงครามได้มอบหมายให้ คณะครุศาสตร์มีจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี จำนวน 11 หลักสูตรสาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาคณิตศาสตร์สาขาวิชาพลศึกษา สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย สาขาวิชาดนตรีศึกษา สาขาวิชาภาษาไทย สาขาวิชาภาษาอังกฤษสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ สาขาวิชาสังคมศึกษา สาขาวิชาการประถมศึกษา และสาขาวิชาจิตวิทยาและการแนะแนว ซึ่งหลักสูตรส่วนใหญ่จะเป็นหลักสูตรผลิตและพัฒนานักศึกษาครูให้สามารถจัดการเรียนรู้ระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา โดยมี 1 สาขาวิชาที่สามารถผลิตและพัฒนานักศึกษาครูให้สามารถการจัดการเรียนเฉพาะในระดับก่อนประถมศึกษา หรือ ระดับปฐมวัย คือ ทุกสาขาวิชาที่สามารถผลิตและพัฒนานักศึกษาครูให้สามารถการจัดการเรียนเฉพาะในระดับประถมศึกษา ส่วนการศึกษาปฐมวัย เป็นสาขาพิเศษที่จัดขึ้นโดยเฉพาะในการสอนในกลุ่ม ปฐมวัย โดยในหลักสูตรทุกหลักสูตรได้มีการจัดการเรียนการสอนให้นักศึกษาได้มีโอกาสฝึกการปฏิบัติงานจริงและเข้าร่วมดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อบูรณาการเพื่อสังคมและชุมชน ผลงานในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพให้มีศักยภาพในการประกอบอาชีพ ตามพันธกิจมหาวิทยาลัยในข้อที่ 1 มีการสอบบรรจุครูประจำการไม่ว่าจะเป็นครูประถมหรือมัธยมโดยทางคณะได้ทำประวัติผู้สำเร็จการศึกษาว่าสามารถไปบรรจุในส่วนใด
4.3.1 ,4.3.2 นอกจากคณะครุศาสตร์ที่ดำเนินการทำการอบรมยังมีหน่วยงานหลายๆหน่วยงานให้การบริการวิชาการให้คุณวุฒิในการประกอบอาชีพ เช่น โครงการจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เป็นต้น ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการเตรียมความพร้อมและการพัฒนาทักษะดิจิทัลให้กับบุคลากรภายในหน่วยงานของมหาวิทยาลัยและส่งเสริมให้ปรับเปลี่ยนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ จึงได้จัดการอบรมหลักสูตรพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 : กระบวนการและแนวปฏิบัติ (PDPA) ขึ้น โดยการอบรมนี้จัดขึ้นวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564 ณ ห้อง COMPUTER LAB 106 อาคารศูนย์ภาษาและคอมพิวเตอร์ โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ (Digital Transformation) และ นายสุกนกานต์ สันติสุวรรณ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ เป็นวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้าน พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เพื่อให้บุคลากรทุกภาคส่วนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฏหมายดิจิทัลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน และสร้างความตระหนักรู้ความเข้าใจต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศของหน่วยงานในบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปเพื่อเตรียมความพร้อมต่อกระบวนการปรับเปลี่ยนตามนโยบายของรัฐบาลให้กับบุคลากรเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจยิ่งขึ้นและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
โครงการจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้ดำเนินการจัดให้มีการบรรยายพิเศษ หัวข้อ อบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการสร้างแบบทดสอบ ข้อสอบออนไลน์พร้อมเฉลย ด้วย GOOGLE FORMS สำหรับบุคคลภายในและผู้สนใจทั่วไป เพื่อการประยุกต์ใช้งาน Google Forms เบื้องต้น การสร้างแบบทดสอบออนไลน์ พร้อมตรวจคำตอบอัตโนมัติ การสร้างแบบทดสอบในรูปแบบต่าง ๆ เช่น คำตอบสั้น ๆ หลายตัวเลือก จับคู่ เป็นต้น การสร้างแบบทดสอบแบบจับเวลาการสร้างแบบทดสอบแบบหลายตัวเลือก แต่ละตัวเลือกคะแนนไม่เท่ากัน โดยจัดขึ้นทั้งหมด 2 รุ่น รุ่นที่ 1 วันที่ 1 ตุลาคม 2564 เวลา 13.30 – 16.30 น. (แบบออนไลน์) สำหรับบุคลากรภายใน และรุ่นที่ 2 วันที่ 2 ตุลาคม 2564 เวลา 17.00 – 20.00 น. สำหรับครูและบุคคลทั่วไป ซึ่งมีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมรับฟังการบรรยายรวมทั้งสิ้น 2,283 คน ซึ่งได้รับเกียรติจาก อาจารย์ ดร.เสกสรรค์ ศิวิลัย รองผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เป็นวิทยากรอบรมในรูปแบบออนไลน์ (Online) เป็นผู้มีความรู้และประสบการณ์โดยตรงสามารถถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้กับผู้เข้ารับการอบรมได้เป็นอย่างดี
จากการดำเนินการทางคณะครุศาสตร์ยังเล็งเห็นถึงความสำคัญของการเรียนการสอนที่ช่วยพัฒนาครูทุกระดับให้มีศักยภาพในวิชาชีพ มีทักษะการจัดการเรียนรู้ที่ทันสมัย มีสมรรถนะความเป็นครู ตามพันธกิจมหาวิทยาลัยจึงได้ทำความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกได้แก่ สสวท. ครุสภา เป็นต้น ในการดำเนินการพัฒนาตัวครูหรือผู้ให้บริการภายนอกมหาวิทยาลัย ให้มีสมรรถนะความเป็นครู โดยโครงการ โครงการการเพิ่มศักยภาพครูให้มีสมรรถนะของครูยุคใหม่สำหรับการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีขัดขึ้นวันที่ 15-17 มิถุนายน 2564 เป็นโครงการเพิ่มสมรรถนะครู(ที่ไม่ใช่บุคลากรภายใน) ให้ความรู้ เทคนิคการสอนเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 และโครงการ E-PLC ที่ทำร่วมกับครุสภา ในการพัฒนานักศึกษาให้มีกระบวนการทำงานเป็นครูมากยิ่งขึ้น โดยเป้าหมายที่แท้จริงคือให้นักศึกษาไปกระตุ้นคุณครู เพื่อให้คุณครูพี่เลี้ยงเกิดสมรรถนะ คุณธรรม จริยธรรม ตามเป้าหมายของครุสภา โครงการนี้จัดในช่วงวันที่ 1 มิถุนายน 2564 – 30 กันยายน 2564 โดยให้การตอบรับในการจัดที่ดีครูแต่ละคนให้ผลสะท้อนที่ทำให้เห็นถึงความสนใจในการเข้าร่วม โดยทั้ง 2 โครงการมีใบประกาศรับรองคุณวุฒิให้กับคุณครูเพื่อสามารถนำไปต่อยอดในการพัฒนาอาชีพของตนเองได้
4.3.3 -4.3.4 นอกจากการพัฒนาครูในโครงการต่างๆแล้วคณะครุศาสตร์ยังดำเนินโครงการพัฒนาครูในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จึงได้จัดทำ “โครงการพัฒนาครูในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดกิจกรรมพัฒนาสมรรถนะครูในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ในพื้นที่รับผิดชอบ สู่ความเป็นครูมืออาชีพ (สอนเป็นเห็นผล คนยกย่อง) ตามองค์ประกอบ 4 ด้าน (ด้านความรู้ในเนื้อหา ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านคุณลักษณะความเป็นครู และด้านความสัมพันธ์กับชุมชน) อันจะส่งผลลัพธ์ต่อการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน (ASK) และพัฒนาศักยภาพที่เหมาะสมตามวัย รวมถึงการหนุนนำให้ครูใหญ่สามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในพื้นที่เป้าหมายสู่การเป็นโรงเรียนพัฒนาตนเอง (สถานศึกษาเข้มแข็ง ครูจัดการเรียนรู้มืออาชีพ) ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาครูในโรงเรียน ตชด. ให้มีสมรรถนะตามมาตรฐานความรู้วิชาชีพครูฐานสมรรถนะ (Professional Competency) และประสบความสำเร็จตามเป้าหมายของโครงการพัฒนาครูในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร โดยกลุ่มเป้าหมายแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ครูใหญ่ ครูแกนนำ และนักเรียน ซึ่งผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ มีดังนี้
1. ครูใหญ่และครูได้แนวทางในการกำหนดนโยบายการบริหารจัดการและการพัฒนาการออกแบบการจัดเรียนรู้ครูในโรงเรียน ตชด. อาทรอุทิศ
2. ครูใหญ่และครูสามารถนำความรู้ความเข้าใจในการวิเคราะห์ตัวชี้วัดของรายวิชาวิทยาศาสตร์และภาษาไทยที่บูรณาการกับโครงการตามพระราชดำริไปประยุกต์ใช้กับระดับชั้นอื่น ๆ ได้
3. ครูใหญ่และครูสามารถนำความรู้ความเข้าใจในการออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงการตามพระราชดำริเป็นฐานไปประยุกต์ใช้กับระดับชั้นอื่นๆ ได้
4. ครูใหญ่ ครู และชุมชนมีส่วนร่วมในการออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงการตามพระราชดำริเป็นฐานไปประยุกต์ใช้กับระดับชั้นอื่นๆ ได้
5. ครูใหญ่ ครู นักเรียน และชุมชนมีส่วนร่วมในการปรับปรุงแหล่งเรียนรู้โดยใช้โครงการตามพระราชดำริเป็นฐานให้เหมาะสมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงการตามพระราชดำริเป็นฐาน
6. นักเรียนมีความสามารถด้านคิดวิเคราะห์กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
7. นักเรียนมีความสามารถถ่ายทอดความคิดผ่านการเขียนภาษาไทย