โครงการการอนุรักษ์น้ำบาดาลด้วยธนาคารน้ำใต้ดินตำบลวังน้ำขาว อำเภอ บ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย

โครงการการอนุรักษ์น้ำบาดาลด้วยธนาคารน้ำใต้ดินตำบลวังน้ำขาว อำเภอ บ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย

น้ำเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตและพัฒนาทางเศรษฐกิจ น้ำตามสภาพ ธรรมชาติที่ประชาชนทุกท้องที่อาศัยใช้ได้แก่ น้ำในบรรยากาศ (ฝน) น้ำผิวดิน และน้ำบาดาล นับเป็นผลผลิตจาก ธรรมชาติที่เราไม่สามารถผลิตเพิ่มขึ้นมาหรือลดปริมาณที่มีอยู่ในธรรมชาติได้เองตามความต้องการบางปีอาจเกิดฝน แล้งเป็นเหตุให้น้ำในแม่น้ำในลำธารมีน้อย หรือบางปีฝนตกชุกต่อเนื่องจนเกิดความเสียหายเนื่องจากน้ำท่วมพื้นที่ ชุมชน นับเป็นวิกฤตการณ์เกี่ยวกับน้ำ ซึ่งในปัจจุบันมีวิธีการบริหารจัดการน้ำบาดาลอยู่หลากหลายวิธี หนึ่งในนั้น คือ ธนาคารน้ำใต้ดิน โดยธนาคารน้ำใต้ดินจะช่วยให้น้ำไหลผ่านลงไปเติมน้ำในชั้นน้ำบาดาลได้อย่างรวดเร็ว เพื่อแก้ปัญหาชั้นดินที่อัดแน่น เกินไปทำให้น้ำไม่สามารถไหลผ่านลงมาได้ จนทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมขัง ซึ่งวิธีการทำสามารถทำได้ง่ายและไม่ซับ ซ่อน โดยนำวัสดุเหลือใช้ เช่น ยางรถยนต์เก่า ขวดที่ไม่ใช้แล้วมาใช้ในการสร้างธนาคารน้ำใต้ดิน ซึ่งนอกจากจะช่วย แก้ปัญหาน้ำท่วมได้แล้ว การเติมน้ำให้กับชั้นน้ำใต้ดินยังช่วยให้พื้นที่นั้นมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น เนื่องจากมีน้ำอยู่ บริเวณนั้นซึ่งก็จะช่วยแก้ปัญหาความแห้งแล้งในบริเวณนั้นได้อีกด้วย นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์มหาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จึงได้ออก สำรวจพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อหาพื้นที่ที่ประสบปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ โดยการสำรวจพื้นที่ตำบลวังน้ำขาว อำเภอ บ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย พบว่าในฤดูแล้งพื้นที่บริเวณดังกล่าวประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำที่จะใช้ในการ อุปโภค บริโภค สำหรับการทำเกษตรกรรม และในฤดูน้ำหลากประสบปัญหาน้ำท่วมขัง ทำให้เกิดปัญหาน้ำเน่าเสีย ต่อมา ในการดำเนินโครงการนี้จึงมุ่งเน้นการเผยแพร่องค์ความรู้การอนุรักษ์น้ำบาดาลด้วยธนาคารน้ำใต้ดินโดยยึด หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมถึงการสร้างความตระหนักเกี่ยวกับในการอนุรักษ์ดิน น้ำ ป่าไม้ ซึ่งเป็นการ…

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มีการสนับสนุนการนำน้ำผิวดิน

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มีการสนับสนุนการนำน้ำผิวดิน

6.5  น้ำในชุมชน          6.5.4   มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มีการสนับสนุนการนำน้ำผิวดิน เช่น น้ำในบึง สระ คลอง ฯลฯ ภายในวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยมาผลิตเป็นน้ำประปาเพื่อการอุปโภคภายในมหาวิทยาลัย และหากมหาวิทยาลัยมีการผลิตน้ำประปาไม่ทัน จะมีการนำน้ำประปานอกวิทยาเขตหรือน้ำประปาของชุมชนมาใช้ในการอุปโภคทดแทน เช่น น้ำประปาเทศบาลตำบลพลายชุมพล และน้ำประปาการประปาส่วนภูมิภาค จังหวัดพิษณุโลก เป็นต้น โรงผลิตน้ำประปาผิวดิน           มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม มีการจัดตั้งโรงงานผลิตน้ำดื่มที่ได้รับมาตรฐาน โดยการนำน้ำใต้ดิน (น้ำบาดาล) ภายในวิทยาเขตของมหาวิทยาลัย มาใช้ในการผลิตน้ำดื่มเพื่อการบริโภค ซึ่งผ่านกระบวนผลิตที่ได้รับมาตรฐานผ่านการตรวจสอบกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และอนุญาตตามกฎหมายอาหาร  อีกทั้งมหาวิทยาลัยมีการส่งเสริมการให้บริการน้ำดื่มฟรีแก่นักศึกษา บุคลากรภายในมหาวิทยาลัย และจำหน่ายน้ำดื่มให้กับชุมชนภายนอกมหาวิทยาลัยอย่างแพร่หลาย  แหล่งที่มา  :  https://www.facebook.com/PN.PSRU/videos/138880341478571      มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม  ได้จัดบริการน้ำดื่มฟรีซึ่งเป็นน้ำที่ผลิตมาจากโรงผลิตน้ำดื่มของมหาวิทยาลัยเอง  ให้บริการน้ำดื่มฟรีให้แก่นักศึกษา บุคลากร ของมหาวิทยาลัย  โดยกระจ่ายตามอาคารเรียนทุกอาคารภายในมหาวิทยาลัย จำนวน 50 จุด   โรงผลิตน้ำดื่มทะเลแก้ว

ระบบตรวจวัดคุณภาพน้ำดิบสำหรับประปาชุมชนบ้านลาดบัวขาว

ระบบตรวจวัดคุณภาพน้ำดิบสำหรับประปาชุมชนบ้านลาดบัวขาว

ตําบลสมอแข อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก สาขาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ได้ดำเนินกิจกรรมการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้กับชาวบ้าน และนักศึกษา  โดยพัฒนานวัตกรรมเครื่องตรวจวัดคุณภาพน้ำดิบ สำหรับนำไปผลิตน้ำประปาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งจำเป็นต้องเริ่มต้นที่การพัฒนาคนให้รู้จักตัวเองรู้ปัญหาของตนเองและชุมชนรู้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนและเชื่อว่าตนจะพึ่งตัวเองได้จนนำไปสู่ชุมชนเข้มแข็ง   จากการดำเนินโครงการพัฒนาชุมชนต้นแบบเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน บ้านลาดบัวขาว ตำบลสมอแขอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก  ได้พัฒนาระบบตรวจวัดคุณภาพน้ำดิบสำหรับประปาชุมชนบ้านลาดบัว  ทำให้ผู้ที่ดูแลนำประปาหมู่บ้าน สามารถตรวจวัดความขุ่นของน้ำที่จะนำไปผลิตน้ำประปาได้เนื่องจากหมู่บ้านลาดบัวขาวมีบึงน้ำสำหรับผลิตน้ำประปาใช้เองซึ่งในแต่ละฤดูกาล น้ำในบึงจะมีความขุ่น ใสต่างกัน การใช้สารส้มในการผลิตน้ำประปาก็ต่างกัน ต้องกะคาดคะเนการใช้เอง  ดังนั้นการพัฒนานวัตกรรมระบบตรวจวัดคุณภาพน้ำดิบเพื่อที่จะนำไปผลิตน้ำประปา ทำให้ผู้ที่ดูแลระบบประปาทราบว่าความขุ่นของน้ำขนาดไหน เพื่อที่จะได้จัดการได้ในกระบวนการผลิตน้ำประปาต่อไป